วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
19/02/2009
ที่มา: 
http://www.monstudies.com

อักษรมอญ

อักษรมอญ ที่เก่าแก่ที่สุดนั้น ค้นพบในประเทศไทย หลักฐานที่พบคือ จารึกวัดโพธิ์ร้าง พ.ศ.  1143 เป็นอักษรมอญโบราณที่เก่าแก่ที่สุด ในบรรดาจารึกภาษามอญที่ได้ค้นพบ ในแถบเอเซียอาคเนย์ทั้งหมด ปรากฏว่าเป็นจารึกที่เขียนด้วยตัวอักษรปัลลวะ ที่ยังไม่ได้ดัดแปลงให้เป็น อักษรมอญ และได้พบอักษรที่มอญประดิษฐ์เพิ่มขึ้น เพื่อให้พอกับเสียงในภาษามอญ แสดงว่า  มอญใช้อักษรปัลลวะในการสื่อสาร อักษรที่ประดิษฐ์เพิ่มนี้ ยังได้พบในจารึกเสาแปดเหลี่ยมที่ศาลสูง เมืองลพบุรี ข้อความที่จารึกเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา สันนิษฐานว่า จารึกในพุทธศตวรรษที่ 13 ราว พ.ศ. 1314 อักษรจารึกในศิลาหลักนี้ เรียกว่า ตัวอักษรหลังปัลลวะ

จารึกที่พบต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ 16 ในสมัยอาณาจักรสะเทิม เป็นตัวอักษรมอญโบราณ จารึกที่ลำพูนก็เป็นอักษรมอญโบราณ

  • สมัยกลาง

ลักษณะ ภาษามอญ ในจารึกสมัยกลางเป็นทั้งภาษามอญและอักษรมอญ
  ชุดที่ 1 จารึกในประเทศพม่าภาคเหนือ ส่วนมากได้จากเมืองพะขัน และเมืองแปล ศิลาจารึกเหล่านี้ สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าอโนรธา กษัตริย์พุกามประมาณ พ.ศ. 1600 เป็นต้นมา พม่ารับอักษรมอญมาใช้เขียนภาษาพม่าเป็นครั้งแรก
    ชุดที่ 2 เป็นชุดศิลาจารึกที่พบที่วัดแห่งหนึ่งในนครลำพูน ลักษณะอักษรเป็นจารึกในสมัยพุทธศตวรรษที่ 17 หรือ 18
    ชุดที่ 3 เป็นจารึกในประเทศพม่าภาคใต้ เป็นจารึกของพระเจ้าธรรมเจดีย์ (พ.ศ. 2003-2034)

  • สมัยปัจจุบัน

ภาษามอญปัจจุบัน เป็นภาษาในระยะพุทธศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน นับเป็นระยะเวลาประมาณ 400 ปีเศษ ในยุคนี้เป็นจารึกในใบลาน

  • ประวัติตัวอักษรมอญ

ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16-17 ตัวอักษรได้คลี่คลายจากตัวอักษรปัลลวะ มาเป็นตัวอักษรสีเหลี่ยม คือ ตัวอักษรที่เรียกว่า อักษรมอญโบราณ และเปลี่ยนแปลงขนาดเล็กลง

ในระยะต่อมา ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 21 ก็ได้กลายเป็นอักษรมอญปัจจุบัน ซึ่งมีลักษณะกลม เกิดจากอิทธิพลของการจารหนังสือโดยใช้เหล็กจารลงบนใบลาน

  • พยัญชนะมอญ

  • สระมอญ