วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
06/01/2009
ที่มา: 
ประเพณีไทยดอทคอม http://www.prapayneethai.com

วัดศรีชุม

ภาค     ภาคเหนือ
จังหวัด  สุโขทัย

  • สถานที่ตั้ง อยู่ในเขตอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

  • ลักษณะทั่วไป

วัดศรีชุม เป็นที่ประดิษฐานพระอจนะ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีชื่อปรากฎในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง พุทธศักราช ๑๘๓๕ (หลักที่ ๑) ลักษณะวิหารสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมลักษณะคล้ายมณฑป มุงหลังคาด้วยกระเบื้องดินเผา เนื่องจากพบเศษกระเบื้องมุงหลังคาตกกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ผนังทั้งสี่ด้านก่ออิฐถือปูนอย่างแน่นหนา ผนังด้านใต้มีช่องเป็นอุโมงค์ สามารถเข้าไปภายในและขึ้นไปตามบันไดแคบ ๆ จนถึงหลังพระอจนะ หรือวนขึ้นไปบนมณฑปด้านบนได้

  • หลักฐานที่พบ

๑. พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาได้บันทึกว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จมาแวะพักขบวนกองทัพและกระทำพิธีบวงสรวงก่อนเสด็จ ไปปราบเจ้าเมืองสวรรคโลก(ศรีสัชนาลัย)และเมืองพิชัย
๒. ผนังด้านบนมีภาพสลักหินชนวนเรื่องเกี่ยวกับชาดกจำนวน ๕๐ ภาพ ทุกภาพมีอักษรไทยสมัยสุโขทัยบรรยาย และจารึกวัดศรีชุมซึ่งสันนิษฐานว่าสร้างในราวพุทธศักราช ๑๘๘๔-๑๙๑๐ มีข้อความปรากฏดังนี้ พระเจดีย์สูงใหญ่รอบนั้นสลักหินห้าร้อยชาติ ติรเทศงามพิจิตรหนักหนาแก่กมตรุกมล้างเอาทองตรธานสมเด็จพระมหาสามีมาจากสีหล เอาฝูง แบกอิฐแต่ต่ำขึ้นไปกระทำพระเก้าท่านคืนบริวรณด้วยศรัทธา

  • เส้นทางเข้าสู่วัดศรีชุม

จากศาลากลางจังหวัดสุโขทัย ไปทางทิศตะวันตกตามทางหลวงแผ่นดินสาย ๑๖ ประมาณ ๑๒กิโลเมตร