ศิลาจารึกวัดสรศักดิ์ ประวัติผู้แต่งศิลาจารึกวัดสรศักดิ์      จากการศึกษาข้อความภายในหลักศิลาจารึกนี้ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นการจารึกตามคำบอกของพระมหาเถรธรรมไตรโลกฯ และนายอินทสรศักดิ์ ซึ่งจารึกหลักนี้มีคุณค่าในด้านประเพณีการสร้างศาสนสถานของคนสุโขทัย ตลอดจนการแสดงถึงพระราชศรัทธาขององค์พระมหากษัตริย์ในการบำรุงพุทธศาสนา โดยการพระราชทานที่ดินเป็นจำนวนมากเพื่อการสร้างวัด ประวัติศิลาจารึกวัดสรศักดิ์       จารึกนี้เป็นหินชนวนสีเขียว รูปใบเสมา สูง 138 เซนติเมตร กว้าง 103 เซนติเมตร จารึกด้านเดียวเป็นอักษรภาษาไทย มีทั้งหมด 35 บรรทัด โดยจารึกนี้หน่วยขุดแต่งและบูรณเมืองสุโขทัยพบที่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของตระพังสอ ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย เมื่อ พ.ศ. 2498 ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ รามคำแหง จังหวัดสุโขทัย คำนำหลักศิลาจารึกวัดสรศักดิ์       หลักศิลาจารึกวัดสรศักดิ์ เป็นหลักศิลาจารึกซึ่งจารึกเกี่ยวกับประเพณีการสร้างศาสนสถานของคนสุโขทัย โดยเนื้อหาเกี่ยวกับการบริจาคที่ดินตลอดจนทรัพย์สินต่างๆของนายสรศักดิ์เพื่อเป็นสาธารณกุศล เมื่อศึกษาหลักศิลาจารึกนี้แล้วจะทำให้เยาวชนรุ่นหลังได้เห็นถึงความเมตตากรุณา และความเป็นพุทธศาสนิกชนของคนไทยสมัยสุโขทัยได้เป็นอย่างดี บรรทัดที่ ๑ ถึง ๕      สุรียสุพ่ม่ส่ตุอาทีสกัราช่ใด      ๑๑๓๔ ม่โรงสบัตสบัต่จดัต่วารีสกวนัพระหัสบ่ดีเดิอนหา      ฃึหาคำม่โรงนกัสดัตรจัดตวาริสกทานผูนิงชืนายอีนท่สอรสกัมีสร      ทาในพุทสาศน ้าจึงข่อทีอนัอยูนนัหนฃืใดสีสิบหาวาหนแปใดสาบสิบ      เกาวานีแกพ่อยูหวัวเจาท่ออกยาธรรัมราชาองทรงใตรวิดกนนัวาจสางอาราม่ถวายพระราดช่ บรรทัดที่ ๖ ถึง ๑๐      กุสนล่แกพ่อยูหวัวเจาทจิงพ่อยูหวัวเจาทใหอนุยาตแกนายอินท่สอรสกันนัทานก่มาปราบ      ใหราบงามดีใสในขน่นนัใสพ่อมหาเถรเจาองนิงเปนนาพระยาชืมหาเถรธรรัมใตรโลก      ยาน่ทัสีอยูตำบนล่ดาวขอนทานฃืมาถามขาวเจา พระยาหลานใสเมิอมาเถิงนใสเดิอนหกเพงพ่ยูหวัวเจาท่     เจาทรบัใปจอดในวัดตรกวนนันกอนจีงพ่ยูหวัวเจาพมีพระสาดแกนายสังคการียวาใหใปบอกแกนายอินท่      สอรสกัวาใหแตงทิจงดีแลหากุดิมาปุลกจนิมนพระมหาเถรเจาไปเอาพระสาในทีนนันายสังคการีย่รบัพระสาด บรรทัดที่ ๑๑ ถึง ๑๕      พ่มาบอกแกนายอีนทสอรสกัวาพ่ยูหวัวเจาทมีพระสาดมาวาใหนายอินทสอรสกัแตงทิจงดีแลหากุดีมา      ปุลกในนิแลจใหพระมหาเถรเจาทมาอยูเอาพระสาในนินายอินทสอรสกัเกืดโสรมนดัยินดีนกัหนาจีงหากุดีมา      ปุลกแลวจิงใหนายสังคการีย่ทูนแกพ่ยูหวัวเจาทจีงทปรสาดทใหนายสังคการียใปนิมนพรมหาเถรเจาท่      สบพ่วนัดีมาฃืกุดีแลสารนุสิดทังเจดพระองคนนัอิกพระสงคสบพ่สังวาดอนันมาถหวายพระพอรแก      พระมหาเถรเจาจิงพ่ยูหวัวเจาทนิมนเฃาชุนุมกบัพระเชตุพนล่อยูมาสบพ่วนัดีจิงพระมหาเถรเจา บรรทัดที่ ๑๖ ถึง ๒๐      กรบิตริในใจแลมาริดจนามหาเจดีมีชางรอบปรกอบดวยพระเจาอยอนตีนแลพระวิหารแลหอพระ      แลวเสรดจ สกัราดช่ฃืเกาตวัวอกนบพ่สกนนัใสพระบอรรมราชาทิบดัดีสีรมหาจกัพัดดีราชแล      พระมาดุราชแลพระมาดตุฉาเจาแล ทานสรเดจฃืมาใหทานชางเผอืกแลราชรถแกพระสงคทุก      เมิองแลยอมใดเองเมิอทานฃืมาใ นีใสพระมาตุฉาเจาทมาอยูตำหนักหวัวสรนามเก่าตรวนัตกวดั      สอรสกัทานมาปดทองในพระวิหาร ทานใวทีตำนกันนักบัอารามอยูมาในสักราชฃือตวันิง บรรทัดที่ ๒๑ ถึง ๒๕      รกาสำริดทิสกนนัพระมหาเถรเจาแลนายอีนทสอรสกัมาคิดควรชวนกนัแตงทานโดย      สระหลองมหาเจดีแลพระวิหารแลหอพระสบพ่วนัดีเอาคดีรยนแกพ่ยูหววเจา      ท่กอนุโมทนาทานกรบัร่ทาดอกใมใดสามวันทานสเดจมาสรดบัธรัมแลมหาอุบาสิกา      ทานนนัจิงพระมหาเถรข ้อนาใวกบัอารามโดยสรทาบพิตรจิงพ่ยูหวัวเจาทมีพระ      สาดทใหนาใวกบัอาราม ๔๐๐ ใร แม่ยูหวัวเจาทใวนา ๓๓๕ ใรนีเปนนาแจกนายสอรสกัข ้อปา บรรทัดที่ ๒๖ ถึง ๓๐      สางเปนนาแกพ่ยูหวัวเจาในตำบนบานสุกพอมนอยทานมีพระสาดทวาใหชกัปาให      จบนานนัใหเปนพนัใรใวกบัอารามอยูมาพระมหาเถรทแตงนาใวกบัมหาเจดี ๔๐ บาน      นากบัพระวิหาร ๑๔๐ อยูบานใผลอมแลบานหอดนาจงัอยูบานสุกพอมนอย      ๒๐๐ บานวงัดดั ๒๐ บานปาขาม ๒๐ บนตานโจะ ๒๐ บนหนองบัวหลวง ๔๐ นากบัห ้อ      พระอยูหนองยางนอย ๗๐ หวัวฝายสองวาย ๒๕ นาสงค ๓๕๐ อยูไร ซอน ๔๐๐ บรรทัดที่ ๓๑ ถึง ๓๕      บานล่กนันอย ๘๐ ล่กนัหลวง ๘๐ บานดง ๒๐ เจาสรามเนรหาสดัเจาภิกสุสิบสดัอยูมา      นายสอรสกัข ้ออากอรใดสีทีมูวดัพายบั ๒ ทีทีนิงกบัพระเจาอยอนตีนทีนิงกบัพร      เจาจงกรมในจาริก ๒ ทีอยูมูอีสารวดักบัพระวิหารทงัมวนเปนเบิย ๔๐๐๐๐ พรมหา      เถรเจาแลนายสอรสกัใวคำนบักบัจารีกต่อสินกัลปาพระสา ตูขาทานทงัหลายขนล่      ขวายทำในสาศหนานีจปราถหนาทนัสาศหนาพระสรีอาริยใมตรีโพทิสตัวะทุกชาด ฉบับถอดความ ศิลาจารึกวัดสรศักดิ์      บรรทัดที่ 1-7 กล่าวถึงนายสรศักดิ์ว่ามีศรัทธาในพุทธศาสนาได้ขอพระราชทานที่ดินออกญาธรรมราชา (พระมหาธรรมราชาที่ 3) เพื่อสร้างวัดถวายพระราชกุศลแด่พระองค์ ในปีศักราชได้ 1334 (พ.ศ. 1995) ปีมะโรง วันพฤหัสบดี เดือน 5 ขึ้น 5 ค่ำ ที่ดินดังกล่าวนี้เนื้อที่ด้านตะวันออกและด้านตะวันตกยาวสี่สิบห้าวา ด้านเหนือและด้านใต้ยาวสามสิบเก้าวา เมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตแล้วนายอินทรสรศักดิ์ จึงได้ทำการปรับพื้นที่ให้ราบเรียบ      บรรทัดที่ 7-15 กล่าวถึงน้าพระยา ซึ่งเป็นพระมหาเถรชื่อ มหาเถรธรรมไตรโลก (คจุนวาจาร?) ญาณทัสสี อยู่ที่ตำบลดาวขอน ได้ขึ้นมาถามข่าวเจ้าพระยาหลาน (คือ พระมหาธรรมราชาที่ 3) เมื่อวันเพ็ญ เดือน 6 พระมหาธรรมราชาจึงทรงนิมนต์ไปพักในวัดตระกวนก่อน แล้วจึงมีพระบรมราชโองการให้นายสังฆการีไปบอกแก่นายอินทสรศักดิ์ว่า จงปรับที่ดินให้ดีและให้ปลูกกุฎีเพื่อจะได้นิมนต์พระมาหเถรเจ้าไปจำพรรษาที่นั่น นายอินทสรศักดิ์ได้ปลูกกุฎี แล้วพระหมาธรรมราชาก็ได้โปรดให้นายสังฆการีไปนิมนต์พระมหาเถรเจ้ามาขึ้นกฎี พร้อมด้วยสานุศิษย์ทั้ง 7 และพระสงฆ์ทั้งหลาย      บรรทัดที่ 15-17 เป็นตอนที่พระมหาเถรเจ้าตกแต่งพระมหาเจดีย์ให้มีช้างรอบ และมีพระพุทธรูป ได้สร้างพระวิหารและหอพระด้วย      บรรทัดที่ 17-20 ในปี พ.ศ. 1959 ปีวอก พระบรมราชาธิบดีศรีมหาจักรพรรดิราช (กษัตริย์อยุธยา) พร้อมด้วยพระมาตุราช และมาตุจฉาเจ้า เสด็จขึ้นมาพระราชทานช้างเผือก และราชรถแก่พระสงฆ์ทุกเมือง พระมาตุจฉาเจ้าได้เสด็จมาประทับ ณ ตำหนักสนามเก่า ทางตะวันตกของวัดสรศักดิ์ ได้เสด็จมาปิดทองในพระวิหาร และพระราชทานที่ตำหนักนั้นแก่วัด      บรรทัดที่ 20-27 ในปี พ.ศ. 1960 ปีระกา พระมหาเถรเจ้าและนายอินทสรศักดิ์ ได้ร่วมกันกระทำทานฉลองพระมหาเจดีย์ พระวิหาร และหอพระ พระมหาธรรมราชาก็ทรงอนุโมทนา ได้เสด็จมาสดับธรรมพร้อมด้วยมหาอุบาสิกา (หมายถึง แม่อยู่หัวเจ้า) พระมหาเถรเจ้าได้ขอพระราชทานที่นาให้วัด พระองค์ก็ได้พระราชทานที่นาให้ 400 ไร่ ส่วนแม่อยู่หัวเจ้าพระราชทานให้ 335 ไร่ นอกจากนี้นายอินทรสรศักดิ์ยังขอพระราชทานป่าในตำบลบ้านสุกพอมน้อย เพื่อสร้างเป็นนา พระองค์ก็พระราชทานให้พันไร่ไว้กับวัด      บรรทัดที่ 27-33 จะพูดถึงรายการที่พระมหาเถรเจ้าจัดที่นาสำหรับศาสนสถานในที่ต่างๆ      บรรทัดที่ 33-35 เป็นตอนสุดท้ายซึ่งจารึกกล่าวไว้ว่าพระมหาเถรเจ้าและนายสรศักดิ์ ให้จารึกไว้เป็นหลักฐาน ตราบสิ้นกลัปาวสาน และบอกวัตถุประสงค์ของการบำเพ็ญบุญกุศลต่างๆนี้ไว้ว่า ปรารถนาจะไปเกิดในสมัยพระศรีอาริย์ บรรณานุกรมศิลาจารึกวัดสรศักดิ์ น้อมนิจ วงศ์สุทธิธรรม. วรรณคดีสุโขทัย. พิมพ์ครั้งที่๔. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง , ๒๕๓๔. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์ , ๒๕๒๕. สำนักนายกรัฐมนตรี. ประชุมศิลาจารึก ภาคที่๔. โรงพิมพ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี , ๒๕๑๕. ดัชนีคำศัพท์ศิลาจารึกวัดสรศักดิ์ กุสน : ผลบุญแต่ปางก่อน กัลปาพระสา : ตราบนานเท่านาน คำนับ : หลักฐาน จอด : พัก จาริก : กิจที่ควรกระทำ ชักป่า : ถางป่า แตงทาน : การจัดเตรียมสิ่งของที่ใช้ทำบุญ ท : ท่าน ธรรัมใตรโลก : ธรรมไตรโลกสุนทราจารย์ ปรสาด : สั่ง พระสาด : การสั่ง ภิกสุ : พระสงฆ์ มสตุอาทีสกัราชใด ๑๓๓๔ : พ.ศ. ๑๙๕๕ มาเถิง : มาถึง รบิ : แรกคิด , แรกทำ ราชรถ : รถลากเทียมม้า สกัราชฃืเกาตัววอก : พ.ศ. ๑๙๕๙ สกัราชฃืตัวนิงรกาสำริดทิสก : พ.ศ. ๑๙๖๐ สบัตจัดตวารี : จ.ศ. ๗๗๔ หรือ พ.ศ. ๑๙๕๕ สบพสังวาด : อยู่ร่วมกัน สานุสิด : ลูกศิษย์ทั้งหลาย โสรมนัด : ยินดี หนฃื : ด้านตะวันออกและด้านตะวันตก หนแป : ด้านเหนือและด้านใต้ อนุโมทนา : ยินดีด้วย อาราม : วัด เอาพระสา : จำพรรษา