แหล่งโบราณคดีภาคเหนือ - แหล่งโบราณคดีเมืองพิษณุโลก

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
05/01/2009
ที่มา: 
ประเพณีไทยดอทคอม http://www.prapayneethai.com

แหล่งโบราณคดีเมืองพิษณุโลก

ภาค     ภาคเหนือ
จังหวัด  พิษณุโลก

  • สถานที่ตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
  • ประวัติความเป็นมา

แหล่งโบราณคดีเมืองพิษณุโลก เป็นชุมชนเก่าแก่ ตั้งแต่สมัยพุทธกาล หรือก่อนสมัยอาณาจักรเชลียงและศรีสัชนาลัย

  • ลักษณะทั่วไป

มีลักษณะเป็นเนินดินธรรมชาติ สูงและมีขนาดใหญ่ตั้งอยู่สองฝั่งแม่น้ำน่าน ฤดูน้ำน้ำไม่ท่วม มีคูน้ำคันดิน ๓ ชั้น รูปแบบสถาปัตยกรรมสุโขทัยและสร้างเมืองรูปแบบอยุธยาทับอยู่ ทางด้านฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่านเป็นชุมชนเริ่มแรก ส่วนพื้นที่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่านจะเป็นพื้นที่ของเขตพระราชวังจันทน์ ซึ่งเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ไทยที่เสด็จมาครองเมืองพิษณุโลก

  • หลักฐานที่พบ

ได้สำรวจพบหลักฐานโบราณคดีที่แสดงถึงความเก่าแก่ของเมืองพิษณุโลก คือ
๑. เมืองพิษณุโลกเป็นเมืองในสมัยพุทธกาล หลักฐาน คือ เอกสารตำนานและพงศาวดารเหนือกล่าวว่า "พระพุทธเจ้าเสด็จไปบิณฑบาตทางทิศตะวันตกและทิศตะวันออก แล้วเสด็จไปฉันท์จังหันใต้ต้นสมอ (ที่เขาสมอแครงปัจจุบัน)

๒. มีอายุร่วมสมัยกับเมืองเชลียง หลักฐาน คือ ศิลาจารึกหลักที่ ๒ กล่าวว่า พระยาคำแหง พระรามพระราชโอรสของพ่อขุนศรีนาวนำถม ทรงครองเมืองสระหลวง-สองแคว

๓. หลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่แสดงว่าเมืองพิษณุโลก มีอายุร่วมสมัยกับกรุงสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยาที่ปรากฏให้เห็น คือ

๓.๑ หลักฐานศิลาจารึกพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท) ทรงครองเมืองพิษณุโลก ๗ ปี และพระมหาธรรมราชาที่ ๒-๔ ทรงประทับเมืองพิษณุโลกด้วย
๓.๒ พบซากคูน้ำคันดิน สามชั้นรูปแบบสถาปัตยกรรมสุโขทัยในบริเวณด้านทิศตะวันตกและด้านใต้ของสถาบัน ราชภัฏพิบูลสงคราม และบริเวณถนนสายท๊อปแลนด์พลาซ่า-ทางรถไฟ-ถนนหน้าวัดธรรมจักร ซึ่งอยู่ทางด้านเหนือของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร
๓.๓ พบซากกำแพงเมือง ซากคูน้ำสมัยอยุธยา ตั้งอยู่ทางด้านสถานีตำรวจภูธรจังหวัดพิษณุโลก น่าจะสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

  • เส้นทางเข้าสู่แหล่งโบราณคดีเมืองพิษณุโลก

อยู่ภายในตัวเมืองพิษณุโลก ที่มีหลักฐานคูน้ำคันดินล้อมรอบ