วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
02/01/2009
ที่มา: 
ประเพณีไทยดอทคอม http://www.prapayneethai.com/

คอกช้างเผือก (พะเนียด)

 

ภาค     ภาคเหนือ
จังหวัด  ตาก

  • สถานที่ตั้ง ตั้งอยู่เชิงเขาด้านทิศตะวันตกของอำเภอแม่สอด บนฝั่งแม่น้ำเมย ในเขตอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

  • ประวัติความเป็นมา

สันนิษฐานว่า เป็นสถานที่ที่สร้างขึ้นสำคัญในสมัยกรุงสุโขทัย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ตามเกล็ดพงศาวดารกล่าวว่าเมื่อมะกะโท (คนเลี้ยงช้างชนชาติมอญ กาลต่อมาได้เป็นขุนวัง) ได้ลักพาเจ้าหญิงพระธิดาของพ่อขุนรามคำแหงหนีไปอยู่กรุงหงสาวดี ต่อมามะกะโทได้รับแต่งตั้งสถาปนาเป็นพระเจ้าแผ่นดินทรงพระนามว่า พระเจ้าฟ้ารั่ว ที่กรุงสุโขทัยในเวลานั้น มีช้างเผือกอยู่เชือกหนึ่งดุร้ายมาก พ่อขุนรามคำแหงจึงทรงเสี่ยงสัตย์อธิษฐานว่า หากช้างเผือกเชือกนั้นเป็นช้างคู่บารมีของกษัติรย์นครใดก็ขอให้บ่ายหน้าไป ทางนั้น เมื่อทรงประกอบพิธีเสร็จก็ปล่อยไป ช้างเผือกเชือกนั้นจึงชูงวงเป็นทักษิณาวัตรเปล่งเสียงร้องสามครั้งแล้วบ่าย หน้าออกจากประตูเมืองไปทางทิศตะวันตก พระองค์ทรงทราบทันทีว่าเป็นช้างคู่บารมีของพระเจ้าฟ้ารั่ว (มะกะโท) จึงร่างสาส์นให้ทหารนำไปให้พระเจ้าฟ้ารั่ว แจ้งว่าให้คอยมารับเอาช้างเผือกเชือกนั้น
พร้อมกับให้ทหารสะกดรอยตามเชือกเผือกเชือกนั้นไปจนถึงเชิงเขาแห่งหนึ่งมีแม่ น้ำขวางกั้น จึงได้ทรงพะเนียดล้อมไว้และได้ประกอบพิธีมอบกันที่บริเวณนี้

  • ลักษณะทั่วไป

คอกช้างเผือกนี้เป็นกำแพงก่ออิฐโบกปูนรูปสี่เหลี่ยม ปากคอกกว้าง ๑๕ เมตร เป็นรูปสอบเล็ก ๆ ขนานกันไปทั้งสองด้าน ยาวประมาณ ๕๐ เมตร

  • หลักฐานที่พบ

คอกช้างเผือก เป็นกำแพงรูปสี่เหลี่ยม

  • เส้นทางเข้าสู่คอกช้างเผือก

จากอำเภอแม่สอดไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๗ กิโลเมตร แยกขวาจากทางหลวงหมายเลข ๑๐๕ ตรงกิโลเมตรที่ ๘๒-๘๓ เข้าทางลูกรังประมาณ ๓๕ กิโลเมตร ที่ปากทางเข้ามีป้ายเขียนว่าโรงเรียนท่าอาจ และโรงเรียนวังตะเคียน