ความเชื่อภาคใต้ - พิศมร (ตะกรุด)

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
01/01/2009
ที่มา: 
ประเพณีไทยดอทคอม http://www.prapayneethai.com/

พิศมร (ตะกรุด) / ทิศมร / ทิดหมอน

ภาค     ภาคใต้
จังหวัด  สงขลา

  • ลักษณะความเชื่อ

พิศมรมีรูปกลมยาวมีรูตรงกลางสำหรับร้อยสาย มีมากมายหลายแบบ มีชื่อเรียกหลายอย่างเช่น ตะกรุดโทน คือ ตะกรุดดอกเดียว ถ้าแขวนไว้ข้างหน้า หมายถึง "สู้" ถ้าแขวนไว้ข้างหลัง หมายถึง "หนี" ถ้าไปหาผู้หญิงไว้ทางซ้าย ถ้าไปหาผู้ชายไว้ทางขวา ตะกรุดสามกษัตริย์ ใช้แผ่น เงิน ทอง นาก บางอาจารย์นำเงิน ทอง นาก หลวมรวมเข้าแล้วแผ่ลงเลขยันต์ เรียกว่าตะกรุดสามกษัตริย์ ตะกรุดไตรมาสลงเลขยันต์ห้าเสาร์ ตะกรุดหน้าผากเสือใช้หนังหน้าผากเสือลงเลขยันต์ ตะกรุดโดยมากลงเลขยันต์ในแผ่นทอง เงิน ตะกั่ว ทองแดง ขนาดของตะกรุดเล็กใหญ่นั้นแล้วแต่เหมาะสม

  • ความสำคัญ

ตะกรุดใช้ทางอยู่ยงคงกะพัน คลาดแคล้วมหาอุด โชคลาภ ค้าขาย มหานิยม คลอดลูกง่าย และบางคนใช้คุมกำเนิดก็มี

  • พิธีกรรม

วัสดุที่จะนำมาทำตะกรุดต้องปลุกเสกเสียก่อน ตั้งแต่จับดินสอเหล็กจารหมึกลงอักขระก็ต้องเรียกสูตรเรียกนาม เข้าสนธิเรียกอักขระ ปลุกอักขระ ลงอะไรก็เรียกสูตรเรียกนามนั้น ลงทั้งยันต์และองค์พระ แล้วต้องผูกต้องตรึง การม้วนตะกรุดต้องมีคาถา เมื่อม้วนเสร็จแล้วต้องปลุกเสกและผูกอีก สายที่ร้อยมีการหมักย้อมด้วยว่านยา เวลาร้อยสายก็ต้องมีคาถาตลอดไป จนถึงการเอาไปแขวนและรักษาทุกประการ