วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
11/01/2009
ที่มา: 
ประเพณีไทยดอทคอม http://www.prapayneethai.com

เขาปลาร้า

ภาค     ภาคกลาง
จังหวัด  อุทัยธานี

  • สถานที่ตั้ง อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี

  • ประวัติความเป็นมา

เรื่องราวที่ปรากฏในศิลปะถ้ำเขาปลาร้า ประกอบกับโบราณวัตถุ เช่นอุปกรณ์การล่าสัตวจากหลักฐานเปรียบเทียบทางโบราณคดีใน แหล่งใกล้เคียงกันจึงสันนิษฐานว่า ศิลปะที่เขาปลาร้าน่าจะเป็นงาน ของกลุ่มชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อประมาณ ๓๐๐-๕๐๐๐ ปี ล่วงมาแล้ว

  • ลักษณะทั่วไป

เขาปลาร้า เป็นภูเขาหินปูนทางทิศตะวันตกของจังหวัดอุทัยธานีมีความยาวประมาณ ๘ กิโลเมตร กว้าง ๓.๕ กิโลเมตร ทิศเหนือ จดทางหลวงหมายเลข ๓๔๓๘และห้วยทับเสลาทิศใต้จดเขาทะลามะและห้วยขุนแก้ว ทิศตะวันออกจดบ้านสนามบินและเขาไกร ทิศตะวันตก จดเขาน้อย เขาห้วยโศกและลำห้วยโศก ยอดสูงสุดของเขาปลาร้าสูงกว่าระดับน้ำทะเล ๕๙๗ เมตร สำหรับบริเวณที่มีภาพเขียนสีที่เป็นหลักฐานแสดงถึงความเป็นมา แต่อดีตของจังหวัดอุทัยธานีนั้น อยู่บนชะโงกผา ชาวบ้านเรียกว่า ถ้ำประทุน บริเวณถ้ำนี้อยู่ด้านตะวันตก ค่อนลงไปทางใต้ของเขาปลาร้า ภาพเขียนสีจะอยู่ตามแท่นผาหิน ลักษณะเป็นวงโค้งรูปเกือกม้า แนวผนังของผาจึงมี ๒ ด้าน ด้านยาว อยู่ทางด้านตะวันออก และด้านใต้จะสั้น ตอนบนเป็นช่องโพรง สูง รูป

วงกลมตอนบนที่ชะโงกผายื่นออกมาคล้ายหลังคาคุ้มแดด คุ้มฝน ให้ภาพได้มากที่สุดภาพศิลปะเขาปลาร้านี้ปรากฏอยู่สูงกว่า
พื้นดินตั้งแต่ระดับ ๔ เมตร ถึงระดับ ๗ เมตร มีภาพเขียนสีบนผนังถ้ำตลอดแนวยาวประมาณ ๙ เมตร มีทั้งรูปคนและรูปสัตว์

  • หลักฐานที่พบ

๑. ภาพเขียนสีภาพทั้งหมดเขียนด้วยสีดำ สีแดง และสีแดง เข้ม มีการเขียน ซ้อนทับกันอยู่หลายภาพ พิจารณาจากลักษณะของ ภาพมีเทคนิคการลงภาพสี ต่าง ๆ กัน ได้แก่
๑. แบบเงาทึบ (Silhovette)
๒. แบบเงาทึบบางส่วน (Pantial silhouette)
๓. แบบโครงร่างภายนอก (Outline)
๔. แบบกิ่งไม้ (Stick Fiqure)
๕. แบบเส้นร่าง (Sketch)
ภาพที่ปรากฏตามผนัง มีกว่า ๔๐ รูปลักษณ์ แต่เขียน เสร็จค่อนข้างสมบูรณ์ มี ๓๐ รูปลักษณ์ ส่วนใหญ่เป็นรูปคนได้แก่ สุนัข ไก่ เต่า กบ กวาง วัว กระทิง ภาพต่าง ๆ เป็นภาพที่แสดง ลักษณะการเคลื่อนไหว ส่วนใหญ่อยู่ในท่ากระโดดโลดเต้นและร่ายรำรูปคนและสัตว์ เน้นถึงการตกแต่งร่างกาย รูปลักษณ์ต่าง ๆ ที่ปรากฏในภาพ เมื่อประกอบกับรายละเอียดต่าง ๆ ที่แสดงไว้จะเป็นภาพสะท้อน ถึงภาพภาพพิธีกรรมเพื่อความอุดมสมบูรณ์ เป็นสำคัญ เข้าใจว่ามีพิธีกรรม เพื่อการเกษตรกรรมเป็นหลักคล้าย ๆ พิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญพืชมงคลซึ่งเป็นพิธีกรรมสำคัญของชุมชนเกษตรกรรม ในสมัยประวัติศาสตร์ของเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีการต่อสู้วัวกระทิงก็เน้นให้เห็นว่าชุมชนเจ้าของศิลปะถ้ำที่เขาปลาร้ายัง คงมีการเข้าป่าล่า สัตว์อยู่ด้วย
๒. ขวานหิน
๓. ดินเผาของหม้อสามขา

  • เส้นทางเข้าสู่เขาปลาร้า

ถ้าเดินทางจากอำเภอหนองฉางไปตามเส้นทาง หนองฉาง-ลานสักประมาณ ๒๑.๕ กิโลเมตร จะเห็นเทือกเขาปลาร้า อยู่ทางด้านซ้ายมือ และจะมีทางแยกเข้าไปเป็นทางราดยาง อีก ประมาณ ๗ กิโลเมตร แล้วปีนเข้าขึ้นไปอีกประมาณ ๒ ชั่วโมงจะถึงยอดเขา

ที่มาข้อมูล ศิลปากร, กรม.กองโบราณคดี ,ศิลปะถ้ำเขาปลาร้าอุทัยธานี กรุงเทพฯ, ๒๕๓๓