ความเชื่อภาคใต้ - ลอยเรือชาวเล

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
01/01/2009
ที่มา: 
ประเพณีไทยดอทคอม http://www.prapayneethai.com/

ลอยเรือชาวเล

ภาค     ภาคใต้
จังหวัด  สตูล

  • ลักษณะความเชื่อ

การทำพิธีลอยเรือ ก็คือ การลอยบาป และเป็นการเสี่ยงทายในการประกอบอาชีพ กล่าวคือ การลอยเรือเป็นเครื่องกำหนดว่า การประกอบอาชีพจะเจริญก้าวหน้าหรืออัตคัดขาดแคลน โดยดูจากเรือที่ลอยเป็นสำคัญ คือถ้าเรือออกไปแล้ว ลอยออกไปไม่ถูกคลื่นซัดเข้าหาฝั่งเดิม แสดงว่าชาวเกาะทั้งหลาย จะเป็นผู้โชคดี การประกอบอาชีพคือการจับปลา จะจับได้มาก การหากินจะไม่ฝืดเคือง แต่ถ้าเรือถูกคลื่นซัดเข้าหาฝั่ง จะเป็นเครื่องชี้ว่า การทำมาหากินจะฝืดเคือง ชาวเกาะจะประสบโชคร้าย จากภัยธรรมชาติหรืออาจจะประสบอุบัติเหตุถึงชีวิต

  • ความสำคัญ

ชาวเลเชื่อว่าการลอยเรือ จะเป็นเครื่องชี้ว่า การทำมาหากินจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จ

  • พิธีกรรม

การลอยเรือของชาวเลทำกันปีละ ๒ ครั้ง คือในเดือน ๖ (พฤษภาคม) และเดือน ๑๑ (พฤศจิกายน) ในวันขึ้น ๑๓ ค่ำ ชาวเลจะหยุดงานทุกชนิด เพื่อเตรียมขนมนมเนย ข้าวตอก ดอกไม้เพื่อเตรียมไหว้ทวด และเตรียมปัดกวาดแผ้วถางบริเวณ "หลาทวด" การเตรียมงานดังกล่าวจะเริ่มตั้งแต่เช้าถึงเย็น เมื่อเสร็จการเตรียมงานแล้วประมาณ ๓ โมงเย็น ชาวเลทั้งหลายจะไปพร้อมกันณ บริเวณพิธี โดยไปยืนล้อมรอบ ๆ หลาทวดโดยพิธีกรประจำหมู่บ้าน ซึ่งเรียกว่า "โต๊ะหมอ" เป็นคนทำพิธี
พิธีจะเริ่มโดยชาวเลทั้งหลายนำข้าวตอกดอกไม้และขนมไปวางบนหลาทวด แล้วจุดธูปเทียนอธิษฐาน เพื่อให้ดวงวิญญาณทวดมีความสุข และขอความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง จากนั้นทุกคนจะเสี่ยงเทียน คืออธิษฐานขอให้เทียนเป็นเครื่องชี้บอกดวงชะตาของตนเองและครอบครัว พร้อมทั้งการประกอบอาชีพ คือ ถ้าการประกอบอาชีพและชีวิตครอบครัวราบรื่น ขอให้เปลวเทียนโชติช่วงสว่างไสว