บทสวดมนต์ไหว้พระ รวบรวมโดย "เจ็ตกร" จากแหล่งข้อมูลหลายสิบแห่ง และจะยังคงใส่เพิ่มเรื่อยๆ หากยังมีเวลาว่าง คำนำ บทสวดมนต์ไว้พระนี้ เหมาะสำหรับพุทธศาสนิกชนทั่วไป พระสงค์ ฆราวาส คฤหัสถ์ หรือผู้สนใจ ใช้ได้ทุกโอกาส ขณะทำสมาธิก็ดี ทำวัตรเช้าเย็นก็ดี หรือไหว้พระสวดมนต์ก็ดี อันเป็นกิจวัตรที่สำคัญอย่างหนึ่งของพุทธศาสนิกชนที่พึงกระทำ อันปฏิบัติสืบเนื่องต่อกันมาช้านานแล้ว ถือว่าเป็นการช่วยสืบต่ออายุศาสนาพุทธอีกนัยหนึ่งด้วย ทำให้มาไว้เพื่อแจกจ่ายให้เป็นธรรมทาน มีอะไรแนะนำติชมจักเป็นพระคุณยิ่ง เจ็ตกร สารบัญ - คำสวดทำวัตรเช้า - คำสวดทำวัตรเย็น ************************************************************************************************ - คำบูชาพระ - คำบูชาพระรัตนตรัย - ศีล ๕ - คำอาราธนาศีล ๕ - คำอาราธนาอุโบสถศีล - คำสมาทานศีล - คำอาราธนาธรรม - คำอาราธนาพระปริตร - บทสวดถวายพรพระ - บทกราบพระรัตนตรัย - นมัสการพระรัตนตรัย - บทสวดพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ - แปลบทสวดพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ - บทแผ่เมตตา - บทแผ่ส่วนกุศล - การบูชาพระ - สรณคมน์ - คาถาเชิญชุมนุมเทวดา - วิปัสสิต (กรวดน้ำ) - พุทธมังคลคาถา - คาถาบูชาพระสมเด็จ - คำอาราธนาพระสมเด็จ - คาถาสืบสร้างทางสวรรค์-นิพพาน - คำไหว้ปาระมี ๓๐ ทัส (ครูบาศรีวิชัย) - พระคาถามงคลจักรวาฬทั้ง8ทิศ - คำไหว้พระธาตุรวม - บทแผ่เมตตา - คำบูชาพระรัตนตรัย - คำอาราธนาศีล ๕ - พระคาถาป้องกันภัยสิบทิศ - ศีล ๕ - คำอาราธนาศีล ๕ - คำสมาทานศีล - คำอาราธนาธรรม - คำอาราธนาพระปริตร - บทสวดมหาการุณี - บทสวดถวายพรพระ - โองการเทพชุมนุม - บทแผ่ส่วนกุศล - คาถาเกจิ (หลวงปู่มั่น หลวงปู่ทวด หลวงพ่อเกษม) - คำไหว้พระจุฬามณี ฯ ************************************************************************************************ - อิติปิโสรัตนมาลา 108 คาถาบท - ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก (สวดอย่างเดียว) - ยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎก (สวดกับแปล) - ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก(ย่อความ) - คาถาชินบัญชร (สวด) - คาถาชินบัญชร (แปลคำกลอน) - คาถาชินบัญชร (แปลไทย) - พุทธชัยมงคลคาถา - พุทธชัยมงคลคาถา (แปล) - มหาการุณิโก (บทต่อจากพาหุง) - ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร - สิบสองตำนาน - เมตตาพรหมวิหาระภาวนา ************************************************************************************************ - อิติปิโสธงชัย - อิติปิโสนะวะหอระคุณ - อิติปิโสแก้นะวะหอระคุณ - หัวใจพระอิติปิโส - อิติปิโส 8 ทิศ 8 ด้าน - อิติปิโสเรือนเตี้ย - อิติปิโส (ตามทิศ) - อิติปิโสแปลงรูป - อิติปิโสตรึงไตรภพ - อิติปิโสนารายณ์คลายจักร - อิติปิโสถอยหลัง - อิติปิโสย้ายรูป - อิติปิโสย้ายรูปถอยหลัง - อิติปิโสภุชฌงค์ซ่อนหัว - อิติปิโสภุชฌงค์ซ่อนหาง - อิติปิโสนารายณ์บรรทมสินธุ์ - อิติปิโสนารายณ์บรรทมสินธุ์ถอยหลัง - อิติปิโสถอยหลัง 3 ห้อง ************************************************************************************************ - คำไหว้บารมี ๓๐ ทัศ - คำถวายทานต่างๆ - อนุโมทนาวิธี - ชุมนุมเทวดา - โองการเทพชุมนุม - ธัมมะจักร - พระคาถาป้องกันภัยทั้ง10ทิศ - พระคาถาอาการะวัตตาสูตร - วิปัสสะนาภูมิปาฐะ - คาถาบูชาดวงชาตา - กรวดน้ำ - บทแผ่ส่วนกุศล - รวมบทสวดมนต์ไหว้พระ เสี่ยงบารมี ตรวจน้ำ แผ่เมตตา - ติโรกุฑฑะกัณฑะปัจฉิมกาล - พระคาถาบูชาหลวงปู่เทพโลกอุดร - บทกรวดน้ำ - บทกรวดน้ำพิเศษ - คำอธิษฐานภาษาไทยโบราณ - บทปลงสังขาร - บทสวดคาถาพระแม่กวนอิม - พระโอวาทของท่านอรหันต์จี้กง ********************************************************************* - คำสวดทำวัตรเช้า หมายเหตุ คำบาลีในวงเล็บใช้สำหรับผู้สวดภาวนาที่เป็นสตรี เริ่มด้วยการบูชาพระรัตนตรัยว่า โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ สวากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ ปัจฉิมาชะนะตานุกัมปะมานะสา อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ (แต่ถ้าแบบธรรมยุตพระเถระจะเริ่มจากที่นี่) อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ) สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ) สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ) (เฉพาะแบบธรรมยุต-ผู้สวดนำกล่าวผู้เดียวว่า ยะมัมหะ โข มะยัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา โย โน ภะคะวา สัตถา ยัสสะ จะ มะยัง ภะคะวะโต ธัมมัง โรเจมะ อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง สะสัทธัมมัง สะสาวะกะสังฆัง อะภิปูชะยามะ) (ต่อ) ปุพพภาคนมการ (ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส) นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ) พุทธาภิถุติ (ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง พุทธาภิถุติง กะโรมะ เส) โย โส ตะถาคะโต อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวา โย อิมัง โลกัง สะเทวะกัง สะมาระกัง สะพรหมะกัง สัสสะมะณะพราหมะณิง ปะชัง สะเทวะมะนุสสัง สะยัง อะภิญญา สัจฉิกัตวา ปะเวเทสิ โย ธัมมัง เทเสสิ อาทิกัลยาณัง มัชเฌกัลยาณัง ปะริโยสานะกัลยาณัง สาตถัง สะพยัญชะนัง เกวะละปะริปุณณัง ปะริสุทธัง พรหมะจะริยัง ปะกาเสสิ ตะมะหัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ ตะมะหัง ภะคะวันตัง สิระสา นะมามิ (กราบ) ธัมมาภิถุติ (ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง ธัมมาภิถุติง กะโรมะ เส) โย โส สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ ตะมะหัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ ตะมะหัง ธัมมัง สิระสา นะมามิ (กราบ) สังฆาภิถุติ (ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง สังฆาภิถุติง กะโรมะ เส) โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลิกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ ตะมะหัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ ตะมะหัง สังฆัง สิระสา นะมามิ (กราบ แล้วนั่งราบ) รตนัตตยัปปณามคาถา (ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง ระตะนัตตะยัปปะณามะคาถาโย เจวะ สังเวคะวัตถุปะริทีปะกะปาฐัญจะ ภะณามะ เส) พุทโธ สุสุทโธ กะรุณามะหัณณะโว โยจจันตะสุทธัพพะระญาณะโลจะโน โลกัสสะ ปาปูปะกิเลสะฆาตะโก วันทามิ พุทธัง อะหะมาทะเรนะ ตัง ธัมโม ปะทีโป วิยะ ตัสสะ สัตถุโน โย มัคคะปากามะตะเภทะภินนะโก โลกุตตะโร โย จะ ตะทัตถะทีปะโน วันทามิ ธัมมัง อะหะมาทะเรนะ ตัง สังโฆ สุเขตาภยะติเขตตะสัญญิโต โย ทิฏฐะสันโต สุคะตานุโพธะโก โลลัปปะหีโน อะริโย สุเมธะโส วันทามิ สังฆัง อะหะมาทะเรนะ ตัง อิจเจวะเมกันตะภิปูชะเนยยะกัง วัตถุตตะยัง วันทะยะตาภิสังขะตัง ปุญญัง มะยา ยัง มะมะ สัพพุปัททะวา มา โหนตุ เว ตัสสะ ปะภาวะสิทธิยา สังเวคปริกิตตนปาฐะ อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ธัมโม จะ เทสีโต นิยยานิโก อุปะสะมิโก ปะรินิพพานิโก สัมโพธะคามี สุคะตัปปะเวทิโต มะยันตัง ธัมมัง สุตวา เอวัง ชานามะ ชาติปิ ทุกขา ชะราปิ ทุกขา มะระณัมปิ ทุกขัง โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา เสยยะถีทัง รูปูปาทานักขันโธ เวทะนูปาทานักขันโธ สัญญูปาทานักขันโธ สังขารูปาทานักขันโธ วิญญาณูปาทานักขันโธ เยสังปะริญญายะ ธะระมาโน โส ภะคะวา เอวัง พะหุลัง สาวเก วิเนติ เอวัง ภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะเกสุ อะนุสาสะนี พะหุลา ปะวัตตะติ รูปัง อะนิจจัง เวทะนา อะนิจจา สัญญา อะนิจจา สังขารา อะนิจจา วิญญาณัง อะนิจจา รูปัง อะนัตตา เวทะนา อะนัตตา สัญญา อะนัตตา สังขารา อะนัตตา วิญญาณัง อะนัตตา สัพเพ สังขารา อะนิจจา สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ เต (ตา) มะยัง โอติณณามหะ ชาติยา ชะรามะระเณนะ โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ ทุกโขติณณา ทุกขะปะเรตา อัปเปวะนามิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยา ปัญญาเยถาติ จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณังคะตา ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ ตัสสะ ภะคะวะโต สาสะนัง ยะถาสะติ ยะถาพะลัง มะนะสิกะโรมะ อะนุปะฏิปัชชามะ สา สา โน ปะฏิปัตติ อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ *จบทำวัตรเช้า แต่อาจต่อด้วยคาถากรวดน้ำตอนเช้าดังนี้ (มีข้อสังเกตุว่ามีหลายสำนวนด้วยกันและจะไม่เหมือนกัน) (ต่อ) สัพพปัตติทานคาถา (กรวดน้ำระลึกพระคุณ) (ผู้นำสวดเริ่มว่า หันทะ มะยัง สัพพะปัตติทานะคาถาโย ภะณามะ เส) ปุญญัสสิทานิ กะตัสสะ ยานัญญานิ กะตานิ เม เตสัญจะ ภาคิโน โหนตุ สัตตานันตาปปะมาณะกะ เย ปิยา คุณะวันตา จะ มัยหัง มาตาปิตาทะโย ทิฏฐา เม จาปยะทิฏฐิ วา อัญเญ มัชฌัตตะเวริโน สัตตา ติฏฐันติ โลกัสมิง เต ภุมมา จะตุโยนิกา ปัญเจกะจะตุโวการา สังสะรันตา ภะวาภะเว ญาตัง เย ปัตติทานัมเม อะนุโมทันตุ เต สะยัง เย จิมัง นัปปะชานันติ เทวา เตสัง นิเวทะยุง มะยา ทินนานะ ปุญญานัง อะนุโมทะนะ เหตุนา สัพเพ สัตตา สะทา โหนตุ อะเวรา สุขะชีวิโน เขมัปปะทัญจะ ปัปโปนตุ เตสาสา สิชฌะตัง สุภา (จบแล้วกล่าวเพิ่มว่า) อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ) สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ) สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆังนะมามิ (กราบ) มาตาปิตุอุปัฏฐานัง อะหัง วันทามิ (กราบ) คะรุอุปัชฌายะอาจาริยะคุณัง อะหัง วันทามิ (กราบ) จบทำวัตรเช้าบริบูรณ์ - คำสวดทำวัตรเย็น หมายเหตุ คำบาลีในวงเล็บใช้สำหรับผู้สวดภาวนาที่เป็นสตรี เริ่มด้วยการบูชาพระรัตนตรัยว่า อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ) สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ) สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ) (เฉพาะแบบธรรมยุติ-ผู้สวดนำกล่าวผู้เดียวว่า ยะมัมหะ โข มะยัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา โย โน ภะคะวา สัตถา ยัสสะ จะ มะยัง ภะคะวะโต ธัมมัง โรเจมะ อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง สะสัทธัมมัง สะสาวะกะสังฆัง อะภิปูชะยามะ) (ต่อ) ปุพพภาคนมการ (แบบธรรมยุตผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะทานิ มะยันตัง ภะคะวันตัง วาจายะ อภิคายิตุง ปุพพะภาคะ นะมะการัญเจวะ พุทธานุสสะตินะยัญจะ กะโรมะ เส) (แบบมหานิกายผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส) นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า ๓ จบแล้วกราบ 3 ครั้ง) พุทธานุสสติ (ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง พุทธานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส) ตัง โข ปะนะ ภะคะวันตัง เอวัง กัลยาโณ กิตติสัทโท อัพภุคคะโต อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ พุทธาภิคีติ (ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง พุทธาภิคีติง กะโรมะ เส) พุทธะวาระหันตะวะระตาทิคุณาภิยุตโต สุทธาภิญาณะกะรุณาหิ สะมาคะตัตโต โพเธสิ โย สุชะนะตังกะมะลังวะ สูโร วันทามะหัง ตะมะระณัง สิระสา ชิเนนทัง พุทโธ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง ปะฐะมานุสสติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง พุทธัสสาหัสมิ ทาโส (ทาสี) วะ พุทโธ เม สามิกิสสะโร พุทโธ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม พุทธัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง วันทันโตหัง (ตีหัง) จะริสสามิ พุทธัสเสวะ สุโพธิตัง นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน พุทธัง เม วันทะมาเนนะ (มานายะ) ยังปุญญัง ปะสุตัง อิธะ สัพเพปิ อันตะระยา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา (กราบหนึ่งครั้ง) กาเยนะ วาจายะ วะเจตะสา วา พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยายัง พุทโธ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะ ยันตัง กาลันตะเร สังวะริตุง วะพุทเธ (ต่อ) ธัมมานุสสติ (ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง ธัมมานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส) สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูฮีติ ธัมมาภิคีติ (ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง ธัมมาภิคีติง กะโรมะ เส) สวากขาตะตาทิคุณะโยคะวะเสนะ เสยโย โย มัคคะปากะปะริยัตติวิโมกขะเภโท ธัมโม กุโลกะปะตะนา ตะทะธาริธารี วันทามะหัง ตะมะหะรัง วะระธัมมะเมตัง ธัมโม โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง ทุติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง ธัมมัสสาหัสมิ ทาโส (ทาสี) วะ ธัมโม เม สามิกิสสะโร ธัมโม ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม ธัมมัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง วันทันโตหัง (ตีหัง) จะริสสามิ ธัมมัสเสวะ สุธัมมะตัง นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุ สาสะเน ธัมมัง เมวันทะมาเนนะ (มานายะ) ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา ธัมเม กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง ธัมโม ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง กาลันตะเร สังวะริตุง วะ ธัมเม สังฆานุสสติ (ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง สังฆานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส) สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อายุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสา ติ สังฆาภิคีติ (ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง สังฆาภิคีติง กะโรมะ เส) สัทธัมมะโช สุปะฏิปัตติคุณาทิยุตโต โยฏฐัพพิโธ อะริยะปุคคะละสังฆะเสฏโฐ สีลาทิธัมมะปะวะราสะยะกายะจิตโต วันทามะหัง ตะมะริยานะคะณัง สุสุทธัง สังโฆ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง ตะติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง สังฆัสสาหัสมิ ทาโส (ทาสี) วะ สังโฆ เม สามิกิสสะโร สังโฆ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม สังฆัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง วันทันโตหัง (ตีหัง) จะริสสามิ สังฆัสโสปะฏิปันนะตัง นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณัง วะรัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุ สาสะเน สังฆัง เม วันทะมาเนนะ (มานายะ) ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา กาเยนะ วาจายะ เจตะสา วา สังเฆ กุกัมมัง ปะกะตัง มายา ยัง สังโฆ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง กาลันตะเร สังวะริตุง วะ สังเฆ จบทำวัตรเย็น ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ - คำบูชาพระ อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง ปูเชมิ อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง ปูเชมิ อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง ปูเชมิ - คำบูชาพระรัตนตรัย (บทสวดนมัสการนอบน้อมบูชาพระพุทธเจ้า) นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ ) ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง โดยชอบ (กราบ) (เริ่ม) อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ. (กราบ) สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมังนะมัสสามิ. (กราบ) สุปะฏิปปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ. (กราบ) พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ข้าพเจ้าขออภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน (กราบ) พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว , ข้าพเจ้าขอนมัสการ พระธรรม (กราบ) พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ (กราบ) (บทสวดพุทธานุสสติ) อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, วัชชาจะระณะสัมปันโน, สุขโต โลกะวิทู, อนุตตะโร ปุริสสะทัมมะสาระถิ,สัตถา เทวะมะนุสสานัง, พุทโธ ภะคะวาติ (กราบ) เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นผู้ไกลจากกิเลส และตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะเป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถผฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความเจริญ เป็นผู้จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ดังนี้. (บทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ ทำนองสรภัญญะ) องค์ใดพระสัมพุทธ สุวิสุทธสันดาน ตัดมูลเกลศมาร บ มิหม่นมิหมองมัว หนึ่งในพระทัยท่าน ก็เบิกบานคือดอกบัว ราคี บ พันพัว สุวคนธกำจร องค์ใดประกอบด้วย พระกรุณาดังสาคร โปรดหมู่ประชากร มละโอฆกันดาร ชี้ทางบรรเทาทุกข์ และชี้สุขเกษมสานต์ ชี้ทางพระนฤพาน อันพ้นโศกวิโยคภัย พร้อมเบญจพิธจัก- ษุจรัสวิมลใส เห็นเหตุที่ใกล้ไกล ก็เจนจบประจักษ์จริง กำจัดน้ำใจหยาบ สันดานบาปแห่งชายหญิง สัตว์โลกได้พึ่งพิง มละบาปบำเพ็ญบุญ ข้าขอประณตน้อม ศิรเกล้าบังคมคุณ สัมพุทธการุญ- ญภาพนั้นนิรันดร (กราบ) (บทสวดธัมมานุสสติ) สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, สันทิฏฐิโก, อะกาลิโก, เอหิปัสสิโก, โอปะนะยิโก, ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหี ติ (กราบ) พระธรรม ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว เป็นสิ่งที่ผู้รู้พึงรู้ได้เฉพาะตน ดังนี้ (บทสวดสรรเสริญพระธรรมคุณ ทำนองสรภัญญะ) ธรรมะคือคุณากร ส่วนชอบสาธร ดุจดวงประทีปชัชวาล แห่งองค์พระศาสดาจารย์ ส่องสัตว์สันดาน สว่างกระจ่างใจมล ธรรมใดนับโดยมรรคผล เป็นแปดพึงยล และเก้านับทั้งนฤพาน สมญาโลกอุดรพิสดาร อันลึกโอฬาร พิสุทธิ์พิเศษสุกใส อีกธรรมต้นทางครรไล นามขนานขานไข ปฏิบัติปริยัติเป็นสอง คือทางดำเนินดุจครอง ให้ล่วงลุปอง ยังโลกอุดรโดยตรง ข้าขอโอนอ่อนอุตมงค์ นบธรรมจำนง ด้วยจิตและกายวาจาฯ (กราบ) ( บทสวดสังฆานุสสติ) สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง, จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐปุริสปุคคะลา, เอสะ ภะคะวะโต สาวะกสังโฆ อาหุเนยโย, ปาหุเนยโย, ทักขิเนยโย, อัญชะลีกะระณีโย, อนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ (กราบ) พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว ได้แก่ บุคคลเหล่านี้คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ นั่นแหละพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านเป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้ (กราบ) บทสวดสรรเสริญพระสังฆคุณ ทำนองสรภัญญะ สงฆ์ใดสาวกศาสดา รับปฏิบัติมา แต่องค์สมเด็จภควันต์ เห็นแจ้งจตุสัจเสร็จบรร- ลุทางที่อัน ระงับและดับทุกข์ภัย โดยเสด็จพระผู้ตรัสไดร ปัญญาผ่องใส สะอาดและปราศมัวหมอง เหินห่างทางข้าศึกปอง บ มิลำพอง ด้วยกายและวาจาใจ เป็นเนื้อนาบุญอันไพ- ศาลแด่โลกัย และเกิดพิบูลย์พูนผล สมญาเอารสทศพล มีคุณอนนต์ อเนกจะนับเหลือตรา ข้าขอนพหมู่พระศรา- พกทรงคุณา- นุคุณประดุจรำพัน ด้วยเดชบุญข้าอภิวันท์ พระไตรรัตน์อัน อุดมดิเรกนิรัติศัย จงช่วยขจัดโพยภัย อันตรายใดใด จงดับและกลับเสื่อมสูญ (กราบ) กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา, พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง, พุทโธ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง, กาลันตะเร สังวะริตุง วะ พุทเธ, ด้วยกายก็ดี ดวยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี กรรมน่าติเดียนอันใดที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้า, ขอพระพุทธเจ้า จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น เพื่อสำรวมระวัง ในพระพุทธเจ้าในกาลต่อไป. กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา, ธัมเม กุกัมมัง ปะกะตัง มายา ยัง, ธัมโม ปฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง, กาลันตะเร สังวะริตุง วะ ธัมเม ด้วยกายก็ดี ดวยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี กรรมน่าติเดียนอันใดที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ในพระธรรม, ขอพระธรรม จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น เพื่อสำรวมระวัง ในพระธรรมในกาลต่อไป. กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา, สังเฆ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง, สังโฆ ปฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง, กาลันตะเร สังวะริตุง วะ สังเฆ ด้วยกายก็ดี ดวยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี กรรมน่าติเดียนอันใดที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ในพระสงฆ์, ขอพระสงฆ์ จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น เพื่อสำรวมระวัง ในพระสงฆ์ในกาลต่อไป. - ศีล ๕ 1. ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท คือ ละเว้นจากการยังสัตว์มีลมปราณให้ตกล่วงไป 2. อทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท คือ ละเว้นจากการหยิบเอาสิ่งของที่เจ้าไม่อนุญาต 3. กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท คือ ละเว้นจากการประพฤติผิดในกาม 4. มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท คือ ละเว้นจากการพูดเท็จ 5. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท คือ ละเว้นจากการดื่มสุราเมรัยอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งความประมาท - คำอาราธนาศีล ๕ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะสะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะสะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะสะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ *หมายเหตุ อาราธนาศีล ๘ ในวันพระก็แบบเดียวกัน ต่างกันแต่ เปลี่ยน ปัญจะ เป็น อัฏฐะ เท่านั้น - คำอาราธนาอุโบสถศีล มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมัน นาคะตัง อุโปสะถัง ยาจามะ ฯ ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง ยาจามะ ฯตะติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง ยาจามะ ฯ - คำสมาทานศีล นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณังคัจฉามิ - คำอาราธนาธรรม พรัหมา จะ โลกาธิปะตี สะหัมปะติ, กัตอัญชะลี อันธิวะรัง อะยาจะถะ, สันตีถะ สัตตาปปะระชัก ขะชาติกา, เทเสตุ ธัมมัง อะนุกัมปิมัง ปะชัง - คำอาราธนาพระปริตร วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา สัพพะทุกขะวินาสายะ ปะริตตัง พรูถะมังคะลัง วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา สัพพะภะยะวินาสายะ ปะริตตัง พรูถะมังคะลัง วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา สัพพะโรคะวินาสายะ ปะริตตัง พรูถะมังคะลัง - บทสวดถวายพรพระ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ - บทกราบพระรัตนตรัย อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ) สะหวากขาโต ภะคะวาตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ) สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ) แปลบทกราบพระรัตนตรัย พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองคเอง ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน (กราบ) พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม (กราบ) พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์ (กราบ) - นมัสการพระรัตนตรัย นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (สวด ๓ จบ) แปลนมัสการพระรัตนตรัย ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ( ๓ ครั้ง) - บทสวดพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ พุทธคุณ อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ ธรรมคุณ สะหวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูฮีติ สังฆคุณ สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ - แปลบทสวดพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ดีโดยชอบได้โดยพระองค์เอง ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ(ความรู้และความประพฤติ) เสด็จไปด้วยดี(คือไปที่ใดก็ยังประโยชน์ให้ที่นั้น) ทรงรู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง ทรงเป็นสารถีฝึกคนที่สมควรฝึกได้อย่างหาผู้อื่นเปรียบมิได้ ทรงเป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม ทรงเป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรม สั่งสอนสัตว์ ดังนี้ฯ (ต่อ) พระธรรมเป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว เป็นสิ่งที่ผู้รู้ ก็รู้ได้ เฉพาะตน ดังนี้ฯ (ต่อ) พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติสมควรแล้ว ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ คู่แห่งบุรุษสี่คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้แปดบุรุษ นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้ฯ - บทแผ่เมตตา (คาถาแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย) สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น อะเวรา จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย อัพยาปัชฌา จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้พยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย อะนีฆา จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กาย ทุกข์ใจเลย สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด (คาถาแผ่เมตตาตนเอง) อะหัง สุขิโต โหมิ ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข อะหัง นิททุกโข โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากความทุกข์ อะหัง อะเวโร โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากเวร อะหัง อัพยาปัชโฌ โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ ขอให้ข้าพเจ้าจงมีความสุขกายสุขใจ รักษากายวาจาใจให้พันจากความทุกข์ภัยทั้งปวงเถิด แผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ สัพเพสัตตา สัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น อะเวรา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย อัพยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้พยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย อนีฆา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิดฯ (บทเมตตา) สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น อะเวรา โหนตุ จงเป็นผู้ไม่มีเวรแก่กันและกันเถิด อัพยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นผู้ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน อะนีฆา โหนตุ จงเป็นผู้ไม่มีทุกข์กาย ทุกข์ใจเถิด สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงเป็นผู้มีสุข พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด (บทกรุณา) สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น สัพพะทุกขา ปะมุจจันตุ จงพ้นจากทุกข์เถิด (บทมุทิตา) สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น มา ลัทธะสัมปัตติโต วิมุจจันตุ จงอย่าไปปราศจากสมบัติอันตนได้แล้วเถิด (บทอุเบกขา) สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ทั้งสิ้น กัมมัสสะกา เป็นผู้มีกรรมเป็นของของตน กัมมะทายาทา เป็นผู้รับผลของกรรม กัมมะโยนิ เป็นผู้มีกรรมเป็นกำเนิด กัมมะพันธุ เป็นผู้มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ กัมมะปะฏิสะระณา เป็นผู้มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ยัง กัมมัง กะริสสันติ กระทำกรรมอันใดไว้ กัลยาณัง วา ปาปะกัง วา ดีหรือชั่ว ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ จักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น - บทแผ่ส่วนกุศล อิทัง เม มาตาปิตุนังโหตุ สุขิตาโหตุ มาตาปิโตโร ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่มารดาบิดาของข้าพเจ้า ขอให้มารดาบิดาของข้าพเจ้า จงมีความสุข อิทัง เม ญาตีนังโหตุ สุขิตาโหตุ ญาตะโย ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า จงมีความสุข อิทัง เม คุรูปัชฌายาจริยานังโหตุ สุขิตาโหตุ คุรูปัชฌายาจริยา ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า จงมีความสุข อิทัง สัพพะเทวะตานังโหตุ สุขิตาโหตุ สัพเพเทวา ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่แก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข อิทัง เปตานังโหตุ สุขิตาโหตุ สัพเพเปตา ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข อิทัง สัพพะเวรีนังโหตุ สุขิตาโหตุ สัพเพเวรี ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข อิทัง สัพพะสัตตานังโหตุ สุขิตาโหตุ สัพเพสัตตา ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุขทั่วหน้ากันเทอญ ควรกล่าวทั้งภาษาบาลี(ภาษาของพระพุทธเจ้า) และภาษาไทย ดูเหมือนยาวแต่จริงๆคล้ายๆกัน โดยหากเป็น มารดาบิดา ญาติ ครู จะมีคำว่า " เม " อยู่ด้วย นอกนั้นไม่มี ( เทวดา เปรต เจ้ากรรมนายเวร และสัตว์ทั้งหลาย ) เมื่อเสร็จพิธีทำบุญและพระสงฆ์กล่าวรับแล้วให้กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวรของเราโดยว่าดังนี้ ข้าพเจ้าขออุทิศบุญกุศลจากการเจริญภาวนานี้ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายของข้าพเจ้า ที่ข้าพเจ้าได้เคยล่วงเกินท่านไว้ ตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบันชาติ ท่านจะอยู่ภพใดหรือภูมิใดก็ตาม ขอให้ท่านได้รับผลบุญนี้ แล้วโปรดอโหสิกรรม และอนุโมทนายบุญแก่ข้าพเจ้าด้วยอำนาจบุญนี้ด้วยเทอญ - การบูชาพระ ก่อนจะเข้าห้องพระ ต้องอาบน้ำ ชำระกายให้สะอาดและควรสวมเสื้อผ้าที่สะอาด หรือถ้าเป็นไปได้ ควรนุ่งขาวห่มขาวด้วยก็จะดีมาก ทำจิตใจให้ผ่องใส จุดธูปเทียน และพวงมาลัยดอกมะลิ 1 พวง แล้วนั่งคุกเข่าประนมมือไว้ เพียงหน้าอก กล่าวคำ นมัสการพระรัตนตรัยว่าอะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา... พระผู้มีพระภาคเจ้า,เป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง; พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ... ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน (กราบลง 1 หน) สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม... พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว; ธัมมัง นะมัสสามิ... ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม (กราบลง 1 หน) สุปะฏิปันโน ภะคะโต สาวะกะสังโฆ...พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว; สังฆัง นะมามิ... ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์ (กราบลง 1 หน) นะโม ตัสสะ ภะคะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ นะโม ตัสสะ ภะคะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ นะโม ตัสสะ ภะคะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง คำขอขมาพระรัตนตรัย อุกาสะ อัจจะโย โน ภันเต อัจจักคะมา ยะถาพาเล ยะถามุฬเห ยะถาอะกุสะเล เย มะยัง กะรัมหา เอวัง ภันเต มะยัง อัจจะโย โน ปะฏิคคัณหะถะ อายะติง สังวะเรยยามิ คำพรรณนาพระบรมธาตุ อะหัง วันทามิ ทูระโต อะหัง วันทามิ ธาตุโย อะหัง วันทามิ สัพพะโสฯ - สรณคมน์ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ, ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ, สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ปานาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ อทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ สุราเมระยามัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิอิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสมา สีลัง วิโสธะเย พุทธะบูชา มหาเตชะวันโต ธัมมะบูชา มหาปัญโญ สังฆะบูชา มหาโภคะวาโห ติโลกะนาถัง อภิปูชะยามิ พุทธัง ชีวิตตัง ยาวะ นิพพาณัง สะระณัง คัจฉามิ อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจาระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปูริสะทัมมาสาระถิ สัตถาเทวะ มนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ (กราบ) ธัมมัง ชีวิตตัง ยาวะ นิพพาณัง สะระณัง คัจฉามิ สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏ ฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ (กราบ) สังฆัง ชีวิตตัง ยาวะ นิพพาณัง สะระณัง คัจฉามิ สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชชุปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลี กะระณีโย อนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ (กราบ) - คาถาเชิญชุมนุมเทวดา สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุมหิ เขตเต ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละวิสเม ยักขะคันธัพพะนาคา ติฎฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระวะจะนัง สาธุโว เม สุณันตุ ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา - วิปัสสิต (กรวดน้ำ) อิมินา ปุญญะกัมเมนะ ด้วยเดชะผลบุญแห่งข้าได้สร้าง และสวดยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎกนี้ ขออุทิศส่วนกุศลให้แก่ คุณบิดามารดา และทั้ง 16 ชั้นฟ้า 15 ชั้นดิน ผู้มีพระคุณ ญาติกาครูอุปัชฌาย์อาจารย์ เจ้ากรรมนายเวร พระมหากษัตริย์ และมิตรรักสนิท เพื่อนสาราสัตว์น้อยใหญ่ เจ้ากรุงพาลี แม่พระธรณี แม่พระคงคา แม่พระเพลิง แม่พระพาย แม่พระโพสพ พระภูมิเจ้าที่ พระพิรุณ พญายมราช นายนิรยบาล ทั้งท้าวจตุโลกะบาลทั้ง4 ศิริพุทธอำมาตย์ ชั้นจาตุมะหาราชิกาเบื้องบน จนถึงพรหมาเบื้องต่ำ ตั้งแต่อเวจีขึ้นมาจนถึงมนุษยโลก โดยรอบสุดขอบจักรวาลอนันตะจักรวาล คุณพระศรีรัตนตรัย และเทพยดาทั้งหลาย ตลอดทั้ง อินทร์ พรหม ยมยักษ์ คนธรรพ์ นาคา ท่านทั้งหลายที่ต้องทุกข์ ขอให้พ้นทุกข์ ท่านทั้งหลายที่ได้สุข ขอให้ได้สุขยิ่งๆขึ้นไป ด้วยเดชะผลบุญแห่งข้าอุทิศให้ไปนี้ จงเป็นอุปนิสัยปัจจัย ให้ถึงพระนิพพานในปัจจุบัน และอนาคตกาลเบื้องหน้าโน้นเทอญฯ พุทธังอนันตัง ธัมมังจักรวาลัง สังฆังนิพพานัง ปัจจโยโหนตุ - พุทธมังคลคาถา ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหฺมรํสี สวดทุกวัน พุทธมังคลคาถานี้ หรือเรียกว่า คำนมัสการบูชาพระอรหันต์แปดทิศ ล้วนแต่มีฤทธิ์ทุกองค์ เป็นมหาเถระผู้ยิ่งใหญ่ในทางพระพุทธศาสนา เมื่อทำการสวดบูชาแล้ว ย่อมจะมีลาภผลเป็นมิ่งมงคล และปราศจากอันตราย ถ้าจะสวดแบบธรรมดาก็ได้ โดยหัวหน้ากล่าวนำ หันทะ มะยัง พุทธะมังคละคาถาโย ภะณามะเส (เริ่ม) สัมพุทโธ ทิปะทัง เสฏโฐ นิสินโน เจวะ มัชฌิเม โกณฑัญโญ ปุพพะภาเค จะ อาคเณยเย จะ กัสสะโป สารีปุตโต จะ ทักขิเณ หะระติเย อุปาลิ จะ ปัจฉิมเมปิ จะ อานันโท พายัพเพ จะ คะวัมปะติ โมคคัลลาโน จะ อุตตะเร อีสาเนปิ จะ ราหุโล อิเม โข มังคะลา พุทธา สัพเพ อิธะ ปะติฏฐิตา วันทิตา เต จะ อัมเหหิ สักกาเรหิ จะ ปูชิตา เอเตสัง อานุภาเวนะ สัพพะโสตถี ภะวันตุ โน อิจเจวะมัจจันตะนะมัสสะเนยยัง นะมัสสะมาโน ระตะนัตตะยัง ยัง ปุญญาภิสันทัง วิปุลัง อะลัตถัง ตัสสานุภาเวนะ หะตันตะราโยฯ - คาถาบูชาพระสมเด็จ ปุตตะกาโม ละเภปุตตัง ธะนะ กาโม ละเภธะนัง อัตถิ กาเย กายะ ญายะ เทวานัง ปิยะตัง สุตตะวา - คำอาราธนาพระสมเด็จ โตเสนโต วะระธัมเมนะ โตสัฏฐาเน สิเว วะเร โตสัง อะกาสิ ชันตูนัง โตสะจิตตัง นะมา มิหัง ฯ - คาถาสืบสร้างทางสวรรค์-นิพพาน ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหฺมรํสี หมั่นทาน ศีล ภาวนา และระลึกถึง พุทธะ พุทธา พุทเธ พุทโธ พุทธัง อะรังหัง พุทโธ อิติปิโส ภะคะวา นะโมพุทธายะ ฯ หมั่นภาวนา จะทำให้มีความสุข-อายุยืน และนิพพาน - คำไหว้ปาระมี 30 ทัส ( แบบครูบาศรีวิชัย) ทานะ ปาระมี สัมปันโน , ทานะ อุปะปารมี สัมปันโน , ทานะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา สีละ ปาระมี สัมปันโน , สีละ อุปะปารมี สัมปันโน , สีละ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา เนกขัมมะ ปาระมี สัมปันโน , เนกขัมมะ อุปะปารมี สัมปันโน , เนกขัมมะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา ปัญญา ปาระมี สัมปันโน , ปัญญา อุปะปารมี สัมปันโน , ปัญญา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา วิริยะ ปาระมี สัมปันโน , วิริยะ อุปะปารมี สัมปันโน , วิริยะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา ขันตี ปาระมี สัมปันโน , ขันตี อุปะปารมี สัมปันโน , ขันตี ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา สัจจะ ปาระมี สัมปันโน , สัจจะ อุปะปารมี สัมปันโน , สัจจะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา อะธิฏฐานะ ปาระมี สัมปันโน , อะธิฏฐานะ อุปะปารมี สัมปันโน , อะธิฏฐานะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา เมตตา ปาระมี สัมปันโน , เมตตา อุปะปารมี สัมปันโน , เมตตา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน , อุเปกขา อุปะปารมี สัมปันโน , อุเปกขา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา ทะสะ ปาระมี สัมปันโน , ทะสะ อุปะปารมี สัมปันโน , ทะสะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ นะมามิหัง *หมายเหตุ : สำหรับคำไหว้ปาระมี 30 ทัสนี้ เป็นแบบฉบับดั้งเดิมของ ครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งลานนาไทย อธิบาย บารมี 30 ทัศ การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ในชาตินั้นๆ บารมีที่บำเพ็ญนั้นคือ ทานบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี และอุเบกขาบารมี รวมเรียกว่าบารมี ๓๐ (๓ x ๑๐) โดยแบ่งเป็นบารมีชั้นธรรมดา ๑๐ (บารมี) บารมี ชั้นกลาง ๑๐ (อุปบารมี) และ บารมีชั้นสูง ๑๐ (ปรมัตถบารมี) รวมเป็นบารมี ๓๐ ประการ ในอรรถกถาจริยาปิฎกพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ ได้จัดชาดกเรื่องต่างๆ ลงในบารมีทั้ง ๓๐ ประการ มีนัยโดยสังเขปที่น่าศึกษา ดังนี้ ๑. ทานบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ยทานบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าสีวิราช (๒๗/๔๙๙) ทรงบำเพ็ญทานอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร (๒๘/๕๔๗) และทรงบำเพ็ญทานปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นกระต่ายป่าสสบัณฑิต (๒๗/๓๑๖) ๒. ศีลบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญศีลบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญาช้างฉัตทันต์เลี้ยงมารดา (๒๗/๗๒) ทรงบำเพ็ญศีลอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญานาคภูริทัต (๒๘/๕๔๓) ๓. เนกขัมมบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญเนกขัมมบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นอโยฆรราชกุมาร (๒๗/๕๑๐) ทรงบำเพ็ญเนกขัมมอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นหัตถิปาลกุมาร (๒๗/๕๐๙) และทรงบำเพ็ญเนกขัมมปรมัตถบารมี ในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าจูฬสุตโสม (๒๗/๕๒๗) ๔. ปัญญาบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญปัญญาบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นสัมภวกุมาร (๒๗/๕๑๕) ทรงบำเพ็ญปัญญาอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นอำมาตย์วิธุรบัญฑิต (๒๘/๕๔๖) และทรงบำเพ็ญปัญญาปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นเสนกบัณฑิต (๒๗/๔๐๒) ๕. วิริยบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญวิริยบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญากปิ (๒๗/๕๑๖) ทรงบำเพ็ญวิริยอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าสีลวมหาราช (๒๗/๕๑) และทรงบำเพ็ญวิริยปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระมหาชนก (๒๘/๕๓๙) ๖. ขันติบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญขันติบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นจูฬธัมมปาลราชกุมาร (๒๗/๓๕๘) ทรงบำเพ็ญขันติอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นธัมมิกเทพบุตร (๒๗/๔๕๗) และทรงบำเพ็ญขันติปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นขันติวาทีดาบส (๒๗/๓๑๓) ๗. สัจจบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญสัจจบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นวัฏฏกะ (ลูกนกคุ่ม (๒๗/๓๕) ทรงบำเพ็ญสัจจอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญาปลาช่อน (๒๗/๗๕) และทรงบำเพ็ญสัจจปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้ามหาสุตโสม (๒๘/๕๓๗) ๘. อธิษฐานบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญากุกกุระ (๒๗/๒๒) ทรงบำเพ็ญอธิษฐานอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นมาตังคบัณฑิต (๒๗/๔๙๗) และทรงบำเพ็ญอธิษฐานปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเตมิยราชกุมาร (๒๘/๕๓๘) ๙. เมตตาบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญเมตตาบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นสุวรรณสามดาบส (๒๘/๕๔๐) ทรงบำเพ็ญเมตตาอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นกัณหาทีปายนดาบส (๒๗/๔๔๔) และทรงบำเพ็ญเมตตาปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าเอกราช ๑๐. อุเบกขาบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญอุเบกขาบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นกัจฉปบัณฑิต (๒๗/๒๗๓) ทรงบำเพ็ญอุเบกขาอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญามหิส (๒๗/๒๗๘) และทรงบำเพ็ญอุเบกขาปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นโลมหังสบัณฑิต (๒๗/๙๔) หมายเหตุ เลขหน้าเป็นลำดับเล่มพระไตรปิฎก เลขหลังเป็นลำดับชาดก เช่น (๒๗/๒๗๓) หมายถึง พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ ชาดกเรื่องที่ ๒๗๓) * การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ในชาติหนึ่ง ๆ มิใช่ว่าจะทรงบำเพ็ญบารมีเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ทรงบำเพ็ญทานบารมี หรือทรงบำเพ็ญศีลบารมีอย่างเดียวเท่านั้น แต่ในชาติเดียวกันนั้น ได้บำเพ็ญบารมีหลายอย่างควบคู่กันไป แต่อาจเด่นเพียงบารมีเดียว ที่เหลือนอกนั้นเป็นบารมีระดับรอง ๆ ลงไป เช่น ในชาติที่เป็นพระเวสสันดรทรงบำเพ็ญบารมีครบทั้ง ๑๐ บารมี - พระคาถามงคลจักรวาฬทั้ง8ทิศ อิมัสสะมิง มงคลจักรวาฬทั้งแปดทิศ ประสิทธิจงมาเป็นกำแพงแก้วเจ็ดชั้น มาป้องกันห้อมล้อมรอบครอบทั่ว อนัตตา , ราชะ เสมานา เขตเต , สะมันตา สะตะโยชะนะ สะตะสะหัสสานิ พุทธะชาละปะริกเขตเต รักขันตุ สุรักขันตุฯ อิมัสสะมิง มงคลจักรวาฬทั้งแปดทิศ ประสิทธิจงมาเป็นกำแพงแก้วเจ็ดชั้น มาป้องกันห้อมล้อมรอบครอบทั่ว อนัตตา , ราชะ เสมานา เขตเต , สะมันตา สะตะโยชะนะ สะตะสะหัสสานิ ธัมมะชาละปะริกเขตเต รักขันตุ สุรักขันตุฯ อิมัสสะมิง มงคลจักรวาฬทั้งแปดทิศ ประสิทธิจงมาเป็นกำแพงแก้วเจ็ดชั้น มาป้องกันห้อมล้อมรอบครอบทั่ว อนัตตา , ราชะ เสมานา เขตเต , สะมันตา สะตะโยชะนะ สะตะสะหัสสานิ ปัจเจกะพุทธะ ชาละปะริกเขตเต รักขันตุ สุรักขันตุฯ อิมัสสะมิง มงคลจักรวาฬทั้งแปดทิศ ประสิทธิจงมาเป็นกำแพงแก้วเจ็ดชั้น มาป้องกันห้อมล้อมรอบครอบทั่ว อนัตตา , ราชะ เสมานา เขตเต , สะมันตา สะตะโยชะนะ สะตะสะหัสสานิ สังฆะชาละปะริกเขตเต รักขันตุ สุรักขันตุ มตตา อิทัง ปุญญะผะลัง อานิสงส์อันใด ที่ข้าพเจ้าทั้งหลายได้บำเพ็ญไปแล้วนี้ ขอผลบุญนี้ จงแผ่ไปถึง เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ที่ข้าพเจ้าได้เคยล่วงเกินมาแล้วแต่ชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ได้มาอนุโมทนา เมื่ออนุโมทนาแล้ว ขอให้อโหสิกรรมกันตั้งแต่บัดนี้ เวลานี้ เป็นต้นไป ขอแผ่บุญกุศลนี้ไปถึงเทพเจ้าทั้งหลายที่รักษาตัวข้าพเจ้าอยู่ก็ดี นอกจากนี้ก็ดี ทั่วสากลพิภพ จงมีความสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เทพพรหมทั้งหลาย ภูตผีปีศาจทั้งหลาย ที่อยู่ในที่นี้ก็ดี อยู่บ้านของข้าพเจ้าก็ดี ขอให้ทุกท่านจงมีความสุข และขอแผ่บุญกุศลนี้ไปถึงสัพพะสัตว์ทั้งหลาย มีบิดามารดาครูบาอาจารย์ ญาติพี่น้อง มิตรสหาย ของข้าพเจ้าทั้งหลาย ที่เสวยความสุขอยู่ก็ดี ขอให้ทุกท่านจงมีความสุข ขอให้ทุกท่าน จงมีความสุข ขอผลานิสงส์นี้ จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้อยู่ดีกินดี มีความสุขความเจริญยิ่งๆขึ้นไป และได้เข้าถึงซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ด้วยเทอญฯ - คำไหว้พระธาตุรวม ของหลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ วันทามิ เจติยัง สัพพัฏฐาเนสุ ปะติฏฐิตา สะรีระธาตุง มะหาโพธิง พุทธะรูปัง สะกะลัง สะทา นาคะโลเก เทวะโลเก ตาวะติงเส พรัหมะโลเก ชัมภูทีเป ลังกาทีเป สะรีระธาตุโย เกสาธาตุโย อะระหันตา ธาตุโย เจติยัง คันธะกุฏิ จตุราสี- ติสะหัสสะธัมมักขันธา ปาทะเจติยัง นะระเทเวหิ ปูชิตา อะหัง วันทามิ ธาตโย อะหัง วันทามิ ทูระโต อะหัง วันทามิ สัพพะโส - บทแผ่เมตตา สัพเพ สัตตา - สัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น อะเวรา(โหนตุ) - จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย อัพยาปัชฌา(โหนตุ) - จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้พยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย อะนีฆา(โหนตุ) - จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กาย ทุกข์ใจเลย สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ - จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด - คำบูชาพระรัตนตรัย อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ(กราบ) สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ(กราบ) สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ(กราบ) - คำอาราธนาศีล ๕ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะสะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะสะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะสะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ - พระคาถาป้องกันภัยสิบทิศ (บูระพา*)รัสมิง พระพุทธะคุณัง (บูระพา*)รัสมิง พระธัมเมตัง (บูระพา*)รัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ (ตัวนอกสัพพะเคราะห์ ตัวในสัพพะเคราะห์) เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุ -หมายเหตุ * แทนโดย บูระพา,อาคะเนย,ทักษิณ,หรดี,ปัจจิม,พายัพ,อุดร,อิสาน,อากาศ,ปฐวี - เขียนเป็นทิศได้ดังนี้ พายัพ อุดร อิสาน อากาศ ปัจจิม (กลาง) บูรพา พสุธา หรดี ทักษิณ อาคเนย์ - ศีล ๕ ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ(ฆ่าสัตว์) อทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ(ขโมย) กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ(ผิดกาม) มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ(โกหก) สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ(ของเมา) - คำอาราธนาศีล ๕ (-ว่าง-,ทุติยัมปิ,ตะติยัมปิ) มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะสะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ - คำสมาทานศีล นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (3 ครั้ง) (พุทธัง,ธัมมัง,สังฆัง) สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ (พุทธัง,ธัมมัง,สังฆัง) สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ (พุทธัง,ธัมมัง,สังฆัง) สะระณัง คัจฉามิ - คำอาราธนาธรรม พรัหมา จะ โลกาธิปะตี สะหัมปะติ, กัตอัญชะลี อันธิวะรัง อะยาจะถะ, สันตีถะ สัตตาปปะระชัก ขะชาติกา, เทเสตุ ธัมมัง อะนุกัมปิมัง ปะชัง - คำอาราธนาพระปริตร วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา สัพพะ(ทุกขะ,ภะยะ,โรคะ)วินาสายะ ปะริตตัง พรูถะมังคะลัง - บทสวดมหาการุณี มะหาการุณีโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวีโปกขะเร อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติ สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะจาริสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธี เต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณ ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เม(3 ครั้ง) - บทสวดถวายพรพระ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา มพุทธัสสะ (3 ครั้ง) อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ - โองการเทพชุมนุม สาธุ อุกาสะ ข้าพเจ้าขอนมัสการ พระ(พุทธะ,ธัมมะ,สังฆะ)คุณณัง พระศรีรัตนตรัย และสมณาจารย์ ครูอาจารย์ เดชะบรมโพธิสมภารมาอยู่เหนือเกศเกล้าแห่งข้าพเจ้า ผู้จะตั้งนมัสการ เชิญพระพุทธองค์ ทรงพระสูตร พระวินัย พระอภิธรรม พระกัมมัฏฐาน พระธัมมามูล ทั้งแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ จนทั้งพระไตรปิฎก กัณฑ์ไตร พระเตมียน์ใบ้ พระมหาชนก พระมโหสถ พระโพธิสัตย์ พระพุทธสิหิง พระอินทร์ พระพรหม พระยม พระกาฬ พระจตุโลกบาล พระโมกคัลลาณญาณ พระสารีบุตร พระพุทธกุ กุกสันโธ พระโกนาคุมะโน พระพุทธกัสสโปพุทโธ พระศรีสากะยะมุนีโคดม พระพุทธบรรทม พระนารอด ยอดพระตัณหัง อัฏฐะอรหันตัง พระสุวรรณสามปัณฑิตา พระแท่นศิลาอาสน์ พระมุนีนาถ พระศาสดา พระยาธรรมิกราช พระศรีอารินไมตรี พระฤาษีทั้งแปดหมื่นพระองค์ อันนั่งจมกรมภาวนาอยู่ในถ้ำพระคูหาสวรรค์ พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระไตรสรรณคมน์ พระบรรทม พระโกณทัญญาณาณสุวรรณเสน พระสุเมรุราช พระธาตุจุฬามณี พระศรีมหาโพธิ พระหัตถ์ พระโอษฐ พระหฤทัย พระไตรปิฎก พระปัจเจกโพธิ์ ท้าวสิริสุทโทธนะ พระนางสิริมหามายาอันเป็น พระพุทธมารดาแห่งพระพุทธองค์ อันทรงพระนามกรชื่อพระสิทธารถชาติ เป็นที่สุด พระพุธ พระพฤหัส พระสัชชนู พระเสาร์ พระราหู พระสมุทรทั้งห้า ทั้งแผ่นฟ้า ทั้งพสุธาชล ทั้งปลาอานนท์ นางเมขลา พระยาพาลีทรพี อินทรชิต สุครีพ ทศกัณฑ์ กุมภัณฑ์ พระลักษณ์ พระราม พระหนุมาณ พระรามสูร พระวิฑูรบูริกา สุนันทยักษา พระยานาค พระยาครุฑ พระราหู พิเภก ชมภูทีเปหิมะอันตัง พระพุทธเทวดาอยู่ในชั้นฟ้า จตุมหาราชิกาสวรรค์ เทพยดาอยู่ในชั้นฟ้า(ดาวดึง,ยามา,ดุสิตา,นิมมานรดี,ปรนิมมิตวสวัดดี,อกนิฏฐโลกมหา)สวรรค์ พระตัณหัง พระพุทธวิปัสสี ปิตุมารดา วาสุกรี มังกร ครุฑ กินนร กินรี การเวก ปักษา มหากุมภัณฑ์อนันทยักษา มหากะบิลราช พระโคอุสุภราช พระสารีริกธาตุ พระเพลิงอันรุ่งเรืองรัศมี พระศรีรัตนตรัยแก้วและสมณาจารย์ ทั้งพระรัตนญาณ พระบารมีตาวติงสาตีสูน (นะโม,ธัมโม,สังโฆ)พุทธายะ ธัมมะปัชชา จะวันทะนา เมตตาติ - บทแผ่ส่วนกุศล อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร (มารดาบิดา) อิทัง เม ญาตะกานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะกา (ญาติ) อิทัง เม ครุปัชฌายาจริยานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ครุปัชฌายาจริยา (ครูอุปัชฌาย์อาจารย์) อิทัง สัพพะเทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเทวา(เทวดา) อิทัง สัพพะเปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเปตา(เปรด) อิทัง สัพพะเวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเวรี(เจ้ากรรมนายเวร) อิทัง สัพพะสัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพสัตตา(สัตว์ทั้งหลาย) แปล ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่(---อ่านเอาตามคำในวงเล็บ---) ขอให้(---อ่านเอาตามคำในวงเล็บ---) มีความสุข - คาถาเกจิ (หลวงปู่มั่น หลวงปู่ทวด หลวงพ่อเกษม) *คาถาหลวงปู่มั่น (พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต) คาถาพระพุทธเจ้า 5 องค์ตอนชนะมาร (ใช้ท่องเพื่อป้องกันอันตรายทั้งปวง ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก) ปัญจะมาเร ชิโน นาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จะตุสัจจัง ปะกาเสติ ธัมมะจักกัง ปะวัตตะยิ เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เม ชะยะมังคะลัง *คาถาหลวงปู่ทวด (วัดช้างให้ ตำบลป่าไร่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี) นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติ ภะคะวา (๓ จบ) *คาถาหลวงพ่อเกษม เขมโก (นมัสการและรวบรวมพลังพระธาตุทั่วอนันตจักรวาล) วันทามิ เจดิยัง สัพพัง สัพพัฎฐาเน สุปฏิษฐิตาสรีระธาตุงมหาโพธิง พุทธรูปัง สักการัง สัทธา นาคะโลเก เทวโลเก ดาวติงเส พรหมโลเก ชมพูทีเป ลังกาทีเป สรีระธาตุโย เกศาธาตุโย อรหันตาธาตุโย เจดิยัง คันธกุฎี จตุราศี ติสสหัสสะ ธัมมักขันธา ปาทเจดิยัง นะระเทเวหิปูชิตา อะหังวันทามิ ฑูระโต อะหังวันทามิธาตุโย อะหังวันทามิสัพพะโส - คำไหว้พระจุฬามณี ฯ อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธฯ นะโม ข้าจะไหว้พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ เมื่อข้าดับจิตลง อย่าให้ใหลหลง ขอให้จิตจำนง ตรงทางพระนิพพาน ขอให้พบดวงแก้ว ขอให้แคล้วหมู่มาร ขอให้ทันพระศรีอาริย์ ข้าจะไปนมัสการ พระเกษแก้ว พระจุฬามณี เจดีย์สถาน เป็นที่ไหว้ ที่สักการ กุศลสัมปันโน ฯ อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธฯ นะโม ข้าจะไหว้พระธรรมเจ้า ของพระพุทธองค์ เมื่อข้าดับจิตลง อย่าให้ใหลหลง ขอให้จิตจำนง ตรงทางพระนิพพาน ขอให้พบดวงแก้ว ขอให้แคล้วหมู่มาร ขอให้ทันพระศรีอาริย์ ข้าจะไปนมัสการ พระเกษแก้ว พระจุฬามณี เจดีย์สถาน เป็นที่ไหว้ ที่สักการ กุศลสัมปันโน ฯ อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธฯ นะโม ข้าจะไหว้พระสังฆเจ้า ของพระพุทธองค์ เมื่อข้าดับจิตลง อย่าให้ใหลหลง ขอให้จิตจำนง ตรงทางพระนิพพาน ขอให้พบดวงแก้ว ขอให้แคล้วหมู่มาร ขอให้ทันพระศรีอาริย์ ข้าจะไปนมัสการ พระเกษแก้ว พระจุฬามณี เจดีย์สถาน เป็นที่ไหว้ ที่สักการ กุศลสัมปันโนติ ฯ ************************************************************************************************ - อิติปิโสรัตนมาลา 108 คาถาบท โดยนำอิติปิโสแบบเต็มมาขยายความหมายของแต่ละคำ พระพุทธคุณ 56 อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ (1) อิฏโฐ สัพพัญญุตะญานัง อิจฉันโต อาสะวักขะยัง อิฏฐัง ธัมมัง อะนุปปัตโต อิทธิมันตัง นะมามิหัง (2) ติณโณ โย วัฏฏะทุกขัมหา ติณณัง โลกานะมุตตะโม ติสโส ภูมิ อะติกกันโต ติณณะโอฆัง นะมามิหัง (3) ปิโย เทวะมะนุสสานัง ปิโย พรัหมานะมุตตะโม ปิโย นาคะสุปัณณานัง ปิณินทะริยัง นะมามิหัง (4) โสกา วิรัตตะจิตโต โย โสภะมาโน สะเทวะเก โสกัปปัตเต ปะโมเทนโต โสภะวัณณัง นะมามิหัง (5) ภะชิตา เยนะ สัทธัมมา ภัคคะปาเปนะ ตาทินา ภะยะสัตเต ปะหาเสนะโต ภะยะสันตัง นะมามิหัง (6) คะมิโต เยนะ สัทธัมโม คะมาปิโต สะเทวะกัง คัจฉะมาโน สิวัง รัมมัง คะตะธัมมัง นะมามิหัง (7) วานา นิกขะมิ โย ตัณหา วาจัง ภาสะติ อุตตะมัง วานะนิพพานะมัตถายะ วายะมันตัง นะมามิหัง (8) อะนิสสาสะกะสัตตานัง อัสสาสัง เทติ โย ชิโน อะนันตะคุณะสัมปันโน อันตะคามัง นะมามิหัง (9) ระโต นิพพานะสัมปัตเต ระโต โย สัตตะโมจะเน รัมมาเปตีธะ สัตเต โย ระณะจัตตัง นะมามิหัง (10) หัญญะติ ปาปะเก ธัมเม หังสาเปติ ปะรัง ชะนัง หังสะมานัง มะหาวีรัง หันตะปาปัง นะมามิหัง (11) สังขะตาสังขะเต ธัมเม สัมมา เทเสสิ ปาณินัง สังสารัง สังวิฆาเฏติ สัมพุทธันตัง นะมามิหัง (12) มาตาวะ ปาลิโต สัตเต มานะถัทเธ ปะมัททิโต มานิโต เทวะสังเฆหิ มานะฆาฏัง นะมามิหัง (13) สัญจะยัง ปารมี สัมมา สัญจิตวา สุขะมัตตะโน สังขารานัง ขะยัง ทิสวา สันตะคามิง นะมามิหัง (14) พุชฌิตวา จะตุสัจจานิ พุชฌาเปติ มะหาชานัง พุชฌาเปนตัง สิวัง มัคคัง พุทธะเสฏฐัง นะมามิหัง (15) โธติ ราเค จะ โทเส จะ โธติ โมเห จะ ปาณินัง โธตะเกลสัง มะหาปุญญัง โธตาสะวัง นะมามิหัง (16) วิเวเจติ อะสัทธัมมา วิจิตวา ธัมมะเทสะนัง วิเวเก ฐิตะจิตโต โย วิทิตันตัง นะมามิหัง (17) ชาติธัมโม ชะราธัมโม ชาติอันโต ปะกาสิโต ชาติเสฏเฐนะ พุทเธนะ ชาติมุตตัง นะมามิหัง (18) จะเยติ ปุญญะสัมภาเร จะเยติ สุขะสัมปะทัง จะชันตัง ปาปะกัมมานิ จะชาเปนตัง นะมามิหัง (19) ระมิตัง เยนะ นิพพานัง รักขิตา โลกะสัมปะทา ระชะโทสาทิเกลเสหิ ระหิตันตัง นะมามิหัง (20) นะมิโตเยวะ พรัหเมหิ นะระเทเวหิ สัพพะทา นะทันโต สีหะนาทัง โย นะทันตัง ตัง นะมามิหัง (21) สังขาเร ติวิเธ โลเก สัญชานาติ อะนิจจะโต สัมมา นิพพานะสัมปัตติ สัมปันโน ตัง นะมามิหัง (22) ปะกะโต โพธิสัมภาเร ปะสัฏโฐ โย สะเทวะเก ปัญญายะ อะสะโม โหติ ปะสันนัง ตัง นะมามิหัง (23) โน เทติ นิระยัง คันตุง โน จะ ปาปัง อะการะยิ โน สะโม อัตถิ ปัญญายะ โนนะธัมมัง นะมามิหัง (24) สุนทะโร วะระรูเปนะ สุสะโร ธัมมะภาสะเน สุทุททะสัง ทิสาเปติ สุคะตันตัง นะมามิหัง (25) คัจฉันโต โลกิยา ธัมมา คัจฉันโต อะมะตัง ปะทัง คะโต โส สัตตะโมเจตุง คะตัญญาณัง นะมามิหัง (26) โตเสนโต วะระธัมเมนะ โตสัฏฐาเน สิเว วะเร โตสัง อะกาสิ ชันตูนัง โตสะจิตตัง นะมามิหัง (27) โลเภ ชะหะติ สัมพุทโธ โลกะเสฏโฐ คุณากะโร โลเภ สัตเต ชะหาเปติ โลภะสันตัง นะมามิหัง (28) กันโต โย สัพพะสัตตานัง กัตวา ทุกขักขะยัง ชิโน กะเถนโต มะธุรัง ธัมมัง กะถะสัณหัง นะมามิหัง (29) วินะยัง โย ปะกาเสติ วิทธังเสตวา ตะโย ภะเว วิเสสัญญาณะสัมปันโน วิปปะสันนัง นะมามิหัง (30) ทูเส สัตเต ปะกาเสนโต ทูรัฏฐาเน ปะกาเสติ ทูรัง นิพพานะมาคัมมะ ทูสะหันตัง นะมามิหัง (31) อันตัง ชาติชะราทีนัง อะกาสิ ทิปะทุตตะโม อะเนกุสสาหะจิตเตนะ อัสสาเสนตัง นะมามิหัง (32) นุเทติ ราคะจิตตานิ นุทาเปติ ปะรัง ชะนัง นุนะ อัตถัง มะนุสสานัง นุสาสันตัง นะมามิหัง (33) ตะโนติ กุสะลัง กัมมัง ตะโนติ ธัมมะเทสะนัง ตัณหายะ วิจะรันตานัง ตัณหาฆาฏัง นะมามิหัง (34) โรเสนเต เนวะ โกเปติ โรเสเหวะ นะ กุชฌะติ โรคานัง ราคะอาทีนัง โรคะหันตัง นะมามิหัง (35) ปุณันตัง อัตตะโน ปาปัง ปุเรนตัง ทะสะปารมี ปุญญะวันตัสสะ ราชัสสะ ปุตตะภูตัง นะมามิหัง (36) ริปุราคาทิภูตัง วะ ริทธิยา ปะฏิหัญญะติ ริตติ กัมมัง น กาเรตา ริยะวังสัง นะมามิหัง (37) สัมปันโน วะระสีเลนะ สะมาธิปะวะโร ชิโน สยัมภูญาณะสัมปันโน สัณหะวาจัง นะมามิหัง (38) ทันโต โย สะกะจิตตานิ ทะมิตวา สะเทวะกัง ทะทันโต อะมะตัง เขมัง ทันตินทะริยัง นะมามิหัง (39) มะหุสสาเหนะ สัมพุทโธ มะหันตัง ญาณะมาคะมิ มะหิตัง นะระเทเวหิ มะโนสุทโธ นะมามิหัง (40) สารัง เทตีธะ สัตตานัง สาเรติ อะมะตัง ปะทัง สาระถี วิยะ สาเรติ สาระธัมมัง นะมามิหัง (41) รัมมะตาริยะสัทธัมเม รัมมาเปติ สะสาวะกัง รัมเม ฐาเน วะสาเปนตัง อะระหันตัง นะมามิหัง (42) ถิโต โย วะระนิพพาเน ถิเร ฐาเน สะสาวะโก ถิรัง ฐานัง ปะกาเสติ ถิตัง ธัมเม นะมามิหัง (43) สัทธัมมัง เทสะยิตวานะ สัจจะนิพพานะปาปะกัง สะสาวะกัง สะมาหิตัง สันตะจิตตัง นะมามิหัง (44) ถานัง นิพพานะสังขาตัง ถาเมนาธิคะโต มุนิ ถาเน สัคคะสิเว สัตเต ถาเปนตัง ตัง นะมามิหัง (45) เทนโต โย สัตตะนิพพานัง เทวะมะนุสสะปาณินัง เทนตัง ธัมมะวะรัง ทานัง เทวะเสฏฐัง นะมามิหัง (46) วันตะราคัง วันตะโทสัง วันตะโมหัง อะนาสะวัง วันทิตัง เทวะพรัหเมหิ วะรัง พุทธัง นะมามิหัง (47) มะหะตา วิริเยนาปิ มะหันตัง ปาระมิง อะกา มะนุสสะเทวะพรัหเมหิ มะหิตันตัง นะมามิหัง (48) นุนะธัมมัง ปะกาเสนโต นุทะนัตถายะ ปาปะกัง นุนะ ทุกขาธิปันนานัง นุทาปิตัง นะมามิหัง (49) สาวะกานังนุสาเสติ สาระธัมเม จะ ปาณินัง สาระธัมมัง มะนุสสานัง สาสิตันตัง นะมามิหัง (50) นันทันโต วะระสัทธัมเม นันทาเปติ มะหามุนิ นันทะภูเตหิ เทเวหิ นันทะนียัง นะมามิหัง (51) พุชฌิตาริยะสัจจานิ พุชฌาเปติ สะเทวะกัง พุทธะญาเณหิ สัมปันนัง พุทธัง สัมมา นะมามิหัง (52) โธวิตัพพัง มะหาวีโร โธวันโต มะละมัตตะโน โธวิโต ปาณินัง ปาปัง โธตะเกลสัง นะมามิหัง (53) ภะยะมาปันนะสัตตานัง ภะยัง หาเปติ นายะโก ภะเว สัพเพ อะติกกันโต ภะคะวันตัง นะมามิหัง (54) คะมิโต เยนะ สัทธัมโม คะตัญญาเณนะ ปาณินัง คะหะณิยัง วะรัง ธัมมัง คัณหาเปนตัง นะมามิหัง (55) วาปิตัง ปะวะรัง ธัมมัง วานะโมกขายะ ภิกขุนัง วาสิตัง ปะวะเร ธัมเม วานะหันตัง นะมามิหัง (56) ติณโณ โย สัพพะปาเปหิ ติณโณ สัคคา ปะติฏฐิโต ติเร นิพพานะสังขาเต ติกขะญาณัง นะมามิหัง (57) ฉัปปัญญาสะ พุทธะคาถา พุทธะคุณา สุคัมภิรา เอเตสะมานุภาเวนะ โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา (ต่อ) พระธรรมคุณ 38 สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ (1) สะวาคะตันตัง สิวัง รัมมัง สะวานะยัง ธัมมะเทสิตัง สะวาหุเนยยัง ปุญญักเขตตัง สะวาสะภันตัง นะมามิหัง (2) ขาทันโต โย สัพพปาปัง ขายิโต โย จะ มาธุโร ขายันตัง ติวิธัง โลกัง ขายิตันตัง นะมามิหัง (3) โตเสนโต สัพพะสัตตานัง โตเสติ ธัมมะเทสะนัง โตสะจิตตัง สะมิชฌันตัง โตสิตันตัง นะมามิหัง (4) ภัคคะราโค ภัคคะโทโส ภัคคะโมโห อะนุตตะโร ภัคคะกิเลสะสัตตานัง ภะคะวันตัง นะมามิหัง (5) คัจฉันโต รัมมะเก สิเว คะมาปิโต สะเทวะเก คัจฉันเต พรัหมะจะริเย คัจฉันตันตัง นะมามิหัง (6) วันตะราคัง วันตะโทสัง วันตะโมหัง วันตะปาปะกัง วันตัง พาละมิจฉาทีนัง วันตะคันถัง นะมามิหัง (7) ตาเรสิ สัพพะสัตตานัง ตาเรสิ โอริมัง ติรัง ตาเรนตัง โอฆะสังสารัง ตาเรนตันตัง นะมามิหัง (8) ธะระมาเนปิ สัมพุทเธ ธัมมัง เทสัง นิรันตะรัง ธะเรติ อะมะตัง ฐานัง ธาเรนตันตัง นะมามิหัง (9) โมหัญเญ ทะมันโต สัตเต โมหะชิเต อะการะยิ โมหะชาเต ธัมมะจารี โมหะชิตัง นะมามิหัง (10) สัพพะสัตตะตะโมนุโท สัพพะโสกะวินาสะโก สัพพะสัตตะหิตักกะโร สัพพะสันตัง นะมามิหัง (11) ทิฏเฐ ธัมเม อะนุปปัตโต ทิฏฐิกังขาทะโย ลุโต ทิฏเฐ ทะวาสัฏฐิ ฉินทันโต ทิฏฐะธัมมัง นะมามิหัง (12) ฐิติสีละสะมาจาเร ฐิติเตวะสะธุตังคะเก ฐิติธัมเม ปะติฏฐาติ ฐิติปะทัง นะมามิหัง (13) โกกานัง ราคัง ปิเฬติ โกโธปิ ปะฏิหัญญะติ โกกานัง ปูชิโต โลเก โกกานันตัง นะมามิหัง (14) อัคโค เสฏโฐ วะระธัมโม อัคคะปัญโญ ปะพุชฌะติ อัคคัง ธัมมัง สุนิปุณัง อัคคันตังวะ นะมามิหัง (15) กาเรนโต โย สิวัง รัชชัง กาเรติ ธัมมะจาริเย กาตัพพะสุสิกขากาเม กาเรนตันตัง นะมามิหัง (16) ลิโต โย สัพพะทุกขานิ ลิขิโต ปิฏะกัตตะเย ลิมปิเตปิ สุวัณเณนะ ลิตันตังปิ นะมามิหัง (17) โก สะทิโสวะ ธัมเมนะ โก ธัมมัง อะภิปูชะยิ โก วินทะติ ธัมมะระสัง โกสะลันตัง นะมามิหัง (18) เอสะติ พุทธะวะจะนัง เอสะติ ธัมมะมุตตะมัง เอสะติ สัคคะโมกขัญจะ เอสะนันตัง นะมามิหัง (19) หิเน ฐาเน นะ ชายันเต หิเน โถเมติ สุคะติง หิเน โมหะสะมัง ชาลัง หินันตังปิ นะมามิหัง (20) ปะกะโต โพธิสัมภาเร ปะสัฏโฐ โย สะเทวะเก ปัญญายะ นะ สะโม โหติ ปะสันโน ตัง นะมามิหัง (21) สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา สีเลนะ นิพพุติง ยันติ สีละธัมมัง นะมามิหัง (22) โก โส อัคคะปุญโญ พุทโธ โกธะชะหัง อะธิคัจฉะติ โก ธัมมัญจะ วิชานาติ โกธะวันตัง นะมามิหัง (23) โอภะโต สัพพะกิเลสัง โอภัญชิโต สัพพาสะวัง โอภะโต ทิฏฐิชาลัญจะ โอภะตัง ตัง นะมามิหัง (24) ปัญญา ปะสัฏฐา โลกัสมิง ปัญญา นิพเพธะคามินี ปัญญายะ นะ สะโม โหติ ปะสันโน ตัง นะมามิหัง (25) นะรานะระหิตัง ธัมมัง นะระเทเวหิ ปูชิตัง นะรานัง กามะปังเกหิ นิมิตันตัง นะมามิหัง (26) ยิชชะเต สัพพะสัตตานัง ยิชชะเต เทวะพรัหมุนี ยิชชิสสะเต จะ ปาณีหิ ยิฏฐันตัมปิ นะมามิหัง (27) โกปัง ชะหะติ ปาปะกัง โกธะโกธัญจะ นาสะติ โกธัง ชะเหติ ธัมเมนะ โกธะนุทัง นะมามิหัง (28) ปะปัญจาภิระตา ปะชา ปะชะหิตา ปาปะกา จะโย ปัปโปติ โสติวิปุโล ปัชโชตันตัง นะมามิหัง (29) จะริตวา พรัหมะจะริยัง จัตตาสะโว วิสุชฌะติ จะชาเปนตังวะ ทาเนนะ จะชันตันตัง นะมามิหัง (30) ตะโนติ กุสะลัง กัมมัง ตะโนติ สัพพะวิริยัง ตะโนติ สีละสะมาธิง ตะนันตังวะ นะมามิหัง (31) เวรานิปิ นะ พันธันติ เวรัง เตสูปะสัมมะติ เวรัง เวเรนะ เวรานิ เวระสันตัง นะมามิหัง (32) ทีฆายุโก พะหูปุญโญ ทีฆะรัตตัง มะหัพพะโล ทีฆะสุเขนะ ปุญเญนะ ทีฆะรัตตัง นะมามิหัง (33) ตะโต ทุกขา ปะมุญจันโต ตะโต โมเจติ ปาณิโน ตะโต ราคาทิเกลเสหิ ตะโต โมกขัง นะมามิหัง (34) โพธิ วิชชา อุปาคะมิ โพเธติ มัคคะผะลานิ จะ โพธิยา สัพพะธัมมานัง โพธิยันตัง นะมามิหัง (35) วิระติ สัพพะทุกขัสมา วิริเยเนวะ ทุลละภา วิริยาตาปะสัมปันนา วิระตันตัง นะมามิหัง (36) ญูตัญญาเณหิ สัมปันนัง ญูตะโยคัง สะมัปปิตัง ญูตัญญาณะทัสสะนัญจะ ญูตะโยคัง นะมามิหัง (37) หีสันติ วัพพะโทสานิ หีสันติ สัพพะภะยานิ จะ หีสะโมหา ปะฏิสสะตา หีสันตันตัง นะมามิหัง (38) ติณโณ โย วัฏฏะทุกขัมหา ติณณัง โลกานะมุตตะโม ติสโส ภูมี อะติกกันโต ติณณะโอฆัง นะมามิหัง (39) อัฏฐัตติงสะ ธัมมะคาถา ธัมมะคุณา สุคัมภิรา เอเตสะมานุภาเวนะ โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา (ต่อ) พระสังฆคุณ 14 สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ (1) สุทธะสีเลนะ สัมปันโน สุฏฐุ โย ปะฏิปันนะโก สุนทะโร สาสะนะกะโร สุนทะรันตัง นะมามิหัง (2) ปะฏิสัมภิทัปปัตโต โย ปะสัฏโฐ วะ อะนุตตะโร ปัญญายะ อุตตะโร โลเก ปะสัฏฐันตัง นะมามิหัง (3) ติตถะกะระชิโต สังโฆ ติตโถ ธีโรวะ สาสะเน ติตถิโย พุทธะวะจะเน ติตถันตังปิ นะมามิหัง (4) ปะสัฏโฐ ธัมมะคัมภีโร ปัญญะวา จะ อะวังกะโค ปัสสันโต อัตถะธัมมัญจะ ปะสัฏฐังปิ นะมามิหัง (5) โน เจติ กุสะลัง กัมมัง โน จะ ปาปัง อะการะยิ โนนะตัง พุชฌะตัง ธัมมัง โนทิสันตัง นะมามิหัง (6) ภัคคะราโค ภัคคะโทโส ภัคคะโมโห จะ ปาณินัง ภัญชะโก สัพพะเกลสานัง ภะคะวันตัง นะมามิหัง (7) คัจฉันโต โลกิยัง ธัมมัง คัจฉันโต โลกุตตะรัมปิจะ คะโตเยวะ กิเลเสหิ คะมิตันตัง นะมามิหัง (8) วัณเณติ กุสะลัง ธัมมัง วัณเณติ สีละสัมปะทัง วัณเณติ สีละรักขิตัง วัณณิตันตัง นะมามิหัง (9) โตเสนโต เทวะมานุสเส โตเสนโต ธัมมะมะเทสะยิ โตเสติ ทุฏฐะจิตเตปิ โตเสนตันตัง นะมามิหัง (10) สาสะนัง สัมปะฏิจฉันโน สาสันโต สิวะคามินัง สาสะนะมะนุสาสันโต สาสันตันตัง นะมามิหัง (11) วันตะราคัง วันตะโทสัง วันตะโมหัง สุทิฏฐิกัง วันตัญจะ สัพพะปาปานิ วันตะเกลสัง นะมามิหัง (12) กะโรนโต สีละสะมาธิง กะโรนโต สาระมัตตะโน กะโรนโต กัมมะฐานานิ กะโรนตันตัง นะมามิหัง (13) สังสาเร สังสะรันตานัง สังสาระโต วิมุจจิ โส สังสาระทุกขา โมเจสิ สังสุทธันตัง นะมามิหัง (14) โฆระทุกขักขะยัง กัตวา โฆสาเปติ สุรัง นะรัง โฆสะยิ ปิฏะกัตตะยัง โฆสะกันตัง นะมามิหัง (15) จะตุททะสะ สังฆะคาถา สังฆะคุณา สุคัมภิรา เอเตสะมานุภาเวนะ โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา ฉัปปัญญาสะ พุทธะคุณา ธัมมะคุณา อัฏฐะติงสะติ สังฆะคุณา จะตุททะสะ อัฏฐุตตะระสะเต อิเม ทิเน ทิเน สะระเตปิ โสตถี โหนติ นิรันตะรันติ (จบ) อานุภาพแห่งรัตนมาลา (1) - อิ จงหมั่นภาวนา ป้องกันศัสตรา ห่อนต้องอินทรีย์ ทำให้แคล้วคลาด นิราศไพรี สิริย่อมมี แก่ผู้ภาวนา (2) - ติ ถึงบทนี้ไซร้ หมั่นภาวนาไว้ กันภัยนานา ภูตผีปีศาจ มิอาจเข้ามา ทั้งปอปทั้งห่า ไม่มาหลอกหลอน (3) - ปิ ภาวนานึก สติตรองตรึก อย่าทำใจร้อน สารพัดเมตตา อย่าได้อาวรณ์ ครูแต่เก่าก่อน เคยได้ใช้มา (4) - โส ภาวนาทุกวัน ตามกำลังวัน ป้องกันอันตราย ทุกข์ภัยพิบัติ สารพัดเหล่าร้าย ศัตรูทั้งหลาย แคล้วคลาดห่างไกล (5) - ภะ จงภาวนา กันโรคโรคา ไข้เจ็บทั้งหลาย ศัตรูมุ่งมาด มิอาจทำได้ พินาศยับไป ด้วยพระคาถา (6) - คะ ถ้าหมั่นภาวนา โรคภัยโรคา ไม่มาย่ำยี จะค่อยบรรเทา หากโรคเก่ามี มิช้ากายี สิ้นทุกข์สุขา (7) - วา บทนี้ดีล้ำ ภาวนาซ้ำๆ ป้องกันศัตรู เหล่าโจรอาธรรม์ พากันหนีอู้ ไม่คิดต่อสู้ ออกได้หายไป (8) - อะ ให้ภาวนา กันเสือช้างมา ทำร้ายรบกวน เป็นมหาจังงัง สิ้นทั้งชบวน จระเข้ประมวล สัตว์ร้ายนานา (9) - ระ ภาวนาไว้ คุณคนคุณไสย สารพัดพาลา ใช้ป้องกันได้ มิให้เข้ามา ถูกต้องกายา พินาศสูญไป (10) - หัง ให้ภาวนา ในเมื่อเวลา เข้าสู่สงคราม ข้าศึกศัตรู ใจหู่ครั่นคร้าม ไม่คิดพยายาม ทำร้ายเราแล (11) - สัม ภาวนาตรึก ช่างดีพิลึก ท่านให้รำพัน เมื่อจะเข้าสู่ เหล่าศัตรูสรรพ์ หมดสิ้นด้วยกัน พ่ายแพ้ฤทธี (12) - มา ภาวนาไว้ ถ้าหมั่นเสกไซร้ ทุกวันยิ่งดี แก้คนใจแข็ง มานะแรงมี ใจอ่อนทันที ไม่เย่อไม่หยิ่ง (13) - สัม สำหรับบทนี้ ตำรับกล่าวชี้ ว่าดีจริงจริง สำหรับเสกยา ปัญญาดียิ่ง สุดจะหาสิ่ง ใดมาเปรียบปาน (14) - พุท ภาวนาไป เสนียดจัญไร มิได้พ้องพาน อุปสรรคไรไร ก็ไม่คะคาน แสนจะสำราญ ให้หมั่นภาวนา (15) - โธ ภาวนาไว้ กันเสือช้างได้ ทั้งสุนัขหมา ใช้ป้องกันภัย สัตว์ร้ายนานา ไม่อาจเข้ามา ย่ำยีบีทา (16) - วิช สำหรับบทนี้ คุณาย่อมมี อดิเรกนานา กับพวกศัตรู เหล่าหมู่พาลา ไม่อาจเข้ามา หลบหน้าหนีไป (17) - ชา ภาวนากัน คุณไสยอนันต์ ทำมามิได้ จงหมั่นภาวนา อย่าได้สงสัย อาจารย์กล่าวไว้ ดังได้อ้างมา (18) - จะ บทนี้ดีล้น เสกทำน้ำมนต์ รดเกล้ากายา เสกมะกรูดส้มป่อย ถ้อยความมีมา ใข้สระเกศา ถ้อยความสูญไป (19) - ระ ภาวนานั้น ศัตรูอาธรรพ์ สรรพโพยภัย กันได้หลายอย่าง ทั้งเสนียดจัญไร ภาวนาไว อย่าได้กังขา (20) - ณะ บทนี้บทเอก มีคุณเอนก สุดจะพรรณนา ระงับดับโศก กันโรคผีห่า อันจะมาคร่า ชนมายุไป (21) - สัม สำหรับบทนี้ ท่านอาจารย์ชี้ แนะนำกล่าวไว้ ใช้เป็นเสน่ห์ สมคะเนดังใจ อย่าได้สงสัย ดียิ่งนักหนา (22) - ปัน บทนี้สามารถ กันภูติปีศาจ ไม่อาจเข้ามา หลอกหลอนเราได้ ท่านใช้ภาวนา จงได้อุตส่า ท่องให้ขึ้นใจ (23) - โน บทนี้ภาวนา ป้องกันฟ้าผ่า และช้างม้าร้าย มีจิตจำนง ประสงค์สิ่งใด ลงของก็ได้ ใช้ตามปรารถนา (24) - สุ ภาวนากัน คุณว่านยาอัน เขากระทำมา กับทั้งอาวุธ และเครื่องศัสตรา แม้ถูกกายา ก็มิเป็นไร อนึ่ง ถ้าแม้นว่า มีความปรารถนา บังคับเขาให้ อยู่ในโอวาท อนุศาสน์ไรไร ภาวนาเรื่อยไป เขาจะเกรงกลัว (25) - คะ ให้ทำน้ำมนตร์ บริกรรมพร่ำบ่น อย่าได้เมามัว ประพรมสินค้า จงอย่ายิ้มหัว กำไรเกินตัว อย่ากลัวขาดทุน (26) - โต ภาวนาเสก มีคุณอย่างเอก เข้าหาเจ้าขุน มูลนายพระยา เมตตาอุดหนุน โปรดปรานการุณย์ เพราะคุณคาถา (27) - โล ภาวนาเป่า ศัตรูทุกเหล่า แม้กริ้วโกรธา แต่พอได้เห็น เอ็นดูเมตตา ปรานีนักหนา ดุจญาติของตน (28) - กะ เอาข้าวสารมา แล้วภาวนา เสกให้หลายหน เสร็จแล้วซัดไป ไล่ผีบัดดล หนีไปไกลพ้น ไม่มาราวี (29) - วิ เสกขมิ้นและว่าน เสกข้าวรับประทาน อยู่คงอย่างดี อีกอย่างหนึ่งไซร้ ใช้ไล่ขับผี ภูตพรายไม่มี สิงสู่กายา (30) - ทู ภาวนาบทนี้ เมตตาปรานี ไม่มีโทสา หญิงชายทั้งหลาย รักใคร่หนักหนา ห่างภัยนานา สิ้นทุกข์สุขใส (31) - อะ จงหมั่นตรองตรึก มั่นพินิจนึก ภาวนาไป ศัตรูเห็นหน้า เมตตารักใคร่ ภาวนาไว้ เป็นศุภมงคล (32) - นุต บทนี้ดีเหลือ ให้ใช้ในเมื่อ ถึงความอับจน ป้องกันผู้ร้าย โรคภัยเบียดตน พินาศปี้ป่น ไม่ทนรบกวน (33) - ตะ ภาวนาเสก ปลุกตัวและเลข ว่านยาทั้งมวล อนึ่งใช้เสก เครื่องคาดก็ควร เมื่อรณศึกล้วน เป็นสิริมงคล (34) - โร ภาวนาใช้ ในยามครรไล จากด้าวถิ่นตน ทั้งใช้ปลุกเสก ซึ่งเครื่องคงทน อย่าได้ฉงน แก้กันสรรพภัย (35) - ปุ บทนี้ศักดิ์สิทธิ์ ภาวนากันพิษ สัตว์ร้ายทั้งหลาย ตะขาบแมลงป่อง หากต้องเหล็กใน จงภาวนาไป พิษห่างบางเบา (36) - ริ บทนี้ภาวนา รุ่งเรืองเดชา อำนาจแก่เรา ทั้งหญิงและชาย พอได้เห็นเข้า ครั่นคร้ามไม่เบา เมื่อเข้าสมาคม (37) - สะ ภาวนาทุกวัน หมู่เทพเทวัญ ชวนกันระดม พิทักษ์รักษา โดยเจตนารมณ์ มิให้ระทม เดือดเนื้อร้อนใจ (38) - ทัม บทนี้ภาวนา สำหรับเสกผ้า โพกเศียรครรไล เจริญราศี สวัสดีมีชัย เสกเจ็ดทีไซร้ แปลงรูปบัดดล (39) - มะ อาจารย์กล่าวไว้ ให้เสกดอกไม้ ทัดหูของตน มีสง่าราศี สวัสดีมงคล เสน่ห์เลิศล้น แก่คนทั่วไป (40) - สา ภาวนาให้มั่น กันฝังอาถรรพ์ เวทมนตร์ทั้งหลาย อีกกันกระทำ มิให้ต้องกาย อีกอาวุธร้าย เมื่อเข้ารณรงค์ (41) - ระ ใช้ภาวนา ป้องกันสัตว์ร้าย เสือช้างกลางดง ทั้งควายและวัว กระทิงตัวยุ่ง ไม่กล้าอาจอง ตรงเข้าราวี (42) - ถิ บทนี้กล้าหาญ เสกข้าวรับประทาน คงกระพันชาตรี ศัตรูหมู่ร้าย ไม่กล้าราวี เป็นสง่าราศี ไม่มีศัตรู (43) - สัต เมื่อจะใส่ยา จงได้ภาวนา ตามคำของครู ป้องกันโจรร้าย ไม่มีศัตรู ที่จะมาขู่ ข่มเหงน้ำใจ (44) - ถา ภาวนานึก เมื่อจะออกศึก สงครามใดใด แคล้วคลาดศัสตรา ไม่มาต้องได้ คุ้มครองกันภัย ได้ดีนักหนา (45) - เท บทนี้ก็เอก สำหรับใช้เสก ธูปเทียนบุปผา บูชาเทพเจ้า พุทธธรรมสังฆา จะมีสง่า ราศีผ่องใส (46) - วะ บทนี้ยิ่งดี ใช้เสกมาลี สิบเก้าคาบไซร้ เอามาทัดหู คนดูรักใคร่ บูชาพระไซร้ ย่อมเป็นมงคล (47) - มะ เมื่อลงนาวา ขับขี่ช้างม้า ยาตราจราดล หรือขึ้นเรือนใหม่ อย่าได้ฉงน เสกสิบเก้าหน จะมีเดชา (48) - นุส ภาวนาบ่น ประเสริฐเลิศล้น อย่าได้กังขา ชนช้างก็ดี หรือขี่อาชา มีเดชแกล้วกล้า ไชยาสวัสดี (49) - สา บทนี้ดีมาก เมื่อจะกินหมาก เสกสิบเจ็ดที ทั้งแป้งน้ำมัน จวงจันทร์มาลี ทัดกรรณ์ก็ดี มีเสน่ห์ยิ่งยง (50) - นัง บทนี้เลิศล้ำ เสกลูกประคำ สังวาลย์สวมองค์ ตะกรุดพิสมร สิบเก้าคาบตรง มีเดชมั่นคง ราศีผ่องใส (51) - พุท ภาวนาบทนี้ เมื่อจะจรลี สู่บ้านเมืองไกล ป้องกันสรรพเหตุ ภัยเภทใดใด มีคุณยิ่งใหญ่ แก่ผู้ภาวนา (52) - โธ บทนี้เป็นเอก สำหรับปลุกเสก เครื่องรางนานา ประสิทธิ์ทุกอย่าง อีกทั้งเงินตรา จงเสกอย่าช้า เจ็ดทีบันดาล (53) - ภะ บทนี้ดีล้นค่า ใช้เสกศัสตรา อาวุธคู่ตน นิราศผองภัย ไม่ต้องสกนธ์ เสกสิบเก้าหน ตนจะอาจหาญ (54) - คะ บทนี้ภาวนา เมื่อจะเข้าหา สมณาจารย์ ท่านมีเมตตา กรุณาสงสาร ล้วนมงคลการ ประเสริฐเลิศล้น (55) - วา เข้าหาขุนนาง แม้ใจกระด้าง โอนอ่อนบัดดล จงได้ภาวนา ท่านเมตตาตน กรุณาล้นพ้น อย่าแหนงแคลงใจ (56) - ติ ภาวนาบทนี้ เหมือนดังมณี หาค่ามิได้ เจริญทุกวัน ป้องกันโรคภัย ทุกข์โศกกษัย สูญหายสิ้นเอย - ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก (สวดอย่างเดียว) ยอดพระกัณฑ์ฉบับนี้ ได้มาจากต้นฉบับเดิมที่จารไว้บนใบลานเป็นอักษรขอม ซึ่ง เปิดกรุครั้งแรกที่เมืองสวรรคโลก มีบันทึกเอาไว้ว่าผู้ใดสวดมนต์เป็นประจำทุกเช้าเย็น จะป้องกันภัยอันตรายต่างๆได้รอบด้าน ภาวนาพระคาถาอื่นสัก ๑๐๐ปีก็ไม่เท่ากับ อานิสงส์ของการสวดยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎกนี้เพียงครั้งเดียว ผู้ใดที่สวดครบ ๗ วัน หรือครบอายุปัจจุบันของตัวเอง จะมีโชคลาภ ทำมาค้าขายรุ่งเรือง ปราศจากภัยพิบัติทั้งปวง ก่อนสวดยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฏก พึงคุกเข่าพนมมือตั้งใจบูชาพระรัตนตรัย นมัสการพระรัตนตรัย นมัสการพระพุทธเจ้า นมัสการพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ขอให้ตั้งจิตมั่นในบทสวดมนต์จะมีเทพยดาอารักษ์ทั้งหลายร่วมอนุโมทนาสาธุการ อย่าได้ทำเล่นจะเกิดโทษแก่ตัว คำบูชาพระรัตนตรัย โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ โย โส สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ นมัสการพระพุทธเจ้า นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ ๑. พุทธคุณ อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ สัตถาเทวมนุสสานัง พุทโธภะคะวาติ ๒. ธรรมคุณ สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหิติ ๓. สังฆคุณ สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทังจัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ ยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎกมีดังนี้ ๑. (เริ่ม) อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง วัจจะโส ภะคะวา อิติปิโส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ วัจจะโส ภะคะวา อิติปิโส ภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน วัจจะโส ภะคะวา อิติปิโส ภะคะวา สุคะโต วัจจะโส ภะคะวา อิติปิโส ภะคะวา โลกะวิทู วัจจะโส ภะคะวา อะระหันตังสะระณังคัจฉามิ อะระหันตังสิระสา นะมามิ สัมมาสัมพุทธังสะระณังคัจฉามิ สัมมาสัมพุทธัง สิระสา นะมามิ วิชชาจะระณะ สัมปันนังสะระณังคัจฉามิ วิชชาจะระณะ สัมปันนัง สิระสา นะมามิ สุคะตังสะระณัง คัจฉามิ สุคะตัง สิระสา นะมามิ โลกะวิทังสะระณัง คัจฉามิ โลกะวิทัง สิระสา นะมามิ อิติปิโส ภะคะวา อะนุตตะโร วัจจะโส ภะคะวา อิติปิโส ภะคะวา ปุริสะธัมมะสาระถิ วัจจะโส ภะคะวา อิติปิโส ภะคะวา สัตถาเทวะมะนุสสานัง วัจจะโส ภะคะวา อิติปิโส ภะคะวา พุทโธ วัจจะโส ภะคะวา อะนุตตะรังสะระณังคัจฉามิ อะนุตตะรัง สิระสา นะมามิ ปุริสะธัมมะสาระถิ สะระณัง คัจฉามิ ปุริสะธัมมะสาระถิ สิระสา นะมามิ สัตถาเทวะมะนุสสานัง สะระณัง คัจฉามิ สัตถาเทวะมะนุสสานัง สิระสา นะมามิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ พุทธัง สิระสา นะมามิ อิติปิโส ภะคะวา รูปักขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา อิติปิโส ภะคะวา เวทะนาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา อิติปิโส ภะคะวา สัญญาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา อิติปิโส ภะคะวา สังขาระขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา อิติปิโส ภะคะวา วิญญาณะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา อิติปิโส ภะคะวา ปะฐะวีจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา เตโชจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา วาโยจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา อาโปจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา อากาสะจักกาวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา ยามา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา ตุสิตา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา นิมมานะระติ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา กามาวะจะระ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา รูปะวะจะระ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา ปะถะมะฌานะ ธาตุสัมมา ทิยานะสัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา ทุติยะฌานะ ธาตุสัมมา ทิยานะสัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา ตะติยะฌานะ ธาตุสัมมา ทิยานะสัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา จะตุตถะฌานะ ธาตุสัมมา ทิยานะสัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา ปัญจะมะฌานะ ธาตุสัมมา ทิยานะสัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา อากาสานัญจายะตะนะ เนวะสัญญา นาสัญญายะตะนะ อะรูปาวะจะระ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา วิญญาณัญจายะตะนะ เนวะสัญญา นาสัญญายะตะนะ อะรูปาวะจะระ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา อากิญจัญญายะตะนะ เนวะสัญญา นาสัญญายะตะนะ อะรูปาวะจะระ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา โสตาปฏิมัคคะ ธาตุสัมมาธิยานะสัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา สักกิทาคาปฏิมัคคะ ธาตุสัมมาธิยานะสัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา อะนาคาปฏิมัคคะ ธาตุสัมมาธิยานะสัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา อะระหัตตะปฏิมัคคะ ธาตุสัมมาธิยานะสัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา โสตาอะระหัตตะปฏิผะละ ธาตุสัมมาธิยานะสัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา สักกิทาคาอะระหัตตะปฏิผะละ ธาตุสัมมาธิยานะสัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา อะนาคามิอะระหัตตะปฏิผะละ ธาตุสัมมาธิยานะสัมปันโน กุสะลา ธัมมา อิติปิโส ภะคะวา อะอา ยาวะชีวัง พุทธังสะระณังคัจฉามิ ชัมภูทิปัญญาจะ อิสสะโร กุสะลา ธัมมา นะโมพุทธายะ นะโมธัมมายะ นะโมสังฆายะ ปัญจะพุทธานะมามิหัง อาปามะจุปะ ทีมะสังอังขุ สังวิธาปุกะยะปะอุปะสะชะ สุเหปาสายะ โสโส สะสะอะอะอะอะนิ เตชะสุเนมะภูจะนาวิเวอะสัง วิสุโรปุสะภุพะ อิสะวาสุสุสะวาอิ กุสะลา ธัมมา จิตติวิอัตถิ อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง อะอายาวะชีวัง พุทธังสะระณังคัจฉามิ สาโพธิปัญจะอิสสะโร ธัมมา กุสะลา ธัมมา นันทะวิวังโก อิติสัมมา สัมพุทโธ สุคะลาโน ยาวะชีวัง พุทธังสะระณัง คัจฉามิ จาตุมมะหาราชิกา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา อิติวิชชาจะระณะ สัมปันโน อุอุยาวะชีวัง พุทธังสะระณังคัจฉามิ ตาวะติงสา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา นันทะปัญจะสุคะโต โลกะวิทู มะหาเอโอยาวะชีวัง พุทธังสะระณังคัจฉามิ ยามาอิสสะโร กุสะลา ธัมมา พรหมมาสัทธะ ปัญจะสัตตะ สัตตาปาระมี อะนุตตะโรยะมะกะขะ ยาวะชีวัง พุทธังสะระณังคัจฉามิ ตุสิตาอิสสะโร กุสะลา ธัมมา ปุยะปะกะ ปุริสะธัมมะสาระถิ ยาวะชีวัง พุทธังสะระณัง คัจฉามิ นิมมานะระติ อิสสะโร กุสะลา ธัมมา เหตุโปวะ สัตถาเทวะมะนุสสานัง ตะถะ ยาวะชีวัง พุทธังสะระณัง คัจฉามิ ปาระนิมมิตตะอิสสะโร กุสะลา ธัมมา สังขาระขันโธ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ พุทธะปะผะ ยาวะชีวัง พุทธังสะระณัง คัจฉามิ พรหมมาอิสสะโร กุสะลา ธัมมา นัจจิ ปัจจะยา วินะปัญจะ ภะคะวะตายาวะนิพพานัง สะระณัง คัจาฉามิ นะโมพุทธัสสะ นะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะ พุทธิลา โลกะลากะระกะนา เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ นะโมพุทธัสสะ นะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะ วิตติ วิตติ วิตติ มิตติ มิตติ จิตติ จิตติ อัตติ อัตติ มะยะสุ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ อินทะสาวัง มหาอินทะสาวัง พรหมมะสาวัง มหาพรหมมะสาวัง จักกะวัติสาวัง มหาจักกะวัตติสาวัง เทวาสาวัง มหาเทวาสาวัง อิสิสาวัง มหาอิสิสาวัง มุนีสาวัง มหามุนีสาวัง สัปปุริสะสาวัง มหาสัปปุริสะสาวัง พุทธะสาวัง ปัจเจกะพุทธะสาวัง อะระหัตตะสาวัง สัพพะสิทธิ วิชาธะรานังสาวัง สัพพะโลกา อิริยานังสาวัง เอเตนะสัจเจนะสุวัตถิ โหตุ สาวัง คุณัง วะชะพะลัง เตชังวิริยังสิทธิกัมมัง นิพพานัง โมกขังคุย หะกัง ฐานังสีลัง ปัญญานิกขัง ปุญญังภะคะยัง ตัปปัง สุขัง สิริรูปัง จะตุวิสสะติเสนัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สวาหายะ นะโมพุทธัสสะ นะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม อิติปิโส ภะคะวา นะโมพุทธัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโมสวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม นะโมธัมมัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโมสวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม นะโมธัมมัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโมสุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ นะโมสังฆัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโมสุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ วาหะปะริตตัง นะโมพุทธายะ มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา ยาวะตัสสะ หาโย นะโม อุอะมะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา อุอะมะ อาวันทา นะโมพุทธายะ นะอะกะตินิสะระนะ อาระปะขุธัง มะอะอุทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา พระคาถายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก (แปล) ๑. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้รู้แจ้งโลก ๒. ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นพระอรหันต์ว่า เป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็นพระอรหันต์ ด้วยเศียรเกล้า ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ทรงตรัสรู้เองโดยชอบว่า เป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ทรงตรัสรู้เอง ด้วยเศียรเกล้า ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ด้วยเศียรเกล้า ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เสด็จไปดีแล้ว ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เสด็จไปดีแล้ว ด้วยเศียรเกล้า ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้รู้แจ้งโลก ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้รู้แจ้งโลก ด้วยเศียรเกล้า ๓. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นอนุตตะโร คือ ยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ตื่นจากกิเลส ๔. ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ยอดเยี่ยม ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ยอดเยี่ยม ด้วยเศียรเกล้า ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ ด้วยเศียรเกล้า ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็น ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ด้วยเศียรเกล้า ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ตื่นจากกิเลส ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ตื่นจากกิเลส ด้วยเศียรเกล้า ๕. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น รูปขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เวทนาขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สัญญาขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สังขารขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น วิญญาณขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว ๖. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ดินจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ไฟจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ลมจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ น้ำจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ อากาศจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์ ๗. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นยามา พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นดุสิต พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นนิมมานรดี พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในกามาวจรภูมิ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในรูปาวจรภูมิ ๘. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ปฐมญาน พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ทุติยญาน พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ตติยญาน พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ จตุตถญาน พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ปัญจมญาน ๙. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ อากาสานัญจายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ วิญญาณัญจายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ อากิญจัญญายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ ๑๐. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระโสดาปัตติมรรค พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระสกิทาคามิมรรค พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอนาคามิมรรค พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอรหัตตมรรค ๑๑. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระโสดาปัตติผล และ พระอรหัตตผล พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระสกิทาคามิผล และ พระอรหัตตผล พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอนาคามิผล และ พระอรหัตตผล ๑๒. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นอิสสระแห่งชมภูทวีป ธรรมะฝ่ายกุศล ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้าห้าพระองค์ ด้วยหัวใจพระวินัยปิฎก ด้วยหัวใจพระสุตตันตปิฎก ด้วยหัวใจพระอภิธรรมปิฎก ด้วยมนต์คาถา ด้วยหัวใจมรรคสี่ ผลสี่ และ นิพพานหนึ่ง ด้วยหัวใจพระเจ้าสิบชาติทรงแสดงการบำเพ็ญบารมีสิบ ด้วยหัวใจพระพุทธคุณเก้า ด้วยหัวใจพระไตรรัตนคุณ ธรรมะฝ่ายกุศล มีนัยอันวิจิตรพิสดาร ๑๓. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต ๑๔. ธรรมะฝ่ายกุศล ของผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงเทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกา ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ธรรมะฝ่ายกุศล พระพุทธเจ้าเป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นยามา ธรรมะฝ่ายกุศล ด้วยความศรัทธาต่อพระพรหม ด้วยพระบารมีอันยอดเยี่ยมของพระโพธิสัตว์ทั้งห้า ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต ๑๕. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นดุสิต ๑๖. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ผู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นนิมมานรดี ๑๗. ธรรมฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้รู้แจ้ง สังขารขันธ์ รูปขันธ์ เป็นของไม่เที่ยง เป็นความทุกข์ มิใช่เป็นตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นปรนิมมิตตวสวัสดี ๑๘. ธรรมะฝ่ายกุศล ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นพรหมโลก ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า ด้วยคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดี จงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่งตราบเข้าสู่พระนิพพาน ๑๙. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า ด้วยการสวดมนต์พระคาถานี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ๒๐. ด้วยการสวดพระคาถามหาทิพมนต์นี้ และด้วยการกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ๒๑. ด้วยการสวดพระคาถามหาทิพมนต์นี้ และด้วยการกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ๒๒. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ผู้เข้าถึงรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ๒๓. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ผู้เข้าถึงรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรม ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว ๒๔. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว ๒๕. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติดีแล้ว ๒๖. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติดีแล้ว ๒๗. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ด้วยคำสอนของ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ด้วยพระธรรมคำสั่งสอน ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตนของเราจริง - ยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎก (สวดกับแปล) อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง วัจจะโส ภะคะวา พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส อิติปิ โส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ วัจจะโส ภะคะวา พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ อิติปิ โส ภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน วัจจะโส ภะคะวา พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยความรู้ความประพฤติ อิติปิ โส ภะคะวา สุคะโต วัจจะโส ภะคะวา พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว อิติปิ โส ภะคะวา โลกะวิทู วัจจะโส ภะคะวา พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้รู้แจ้งโลก อะระหังตัง สะระณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้า ขอถึงพระองค์ผู้เป็นพระอรหันต์ว่า เป็นที่พึ่งกำจัดภัย อะระหังตัง สิระสา นะมามิ ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็นพระอรหันต์ ด้วยเศียรเกล้า สัมมาสัมพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้า ขอถึงพระองค์ผู้ทรงตรัสรู้เองโดยชอบว่า เป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง สัมมาสัมพุทธัง สิระสา นะมามิ ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมพระองค์ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ด้วยเศียรเกล้า วิชชาจะระณะสัมปันนัง สะระณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้า ขอถึงพระองค์ ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้ความประพฤติ ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง วิชชาจะระณะสัมปันนัง สิระสา นะมามิ ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมพระองค์ ผู้ถึงพร้อมด้วย ความรู้และความประพฤติ ด้วยเศียรเกล้า สุคะตัง สะระณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้า ขอถึงพระองค์ผู้เสด็จไปดีแล้วว่า เป็นที่พึ่ง กำจัดภัยได้จริง สุคะตัง สิระสา นะมามิ ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมพระองค์ผู้เสด็จไปดีแล้ว ด้วยเศียรเกล้า โลกะวิทัง สะระณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้า ขอถึงพระองค์ผู้รู้แจ้งโลกว่า เป็นที่พึ่งกำจัดภัย ได้จริง โลกะวิทัง สิระสา นะมามิ ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมพระองค์ผู้รู้แจ้งโลก ด้วยเศียรเกล้า อิติปิ โส ภะคะวา อะนุตตะโร วัจจะโส ภะคะวา พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นอนุตตะโร คือ ยอดเยี่ยม อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะธัมมะสาระถิ วัจจะโส ภะคะวา พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ อิติปิ โส ภะคะวา สัตถา เทวะมะนุสสานัง วัจจะโส ภะคะวา พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นศาสดาของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย อิติปิ โส ภะคะวา พุทโธ วัจจะโส ภะคะวา พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ตื่นจากกิเลส อะนุตตะรัง สะระณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้า ขอถึงพระองค์ผู้ยอดเยี่ยม ว่าเป็นที่พึ่ง กำจัดภัยได้จริง อะนุตตะรัง สิริสา นะมามิ ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมพระองค์ผู้ยอดเยี่ยม ด้วยเศียรเกล้า ปุริสะธัมมะสาระถิ สะระณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้า ขอถึงพระองค์ ผู้เป็นนายสารถี ผู้ฝึกบุรุษว่า เป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ปุริสะธัมมะสาระถ สิริสา นะมามิ ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมพระองค์ ผู้เป็นนายสารถี ผู้ฝึกบุรุษ ด้วยเศียรเกล้า สัตถา เทวะมะนุสสานัง สะระณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้า ขอถึงพระองค์ผู้เป็น ศาสดาของเทวดา และมนุษย์ ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง สัตถา เทวะมะนุสสานัง สิริสา นะมามิ ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมพระองค์ ผู้เป็นศาสดาของเทวดา และมนุษย์ ด้วยเศียรเกล้า พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้า ขอถึงพระองค์ผู้ตื่นจากกิเลสว่า เป็นที่พึ่งกำจัดภัย ได้จริง พุทธัง สิริสา นะมามิ ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมพระองค์ผู้ตื่นจากกิเลส ด้วยเศียรเกล้า อิติปิ โส ภะคะวา รูปขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น รูปขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว อิติปิ โส ภะคะวา เวทะนาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เวทนาขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว อิติปิ โส ภะคะวา สัญญาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สัญญาขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว อิติปิ โส ภะคะวา สังขาระขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สังขารขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น วิญญาณขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว อิติปิ โส ภะคะวา ปะถะวีจักกะวาฬะจาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ดินจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกา และชั้นดาวดึงส์ อิติปิ โส ภะคะวา เตโชจักกะวาฬะจาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรม ที่เป็นธาตุ คือ ไฟจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกา และชั้นดาวดึงส์ อิติปิ โส ภะคะวา วาโยจักกะวาฬะจาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรม ที่เป็นธาตุ คือ ลมจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกา และชั้นดาวดึงส์ อิติปิ โส ภะคะวา อาโปจักกะวาฬะจาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรม ที่เป็นธาตุ คือ น้ำจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกา และชั้นดาวดึงส์ อิติปิ โส ภะคะวา อากาสะจักกะวาฬะจาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรม ที่เป็นธาตุ คือ อากาศจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกา และชั้นดาวดึงส์ อิติปิ โส ภะคะวา ยามาธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรม ที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นยามา อิติปิ โส ภะคะวา ตุสิตาธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรม ที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นดุสิต อิติปิ โส ภะคะวา นิมมานะระติธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรม ที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นนิมมานรดี อิติปิ โส ภะคะวา กามาวะจะระธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรม ที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นกามาวจรภูมิ อิติปิ โส ภะคะวา รูปาวะจะระธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรม ที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในรูปาวจรภูมิ อิติปิ โส ภะคะวา ปะถะมะฌานะธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ปฐมฌาน อิติปิ โส ภะคะวา ทุติยะฌานะธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ทุติยฌาน อิติปิ โส ภะคะวา ตะติยะฌานะธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ตติยฌาน อิติปิ โส ภะคะวา จะตุถะฌานะธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ จตุตถฌาน อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจะมะฌานะธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ปัญจมฌาน อิติปิ โส ภะคะวา อากาสานัญจายะตะนะ เนวะสัญญานาสัญญายะตะนะ อะรูปาวะจะระธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ อากาสานัญจายตนะ และ เนวสัญญาสัญญายตนะ อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณัญจายะตะนะ เนวะสัญญานา สัญญายะตะนะ อะรูปาวะจะระธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ วิญญาณัญจายตนะ และ เนวสัญญาสัญญายตนะ อิติปิ โส ภะคะวา อากิญจัญญายะตะนะ เนวะสัญญานา สัญญายะตะนะ อะรูปาวะจะระธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ อากิญจัญญายตนะ และ เนวสัญญาสัญญายตนะ อิติปิ โส ภะคะวา โสตาปะฏิมัคคะธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระโสดาปัตติมรรค อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคาปะฏิมัคคะธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระสกิทาคามิมรรค อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคาปะฏิมัคคะธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอนาคามิมรรค อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะปะฏิมัคคะธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอรหันตตมรรค อิติปิ โส ภะคะวา โสดาอะระหัตตะปะฏิผะละธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระโสดาปัตติผล และพระอรหัตตผล อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคาอะระหัตตะปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระสกิทาคามิผล และพระอรหัตตผล อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคาอะระหัตตะปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอนาคามิผล และพระอรหัตตผล กุสะลา ธัมมา ธรรมะฝ่ายกุศล อิติปิ โส ภะคะวา พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น อะ อา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต ชมภูทิปัญจะอิสสะโร พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นอิสระแห่งชมภูทวีป กุสะลา ธัมมา ธรรมะฝ่ายกุศล นะโม พุทธายะ ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า นะโม ธัมมายะ ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า นะโม สังฆายะ ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า ปัญจะ พุทธา นะมามิหัง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระพุทธเจ้า ห้าพระองค์ อา ปา มะ จุ ปะ หัวใจพระวินัยปิฎก ที มะ สัง อัง ขุ หัวใจพระสุตตันตปิฎก สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ หัวใจพระอภิธรรมปิฎก อุ ปะ สะ ชะ สุ เห ปา สา ยะ (มนต์คาถา) โส โสสะ สะ อะ อะ อะ อะ นิ หัวใจมรรคสี่ผลสี่นิพพานหนึ่ง เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว หัวใจพระเจ้าสิบชาติแสดงการบำเพ็ญบารมีสิบ อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ ภุ พะ หัวใจพระพุทธคุณเก้า (นวหรคุณ) อิ สะวา สุ สุ สะวา อิ หัวใจพระไตรรัตนคุณ กุสะลา ธัมมา ธรรมะฝ่ายกุศล จิตติวิอัตถิ มีนัยวิจิตรพิสดาร อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส อะ อา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต สา โพธิ ปัญจะ อิสะโร ธัมมา (มนต์คาถา) กุสะลา ธัมมา ธรรมะฝ่ายกุศล นันทะวิวังโก (มนต์คาถา) อิติ สัมมาสัมพุทโธ พระองค์ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบแล้วแล สุ คะ ลา โน ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงพระคุณเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต จาตุมะหาราชิกา เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกา อิสสะโร อิสระ กุสะลา ธัมมา ธรรมะผ่ายกุศล อิติ วิชชาจาระณะสัมปันโน พระองค์ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ อุ อุ ยาวะ ชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต ตาวะติงสา สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ อิสสะโร อิสระ กุสะลา ธัมมา ธรรมะฝ่ายกุศล นันทะ ปัญจะ สุคะโต โลกะวิทู พระพุทธเจ้า ผู้เสด็จไปดีแล้ว ผู้รู้แจ้งโลก มะหาเอโอยาวะชีวังพุทธังสะระณังคัจฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต ยามา สวรรค์ชั้นยามา อิสสะโร อิสระ กุสะลา ธัมมา ธรรมะฝ่ายกุศล พรหมมาสัททะ เสียงพรหม ปัญจะ สัตตะ พระโพธิสัตว์ทั้งห้า สัตตาปาระมี บารมีของพระโพธิสัตว์ อะนุตตะโร ยอดเยี่ยม ยะมะกะขะ (มนต์คาถา) ยาวะชีวัง พุทธังสะระณังคัจฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต ตุสิตา สวรรค์ชั้นดุสิต อิสสะโร อิสระ กุสะลา ธัมมา ธรรมะฝ่ายกุศล ปุ ยะ ปะ กะ (มนต์คาถา) ปุริสะธัมมะสาระถิ พระองค์ผู้เป็นนายสารถี ผู้ฝึกบุรุษ ยาวะชีวัง พุทธังสะระณังคัจฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต นิมมานะระติ สวรรค์ชั้นนิมมานรดี อิสสะโร อิสระ กุสะลา ธัมมา ธรรมะฝ่ายกุศล เหตุโปวะ (มนต์คาถา) สัตถาเทวะมะนุสสานัง พระองค์ผู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ตะถายาวะชีวัง พุทธังสะระณังคัจฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต ปาระนิมิตตะ สวรรค์ชั้นปรนิมมิตตวสวัสดี อิสสะโร อิสระ กุสะลา ธัมมา ธรรมะฝ่ายกุศล สังขาระขันโธ สังขารขันธ์ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตนของเราจริง รูปะขันโธ พุทธะปะผะ รูปขันธ์ของพระพุทธเจ้า ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้า ขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต พรหมา พรหมโลก อิสสะโร อิสระ กุสะลา ธัมมา ธรรมะฝ่ายกุศล นัจจิปัจจะยา วินะปัญจะ ภะคะวะตายาวะนิพพานัง สะระณังคัจฉามิ ข้าพเจ้า ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน นะโมพุทธัสสะ ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า นะโมธัมมัสสะ ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า นะโมสังฆัสสะ ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า พุทธิลา โลกะลา กะระกะนา (มนต์คาถา) เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าเถิดฯ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ ฯ (มนต์คาถา) นะโมพุทธัสสะ ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า นะโมธัมมัสสะ ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า นะโมสังฆัสสะ ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า วิตติ วิตติ วิตติ มิตติ มิตติ จิตติ จิตติ (มนต์คาถา) อัตติ อัตติ มะยะสุ สุวัตถิโหนตุ ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้า หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ (มนต์คาถา) อินทะสาวัง มะหาอินทะสะวัง พรหมมะสาวัง มะหาพรหมมะ สาวัง จักกะวัตติสาวัง มะหาจักกะวัตติสาวัง เทวาสาวัง มะหา เทวาสาวัง อิสิสาวัง มะหาอิสิสาวัง มุนีสาวัง มะหามุนีสาวัง สัปปุริสาวัง มะหาสัปปุริสาวัง พุทธะสาวัง ปัจเจกะพุทธะสาวัง อะระหัตตะสาวัง สัพพะสิทธิ วิชาธะรานังสาวัง สัพพะโลกา คาถาพระมหาทิพมนตร์ อิริยานังสาวัง เอเตนะสัจเจนะสุวัตถิโหนตุ ฯ ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าเถิด สาวังคุณณัง วะชะพะลังเตชังวิริยัง สิทธิกัมมัง นิพพานังโมกขังคุย หะกัง (มนต์คาถา) ถานัง สีลัง ปัญญานิกขัง ปุญญัง ภาคะยัง ตัปปัง สุขัง สิริรูปัง จะตะวิสะติเสนัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ (มนต์คาถา) ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าเถิด หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ ฯ (มนต์คาถา) นะโม พุทธัสสะ ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า นะโม ธัมมัสสะ ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า นะโม สังฆัสสะ ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตน นะโม อิติปิ โส ภะคะวา ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น นะโม พุทธัสสะ ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตนของเราจริง นะโม สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ขอนอบน้อมพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว นะโม ธัมมัสสะ ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตนของเราจริง นะโม สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ขอนอบน้อมพระธรรม อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว นะโม ธัมมัสสะ ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตนของเราจริง นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ขอนอบน้อมพระสงฆ์ สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ปฏิบัติดีแล้ว นะโม สังฆัสสะ ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตนของเราจริง นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ วาหะปะริตตัง ขอนอบน้อมพระสงฆ์ สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ปฏิบติดีแล้ว นะโม พุทธายะ ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า มะอะอุ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตนของเราจริง ยาวะ ตัสสะ หาโย (มนต์คาถา) นะโม อุอะมะ ขอนอบน้อมพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตนของเราจริง อุ อะมะ อาวันทา ขอกราบไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นะโม พุทธายะ ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า นะ อะ กะ ติ นิ สะ ระ นะ (มนต์คาถา) อา ระ ปะ ขุ ธัง มะ อะ อุ (มนต์คาถา) ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตนของเราจริง - ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก(ย่อความ) ๑ อิติปิโส ภะคะวา (อะระหัง,สัมมาสัมพุทโธ,วิชชาจะระณะสัมปันโน,สุคะโต,โลกะวิทู) วัจจะโส ภะคะวา ๒ (อะระหันตัง,สัมมาสัมพุทธัง,วิชชาจะระณะสัมปันนัง,สุคะตัง,โลกะวิทัง) (สะระณังคัจฉามิ,สิระสานะมามิ) --> วงเล็บหน้าหนึ่งตัวกระจายวงเล็บหลังทุกตัว ๓ อิติปิโส ภะคะวา (อะนุตตะโร,ปุริสะธัมมะสาระถิ,สัตถาเทวะมะนุสสานัง,พุทโธ) วัจจะโส ภะคะวา ๔ (อะนุตตะรัง,ปุริสะธัมมะสาระถิ,สัตถาเทวะมะนุสสานัง,พุทธัง) (สะระณังคัจฉามิ,สิระสานะมามิ) --> วงเล็บหน้าหนึ่งตัวกระจายวงเล็บหลังทุกตัว ๕ อิติปิโส ภะคะวา (รูปัก,เวทะนา,สัญญา,สังขาระ,วิญญาณะ)ขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา --> ขันธ์ 5 ๖ อิติปิโส ภะคะวา (ปะฐะวี,เตโช,วาโย,อาโป,อากาสะ)จักกาวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน --> ธาตุ 5 ๗ อิติปิโส ภะคะวา (ยามา,ตุสิตา,นิมมานะระติ,ปาระนิมมิตะวะสาวัตถิ)ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน --> สวรรค์ ๘ อิติปิโส ภะคะวา (กามา,รูปะ)วะจะระ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน ๙ อิติปิโส ภะคะวา (ปะถะมะ,ทุติยะ,ตะติยะ,จะตุตถะ,ปัญจะมะ)ฌานะ ธาตุสัมมา ทิยานะสัมปันโน ๑๐ อิติปิโส ภะคะวา (อากาสานัญจา,วิญญาณัญจา,อากิญจัญญา,เนวสัญญานาสัญญา)ยะตะนะ อะรูปาวะจะระ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน ๑๑ อิติปิโส ภะคะวา (โสตา,สักกิทาคา,อะนาคา,อะระหัตตะ)ปฏิมัคคะ ธาตุสัมมาธิยานะสัมปันโน ๑๒ อิติปิโส ภะคะวา (โสตา,สักกิทาคา,อะนาคามิ)อะระหัตตะปฏิผะละ ธาตุสัมมาธิยานะสัมปันโน ๑๓ กุสะลา ธัมมา อิติปิโส ภะคะวา อะอา ยาวะชีวัง พุทธังสะระณังคัจฉามิ ชัมภูทิปัญญาจะ อิสสะโร ๑๔ กุสะลา ธัมมา นะโม (พุทธา,ธัมมา,สังฆา)ยะ ปัญจะพุทธานะมามิหัง อาปามะจุปะ ทีมะสังอังขุ สังวิธาปุกะยะปะอุปะสะชะ สุเหปาสายะ โสโส สะสะอะอะอะอะนิ เตชะสุเนมะภูจะนาวิเวอะสัง วิสุโรปุสะภุพะ อิสะวาสุสุสะวาอิ ๑๕ กุสะลา ธัมมา จิตติวิอัตถิ อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง อะอายาวะชีวัง พุทธังสะระณังคัจฉามิ สาโพธิปัญจะอิสสะโร ธัมมา ๑๖ กุสะลา ธัมมา นันทะวิวังโก อิติสัมมา สัมพุทโธ สุคะลาโน ยาวะชีวัง พุทธังสะระณัง คัจฉามิ จาตุมมะหาราชิกา อิสสะโร ๑๗ กุสะลา ธัมมา อิติวิชชาจะระณะ สัมปันโน อุอุยาวะชีวัง พุทธังสะระณังคัจฉามิ ตาวะติงสา อิสสะโร ๑๘ กุสะลา ธัมมา นันทะปัญจะสุคะโต โลกะวิทู มะหาเอโอยาวะชีวัง พุทธังสะระณังคัจฉามิ ยามาอิสสะโร ๑๙ กุสะลา ธัมมา พรหมมาสัทธะ ปัญจะสัตตะ สัตตาปาระมี อะนุตตะโรยะมะกะขะ ยาวะชีวัง พุทธังสะระณังคัจฉามิ ตุสิตาอิสสะโร ๒๐ กุสะลา ธัมมา ปุยะปะกะ ปุริสะธัมมะสาระถิ ยาวะชีวัง พุทธังสะระณัง คัจฉามิ นิมมานะระติ อิสสะโร ๒๑ กุสะลา ธัมมา เหตุโปวะ สัตถาเทวะมะนุสสานัง ตะถะ ยาวะชีวัง พุทธังสะระณัง คัจฉามิ ปาระนิมมิตตะอิสสะโร ๒๒ กุสะลา ธัมมา สังขาระขันโธ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ พุทธะปะผะ ยาวะชีวัง พุทธังสะระณัง คัจฉามิ พรหมมาอิสสะโร ๒๓ กุสะลา ธัมมา นัจจิ ปัจจะยา วินะปัญจะ ภะคะวะตายาวะนิพพานัง สะระณัง คัจาฉามิ ๒๔ นะโม(พุทธัส,ธัมมัส,สังฆัส)สะ พุทธิลา โลกะลากะระกะนา เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ ๒๕ นะโม(พุทธัส,ธัมมัส,สังฆัส)สะ วิตติ วิตติ วิตติ มิตติ มิตติ จิตติ จิตติ อัตติ อัตติ มะยะสุ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ ๒๖ (-ว่าง-,มหา) (อินทะ,พรหมมะ,จักกะ,เทวา,อิสิ,มุนี,สัปปุริสะ)สาวัง --> วงเล็บหน้าทุกตัวกระจายวงเล็บหลังทีละตัว ๒๗ พุทธะสาวัง ปัจเจกะพุทธะสาวัง อะระหัตตะสาวัง สัพพะสิทธิ วิชาธะรานังสาวัง สัพพะโลกา อิริยานังสาวัง เอเตนะสัจเจนะสุวัตถิ โหนตุ ๒๘ สาวัง คุณัง วะชะพะลัง เตชังวิริยังสิทธิกัมมัง นิพพานัง โมกขังคุย หะกัง ฐานังสีลัง ปัญญานิกขัง ปุญญังภะคะยัง ตัปปัง สุขัง สิริรูปัง จะตุวิสสะติเสนัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สวาหายะ ๒๙ นะโม(พุทธัส,ธัมมัส,สังฆัส)สะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา (รูปะ,เวทนา,สัญญา,สังขาระ,วิญญาณะ)ขันโธ นะโม อิติปิโส ภะคะวา ๓๐ นะโมพุทธัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา (รูปะ,เวทนา,สัญญา,สังขาระ,วิญญาณะ)ขันโธ นะโมสวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ๓๑ นะโมธัมมัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา (รูปะ,เวทนา,สัญญา,สังขาระ,วิญญาณะ)ขันโธ นะโมสวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ๓๒ นะโมธัมมัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา (รูปะ,เวทนา,สัญญา,สังขาระ,วิญญาณะ)ขันโธ นะโมสุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ๓๓ นะโมสังฆัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา (รูปะ,เวทนา,สัญญา,สังขาระ,วิญญาณะ)ขันโธ นะโมสุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ วาหะปะริตตัง ๓๔ นะโมพุทธายะ มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา ยาวะตัสสะ หาโย นะโม อุอะมะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา อุอะมะ อาวันทา ๓๕ นะโมพุทธายะ นะอะกะตินิสะระนะ อาระปะขุธัง มะอะอุทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา - คาถาชินบัญชร (สวด) โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) พระคาถานี้เป็นคาถาศักดิ์สิทธิ์ตกทอดมาจากลังกา ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯค้นพบในคัมภีร์โบราณและได้ดัดแปลงแต่งเติมให้ดีขึ้นเป็นเอกลักษณ์พิเศษ ผู้ใดสวดภาวนาพระคาถานี้เป็นประจำสม่ำเสมอจะทำให้เกิดความสิริมงคลแก่ตนเอง ศัตรูไม่กล้ากล้ำกราย มีเมตตามหานิยม ขจัดภัยตลอดจนคุณไสยต่างๆ ก่อนเจริญภาวนาให้ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วระลึกถึงหลวงปู่โตและตั้งคำอธิษฐานแล้วเริ่มสวด เพื่อให้เกิดอานุภาพยิ่งขึ้น ก่อนเจริญภาวนาชินบัญชร ตั้งนะโม 3 จบ ( นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ) แล้วระลึกถึง และบูชาเจ้าประคุณสมเด็จ (หลวงปู่โต) แล้วตั้งอธิษฐาน ด้วยคำว่า ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา อิติปิโสภะคะวา ยมราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ (เริ่มบทพระคาถาชินบัญชร) ๑ ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตะวา มารัง สะวาหะนัง จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา ๒ ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฎฐะวีสะติ นายะกา สัพเพ ปิติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก เต มุนิสสะรา ๓ สีเล ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน สังโฆ ปิติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร ๔ หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะทักขิเณ โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะวามะเก ๕ ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะราหุลา กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก ๖ เกสะโต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโยวะ ปะภังกะโร นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว ๗ กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโก โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร ๘ ปุณโณ อังคุลิมาโล จะ อุปาลีนันทะสีวะลี เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเต ติละกา มะมะ ๙ เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา เอตาสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา ๑๐ ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง ๑๑ ขันธะ โมระปะริตตัญ จะ อาฏานาฏิยะสุตตะกัง อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา ๑๒ ชินาณาวะระสังยุตตา สัตตัปปาการะลังกะตา วาตะปิตตาทิสัญชาตา พาหิรัชณัตตุปัททะวา ๑๓ อะเสสา วินะยัง ยันตุ อนันตะชินะเตชะสา วะจะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธปัญชะเร ๑๔ ชินะปัญชะระมัชฌมหิ วิหะรันตัง มะฮีตะเล สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา ๑๕ อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว ธัมมานุภาเวนะ ชิ ตาริสังโฆ สังฆานะภาเวนะ ชิตันตะราโย สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะปัญชะเรติฯ - คาถาชินบัญชร (แปลคำกลอน) โดยพระธรรมโกศาจารย์ ราชบัณฑิต วัดราษฎร์บำรุง ชลบุรี ข้าฯ ขอเชิญเสด็จ, พระสรรเพชญ์พุทธองค์ นราสภาทรง, พิชิตมารและเสนา ยี่สิบแปดพระองค,์ นายกสงฆ์ทรงสมญา ตัณหังกรเป็นต้นมา, ทรงดื่มแล้วซึ่งรสธรรม จตุสัจอันประเสริฐ, ทรงคุณเลิศดิลกล้ำ ยอดบุญพระคุณนำ, ยิ่งเทพไทไตรวิชชา โปรดรับประทับทรง, ณ ที่ตรงกระหม่อมข้า พระพุทธเจ้าสา-, ธุประนมบังคมเชิญ ขอให้พระพุทธะ, ศักยะพระจำเริญ ประทับบนเศียรเทอญ, ปราชญ์สรรเสริญพระบารมี ขอให้พระธรรมะ, อริยะวิสุทธิ์ศรี ประทับจักขุนทรีย,์ ให้ข้ามีปัญญาญาณ ขอให้พระสังฆะ, วิสุทธะคุณาจารย์ สถิตประดิษฐาน, อุระข้าอย่ารู้ไกล ให้พระอนุรุทธ,์ บริสุทธิ์อยู่หทัย พระสารีบุตรไพ-, โรจนนัย ณ เบื้องขวา เบื้องหลังพระโกณฑัญ-, ญะสถิตจิตตสา เบื้องซ้ายพระโมคคัลลา-, นะสถิตสถาพร หูขวาพระอานนท,์ ประชุมชนประนมกร พระราหุลอุดมพร, สถิตร่วมจรัญญา หูซ้ายพระกัสสป, นิราศภพกิตติมา คู่กับพระมหา-, นามสถิตประดิษฐาน พระพุทธะโสภิต, ผู้เรืองฤทธิ์อุดมญาณ จอมมุนีวีระหาญ, ไตรวิชชาประภากร ดุจดวงพระอาทิตย์, แรงร้อนฤทธิ์พันแสงศร สถิตเกศอุดมกร, ปัจฉิมภาคพิบูลพรรณ พระกุมาระกัสสป, ผู้เจนจบวจีสัณห์ บ่อคุณคุณานันท์, สถิตโอษฐ์อลังการ ขอให้พระปุณณะ, เถระพระอังคุลิมาล พระอุบาลีศานต์, พระนันทะพระสีวลี บรรจงเป็นเบญจะ, พระเถระผู้เรืองศรี สถิตอยู่นลาตมี, เสน่ห์ดีไมตรีตาม แปดสิบพระสาวก, มนต์สาวกผู้เรืองนาม เรืองเดชทุกโมงยาม, ด้วยศีลาธิคุณคง สถิตทั่วทุกส่วนกาย, ทั้งน้อยใหญ่ประทับทรง เป็นคุณจำเริญมง-, คละเลิศประเสริฐศรี ขอเชิญพระปริตร, อันศักดิ์สิทธิ์ในแดนตรี เมตตาและปรานี, บริรักษ์นิราศภัย เบื้องหน้ารัตนสูตร, ธรรมาวุธอันเกรียงไกร ทักษิณอันฤาชัย, เมตตสูตรพระพุทธมนต์ ปัจฉิมธชัคคสูตร, พุทธาวุธวิเศษล้น อุดรมหามนต์, อังคุลิมาละสูตรเสริม ขันธโมระปริตร, ดังจักรกฤชประสิทธิ์เฉลิม อาฏานาฏิยสูตรเดิม, พระขรรค์เพชรเผด็จมาร เพดานกั้นมารอากาศ, ให้ปลาตเกษมศานต์ อีกให้เป็นปราการ, กำแพงแก้วกำจัดภัย กำแพงแก้วเจ็ดชั้น ดำรงมั่นเดโชชัย พระชินราชประสาทให้, เป็นเกราะใหญ่คุ้มครองตน ด้วยเดชพระชินศรี, เรืองฤทธีมากเหลือล้น กำจัดภัยทุกแห่งหน, ทั้งวิบัติอุปัทวา ทั้งนอกและภายใน, เกิดเป็นภัยไม่นำพา เพียงลมร้ายพัดไปมา, ไม่บีฑาอย่าอาวรณ์ เมื่อข้าสวดพระสูตร, พระสัมพุทธบัญชร สูงสุดพุทธพร, ในพื้นเมทนีดล กลางชินนะบัญชร, คุณากรกิตติพล หวังใดให้เป็นผล, จากกุศลสาธยาย ขอมวลมหาบุรุษ, หน่อพระพุทธฤาสาย รักษาข้าอย่าคลาย, ตลอดกาลนิรันดร อีกเวทมนตร์ดลคาถา, ที่มวลข้าประนมกร เล่าเรียนเพียรว่าวอน, อนุสรณ์ตลอดมา เป็นคุณครองดี, อย่าให้มีซึ่งโรคา เป็นคุณช่วยรักษา, สรรพภัยไม่แผ้วพาน อานุภาพพระชินะ, อุปัทวะอย่ารู้หาญ ห่างไกลไม่ระราน, ประสบงานสวัสดี อานุภาพพระธรรมะ, ให้ชำนะความอัปรีย์ ห่างไกลคนใจผี, กาลกิณีไม่กล้ำกราย อานุภาพพระสังฆะ, ให้ชำนะอันตราย ไม่เห็นคนใจร้าย, ไม่มั่นหมายมาราวี อานุภาพพระสัทธรรม, ทุกเช้าค่ำรักษาศรี จำรัสจำเริญดี, ร่มพระศรีชินบัญชร ฯ - คาถาชินบัญชร (แปลไทย) * พระพุทธเจ้าและพระนราสภาทั้งหลาย ผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์ ทรงพิชิตพระยามาราธิราช ผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนา ราชพาหนะ เสวยอมตรสคือ อริยะสัจธรรมทั้ง 4 ประการ เป็นผู้นำสรรพสัตว์ ให้ข้ามพ้นจากกิเลสและกองทุกข์ * มี ๒๘ พระองค์ คือ พระผู้ทรงพระนามว่า ตัณหังกร เป็นอาทิ พระพุทธเจ้าผู้จอมมุนีทั้งหมดนั้น * ข้าพระพุทธเจ้า ขออัญเชิญมาประดิษฐานเหนือเศียรเกล้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดิษฐานอยู่บนศีรษะ พระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณ อยู่ที่อก * พระอนุรุทธะอยู่ที่ใจ พระสารีบุตรอยู่เบื้องขวา พระโมคคัลลาน์อยู่เบื้องซ้าย พระอัญญาโกณฑัญญะอยู่เบื้องหลัง * พระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา พระกัสสะปะกับพระมหานามะอยู่ที่หูซ้าย * มุนีผู้ประเสริฐ คือ พระโสภิตะผู้สมบูรณืด้วยสิริ ดังพระอาทิตย์ส่องแสงอยู่ที่ทุกเส้นขนตลอดร่าง ทั้งข้างหน้าและข้างหลัง * พระเถระกุมาระกัสสะปะ ผู้แสวงบุญทรงคุณอันวิเศษ มีวาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ปากเป็นประจำ * พระปุณณะ พระอังคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวะลี พระเถระทั้ง 5 นี้ จงปรากฏเกิดเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผาก * ส่วนพระอสีติมหาเถระที่เหลือ ผู้มีชัยและเป็นพระโอรส เป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย แต่ละองค์ล้วนรุ่งเรืองไพโรจน์ ด้วยเดชแห่งศีล ให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ่ * พระรัตนสูตรอยู่เบื้องหน้า พระเมตตาสูตรอยู่เบื้องขวา พระอังคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้าย พระธชัคคะสูตรอยู่เบื้องหลัง * พระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฏานาฏิยสูตร เป็นเครื่องกางกั้น ดุจดังหลังคาอยู่บนนภากาศ * อนึ่งพระชินเจ้าทั้งหลายนอกที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิด มีศีลาทิคุณอันมั่นคง คือสัตตะปราการ เป็นอาภรณ์มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น * ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตชินเจ้า ไม่ว่าจะทำกิจการใดๆ เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชร แวดวงกรงล้อมแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอโรคอุปัทวะทุกข์ทั้งภายนอกและภายใน อันเกิดแต่โรคร้าย คือโรคลมและโรคดี เป็นต้น เป็นสมุฎฐาน จงกำจัดให้พินาศไปอย่าได้เหลือ * ขอพระมหาบุรุษ ผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้น จงอภิบาลข้าพระพุทธเจ้า ผู้อยู่ในภาคพื้น ท่ามกลางพระชินบัญชร ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดี ฉะนี้แล * ข้าพระพุทธเจ้า ได้รับการอภิบาลด้วยคุณานุภาพ แห่งสัจธรรม จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวอันตรายใดๆ ด้วยอานุภาพแห่ง พระชินะพุทธเจ้า ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ชนะอันตรายทั้งปวง ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอข้าพระพุทธเจ้า จงได้ปฏิบัติ และรักษาดำเนินไปโดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดรเทอญฯ (พระชินบัญชรย่อ) "ชิ นะ ปัญ ชะ ระ ปะ ริต ตัง มัง รัก ขะ ตุ สัพ พะ ทา" แปลว่า ขอพระชินบัญชรปริตร จงรักษาข้าพเจ้าตลอดกาลทุกเมื่อ - พุทธชัยมงคลคาถา คือ ชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของพระพุทธเจ้า หรือ พาหุงแปดบท (เริ่มสวด) นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ๑. พุทธคุณ ๑. พุทธคุณ อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ สัตถาเทวมนุสสานัง พุทโธภะคะวาติ ๒. ธรรมคุณ สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหิติ ๓. สังฆคุณ สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทังจัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ ๔. พุทธชัยมงคลคาถา (ถวายพรพระ) ฯ พาหุงสะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง ทานาทิธัมมะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิ ฯ มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนา ฬะวะกะมัก ขะมะถัทธะยักขัง ขันตีสุทันตะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิ ฯ นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิ จักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง เมตตัมพุเสกะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิ ฯ อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะ สุทารุณันตัง ธาวันติโยชะนะปะถัง คุลิมาละวันตัง อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิ ฯ กัตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ สันเตนะ โสมะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิ ฯ สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง ปัญญาปะที ปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิ ฯ นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเตนะ เภระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต อิทธูปะ เทสะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิ ฯ ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิ เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขังสุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ แบบย่อ พา มา นา อุ กะ สะ นะ ทุ * ถ้าสวดให้คนอื่นใช้คำว่า เต สวดให้ตัวเองใช้คำว่า เม (เต แปลว่าท่าน - เม แปลว่าข้าพเจ้า) - พุทธชัยมงคลคาถา (แปล) พุทธชัยมงคลคาถา มีอยู่ ๘ บท และมีความมุ่งหมายแตกต่างกันทั้งแปดบท กล่าวคือ บทที่ ๑ สำหรับเอาชนะศัตรูหมู่มาก เช่น ในการสู้รบ บทที่ ๒ สำหรับเอาชนะใจคนที่กระด้างกระเดื่องเป็นปฏิปักษ์ บทที่ ๓ สำหรับเอาชนะสัตว์ร้ายหรือคู่ต่อสู้ บทที่ ๔ สำหรับเอาชนะโจร บทที่ ๕ สำหรับเอาชนะการแกล้ง ใส่ร้ายกล่าวโทษหรือคดีความ บทที่ ๖ สำหรับเอาชนะการโต้ตอบ บทที่ ๗ สำหรับเอาชนะเล่ห์เหลี่ยมกุศโลบาย บทที่ ๘ สำหรับเอาชนะทิฏฐิมานะของคน เราจะเห็นได้ว่า ของดีวิเศษอยู่ในนี้ และถ้าพูดถึงการที่จะเอาชนะหรือการแสวงหาความมีชัย ก็ดูเหมือนจะไม่มีอะไร นอกเหนือไปจาก ๘ ประการที่กล่าวข้างต้น ในบทที่ ๑. เป็นเรื่องผจญมาร ซึ่งมีเรื่องว่าพระยามารยกพลใหญ่หลวงมา พระพุทธเจ้าก็ทรงสามารถเอาชนะได้ จึงถือเป็นบทสำหรับเอาชนะศัตรูหมู่มาก เช่น ในการสู้รบ ฯ สมเด็จพระผู้มีพระภาค ผู้เป็นจอมของนักปราชญ์ ทรงชนะพญามารพร้อมด้วยเสนา ซึ่งเนรมิตแขนได้ตั้งพัน ถืออาวุธครบทั้งพันมือ ขี่ช้างคีรีเมขล์ พร้อมด้วยเสนามาร ส่งเสียงสนั่นน่ากลัว ทรงชนะด้วยธรรมวิธีมีทานบารมีเป็นต้น และด้วยเดชของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า ในบทที่ ๒. เรื่องเล่าว่า มียักษ์ตนหนึ่ง ชื่ออาฬะวกะ เป็นผู้มีจิตกระด้างและมีกำลังยิ่งกว่าพระยามาร พยายามมาใช้กำลังทำร้ายพระองค์อยู่จนตลอดรุ่ง ก็ทรงทรมานยักษ์ตนนี้ให้พ่ายแพ้ไปได้ จึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะปฏิปักษ์หรือคู่ต่อสู้ ฯ สมเด็จพระผู้มีพระภาค พระจอมมุนี ทรงชนะอาฬวกยักษ์ผู้โหดร้ายบ้าคลั่ง น่าสพึงกลัว ซึ่งต่อสู้กับพระองค์ตลอดทั้งคืนรุนแรงยิ่งกว่าพญามารจนละพยศได้สิ้น ด้วยขันติธรรมวิธีอันพระองค์ได้ฝึกไว้ดีแล้ว และด้วยเดชของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า ในบทที่ ๓. มีเรื่องว่าเมื่อพระเทวทัตทรยศต่อพระพุทธเจ้า ได้จัดการให้คนปล่อยช้างสาร ที่กำลังตกมันชื่อนาฬาคีรี เพื่อมาทำร้ายพระพุทธเจ้า แต่เมื่อช้างมาถึงก็ไม่ทำร้าย จึงถือเป็นบทที่เอาชนะสัตว์ร้าย ฯ สมเด็จพระผู้มีพระภาค พระจอมมุนี ทรงชนะพญาช้าง ชื่อนาฬาคิรี ซึ่งกำลังตกมันจัด ทารุณโหดร้ายยิ่งนักดุจไฟป่าจักราวุธและสายฟ้า ด้วยพระเมตตาธรรม และด้วยเดชของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า ในบทที่ ๔. เป็นเรื่องขององคุลีมาล ซึ่งเรารู้กันแพร่หลาย คือ องคุลีมาลนั้นอาจารย์บอกไว้ว่า ถ้าฆ่าคนและตัดนิ้วมือมาร้อยเป็นสร้อยคอ ให้ได้ครบพัน ก็จะมีฤทธิ์เดชยิ่งใหญ่ องคุลีมาลฆ่าคนและตัดนิ้วมือได้ ๙๙๙ เหลืออีกนิ้วเดียวจะครบพัน ก็มาพบพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงสามารถเอาชนะถึงกับองคุลีมาลเลิกเป็นโจรและยอมเข้ามาบวช กลายเป็นสาวกองค์สำคัญองค์หนึ่ง จึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะโจรผู้ร้าย ฯ สมเด็จพระผู้มีพระภาค พระจอมมุนี ทรงชนะมหาโจร ชื่อองคุลีมาล ในมือถือดาบเงื้อง่าโหดร้ายทารุณยิ่ง วิ่งไล่ตามพระองค์ห่างออกไปเรื่อยๆเป็นระยะทางถึง ๓ โยชน์ ด้วยทรงบันดาลมโนมยิทธิ(ฤทธิ์ทางใจ) และด้วยเดชของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า ในบทที่ ๕. หญิงคนหนึ่งมีนามว่า จิญจมาณวิกา ใส่ร้ายพระพุทธเจ้า โดยเอาไม้กลมๆ ใส่เข้าที่ท้องแล้วก็ไปเที่ยวป่าวข่าวให้เล่าลือว่าตั้งครรภ์กับพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงเอาชนะ ให้ความจริงปรากฏแก่คนทั้งหลายว่าเป็นเรื่องกล่าวร้ายใส่โทษพระองค์โดยแท้ จึงถือเป็นบทที่เอาชนะคดีความหรือการกล่าวร้ายใส่โทษ ฯ สมเด็จพระผู้มีพระภาค พระจอมมุนี ทรงชนะคำกล่าวใส่ร้ายท่ามกลางชุมชนของนางจิญจมาณวิกา ผู้ผูกท่อนไม้ซ่อนไว้ที่ท้องแสร้งทำเป็นหญิงมีครรภ์ ด้วยความจริง ด้วยความสงบเยือกเย็นด้วยวิธีสมาธิอันงาม และด้วยเดชของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า ในบทที่ ๖. เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงเอาชนะสัจจะกะนิครนถ์ ซึ่งเป็นคนเจ้าโวหาร เข้ามาโต้ตอบกับพระพุทธเจ้า จึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะในการโต้ตอบ ฯ สมเด็จพระผู้มีพระภาค พระจอมมุนี ทรงชนะสัจจกนิครนถ์ผู้เชิดชูลัทธิของตนว่าจริงแท้อย่างเลิศลอย ราวกับชูธงขึ้นฟ้า ผู้มุ่งโต้วาทะกับพระองค์ ด้วยพระปัญญาอันเป็นเลิศดุจประทีปโชติช่วง ด้วยเทศนาญาณวิถี และด้วยเดชของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า ในบทที่ ๗. เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้า ให้พระโมคคัลลาน์ อัครมหาสาวกไปต่อสู้เอาชนะพระยานาคชื่อ นันโทปนันทะ ผู้มีเล่ห์เหลี่ยมในการต่อสู้มากหลาย จึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะเล่ห์เหลี่ยมกุศโลบาย ฯ สมเด็จพระผู้มีพระภาค พระจอมมุนี ทรงชนะพญานาคชื่อนันโทปนันทะ ผู้หลงผิดและมีฤทธิ์มาก ด้วยทรงแนะนำวิธีและอิทธิฤทธิ์แก่พระโมคคัลลานะ พระเถระภุชงค์ พุทธบุตรให้ไปปราบจนเชื่อง และด้วยเดชของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า ในบทที่ ๘. เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงเอาชนะ ผกาพรหม ผู้มีทิฏฐิแรงกล้าสำคัญว่าตนเป็นผู้ที่มีความสำคัญที่สุด แต่พระพุทธเจ้าก็ทรงสามารถทำให้ผกาพรหมยอมละทิ้งทิฏฐิมานะ และยอมว่าพระพุทธเจ้าสูงกว่า จึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะทิฏฐิมานะของตน ฯ สมเด็จพระผู้มีพระภาค พระจอมมุนี ทรงชนะพรหม ชื่อท้าวผกา ผู้รัดรึงทิฏฐิ คือความเห็นผิดไว้แนบแน่น โดยสำคัญว่าตนบริสุทธิ์มีฤทธิ์รุ่งโรจน์ ด้วยวิธีวางยาอันวิเศษ คือเทศนาญาณ และด้วยเดชของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า ฯ แม้ นรชนใดไม่เกียจคร้าน สวดก็ดี ระลึกก็ดี ซึ่งพุทธชัยมงคลคาถา ๘ บทนี้ ทุกวัน ย่อมเป็นเหตุให้พ้นอุปัทวอันตรายทั้งปวง นรชนผุ้มีปัญญา ย่อมถึงซึ่งความสุขสูงสุดแล ฯ สิวโมกข์นฤพานอันเป็นเอกันตบรมสุข สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์ ทรงประกอบด้วยพระมหากรุณา ทรงบำเพ็ญพระบารมีทั้งปวง เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุด ด้วยการกล่าวสัจจะวาจานี้ ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอข้าพเจ้าจงมีชัยชนะในชัยมงคลพิธี ฯ ดุจพระจอมมุนีผู้ยังความปิติยินดีให้เพิ่มพูนแก่ชาวศากยะ ทรงมีชัยชนะมาร ณ โคนต้นมหาโพธิ์ ทรงถึงความเป็นเลิศยอดเยี่ยม ทรงปิติปราโมทย์อยู่เหนืออชิตบังลังค์อันไม่รู้พ่าย ณ โปกขรปฐพี อันเป็นที่อภิเษกของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ฉะนั้นเถิด เวลาที่กำหนดไว้ดี งานมงคลดี รุ่งแจ้งดี ความพยายามดี ชั่วขณะหนึ่งดี ชั่วครู่หนึ่งดี การบูชาดีแด่พระสงฆ์ผู้บริสุทธิ์ กายกรรมอันเป็นกุศล วจีกรรมอันเป็นกุศล มโนกรรมอันเป็นกุศล ความปรารถนาดีอันเป็นกุศล ผู้ใดประพฤติกรรมอันเป็นกุศล ย่อมประสบความสุขโชดดี เทอญ ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ฯ ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ - มหาการุณิโก (บทต่อจากพาหุง) มะหาการุณีโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เม* ชะยะมังคะลัง ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวีโปกขะเร อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติ สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะ(***)จาริสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธี เต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณ ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เม* ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เม* ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เม* คำแปล สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์ทรงประกอบด้วยพระมหากรุณา ทรงบำเพ็ญพระบารมีทั้งปวง เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุด ด้วยการกล่าวสัจจวาจานี้ ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอข้าพเจ้าจงมีชัยชนะในชัยมงคลพิธี ดุจพระจอมมุนีผู้ยังความปีติยินดีให้เพิ่มพูนแก่ชาวศากยะ ทรงมีชัยชนะมาร ณ โคนต้นมหาโพธิ์ทรงถึงความเป็นเลิศยอดเยี่ยม ทรงปีติปราโมทย์อยู่เหนืออชิตบัลลังก์อันไม่รู้พ่าย ณ โปกขรปฐพี อันเป็นที่อภิเษกของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ฉะนั้นเถิด เวลาที่กำหนดไว้ดี งานมงคลดี รุ่งแจ้งดี ความพยายามดี ชั่วขณะหนึ่งดี ชั่วครู่หนึ่งดี การบูชาดี แด่พระสงฆ์ผู้บริสุทธิ์ กายกรรมอันเป็นกุศล วจีกรรมอันเป็นกุศล มโนกรรมอันเป็นกุศล ความปรารถนาดีอันเป็นกุศล ผู้ได้ประพฤติกรรมอันเป็นกุศล ย่อมประสบความสุขโชคดี เทอญ ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ * ถ้าสวดให้คนอื่น ให้เปลี่ยนจากคำว่า เม เป็น เต ** อ่านว่า พรัมมัง *** อ่านว่า พรัมมะ (ที่มาและอานิสงส์ของบทสวดมนต์ ชัยมงคลคาถา หรือพาหุงมหาการุณิโก) ที่มาของบทสวดมนต์ชัยมงคลคาถา อาตมาได้ตำราเก่าแก่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เป็นใบลานทองคำจารึกของสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว ปัจจุบันเรียกว่า วัดใหญ่ชัย มงคล อยุธยา ได้รจนาถวายพระพรชัยมงคลคาถาแก่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระพนรัตน์เป็นอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อานิสงส์ของบทสวดมนต์ชัยมงคลคาถา หรือพาหุงมหากา สมเด็จพระนเรศวรมหาราชไม่เคยแพ้ทัพ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ไม่เคยแพ้ทัพ พระชัยหลังช้างของ ร.๑ นั้นมาจากบทพาหุง มหากา ผู้ใดสวดมนต์ชัยมงคลคาถา หรือพาหุงมหากา เป็นประจำทุกๆ วันแล้ว มีแต่ชัยชนะทุกประการ เรียนหนังสือก็เกิดปัญญา มีแต่ความเก่งกล้าสามารถ ผู้ใดสวดทุกเช้า ค่ำ คิดสิ่งใดที่ดีเป็นมงคล จะสมความปรารถนาทุกประการ เมื่ออาตมา(หลวงพ่อจรัญ)ได้พบกับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว คืนวันหนึ่งอาตมานอนหลับแล้ว ฝันไปว่า อาตมาได้เดินไปในสถานที่แห่งหนึ่งได้พบกับพระสงฆ์รูปหนึ่งครองจีวรคร่ำ สมณสารูปเรียบร้อยน่าเลื่อมใส อาตมาเห็นว่าเป็นพระอาวุโสผู้รัตตัญญูจึงน้อมนมัสการท่าน ท่านหยุดยืนตรงหน้าอาตมาแล้วกล่าวกับอาตมาว่า ฉันคือสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้วแห่งกรุงศรีอยุธยา ฉันต้องการให้เธอได้ไปที่วัดใหญ่ชัยมงคล เพื่อดูจารึกที่ฉันได้จารึกถวายพระเกียรติแก่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชผู้เป็นเจ้า เนื่องในวาระที่สร้างพระเจดีย์ฉลองชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชาแห่งพม่าและประกาศความเป็นอิสระของประเทศไทย จากหงสาวดีเป็นครั้งแรก เธอไปดูไว้แล้วจดจำมาเผยแพร่ออกไป ถึงเวลาที่เธอจะได้รับรู้แล้ว ในฝันอาตมารับปากท่าน ท่านก็บอกตำแหน่งให้แล้วก็ตกใจตื่นนอนใกล้รุ่ง อาตมาก็ทบทวนความฝันก็นึกอยู่ในใจว่าเราเองนั้นกำหนดจิตด้วยพระกรรมฐานมีสติอยู่เสมอเรื่องฝัน ฟุ้งซ่านก็เป็นไม่มี อาตมาก็ได้ข่าวในวันนั้นแหละว่า ทางกรมศิลปากรทำการบูรณะปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ใหญ่ในวัดใหญ่ชัยมงคล และจะทำการบรรจุบัวยอดพระเจดีย์ อันเป็นนิมิตหมายการสิ้นสุดการบูรณะ และจะรื้อนั่งร้านทั้งหมดออกเสร็จสิ้น อาตมาจึงได้ขอร้อง ดร.กิ่งแก้ว อัตถากร ให้เลื่อนการปิดยอดบัวไปอีกวันหนึ่งเพื่อที่อาตมาจะได้นำพระซุ้มเสมาชัย ซุ้มเสมาขอ ที่อาตมาได้สร้างขึ้นตามแบบดั้งเดิมที่พบในเจดีย์ใหญ่ใกล้กับวัดอัมพวัน ซึ่งพังลงน้ำ ที่ก๋งเหล็งเป็นคนรวบรวมเอาให้อาตมาตั้งแต่เมื่อเริ่มมาพัฒนาวัดใหม่ๆ แต่แตกหักผุพังทั้งนั้น หลายสิบปี๊บ อาตมาได้ป่นเอามาผสมสร้างเป็นองค์พระใหม่ ไปร่วมบรรจุไว้ที่ยอดพระเจดีย์บ้าง วันนั้นอาตมาเดินทางไปถึงก็ได้เดินขึ้นไปบนเจดีย์ตอนที่สุดบันไดแล้ว มองเห็นโพรงที่ทางเขาทำไว้สำหรับลงไปด้านล่าง มีร้านไม้พอไต่ลงไปภายใน ตั้งใจเด็ดเดี่ยวว่าลงไปคราวนี้ ถ้าพลาดตกลงไปจากนั่งร้านม้าก็ยอมตาย คนที่ร่วมเดินทางมาเขามัวแต่ไปบนลานชั้นบน อาตมาก็ดิ่งลงไปชั้นล่าง มีไฟฉายดวงหนึ่ง เวลานั้นประมาณ ๐๙.๐๐ น. อาตมาลงไปภายในแล้วก็พบนิมิตดังที่สมเด็จพระพนรัตน์ได้บอกไว้จริงๆ อาตมาจึงได้พบว่าแท้ที่จริงแล้ว สิ่งที่สมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้วท่านได้จารึกถวายพระพร ก็คือบทสวดที่เรียกว่า พาหุงมหาการุณิโก ท้ายของนิมิตนั้นระบุว่า เราสมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้วศรีอโยธเยศ คือผู้จารึกนิมิตรจนาเอาไว้ถวายพระพรแด่มหาบพิตรเจ้าสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พาหุงมหากาก็คือบทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ แล้วก็พรพาหุงอันเริ่มด้วย พาหุงสหัสไปจนถึงทุคคาหทิฏฐิ แล้วเรื่อยไปจนถึงมหาการุณิโกนาโถหิตายะ และจบลงด้วยภาวะตุ สัพพะมังคะลัง สัพพะพุทธา สัพพะธัมมา สัพพะสังฆา นุภาเวนะสะทาโสตถี ภะวันตุเต อาตมา เรียกรวมกันว่าพาหุงมหากา อาตมาจึงเข้าใจในบัดนั้นเองว่า บทพาหุงนี้คือบทสวดมนต์ที่สมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้วได้ถวายให้พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไว้สวดเป็นประจำเวลาอยู่กับพระมหาราชวังและในระหว่างศึกสงคราม จึงปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเจ้าทรงรบ ณ ที่ใด ทรงมีชัยชนะอยู่ตลอดมามิได้ทรงเพลี่ยงพล้ำเลยแม้จะเพียงลำพังสองพระองค์กับสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้า ท่ามกลางกองทัพพม่าจำนวนนับแสนคนก็ทรงมีชัยชนะเหนือกองทัพพม่าด้วยการกระทำยุทธหัตถี มีชัยเหนือพระมหาอุปราชาที่ดอนเจดีย์ปูชนียสถานแม้ข้าศึกจะยิงปืนไฟเข้าใส่พระองค์ในตอนที่เข้ากัน พระศพของพระมหาอุปราชาออกไปราวกับห่าฝนก็มิปานแต่ก็มิได้ต้องพระองค์ ด้วยเดชะพาหุงมหากาที่ทรงเจริญอยู่เป็นประจำนั่นเอง อาตมาพบนิมิตแล้วก็ไต่ขึ้นมา ด้วยความสบายใจถึงปากปล่องที่ลงไปเกือบสามชั่วโมง เนื้อตัวมีแต่หยากไย่ เดินลงมาแม่ชีเห็นเข้ายังร้องว่า หลวงพ่อเข้าไปในโพรงนั่นมาหรือ แต่อาตมาไม่ตอบ ตั้งแต่นั้นมา อาตมาจึงสอนการสวดพาหุงมหากาให้แก่ญาติโยมเป็นต้นมา เพราะอะไร เพราะพาหุงมหากานั้นเป็นบทสวดมนต์ที่มีค่าที่สุด มีผลดีที่สุด เพราะเป็นชัยชนะอย่างสูงสุดของพระบรมศาสดา จากพญาวัสวดีมาร จากอาฬาวกะยักษ์ จากช้างนาฬาคิรี จากองคุลีมาล จากนางจิญมาณวิกา จากสัจจะกะนิครนถ์ จากพญานันโทปนันทนาคราช และท่านท้าวผกาพรหม เป็นชัยชนะที่พระพุทธองค์ทรงได้มาด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ และด้วยอำนาจแห่งบารมีธรรมโดยแท้ ผู้ใดได้สวดไว้ประจำทุกวันจะมีชัยชนะมีความเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน มีสติระลึกได้ จะตายก็ไปสู่สุคติภูมิ ขอให้ญาติโยมสวดพาหุงมหากากันให้ทั่วหน้า นอกจากจะคุ้มตัวแล้ว ยังคุ้มครอบครัวได้ สวดมากๆ เข้า สวดกันทั้งประเทศก็ทำให้ประเทศมีแต่ความรุ่งเรือง พวกคนพาลสันดานหยาบก็แพ้ภัยไปอย่างถ้วนหน้า ไม่ใช่แต่พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเท่านั้น ที่พบความมหัศจรรย์ของบทพาหุงมหากา แม้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ทรงพบเช่นกัน โดยมีบันทึกโบราณบอกไว้ว่าดังนี้ เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชตีเมืองจันทบุรีได้แล้วก็ทรงเห็นว่าสงครามกู้ชาติต่อจากนี้ไปจะต้องหนักหนา และยืดยาวจึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระยอดธงแบบศรีอยุธยาขึ้นแล้วนิมนต์พระเถระทั้งหลายมาสวดบทพาหุง มหากาบรรจุไว้ในองค์พระและพระองค์ก็ทรงเจริญรอยตามพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ด้วยการเจริญพาหุงมหากาจึงบันดาลให้ทรงกู้ชาติสำเร็จ สวดพาหุงมหากากันให้ได้ทุกบ้าน สวดให้ได้มากๆ จะมีแต่ความรุ่งเรือง สวดพาหุงมหากาก่อนแล้วจึงสวดชินบัญชร เพราะชินบัญชรนั้นเจ้าประคุณสมเด็จท่านได้สวดบูชาพระอรหันต์ของท่าน ต้องสวดพาหุงมหากาก่อนแล้วจึงมาถึงชินบัญชรให้จดจำกันเอาไว้ นั่นแหละมงคลในชีวิต อันที่จริงถ้าเราทำบุญ เราจะได้ยินพระสวดคาถา พาหุงมหากา หรือ พุทธชัยมงคลคาถา ให้เราฟังทุกครั้ง บางทีเราจะเคยได้ยินพระสวดเจนหูเกินไปจนไม่นึกว่ามีความสำคัญ แท้จริงแล้วคาถาดังกล่าวนี้ มีของดีอยู่ในตัวให้เราใช้มากทุกบททุกตอน เป็นเรื่องของพระพุทธเจ้า อ้างอานุภาพของพระพุทธเจ้าเพื่อนำชัยมงคลมาให้แก่เรา ทุกตอนลงท้ายว่า ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ เวลาพระสวดให้เรา ท่านต้องใช้คำว่า เต ซึ่งแปลว่า แก่ท่าน แต่ถ้าเราจะเอามาสวดหรือภาวนาของเราเอง เพื่อให้ชัยชนะเกิดแก่ตัวเราเอง เราก็จะต้องใช้ว่า เม ซึ่งแปลว่า แก่ข้า คือสวดว่า ตันเตชะสา ภะวะตุเม ชะยะมังคะลานิ - ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเป็นครั้งแรกหลังจากตรัสรู้แล้ว ในวันอาฬาหบูชา ทรงแสดงให้ปัจจวัคคีย์ และเป็นวันที่พุทธศาสนามีพระสงฆ์ขึ้นเป็นครั้งแรก คือพระอัญญาโกณฑัญญ พระธรรมที่พระองค์ทรงแสดงคือธัมมจักกัปปวัตตนสูตร นี่เอง (บทขัดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร) อนุตฺตรํ อภิสมฺโพธี สมฺพุชฺิตฺวา ตถาคโต ปฐมํ ยํ อเทเสสิ ธมฺมจกฺกํ อนุตฺตรํ สมฺมเทว ปวตฺเตนฺโต โลเก อปฺปฏิวตฺติยํ ยตฺถากฺขาตา อุโภ อนฺตา ปฏิปตฺติ จ มชฺณิมา จตูสฺวาริยสจฺเจสุ วิสุทฺธํ ญาณทสฺสนํ เทสิตํ ธมฺมราเชน สมฺมาสมฺโพธิกิตฺตนํ นาเมน วิสฺสุตํ สุตฺตํ ธมฺมจกฺกปฺปวตฺตนํ เวยฺยากรณปรเฐน สงฺคีตนฺตมฺภณาม เส (เริ่ม) หันทะ มะยัง ธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสุตตะปาฐัง ภะณามะเส เอวัมฺเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเยฯ ตัตฺระ โข ภะคะวา ปัญฺจะ วัคคิฺเย ภิกฺขู อามันฺเตสิ เทฺวเม ภิกฺขะเว อันฺตา ปัพฺพะชิเตนะ นะ เสวิตัพฺพา โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลฺลิกานุโยโค หีโน คัมฺโม โปถุชฺชะนิโก อะนะริโย อะนัตฺถะสัญฺหิโต โย จายัง อัตฺตะกิละมะถานุโยโค ทุกฺโข อะนะริโย อะนัตถฺะสัญฺหิโตฯ เอเต เต ภิกฺขะเว อุโภ อันฺเต อะนุปะคัมฺมะ มัชฌฺิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมฺพุทธา จักฺขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญฺญายะ สัมฺโพธายะ นิพฺพานายะ สังวัตฺตะติฯ กะตะมา จะ สา ภิกฺขะเว มัชฌฺิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมฺพุทฺธา จักฺขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญฺญายะ สัมฺโพธายะ นิพฺพานายะ สังวัตฺตะติฯ อะยะเมวะ อะริโย อัฏฺฐังฺคิโก มัคฺโคฯ เสยฺยะถีทังฯ สัมฺมาทิฏฐิ สัมฺมาสังกัปฺโป สัมฺมาวาจา สัมฺมากัมฺมันฺโต สัมฺมาอาชีโว สัมฺมาวายาโม สัมฺมาสะติ สัมฺมาสะมาธิฯ อะยัง โข สา ภิกฺขะเว มัชฌฺิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อภิสัมฺพุทฺธา จักฺขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญฺญายะ สัมฺโพธายะ นิพฺพานายะ สังวัตฺตะติฯ อิทัง โข ปะนะ ภิกฺขะเว ทุกฺขัง อะริยะสัจฺจังฯ ชาติปิ ทุกฺขา ชะราปิ ทุกฺขา มะระณัมฺปิ ทุกขัง โสกะปะริเทวะทุกฺขะโทมะนัสฺสุปายาสาปิ ทุกฺขา อัปฺปิเยหิ สัมฺปะโยโค ทุกฺโข ปิเยหิ วิปฺปะโยโค ทุกฺโข ยัมฺปิจฺฉัง นะ ละภะติ ตัมฺปิ ทุกฺขัง สังฺขิตฺเตนะ ปัญฺจุปาทานักฺขันฺธา ทุกฺขาฯ อิทัง โข ปะนะ ภิกฺขะเว ทุกฺขะสะมุทะโย อะริยะสัจฺจังฯ ยายัง ตัณฺหา โปโนพฺภะวิกา นันฺทิราคะสะหะคะตา ตัตฺระ ตัตฺราภินันฺทินีฯ เสยฺยะถีทังฯ กามะตัณฺหา ภะวะตัณฺหา วิภะวะตัณฺหาฯ อิทัฺง โข ปะนะ ภิกฺขะเว ทุกฺขะนิโรโธ อะริยะสัฺจจังฯ โย ตัสฺสาเยวะ ตัณฺหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ จาโค ปะฏินิสฺสัคฺโค มุตฺติ อะนาละโยฯ อิทัฺง โข ปะนะ ภิกฺขะเว ทุกฺขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจฺจังฯ อะยะเมวะ อะริโย อัฏฺฐังฺคิโก มัคฺโคฯ เสยฺยะถีทังฯ สัมฺมาทิฏฐิ สัมฺมาสังฺกัปโป สัมฺมาวาจา สัมฺมากัมฺมันฺโต สัมฺมาอาชีโว สัมฺมาวายาโม สัมฺมาสะติ สัมฺมาสะมาธิฯ (หยุด) (ขึ้นต้น) อิทัง ทุกฺขัง (รับว่า) อะริยะสัจฺจันฺติ เม ภิกฺขะเว ปุพฺเพ อะนะนุสฺสุเตสุ ธัมฺเมสุ จักฺขุง อุทะปาทิ ญาณัฺง อุทะปาทิ ปัญฺญา อุทะปาทิ วิชฺชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ ตัฺง โข ปะนิทัฺง ทุกฺขัง อะริยะสัจฺจัง ปะริญฺเญยฺยันฺติ เม ภิกฺขะเว ปุพฺเพ อะนะนุสฺสุเตสุ ธัมฺเมสุ จักฺขุง อุทะปาทิ ญาณัฺง อุทะปาทิ ปัญฺญา อุทะปาทิ วิชฺชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ ตัฺง โข ปะนิทัง ทุกฺขัง อะริยะสัจฺจัง ปะริญฺญาตันฺติ เม ภิกฺขะเว ปุพฺเพ อะนะนุสฺสุเตสุ ธัมฺเมสุ จักฺขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญฺญา อุทะปาทิ วิชฺชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ อิทัง ทุกฺขะสะมุทะโย อะริยะสัจฺจันฺติ เม ภิกฺขะเว ปุพฺเพ อะนะนุสฺสุเตสุ ธัมฺเมสุ จักฺขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญฺญา อุทะปาทิ วิชฺชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกฺขะสะมุทะโย อะริยะสัจฺจัง ปะหาตัพฺพันฺติ เม ภิกฺขะเว ปุพฺเพ อะนะนุสฺสุเตสุ ธัมฺเมสุ จักฺขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญฺญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกฺขะสะมุทะโย อะริยะสัจฺจัง ปะหีนันฺติ เม ภิกฺขะเว ปุพฺเพ อะนะนุสฺสุเตสุ ธัมฺเมสุ จักฺขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญฺญา อุทะปาทิ วิชฺชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ อิทัง ทุกฺขะนิโรโธ อะริยะสัจฺจันฺติ เม ภิกฺขะเว ปุพฺเพ อะนะนุสฺสุเตสุ ธัมฺเมสุ จักฺขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญฺญา อุทะปาทิ วิชฺชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกฺขะนิโรโธ อะริยะสัจฺจัง สัจฺฉิกาตัพฺพันฺติ เม ภิกฺขะเว ปุพฺเพ อะนะนุสฺสุเตสุ ธัมฺเมสุ จักฺขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญฺญา อุทะปาทิ วิชฺชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกฺขะนิโรโธ อะริยะสัจฺจัง สัจฺฉิกะตันฺติ เม ภิกฺขะเว ปุพฺเพ อะนะนุสฺสุเตสุ ธัมฺเมสุ จักฺขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญฺญา อุทะปาทิ วิชฺชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ อิทัฺง ทุกฺขะนิโรธะคานิมี ปะฏิปะทา อะริยะสัจฺจันฺติ เม ภิกฺขะเว ปุพฺเพ อะนะนุสฺสุเตสุ ธัมฺเมสุ จักฺขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญฺญา อุทะปาทิ วิชฺชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกฺขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจฺจัง ภาเวตัพฺพันฺติ เม ภิกฺขะเว ปุพฺเพ อะนะนุสฺสุเตสุ ธัมฺเมสุ จักฺขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญฺญา อุทะปาทิ วิชฺชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกฺขะนิโรธะคามีนี ปะฏิปะทา อะริยะสัจฺจัง ภาวิตันฺติ เม ภิกฺขะเว ปุพฺเพ อะนะนุสฺสุเตสุ ธัมฺเมสุ จักฺขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญฺญา อุทะปาทิ วิชฺชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ ยาวะกีวัญฺจะ เม ภิกฺขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจฺเจสุ เอวันฺติปะริวัฏฺฏัฺง ทฺวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสฺสะนัง นะ สุวิสุทฺธัง อะโหสิฯ เนวะ ตาวาหัง ภิกฺขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพฺรัหฺมะเก สััสฺสะมะณะพราหฺมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสฺสายะ อะนุตฺตะรัง สัมฺมาสัมฺโพธิง อะภิสัมฺพุทฺโธ ปัจฺจัญฺญาสิงฯ ยะโต จะ โข เม ภิกฺขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจฺเจสุ เอวันฺติปะริวัฏฺฏัฺง ทฺวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสฺสะนัง สุวิสุทฺธัง อะโหสิฯ อะถาหัง ภิขฺขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพฺรัหฺมะเก สัสฺสะมะณะพฺราหฺมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสฺสายะ อะนุตฺตะรัง สัมฺมาสัมฺโพธิง อะภิสัมฺพุทฺโธ ปัจฺจัญฺญาสิงฯ ญาณัญฺจะ ปะนะ เม ทัสสฺะนัง อุทะปาทิ อะกุปฺปา เม วิมุตฺติ อะยะมันฺติมาชาติ นัตถฺิทานิ ปุนัพฺภะโวติฯ อิทะมะโวจะ ภะคะวาฯ อัตฺตะมะนา ปัญฺจะวัคฺคิยา ภิกฺขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันฺทุงฯ อิมัส์ฺมิญจะ ปะนะเวยฺยากะระณัส์ฺมิง ภัญฺญะมาเน อายัส์ฺมะโต โกณฺฑัญฺญัสฺสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมฺมะจักฺขุง อุทะปาทิ ยังฺกิญฺจิ สะมุทะยะ ธัมฺมัง สัพฺพันฺตัง นิโรธะธัมฺมันฺติฯ ปะวัตฺติเน จะ ภะคะวะตา ธัมฺมะจักฺเก ภุมฺมา เทวา สัทฺทะมะนุสฺสาเวสุง เอตัมฺภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตฺตะรัง ธัมฺมะจักฺกัง ปะวัตฺติตัง อัปฺปะฏิวัตฺติยัง สะมะเณนะ วา พฺราหฺมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พฺรัหฺมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสฺมินฺติฯ (หยุด) (ขึ้นต้น) ภุมฺมานัง (รับว่า) เทวานัง สัทฺทัง สุต์ฺวา จาตุมฺมะหาราชิกา เทวา สัทฺทะมะนุสฺสาเวสุงฯ จาตุมฺมะหาราชิกานัง เทวานัง สัทฺทัง สุตฺ์วา ตาวะติงสา เทวา สัทฺทะมะนุสสาเวสุงฯ ตาวะติงสานัง เทวานัง สัทฺทัง สุตฺวา ยามา เทวา สัทฺทะมะนุสฺสาเวสุงฯ ยามานัง เทวานัง สัทฺทัง สุตฺวา ตุสิตา เทวา สัทฺทะมะนุสฺสาเวสุงฯ ตุสิตานัง เทวานัง สัทฺทัง สุตฺวา นิมฺมานะระตี เทวา สัทฺทะมะนุสฺสาเวสุงฯ นิมฺมานะระตีนัง เทวานัง สัทฺทัง สุตฺวา ปะระนิมฺมิตะวะสะวัตฺตี เทวา สัทฺทะมะนุสฺสาเวสุงฯ ปะระนิมฺมิตตะวะสะวัตฺตีนัง เทวานัง สัทฺทัง สุตฺวา พฺรัหฺมะกายิกา เทวา สัทฺทะมะนุสฺสาเวสุง เอตัมฺภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตฺตะรัง ธัมฺมะจักกัง ปะวัตฺติตัง อัปฺปะติวัตฺติยัง สะมะเณนะ วา พฺราหฺมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะวา พฺรัหฺมุนา วา เกนะจิ วา โลกัส์ฺมินฺติฯ (หยุด) (ขึ้นต้น) อิติหะ เตนะ (รับว่า) ขะเณนะ เตนะ มุหุตฺเตนะ ยาวะ พฺรัหฺมะโลกา สัทฺโท อัพฺภุคฺคัจฺฉิฯ อะยัญฺจะ ทะสะสะหัสฺสี โลกะธาตุ สัมฺกัมฺปิ สัมฺปะกัมฺปิ สัมฺปะเวธิฯ อัปฺปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ อะติกฺกัมฺเมวะ เทวานัง เทวานุภาวังฯ อะถะโข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ อัญฺญาสิ วะตะ โภ โกณฺฑัญฺโญ อัญฺญาสิ วะตะ โภ โกณฺฑัญฺโญติฯ อิติหิทัง อายัส์ฺมะโต โกณฺฑัญฺญัสสฺะ อัญฺญาโกณฺฑัญฺโญเตฺว์วะ นามัง อะโหสีติฯ (คำแปลพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร) พระตถาคตเจ้า ได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว เม่ือจะทรงประกาศธรรมท่ีใครๆ ยังมิได้ให้เป็นไปแล้วในโลก ให้เป็นไปโดยชอบแท้ ได้ทรงแสดงพระอนุตรธรรมจักใดก่อน คือในธรรมจักใด พระองค์ตรัสซึ่งท่ีสุด ๒ ประการ และข้อปฏิบัติเป็นกลาง และปัญญาอันรู้เห็นอันหมดจดแล้วในอริยสัจจ์ ทั้ง ๔ เราทั้งหลาย จงสวดธรรมจักนั้น ท่ี พระองค์ผู้พระธรรมราชาทรงแสดงแล้ว ปรากฏโดยช่ือว่าธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เป็นสูตรประกาศพระสัมมาสัมโพธิญาณ อันพระสังคีติกาจารย์ร้อยกรองไว้โดย เวยกรณปาฐา เทอญ. อันข้าพเจ้า (คือพระอานนทเถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหน่ึงพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับอยู่ท่ีป่าอิสปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตือนพระภิกษุปัจวัคคีย์ ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่ีสุด ๒ อย่างนี้อันบรรพชิตไม่ควรเสพ คือการประกอบตนให้พัวพันด้วยกาม ในกามทั้งหลายนี้ใดเป็นธรรมอันเลว เป็นเหตุให้ตั้งบ้านเรือน เป็นของคนมีกิเลสหนา ไม่ใช่ไปจากข้าศึกคือกิเลส ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ อย่างหน่ึง คือการประกอบความเหน็ดเหน่ือยด้วย ตนเหล่านี้ใด ให้เกิดทุกข์แก่ผู้ประกอบ ไม่ใช่ไปจากข้าศึกคือกิเลส ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ อย่างหน่ึง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง ไม่เข้าไปใกล้ท่ีสุด สองอย่างนั่นนั้น อันตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันย่ิง ทำดวงตา ทำญาณเคร่ืองรู้ ย่อมเป็นไปเพ่ือความเข้าไปสงบระงับ เพ่ือความรู้ย่ิง เพ่ือความรู้ดี เพ่ือความดับ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อปฏิบัติ ซ่ึงเป็นกลางนั้นเป็นไฉน ท่ีตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันย่ิง ทำดวงตา ทำญาณเคร่ืองรู้ ย่อมเป็นไปเพ่ือความเข้าไปสงบระงับ เพ่ือความรู้ย่ิง เพ่ือความรู้ดี เพ่ือความดับ ทางมีองค์ ๘ เคร่ืองไปจากข้าศึก คือกิเลสนี้เอง กล่าวคือ ปัญญาอันเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ ความเลี้ยงชีพชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งจิตชอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้แลข้อปฏิบัติ ซ่ึงเป็นกลางนั้น ท่ีตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันย่ิง ทำดวงตา ทำญาณเคร่ืองรู้ ย่อมเป็นไปเพ่ือความเข้าไปสงบระงับ เพ่ือความรู้ยิ่ง เพ่ือความรู้ดี เพ่ือความดับ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แล เป็นทุกข์ อย่างแท้จริง คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์ ความประสบด้วยสิ่งท่ีไม่เป็นที่รักทั้งหลายเป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากส่ิงท่ีรักทั้งหลายเป็นทุกข์ ปรารถนาอยู่ย่อมไม่ได้ แม้อันใด แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่อแล้ว อุปทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แล เป็นเหตุให้เกิดขึ้น อย่างจริงแท้คือความทะยานอยากนี้ ทำให้มีภพอีก เป็นไปกับความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิน เพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ กล่าวคือ คือความทะยานอยากในอารณ์ท่ีใคร่ คือความทะยานอยากในความมีความเป็น คือความทะยานอยากในความไม่มีไม่เป็น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แล เป็นความดับทุกข์ อย่างจริงแท้ คือความดับโดยสิ้นกำหนัด โดยไม่เหลือ แห่งตัณหานั้นน่ันเทียวอันใด ความสละตัณหานั้น ความวางตัณหานั้น ความปล่อยตัณหานั้น ความไม่พัวพันแห่งตัณหานั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แล เป็นข้อปฏิบัติ ให้ถึงความดับทุกข์อย่างจริงแท้ คือ ทางมีองค์ ๘ เคร่ืองไปจากข้าศึก คือกิเลสนี้แล กล่าวคือ ปัญญาอันเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ ความเลี้ยงชีพชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งจิตชอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ในธรรมทั้งหลายท่ีเราไม่เคย ได้ฟังแล้วในกาลก่อนว่านี้เป็นทุกข์อริยสัจ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ในธรรมทั้งหลายท่ีเราไม่เคย ได้ฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกข์อริยสัจ นี้นั้นแล ความกำหนดรู้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ในธรรมทั้งหลายท่ีเราไม่เคย ได้ฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกข์อริยสัจ นี้นั้นแล อันเราได้กำหนดรู้แล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ในธรรมทั้งหลายท่ีเราไม่เคย ได้ฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขสมุหทัย อริยสัจ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ในธรรมทั้งหลายท่ีเราไม่เคย ได้ฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขสมุหทัย อริยสัจนี้นั้นแล ควรละเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ในธรรมทั้งหลายท่ีเราไม่เคย ได้ฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขสมุทัย อริยสัจนี้นั้นแล อันเราได้ละแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ในธรรมทั้งหลายท่ีเราไม่เคย ได้ฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี้เป็นทุกขนิโรธ อริยสัจ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ในธรรมทั้งหลายท่ีเราไม่เคย ได้ฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธ อริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ในธรรมทั้งหลายท่ีเราไม่เคย ได้ฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธ อริยสัจนี้นั้นแล อันเราได้ทำให้แจ้งแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ในธรรมทั้งหลายท่ีเราไม่เคย ได้ฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธ อริยสัจนี้นั้นแล อันเราได้ทำให้แจ้งแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ในธรรมทั้งหลายท่ีเราไม่เคย ได้ฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทาอริยสัจ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ในธรรมทั้งหลายท่ีเราไม่เคย ได้ฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล ควรให้เจริญ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ในธรรมทั้งหลายท่ีเราไม่เคย ได้ฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล อันเราเจริญแล้ว ปัญญาอันรู้เห็นเป็นตามจริงแล้วอย่างไร ในอริยสัจ ๔ เหล่านี้ของเรา ซ่ึงมีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ ยังไม่หมดจดเพียงใดแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้ยืนยันตนว่า เป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะ ซ่ึงปัญญา เคร่ืองตรัสรู้ชอบ ไม่มีความตรัสรู้อ่ืนจะย่ิงกว่าในโลกเป็นไปกับด้วยเทพดา มาร พรหม ในหมู่สัตว์ ทั้งสมณพราหมณ์ เทพดา มนุษย์ไม่ได้เพียงนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เม่ือใดแล ปัญญา อันรู้เห็นตามเป็นจริงอย่างไรในอริยสัจ ๔ เหล่านี้ ของเราซึ่งมีรอบ ๓ อาการ ๑๒ อย่างนี้ หมดจดดีแล้ว เม่ือนั้น เราจึงได้ยืนยันตนว่าเป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะ ซ่ึงปัญญาเคร่ืองตรัสรู้ชอบ ไม่มีความตรัสรู้อ่ืนย่ิงกว่าในโลก เป็นไปกับด้วยเทพดา มาร พรหม ในหมู่สัตว์ ทั้งสมณพราหมณ์ เทพดา มนุษย์ ก็แล ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ว่าความพ้นพิเศษของเราไม่กลับกำเริบ ชาตินี้เป็นท่ีสุดแล้ว บัดนี้ไม่มีภพอีก พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสธรรมปริยายนี้แล้ว ภิกษุปัญจวัคคีย์ก็มีใจยินดี เพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็แลเม่ือเวยยากรณ์นี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่ จักษุในธรรมอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้ว แก่พระผู้มีอายุ โกญฑัญญะ ว่าสิ่งใดสิ่งหน่ึง มีอันเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งปวงหนึ่ง มีอันดับไปเป็นธรรมดา ก็ครั้นเม่ือธรรมจักร อันพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เป็นไปแล้ว เหล่าภุมมเทพดา ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น ว่านั่นจักร คือธรรม ไม่มีจักรอ่ืนสู้ได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เป็นไปแล้ว ท่ีป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี อันสมณพราหมณ์ เทพดา มาร พรหม และใครๆ ในโลกยังให้เป็นไปไม่ได้ ดังนี้ เทพเจ้าเหล่าช้ันจาตุมหาราช ได้ฟังเสียงของเทพเจ้า เหล่าภุมมเทพดาแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น เทพเจ้าเหล่าชั่นดาวดึงส์ ได้ฟังเสียงของเทพเจ้า เหล่าชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น เทพเจ้าเหล่าชั้นยามะ ได้ฟังเสียงของเทพเจ้า เหล่าชั้นดาวดึงส์แล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น เทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิต ได้ฟังเสียงของเทพเจ้า เหล่าชั้นยามะแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น เทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้า เหล่าชั้นดุสิตแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น เทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมิตวสวัดดี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้า เหล่าชั้นนิมมานรดีแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น เทพเจ้าเหล่าท่ีเกิดในหมู่พราหมณ์ ได้ฟังเสียงของเทพเจ้า เหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัดดีแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่นว่านั่นจักร คือธรรม ไม่มีจักรอ่ืนสู้ได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เป็นไปแล้ว ท่ีป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี อันสมณพราหมณ์ เทพดา มาร พรหม และใครๆ ในโลกยังให้เป็นไปไม่ได้ ดังนี้ โดยขณะครู่เดียวนั้น เสียงขึ้นไปถึงพรหมโลก ด้วยประการฉะนี้ ทั้งหมื่นโลกธาตุ ได้หวั่นไหวสะเทือนสะท้านลั่นไป ทั้งแสงสว่างอันยิ่งไม่มีประมาณ ได้ปรากฏแล้วในโลก ล่วงเทวานุภาพ ของเทพดาทั้งหลายเสียหมด ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่าอุทานว่า โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญ เพราะเหตุน้ัน นามว่า อัญญาโกณฑัญญะ นี้นั่นเทียวได้มีแล้วแก่พระผู้มีอายุโกณฑัญญะ ด้วยประการฉะนี้แล. (อีกแบบ) ธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสุตตัง ........ เอวัมเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเย ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะ วัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ เทวเม ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค หีโน คัมโม โปถุชชะนิโก อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค ทุกโข อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต ฯ เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนุปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติฯ ........ กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถา คะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะ มายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ เสยยะถีทัง ฯ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะ เตนะ อะภิ สัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะ สะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ ........ อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยัะสัจจัง ชาติปิ ทุกขะ ชะราปิ ทุกขา มะระณัมปิ ทุกขัง โสกะปะริเทวะ ทุกขะ โทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกยา ฯ อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุมะโย อะริยะสัจจัง ฯ ยายัง ตัณหา โปโนพภะวิกา นันทิราคะสะหะคะตา ตัตระ ตัตราภิ นันทินี ฯ เสยยะถีทัง ฯ กามะตัณหา ภะวะตัณหา วิภะวะตัณหา ฯ อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจังฯ โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะ นิโรโธ จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย ฯ อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะ สัจจัง ฯ อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ เสยยะถีทัง ฯ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมา อาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ ........ อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทพปาทิ ญาณัง อุทะปาทิปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญ เญยยันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะ นุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ฯ ........ อิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทมะโย อะริยะ สัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทมะโย อะริยะ สัจจัง ปะหีนันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะ ปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ........ อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ฯ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจจิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจจิกะตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ........ อิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะ ปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะ คามินี ปะฏิปะทา อะริสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุ ทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะ ปาทิ ฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ........ ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติ ปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัส สะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะ พราหมะณิยา ปายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมา สัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ ยะโต จะ โข เม เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติ ปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะ มะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง ปุทะปาทิ อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิปุ นัพภะโวติ ฯ อิทะมะโว จะ ภะคะวาฯ อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิ ภัญญะมาเน อายัส มะโต โกณฑัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ ยังกิญจิ สุมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ ฯ ........ ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก ภุมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยังบ อิสิปะ ตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิวา โลกัสมินติ ฯ ........ ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา จาตุมมะหาราชิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯจาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ยามา เทวา สัททะ มะนุสสาเวสุง ฯ ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะระนิมมิตะ วะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ปะระนิมมิตะ วะสะวัตตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา พรัหมะ ปาริสัชชา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ พรัหมะปาริ สัชชานัง เทวานัง สัททัง สุตวา พรัหมะปะโรหิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ พรัหมะปะโร หิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา มะหาพรัหมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ มะหาพรัหมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะริตตาภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ปะริตตาภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา อัปปะมาณาภา เทวา สัททะมะนุสสา เวสุง ฯ อัปปะมาณาภานัง เทวา นัง สัททัง สุตวา อาภัสสะรา เทวา สัททะมะนุสสา เวสุง ฯ อาภัสสะรานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะริต ตะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ปะริตตะสุภา นัง เทวานัง สัททัง สุตวา อัปปะมาณะสุภา เทวา สัททะ มะนุสสาเวสุง ฯ อัปปะมาณะสุภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา สุภะกิณหะกา เทวา สัททะ มะนุสสาเวสุง ฯ สุภะกิณหะกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา เวหัปผะลา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ เวหัปผะลานัง เทวานัง สัททัง สุตวา อะวิหา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ อะวิหานัง เทวานัง สัททัง สุตวา อะตัปปา เทวา สัททะมะนุสสา เวสุง ฯ อะตัปปานัง เทวานัง สัททัง สุตวา สุทัสสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ สุทัสสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา สุทัสสี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ สุทัสสีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา อะกะนิฏฐะกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ เอตัมภะ คะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุต ตะรรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิ วัตติยัง สะมะ เณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ ฯ ........ อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ พรัหมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิฯ อะยัญจะ ทะสะสะ หัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิฯ อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง ฯ อะถะโข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญติ อิติหิทัง อายัสมะโต โกณฑัญ ญัสสะ อัญญาโกณฑัญโญ เตววะ นามัง อะโหสีติ ฯ (คำแปลธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสุตตัง) จากหนังสือ สวดมนต์แปล วัดจันทาราม อ.เมือง จ.อุทัยธานี หน้า 97 - 113ซึ่งค่อนข้างจะแปลละเอียดและคาดว่าจะเป็นบทสวดเต็ม มาให้ครับ .. ถ้าคัดลอกผิดไปบ้าง..ขออภัยด้วย..ผู้ใดพบเห็นกรุณาเสนอแก้ด้วยนะครับ ; บทสวดธัมมจักกัปปวัฒนสูตร พระอานนทเถรพุทธอุปัฏฐาก ได้กล่าวแสดงต่อคณะสงฆ์ ในการทำสังคายครั้งที่ ๑ ว่าดังนี้ เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเยฯ ข้าพเจ้าได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า ในสมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับยับยั้งอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันใกล้เมืองพาราณสี ฯ ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ ฯ ในกาลครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเตือนสติเหล่าภิกษุปัญจวัคคีย์ให้ตั้งใจฟังและพิจารณาตามพระดำรัสของพระองค์อย่างนี้ว่า ฯ เทวเม ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตไม่ควรปฏิบัติให้หนักไปในส่วนที่สุด ๒ อย่าง คือ โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค หีโน (ถ้ามีการตรวจคำหยาบ..ตรงนี้ให้ออกเสียงว่า ฮีโน..นะครับ) คัมโม โปถุชชะนิโก อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต การประพฤติปฏิบัติตนเพื่อแสวงหาความสุขอยู่ใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่ารักน่าปรารถนา ซึ่งเป็นธรรมอันเลว เป็นเหตุให้ต้องมีบ้านเรือน เป็นธรรมของคนผุ้ครองเรือนผู้หนาไปด้วยกิเลส ไม่ใธรรมอันจะนำจิตใจออกจากกิเลส ไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติเพื่อให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลาย นี่อย่างหนึ่ง โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค ทุกโข อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต ฯ และอีกอย่างหนึ่ง คือ การประพฤติปฏิบัติด้วยการทรมานร่างกายให้ได้รับความลำบาก ซึ่งมีแต่ทำให้ใจเป็นทุกข์ทรมานอย่างเดียว ไม่เป็นทางนำจิตใจออกจากกิเลส และไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติเพื่อให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจท้งหลาย ฯ (หรืออีกนัยหนึ่งคือ เร่งหักโหมปฏิบัติธรรมจนเกินกำลัง เพื่อหวังจะได้บรรลุมรรคผลเร็ว ๆ ) เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนะปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตได้รู้ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง โดยไม่เข้าไปใกล้ส่วนที่สุด ๒ อย่างนั้นแล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติฯ ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนั้น สามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อทำให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ฯ กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง ซึ่งสามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ที่ตถาคตรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่งนั้น คือการปฏิบัติอย่างไร? อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนี้ คือ ทางนำไปสู่ความไกลจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลาย มี ๘ อย่าง ฯ เสยยะถีทัง ข้อปฏิบัติเหล่านี้คือ - สัมมาทิฏฐิ ปัญญาอันเห็นชอบ ( คือ เห็นอริยสัจ ) - สัมมาสังกัปโป ความดำริชอบ ( คิดจะออกจากกาม ไม่คิดอาฆาตพยาบาท ไม่คิดเบียดเบียน ) - สัมมาวาจา วาจาชอบ ( ไม่พูดโกหก ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดคำส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล ) - สัมมากัมมันโต การงานชอบ ( เว้นจากการทุจริต เช่น โกงแรงงานเขาเป็นต้น และทำการงานที่ไม่มีโทษ ) - สัมมาอาชีโว การเลี้ยงชีวิตชอบ ( หากินโดยไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดศีล ไม่ผิดธรรม ไม่ผิดประเพณี ) - สัมมาวายาโม ความเพียรชอบ ( เพียรละชั่ว ประพฤติดีเพื่อให้มีคุณธรรมประจำใจ และเพื่อให้ได้คุณธรรมสูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป ) - สัมมาสะติ การระลึกชอบ ( ระลึกนึกถึง อนุสสติ ๑๐ ประการ มีพระนิพพานเป็นที่สุด และระลึกในมหาสติปัฏฐาน ๔ ) - สัมมาสะมาธิ ฯ การตั้งจิตไว้ชอบ ( การทำสมาธิให้อารมณ์ตั้งมั่นในอนุสสติ ๑๐ ประการนั้น ) ฯ ( หรือกล่าวโดยย่อ มรรค ๘ ประการนี้ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ) อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางเหล่านี้แล คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง ซึ่งสามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อทำให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ที่ตถาคตรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สภาวะเหล่านี้แลเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง คือ - ชาติปิ ทุกขา ความเกิดก็เป็นทุกข์ - ชะราปิ ทุกขา เมื่อความแก่เข้ามาถึง ก็เป็นทุกข์ - มะระณัมปิ ทุกขัง เมื่อความตายเข้ามาถึง ก็เป็นทุกข์ - โสกะปริเทวะทุกขะโทมะนัสสุกปายาสาปิ ทุกขา เมื่อความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความเสียใจ และความคับแค้นใจเกิดขึ้นมา ก็เป็นทุกข์ - อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข เมื่อประสบพบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจ ก็เป็นทุกข์ - ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข เมื่อพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่ชอบใจก็เป็นทุกข์ - ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง และแม้คิดปรารถนาอยากได้สิ่งใด แต่ไม่ได้สิ่งนั้นสมปรารถนา ก็เป็นทุกข์ - สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา ฯ กล่าวโดยย่อแล้วก็คือ การหลงคิดว่าร่างกายเป็นของเราของเขานั่นแล เป็นตัวทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง ฯ อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ยายัง ตัณหา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจนี้แลเป็นต้นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง โปโนพภะวิกา นันทิราคะสะหะคะตา ตัตระ ตัตราภินันทินี เสยยะถีทัง กามะตัณหา คือ มีความอยากเวียนว่ายตายเกิดอยู่ร่ำไป และมีความกำหนัดยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่าปรารถนา ก็เป็นเหตุให้ใจเกิดทุกข์ ภะวะตัณหา สิ่งใดที่ยังไม่มี ก็คิดอยากจะให้มีขึ้นมา อย่างนี้ก็ทำให้ใจเกิดทุกข์ วิภะวะตัณหา และเมื่อมีทุกอย่างสมปรารถนาแล้ว ก็อยากจะให้ทุกอย่างคงทนอยู่ตลอดไป เมื่อมันจะต้องสลายหายไป ก็ร้อนใจไม่อยากให้เป็นเช่นนั้น อย่างนี้ก็ยิ่งทำให้ใจเกิดทุกข์หนักขึ้นอีก ฯ อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การดับตัณหาความอยากให้หมดไปจากใจด้วยการ ละ วาง ปล่อย และไม่คิดยินดีพัวพันอยู่กับตัณหาความอยากนั้นอีกเด็ดขาด คือ การดับทุกข์ให้หมดไปจากใจได้อย่างแท้จริง ฯ อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค เสยยะถีทัง สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติเพื่อนำกิเลสให้หมดไปจากใจนี้ มี ๘ อย่าง คือ ปัญญาเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความเพียรชอบ การระลึกชอบ และการตั้งจิตไว้ชอบ คือ ข้อปฏิบัติเพื่อนำใจให้หมดจากกิเลสและดับความทุกข์ได้อย่งแท้จริง ฯ อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาคือ ปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราอย่างนี้ว่า ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความเสียใจ และความคับแค้นใจ เป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง ฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหล่านี้เป็นต้น อันเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริงนั้นแล เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ตลอดเวลา ฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือ ปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้งและความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหล่านี้เป็นต้น อันเป็นตัวทุกข์อย่งแท้จริงนี้นั้นแล เราได้หยั่งรู้ด้วยปัญญาโดยตลอดแล้ว ฯ อิทัง ทุกขะสุมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่างในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจนี้ เป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง ฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจ อันเป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นสิ่งที่ต้องละให้ขาด ฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหีนันติ (ให้อ่านว่า ปะฮีนันติ..Amine) เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจ อันเป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ละขาดไปจากใจแล้ว ฯ อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริง ฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นสิ่งที่ต้องทำให้แจ้งในใจตลอดเวลา ฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกะตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ทำให้แจ้งในใจอยู่ตลอดเวลาแล้ว ฯ อิทัง ทุกขะนิโรธคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า มรรคคือทาง ๘ ประการ เป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริง ฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า มรรคคือทาง ๘ ประการ อันเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นธรรมที่ต้องทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลา ฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า มรรคคือทาง ๘ ประการ อันเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลาแล้ว ฯ ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความจริง ๔ อย่าง อันทำให้ใจห่างไกลจากกิเลสนี้ ถ้าหากเรายังไม่รู้เห็นตามความเป็นจริง โดยอาการหมุนเวียนแห่งปัญญาญาณ ครบ ๓ รอบทั้ง ๔ อย่าง รวมเป็นอาการ ๑๒ รอบ ( อาการ ๑๒ รอบนี้ เรียกว่า ญาณ ๓ คือ 1. สัจจญาณ : การหยั่งรู้ให้ทราบชัดในความจริงแต่ละอย่างในความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ว่าเป็นทุกข์แท้จริง , ตัณหาคือเหตุเกิดทุกข์แท้จริง , การดับตัณหาคือการดับทุกข์ได้แท้จริง , มรรคคือ ทาง ๘ ประการเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริง 2. กิจจญาณ : การหยั่งรู้ให้ทราบชัดว่า จะต้องทำอย่งไรกับความจริงแต่ละอย่างนั้น ว่า ตัวทุกข์ควรต้องกำหนดรู้ตลอดเวลา , ตัณหาต้องละให้ขาด , การดับตัณหาเป็นสิ่งที่ต้องทำให้แจ้งในใจตลอดเวลา , มรรค ๘ เป็นธรรมที่ต้องทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลา และ 3. กตญาณ : การหยั่งรู้ว่าได้ทำหน้าที่ทุกอย่างในความจริงแต่ละอย่างนั้นได้โดยบริบูรณ์แล้ว คือ ทุกข์รู้ด้วยปัญญาโดยตลอดแล้ว , ตัณหาได้ละขาดไปจากใจแล้ว , การดับตัณหาได้ทำให้แจ้งในใจตลอดเวลาแล้ว , มรรค ๘ ได้ทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลาแล้ว ) เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล้าประกาศยืนยันแก่มนุษยโลก ตลอดถึงเทวโลก มารโลก พรหมโลก รวมทั้งหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ให้ได้รู้เพียงนั้น ว่าเราได้ตรัสรู้พร้อมยิ่งซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้โดยชอบอันยอดเยี่ยม ซึ่งไม่มีความตรัสรู้อื่นในโลกใด ๆ หรือ ของใคร ๆ จะเทียบได้ ฯ ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ความจริง ๔ อย่ง อันทำให้ใจห่างไกลจากกิเลสนี้ เราได้รู้เห็นตามความเป็นจริง โดยอาการหมุนเวียนแห่งปัญญาญาณ ครบ ๓ รอบทั้ง ๔ อย่าง รวมเป็นอาการ ๑๒ รอบ ด้วยปัญญาอันบริสุทธิ์หมดจดแล้ว ฯ อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงกล้าประกาศยืนยันแก่มนุษยโลก ตลอดถึงเทวโลก มารโลก พรหมโลก รวมทั้งหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ให้ได้รู้เฉพาะว่า เราได้ตรัสรู้พร้อมยิ่งซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้โดยชอบอันยอดเยี่ยม ซึ่งไม่มีความตรัสรู้อื่นในโลกใด ๆ หรือของใคร ๆ จะเทียบได้ ฯ ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ ฯ ก็แล ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแก่เราแล้วว่า กิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลายไม่สามารถจะกำเริบขึ้นมาได้อีกแล้ว จิตของเราได้หลุดพ้นจากกิเลสโดยวิเศษแล้ว ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเราแล้ว บัดนี้ไม่มีภพเป็นที่เกิดสำหรับเราอีกแล้ว ฯ อิทะมะโวจะ ภะคะวา ฯ ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงความจริง ๔ อย่างอันประเสริฐ อันทำให้ใจห่างไกลจากกิเลสอย่างนี้แล้ว ฯ อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ พระภิกษุปัจจวัคคีย์เหล่านั้น ก็มีความเพลิดเพลินยินดีในธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสแล้วนั้น ฯ อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิง ภัญญะมาเน ก็ในเมื่อขณะที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกล่าวแสดงความละเอียดพิศดารแห่งความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการอยู่นั่นแล อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ ฯ ดวงตาคือ ปัญญาอันเห็นธรรม ซึ่งปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดแล้วแก่ท่านโกณทัญญะ ผู้มีอายุอย่างนี้ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาแล้ว สิ่งนั้น ๆ ทั้งปวง ก็ต้องดับสลายไปเป็นธรรมดา ฯ ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงประกาศวงล้อแห่งธรรมให้เป็นไปแล้วนั่นแล ภุมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ภูมิเทวดาทั้งหลาย ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ ฯ นั่นคือ วงล้อแห่งธรรมอันยอดเยี่ยม ไม่มีอะไรเทียบได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ซึ่งวงล้อแห่งธรรมอย่างนี้ อันสมณพราหมณ์ ตลอดถึงเทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลก ไม่สามารถให้เป็นไปได้ ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา จาตุมมะหาราชิกา เทวดา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ เทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราช ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าภูมิเทวดาแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ เทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์ ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ เทพเจ้าเหล่าชั้นยามา ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์แล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ เทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นยามาแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ [bตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ เทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ เทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดีแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สังททัง สุตวา พรัหมะกายิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง เทพเจ้าเหล่าที่เกิดในหมู่พรหม ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตตีแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ ฯ นั่นคือ วงล้อแห่งธรรมอันยอดเยี่ยม ไม่มีอะไรเทียบได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ซึ่งวงล้อแห่งธรรมอย่างนี้ อันสมณพราหมณ์ ตลอดถึง เทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลก ไม่สามารถให้เป็นไปได้ ฯ อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ พรัหมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิ ฯ และโดยขณะเดียวเท่านั้น เสียงก็ดังขึ้นไปถึงพรหมโลกด้วยอาการอย่างนี้ ฯ อะยัญจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิ ฯ และเสียงนี้ได้สะท้านสะเทือนหวั่นไหว ดังสนั่นไปตลอดทิศทั้ง ๔ ทั่วทั้งหมื่นโลกธาตุ ฯ อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง ฯ อีกทั้งแสงสว่างอันใหญ่ยิ่งไม่มีประมาณ ได้ปรากฏแล้วในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลายเสียหมด ฯ อะถะ โข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญติ ฯ ในลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานขึ้นว่า โกณทัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ โกณทัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ ฯ (อัญญาสิ : ได้รู้แล้ว) อิติหิทัง อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ อัญญาโกณทัญโญ เตววะ นามัง อะโหสีติ ฯ เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานขึ้นมาอย่างนี้แล นามว่า อัญญาโกณทัญญะ นี้นั่นแหละ ได้มีแล้วแก่พระโกณทัญญะผู้มีอายุ ด้วยประการฉะนี้ แลฯ * --------- * จบบทสวดมนต์ ธัมมจักกัปปวัฒนสูตร * --------- - สิบสองตำนาน นะมะการะสิทธิคาถา พระนิพนธ์ของสมเด็จพระพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ___________________ ใช้แทนสัมพุทเธ โย จักขุมา โมหะมะลาปะกัฏโฐ สามัง วะ พุทโธ สุคะโต วิมุตโต มารัสสะ ปาสา วินิโมจะยันโต ปาเปสิ เขมัง ชะนะตัง วิเนยยัง ฯ พุทธัง วะรันตัง สิระสา นะมามิ โลกัสสะ นาถัญจะ วินายะกัญจะ ตันเตชะสา เต ชะยะ สิทธิ โหตุ สัพพันตะรายา จะ วินาสะเมนตุ ฯ ธัมโม ธะโช โย วิยะ ตัสสะ สัตถุ ทัสเสสิ โลกัสสะ วิสุทธิมัคคัง นิยยานิโก ธัมมะธะรัสสะธารี สาตาวะโห สันติกะโร สุจิณโณ ฯ ธัมมัง วะรันตัง สิระสา นะมามิ โมหัปปะทาลัง อุปะสันตะทาหัง ตันเตชะสา เต ชะยะสิทธิ โหตุ สัมพันตะรายา จะ วินาสะเมนตุ ฯ สัทธัมมะเสนา สุ คะตานุโค โย โลกัสสะ ปาปูปะกิเล สะเชตา สันโต สะยัง สันตินิโยชะโก จะ สวากขาตะธัมมัง วิทิตัง กะโรติ ฯ สังฆัง วะรันตัง สิระสา นะมามิ พุทธานุพุทธัง สะมะสีละทิฏฐิง ตันเตชะสา เต ชะยะ สิทธิ โหตุ สัพพันตะรายา จะ วินาสะเมนตุ ฯ __________________ ขึ้นสวดมนต์สิบสองตำนาน สะรัชชัง สะเสนัง สะพันธุง นะรินทัง ปะริตตานุภาโว สะทา รักขะตูติ ผะริตวานะ เมตตัง สะเมตตา ภะทันตา อะวิกขิตตะจิตตา ปะริตตัง ภะณันตุ ฯ สะมันตา จักกะวาเฬสุ อัตรา คัจฉันตุ เทวะตา สัทธัมมัง มุนิราชัสสะ สุณันตุ สัคคะโมกขะทัง ฯ สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุมหิ เขตเต ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเม ยักขะคันธัพพะนาคา ติฏฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระวะจะนัง สาธะโว เม สุณันตุ ฯ ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา ธัมมัส สะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา ฯ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯ ( ว่า ๓ หน ) พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ฯ ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ฯ ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ฯ ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ฯ สัมพุทเธ อัฏฐะวีสัญจะ ทวาทะสัญจะ สะหัสสะเก ปัญจะสะตะสะหัสสานิ นะมามิ สิระสา อะหัง เตสา ธัมมัญจะ สังฆัญจะ อาทะเรนะ นะมามิหัง นะมะการานุภาเวนะ หันตวา สัพเพ อุปัททะเว อะเนกา อันตะรายาปิ วินัสสันตุ อะเสสะโต ฯ สัมพุทเธ ปัญจะปัญญาสัญจะจะตุวีสะติ สะหัส สะเก ทะสะสะตะสะหัสสานิ นะมามิ สิระสา อะหัง เตสัง ธัมมัญจะ สังฆัญจะ อาทะเรนะ นะมามิหัง นะมะการานุภาเวนะ หันตวา สัพเพ อุปัททะเว อะเนกา อันตะรายาปิ วินัสสันตุ อะเสสะโตฯ สัมพุทเธ นะวุตตะระสะเต อัฏฐะจัตตาฬีสะสะหัสสะเก วีสะติสะตะสะหัสสานิ นะมามิ สิระสา อะหัง เตสัง สังฆัญจะ อาทะเรนะ นะมามิหัง นะมะการานุภาเวนะ หันตวา สัพเพ อุปัททะเว อะเนกา อันตะรายาปิ วินัสสันตุ อะเสสะโต ฯ ( ถ้าไม่สวด สัมพุทเธ จะสวด นะมะการะสิทธิคาถา ซึ่งอยู่หน้าต้นแทนก็ได้ ) ______________________ นะโมการะอัฏฐะกะ นะโม อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ มะเหสิโน นะโม อุตตะมะธัมมัสสะ สวากขาตัสเสวะ เตนิธะ นะโม มะหาสังฆัสสาปิ วิสุทธะสีละทิฏฐิโน นะโม โอมาตยารัทธัสสะ ระตะนัตตะยัสสะ สาธุกัง นะโม โอมะกาตี ตัสสะ ตัสสะวัตถุตตะยัสสะปิ นะโม การัปปะภาเวนะ วิคัจฉันตุ อุปัททะวา นะโม การานุภาเวนะ สุวัตถิ โหตุ สัพพะทา นะโม การัสสะ เตเชนะ วิธิมหิ โหมิ เตชะวา ฯ ( นะโมการะอัฏฐะกะนี้สวดในสมัยที่ควร ) _____________________ เริ่มมังคะละสุตตัง เย สันตา สันตะจิตตา ติสะระณะสะระณา เอตถะ โลกันตะเร วา ภุมมาภุมมา จะ เทวา คุณะคะณะคะหะณัพยาวะฏา สัพพะกาลัง เอเต อายันตุ เทวา วะระกะนะ กะมะเย เมรุราเช วะสันโต สันโต สันโต สะเหตุง มุนิวะระวะจะนัง โสตุมมัคคัง ฯ สัพเพสุจักกะวาเฬสุ ยักขา เทวา จะ พรัหมุโน ยัง อัมเหหิ กะตัง ปุญญัง สัพพะสัมปัตติ สาธะกัง สัพเพ ตัง อะนุโมทิตวา สะมัคคา สาสะเน ระตา ปะมาทะระหิตา โหนตุ อารักขาสุ วิเสสะโต สาสะนัสสะ จะ โลกัสสะ วุฑฒี ภะวะตุ สัพพะทา สาสะนัมปิ จะ โลกัญจะ เทวา รักขันตุ สัพพะทา สัทธิง โหนตุ สุขี สัพเพ ปะริวาเรหิ อัตตะโน อะนีฆา สุมะนา โหนตุ สะหะ สัพเพหิ ญาติภิ ฯ ยัญจะ ทวาทะสะ วัสสานิ จินตะยิงสุ สะเทวะกา จิรัสสัง จินตะยันตาปิ เนวะ ชานิงสุ มังคะลัง จักกะ วาฬะสะหัสเสสุ ทะสะสุ เยนะ ตัตตะกัง กาลัง โกลาหะลัง ชาตัง ยาวะ พรัหมเวสะนา ยัง โลกะนาโถ เทเสสิ สัพพะปาปะวินาสะนัง ยัง สุตวา สัพพะทุกเขหิ มุจจันตา สังขิยา นะรา เอวะมาทิคุณูเปตัง มังตะลันตัมภะณามะ เห ฯ ____________________ มังคะละสุตตัง เอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม ฯ อะถะโข อัญญะตะรา เทวะตา อะภิกกันตายะ รัตติยา อะภิกกันตะวัณณา เกวะละกัปปัง เชตะวะนัง โอภาเสตวา เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะมิตวา ภะคะวันตัง อะภิวาเทตวา เอกะมันตัง อัฏฐาสิ ฯ เอกะมันตัง ฐิตา โข สา เทวะตา ภะคะวันตัง คาถายะ อัชฌะภาสิฯ พะหู เทวา มะนุสสา จะ มังคะลานิ อะจินตะยุง อากังขะมานา โสตถานัง พรูหิ มังคะละมุตตะมัง ฯ อะเสวะนา จะ พาลานัง ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา ปูชา จะ ปูชะนียานัง เอตัม มังคะละมุตตะมัง ฯ ปะฏิรูปะเทสะ วาโส จะ ปุเพ จะ กะตะปุญญะตา อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ เอตัม มังคะละมุตตะมัง ฯ พาหุสัจจัญจะ สิปปัญจะ วินะโย จะ สุสิกขิโต สุภาสิตา จะ ยา วาจา เอตัม มังคะละมุตตะมัง ฯ มาตาปิตุอุปัฏฐานัง ปุตตะทารัสสะ สังคะโห อะนากุลา จะ กัมมันตา เอตัม มังคะละมุตตะมัง ฯ ทานัญจะ ธัมมะจะริยา จะ ญาตะกานัญจะ สังคะโห อะนะวัชชานิ กัมมานิเอตัม มังคะละมุตตะมัง ฯ อาระตี วิระตี ปาปา มัชชะปานา จะ สัญญะโม อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ เอตัม มังคะละมุตตะมัง ฯ คาระโว จะ นิวาโต จะ สันตุฏฐี จะ กะตัญญุตา กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง เอตัม มังคะละมุตตะมัง ฯ ขันตี จะ โสวะจัสสะตา สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา เอตัม มังคะละมุตตะมัง ฯ ตะโป จะ พรัหมะจะริยัญจะ อะริยะสัจจานะ ทัสสะนัง นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ เอตัม มังคะละมุตตะมัง ฯ ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติ อะโสกัง วิระชัง เขมัง เอตัม มังคะละมุตตะมัง ฯ เอตาทิสานิ กัตวานะ สัพพัตถะมะปะราชิตา สัพพัตถะ โสตถิง คัจฉันติ ตันเตสัง มังคะละมุตตะมันติ ฯ ________________________ เริ่มระตะนะสุตตัง ปะณิธานะโต ปัฏฐายะ ตะถาคะตัสสะ ทะสะปาระมิโย ทะสะ อุปะปาระมิโย ทะสะ ปะระมัตถะปาระมิโยติ สะมะติงสะ ปาระมิโย ปูเรตวา ปัญจะ มะหาปะริจจาเค ติสโส จะริยา ปัจฉิมมัพภะเว คัพภาวักกันติง ชาติง อะภินิกขะมะนัง ปะธานะจะริยัง โพธิปัลลังเก มาระวิชะยัง สัพพัญญุตะญาณัปปะฏิเวธัง ธัมมะจักกัปปะวัตตะนัง นะวะ โลกุตตะระธัมเมติ สัพเพปิเม พุทธะคุเณ อาวัชชิตวา เวสาลิยา ตีสุ ปาการันตะเรสุ ติยามะรัตติง ปะริตตัง กะโรนโต อายัสมา อานันทัตเถโร วิยะ การุญญะจิตตัง อุปัฏฐะเปตวา โกฏิสะตะสะหัสเสสุ จักกะวาเฬสุ เทวะตา ยัสสาฌัมปะฏคคัณหันติ ยัญจะ เวสาลิยัมปุเร โรคามะนุสสะ ทุพภิกขะสัมภูตันติวิธัมภะยัง ขิปปะมันตะระธาเปสิ ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ __________________________ ระตะนะสุตตัง ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข สัพเพวะ ภูตา สุมะนา ภะวันตุ อะโถปิ สักกัจจะ สุณันตุ ภาสิตัง ตัส์มา หิ ภูตา นิสาเมถะ สัพเพ เมตตัง กะโรถะ มานุสิยา ปะชายะ ทิวา จะ รัตโต จะ หะรันติ เย พะลิง ตัส์มา หิ เน รักขะถะ อัปปะมัตตา ฯ ยังกิญจิ วิตตัง อิธะ วา หุรัง วา สะเคสุ วา ยัง ระตะนัง ปะณีตัง นะ โน สะมัง อัตถิ ตะถาคะเตนะ อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ ขะยัง วิราคัง อะมะตัง ปะณีตัง ยะทัชฌะคา สัก์ยะมุนี สะมาหิโต นะ เตนะ ธัมเมนะ สะมัตถิ กิญจิ อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ ยัมพุทธะเสฏโฐ ปะริวัณณะยีสุจิงสะมาธิมานันตะริกัญญะมาหุ สะมาธินา เตนะ สะโม นะ วิชชะติ อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ เย ปุคคะลา อัฏฐะ สะตัง ปะสัฏฐา จัตตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนติ เต ทักขิเณยยา สุคะตัสสะ สาวะกา เอเตสุ ทินนานิ มะหัปผะลานิ อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ เย สุปปะยุตตา มะนะสา ทัฬเหนะ นิกกามิโน โคตะมะสาสะนัมหิ เต ปัตติปัตตา อะมะตัง วิคัยหะ ลัทธา มุธา นิพพุติง ภุญชะมานา อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ ยะถินทะขีโล ปะถะวิง สิโต สิยา จะตุพภิ วาเตภิ อะสัมปะ กัมปิโย ตะถูปะมัง สัปปุริสัง วะทามิ โย อะริยะสัจจานิ อะเวจจะ ปัสสะติ อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ เย อะริยะสัจจานิ วิภาวะยันติ คัมภีระปัญเญนะ สุเทสิตานิ กิญจาปิ เต โหติ ภุสัปปะมัตตา นะ เต ภะวัง อัฏฐะมะมาทิยันติ อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ สะหาวัสสะ ทัสสะนะสัมปะทายะ ตะยัสสุ ธัมมา ชะหิตา ภะวันตุ สักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉิตัญจะ สีลัพพะตัง วาปิ ยะทัตถิกิญจิ จะตูหะปาเยหิ จะวิปปะมุตโต ฉะจาภิฐานานิ อะภัพโพ กาตุง อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ กิญจาปิ โส กัมมัง กะโรติ ปาปะกัง กาเยนะ วาจายุทะ เจตะสา วา อะภัพโพ โส ตัสสะ ปะฏิฐฉะทายะ อะภัพพะตา ทิฏฐะปะทัสสะ วุตตา อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ วะนัปปะคุมเพ ยะถา ผุสสิตัคเค คิมหานะมาเส ปะฐะมัส์มิง คิมเห ตะถูปะมัง ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ นิพพานะคามิง ปะระมัง หิตายะ อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ วะโร วะรัญญู วะระโท วะราหะโร อะนุตตะโร ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ ขีณัง ปุราณัง นะวัง นัตถิ สัมภะวัง วิรัตตะจิตตายะติเก ภะวัสมิง เต ขีระพีชา อะวิรุฬหิฉันทา นิพพันติ ธีรา ยะถายัมปะทีโป อิ ทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวา อันตะลิกเข ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะ ปูชิตัง พุทธัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ ยานีธะ ภูตานิ สะมา คะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะ ปูชิตัง ธัมมัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง สังฆัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ ___________________ เริ่มกะระณียะเมตตะสุตตัง ยัสสานุภาวะโต ยักขา เนวะ ทัสเสนติ ภิงสะนัง ยัมหิ เจวานุยุญชันโต รัตตินทิวะมะตันทิโต สุขัง สุปะติ สุตโต ปาปัง กิญจิ นะ ปัสสะติ เอวะมาทิคุณูเปตัง ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ ___________________ กะระณียะเมตตะสุตตัง กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ สักโก อุชู จะ สุหุชู สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ สันตินทริโย จะ นิปะโก จะ อัปปะ คัพโภ กุเลสุ อะนะ นุคิทโ ธ นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง สุขิโน วา เขมิโน โหนตุ สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา เย เกจิ ปาณะภู ตัตถิ ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา ทีฆา วา เย มะหันตา วา มัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา ทิฏฐา วา เย จะ อัทิฏฐา เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร ภูตา วา สัมภะ เวสี วา สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ พยาโรสะนา ปะฏีฆะสัญญา นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ มาตา ยะถานิยัง ปุตตัง อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข เอวัมปิ สัพพะภูเตสุ มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง เมตตัญจะ สัพพะโลกัสมิง มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ อะสัมพาธัง อะเวรังอะสะปัตตัง ติฏฐัญจะรัง นิสินโน วา สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ ทิฏฐิญ จะ อะนุปะคัมมะ สีละวา ทัสสะเนนะ สัมปันโน กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง นะหิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติ ฯ ___________________ เริ่มขันธะปะริตตัง สัพพาสีวิสะชาตีนัง ทิพพะมันตาคะทัง วิยะ ยันนา เสติ วิสัง โฆรัง เสสัญจาปิ ปะริสสะยัง อาณักเขตตัมหิ สัพพัตถะ สัพพะทา สัพพะปาณินัง สัพพะโสปิ นิวาเรติ ปะริตตันตัมภะณามะ เหฯ ___________________ ขันธะปะริตตัง วิรูปักเขหิ เม เมตตัง เมตตัง เอราปะเถหิ เม ฉัพยาปุตเตหิ เม เมตตัง เมตตัง กัณหาโคตะระเกหิ จะ อะปาทะเกหิ เม เมตตัง เมตตัง ทิปาทะเกหิ เม จะตุปปะ เทหิ เม เมตตัง เมตตัง พะหุปปะเทหิ เม มา มัง อะปา ทะโก หิงสิ มา มัง หิงสิ ทิปาทะโก มา มัง จะตุปปะโท หิงสิ มา มัง หิงสิ พะหุปปะโท สัพเพ สัตตา สัพเพ ปาณา สัพเพ ภูตา จะ เกวะลา สัพเพ ภัทรานิ ปัสสันตุ มา กิญจิ ปาปะมาคะมา อัปปะมาโณ พุทโธ อัปปะมาโณ ธัมโม อัปปะมาโณ สังโฆ ปะมาณะวันตานิ สิริงสะปานิ อะหิ วิจฉิกา สะตะปะที อุณณานาภี สะระภู มูสิกา กะตา เม รักขา กะตา เม ปะริตตา ปะฏิกกะมันตุ ภูตานิ โสหัง นะโม ภะคะวะโต นะโม สันตันนัง สัมมาสัมพุทธานังฯ ___________________ ฉัททันตะปะริตตัง วะธิสสะเมนันติ ปะรามะสันโต กาสาวะมัททักขิ ธะชัง อิสีนัง ทุกเขนะ ผุฏฐัสสุทะปาทิ สัญญา อะระหัทธะโช สัพภิ อะวัชฌะรูโป สัลเลนะ วิทโธ พยะถิโตปิ สันโต กาสาวะวัตถัมหิ มะนัง นะทุสสะยิ สะเจ อิมัง นาคะวะ เรนะ สัจจัง มามัง วะเน พาละมิคา อะคัญฉุนติฯ ___________________ เริ่มโมระปะริตตัง ปูเรนตัมโพธิสัมภาเร นิพพัตตัง โมระโยนิยัง เยนะ สังวิหิตารักขัง มะหาสัตตัง วะเนจะรา จิรัสสัง วายะมัน ตาปิ เนวะ สักขิงสุ คัณหิตุง พรัหมะมันตันติ อักขาตัง ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ ___________________ โมระปะริตตัง อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง เย พราหมะณา เวทะคุ สัพพะธัมฌม เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา โมโร จะระติ เอสะนาฯ อะเปตะยัญจักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ รัตติง เย พราหมะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม เต เม นะโม เต จะมัง ปาละยันตุ นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา โมโร วา สะมะกัปปะยีติฯ ___________________ เริ่มวัฏฏะกะปะริตตัง ปูเรนตัมโพธิสัมภาเร นิพพัตตัง วัฏฏะชาติยัง ยัสสะ เตเชนะ ทาวัคคิ มะหาสัตตัง วิวัชชะยิ เถรัสสะ สารีปุตตัสสะ โลกะนาเถนะ ภาสิตัง กัปปัฏฐายิ มะหาเตชัง ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ ___________________ วัฏฏะกะปะริตตัง อัตถิ โลเก สีละถุโณ สัจจัง โสเจยยะนุททะยา เตนะ สัจเจนะ กาหามิ สัจจะกิริยะมะนุตตะรัง อาวัชชิตวา ธัมมะพะลัง สะริตวา ปุพพะเก ชิเน สัจจะพะละมะวัส สายะ สัจจะกิริยะมะกาสะหัง สันติ ปักขา อะปัตตะนา สันติปาทา อะวัญจะนา มาตา ปิตา จะ นิกขันตา ชาตะ เวทะ ปะฏิกกะมะ สะหะ สัจเจ กะเต มัยหัง มะหาปัช ชะลิโต สิขี วัชเชสิ โสฬะสะกะรีสานิ อุทะกัง ปัตวา ยะถา สิขี สัจเจนะ เม สะโม นัตถิ เอสา เม สัจจะปาระมีติฯ ___________________ เริ่มธะชัคคะสุตตัง ยัสสานุสสะระเณนาปิ อันตะลิกเขปิ ปาณิโน ปะติฏฐะมะธิคัจฉันติ ภูมิยัง วิยะ สัพพะทา สัพพู ปัททะวะชาลัมหา ยักขะโจราทิสัมภะวา คะณะนา นะ จะ มุตตานัง ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ ___________________ ธะชัคคะสุตตัง เอวัมเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม ฯ ตัตระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติ ฯ ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุง ฯ ภะคะวา เอตะทะโวจะฯ ภูตะปุพพัง ภิกขะเว เทวาสุระสังคาโม สะมุปัพยุฬ โห อะโหสิ ฯ อะถะโข ภิกขะเว สักโก เทวานะมินโท เทเว ตาวะติงเส อามันเตสิ สะเจ มาริสา เทวานัง สังคา มะคะตานัง อุปปัชเชยยะ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา มะเมวะ ตัสมิง สะมะเย ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ มะมัง หิ โว ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปิหิยยิสสะติ โน เจ เม ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ อะถะ ปะชาปะติสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกย ยาถะ ปะชาปะติสสะ หิโว เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ โน เจ ปะชาปะติสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ อะถะ วะรุณัสสะ หิโว เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิส สะติ โน เจ วะรุณัสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโล เกยยาถะ อีสานัสสะ หิโว เทวะ ราาชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะตีติฯ ตัง โข ปะนะ ภิกขะเว สักกัสสะ วา เทวานะ มินทัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ปะชาปะติสสะ วา เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง วะรุณัสสะ วา เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง อีสานัสสะ วา เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วาโส ปะหิยเยถาปิ โนปิ ปะหิยเยถะ ตัง กิสสะเหตุ สักโก หิ ภิกขะเว เทวานะมินโท อะวีตะราโค อะวีตะโทโส อะวีตะโมโห ภิรุ ฉัมภี อุตราสี ปะลายีติฯ อะหัญจะ โข ภิกขะเว เอวัง วะทามิ สะเจ ตุมหากัง ภิกขะเว อะรัญญะคะตานัง วา รุกขะมูละคะตานัง วา สุญญาคาระคะตานัง วา อุปปัชเชยยะ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา มะเมวะ ตัสมิง สะมะเย อันุสสะเรยยาถะ อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ มะมัง หิ โว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ โน เจ มัง อะนุสสะเรยยาถะ อะถะ ธัมมัง อะนุสสะเรยยาถะ สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ ธัมมัง หิโว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ โน เจ ธัมมัง อะนุสสะเรยยาถะ อะถะ สังฆัง อะนุสสะเรยยาถะ สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะ กะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะ ปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณะโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ สังฆัง หิ โว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ ตัง กิสสะ เหตุ ตะถา คะโต หิ ภิกขะเว อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วีตะราโค วีตะโทโส วีตะโมโห อะภิรุ อัจฉัมภี อะนุตราสี อะปะ ลายีติฯ อิทะมะโวจะ ภะคะวา อิทัง วตวานะ สุคะโต อะถาปะรัง เอตะทะโวจะ สัตถา อะรัญเญ รุกขะมูเล วา สุญญาคาเรวะ ภิกขะโว อะนุสสะเรถะ สัมพุทธัง ภะยัง ตุมหากะ โน สิยา โน เจ พุทธัง สะเรยยาถะ โลกะ เชฏฐัง นะราสะภัง อะถะ ธัมมัง สะเรยยาถะ นิยยานิกัง สุเทสิตัง โน เจ ธัมมัง สะเรยยาถะ นิยยานิกัง สุเทสิตัง อะถะ สังฆัง สะเรยยาถะ ปุญญักเขตตัง อะนุตตะรัง เอวัมพุทธัง สะรันตานัง ธัมมัง สังฆัญจะ ภิกขะโว ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส นะ เหสสะตีติ ฯ ___________________ เริ่มอาฏานาฏิยะปะริตตัง อัปปะสันเนหิ นาถัสสะ สาสะเน สาธุสัมมะเต อะมะนุสเสหิ จัณเฑหิ สะทา กิพพิสะการิภิ ปะริสานัญจะ ตัสสันนะมะหิงสายะ จะ คุตติยา ยันเทเสสี มะหาวีโร ปะริตตันตัมภะณะนะ เห ฯ ___________________ อาฏานาฏิยะปะริตตัง วิปัสสิสสะ นะมัตถุ จักขุมันตัสสะ สิรีมะโต สิขิส สะปิ นะมัตถุ สัพพะภู ตานุกัมปิโน เวสสะภุสสะ นะมัตถุ นหาตะกัสสะ ตะปัสสิโน นะมัตถุ กะกุสันธัสสะ มาระ เสนัปปะมัททิโน โกนาคะมะนัสสะ นะมัตถุ พราหมะณัสสะ วุสีมะโต กัสสะปัสสะ นะมัตถุ วิปปะมุตตัสสะ สัพพะธิ อังคีระสัสสะ นะมัตถุ สักยะปุตตัสสะ สิรีมะโต โย อิมัง ธัมมะมะเทเสสิ สัพพะทุกขาปะนูทะนัง เย จาปิ นิพพุตาโลเก ยะถาภูตัง วิปัสสิสุง เต ชะนา อะปิสุณา มะหันตา วีตะ สาระทา หิตัง เทวะมะนุสสานัง ยัง นะมัสสันติ โคตะมัง วิชชาจะระณะสัมปันนัง มะหันตัง วีตะสาระทัง ฯ นะโม เม สัพพะพุทธานัง อุปปันนานัง มะเหสินัง ตัณหังกะโร มะหาวีโร เมธังกะโร มะหายะโส สะระณัง กะโร โลกะหิโต ทีปังกะโร ชุตินธะโร โกณฑัญโญ ชะนะ ปาโมกโข มังคะโล ปุริสาสะโภ สุมาโน สุมาโน ธีโร เรวะโต ระติวัฑฒะโน โสภีโต ถุณะสัมปันโน อะโนมะ ทัสสี ชะนุตตะโม ปะทุโม โลกะปัชโชโต นาระโท วะระ สาระถี ปะทุมุตตะโร สัตตะสาโร สุเมโธ อัปปะฏิปุคคะโล สุชาโต สัพพะโลกัคโค ปิยะทัสสี นะราสะโภ อัตถะทัสสี การุณิโก ธัมมะทัสสี ตะโมนุโท สิทธัตโถ อะสะโม โลเก ติสโส จะ วะทะตัง วะโร ปุนโน จะ วะระโท พุทโธ วิปัสสี จะ อะนูปะโม สิขี สัพพะหิโต สัตถา เวสสะภู สุขะทายะโก กะกุสันโธ สัตถะวาโห โกนาคะมะโน ระณัญ ชะโห กัสสะโป สิริสัมปันโน โคระโม สักยะปุงคะโว ฯ เอเต จัญเญ จะ สัมพุทธา อัเนกะสะตะโกฏะโย สัพเพ พุทธา อะสะมะสะมา สัพเพ พุทธา มะหิทธิกา สัพเพ ทะสะพะลูเปตา เวสารัชเชหุปาคะตา สัพเพ เต ปะฏิชานันติ อาสะภัณฐานะมุตตะมัง สีหะนาทัง นะทันเตเต ปะริสาสุ วิสาระทา พรัหมะจักกัง ปะวัตเตนติ โลเก อัปปะ ฏิวัตติยัง อุเปตา พุทธะธัมเมหิ อัฏฐาระสะหิ นายะกา ทวัตติงสะ ลักขะณูเปตา สีตยานุพยัญชะนาธะรา พยา มัปปะภายะ สุปปะภา สัพเพ เต มุนิกุญชะรา พุทธา สัพพัญญุโน เอเต สัพเพ ขีณาสะวา ชินา มะหัปปะภา มะหาเตชา มะหาปัญญา มะหัพพะลา มะหาการุณิกา ธีรา สัพเพสานัง สุขาวะหา ทีปา นาถา ปะติฏฐา จะ ตาณา เลณา จะ ปาณินัง คะตี พันธู มะหัสสาสา สะระณา จะ หิเตสิโน สะเทวะกัสสะ โลกัสสะ สัพเพ เอเต ปะรา ยะนา เตสาหัง สิระสา ปาเท วันทามิ ปุริสุตตะเม วะจะสา มะนะสา เจวะ วันทาเมเต ตะถาคะเต สะยะเน อาสะเน ฐาเน คะมะเน จาปิ สัพพะทา สะทา สุเขนะ รักขันตุ พุทธา สันติกะรา ตุวัง เตหิ ตวัง รักขิโต สันโต มุตโต สัพพะภะเยนะ จะ สัพพะโรคะวินิมุตโต สัพพะสันตา ปะวัชชิโต สัพพะเวระมะติกกันโต นิพพุโต จะ ตุวัง ภะวะ ฯ เตสัง สัจเจนะ สีเลนะ ขันติเมตตาพะเลนะ จะ เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะฯ ปุรัตถิมัสมิง ทิสาภาเค สันติ ภูตา มะหิทธิกา เตปิ ตุมเห อันุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ ทักขิณัสมิง ทิสาภาเค สันติ เทวา มะหิทธิกา เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ ปัจฉิมัสมิง ทิสาภาเค สันติ นาคา มิหิทธิกา เตหิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ อุตตะรัสมิง ทิสา ภาเค สันติ ยักขา มะหิทธิกา เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ ปุริมะทิสัง ธะตะรัฏโฐ ทิกขิเณนะ วิรุฬหะโก ปัจฉิเมนะ วิรูปักโข กุเวโร อุตตะรัง ทิสัง จัตตาโร เต มะหาราชา โลกะปาลา ยะสัสสิโน เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรเยนะ สุเขนะ จะ อากาสัฏฐา จะ ภุมมัฏฐา เทวา นาคา มะหิทธิกา เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ ฯ นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณังวะรัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง ฯ ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ ระตะนัง พุทธะสะมัง นัตถิ ตัสมา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ ระตะนัง ธัมมะสะมัง นัตถิ ตัสมา โสถี ภะวันตุ เต ฯ ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ ระตะนัง สังฆะสะมัง นัตถิ ตัสมา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ สักกัตวา พุทธะระตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง หิตัง เทวะมะนุสสานัง พุทธะ เตเชนะ โสตถินา นัสสันตุ ปัททะวา สัพเพ ทุกขา วูปะสะเมนตุ เต สักกัตวา ธัมมะ ระตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง ปะริฬาหูปะสะมะนัง ธัมมะเตเชนะ โสตถินา นัสสันตุปัททะวา สัพเพ ภะยา วูปะสะเมนตุ เต สักกัตวา สังฆะระตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง อาหุเนยยัง ปาหุเนยยัง สังฆะเตเชนะ โสตถินา นัสสันตุปัททะวา สัพเพ โรคา วูปะสะเมนตุ เต ฯ สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ มา เต ภะวัตตวันตะราโย สุขีทีฆายุโก ภะวะ อะภิวาทะนะสีลิสสะ นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุวัณโณ สุขัง พะลัง ฯ ______________________ เริ่มอังคุลิมาละปะริตตัง ปะริตตัง ยัมภะณันตัสสะ นิสินนัฏฐานะโธวะนัง อุทะกัมปิ วินาเสติ สัพพะเมวะ ปะริสสะยัง โสตถินา คัพภะวุฏฐานัง ยัญจะ สาเธติ ตัง ขะเณ เถรัสสังคุลิมา ลัสสะ โลกะนาเถนะ ภาสิตัง กัปปัฏฐายิ มะหาเตชัง ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ ___________________ อังคุลิมาละปะริตตัง ยะโตหัง ภะคินี อะริยายะ ชาติยา ชาโต นาภิชา นามิ สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตา เตนะ สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ โสตถิ คัพภัสสะ ฯ ยะโตหัง ภะคินิ อะริยายะ ชาติยา ชาโต นาภิชานามิ สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตา เตนะ สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ โสตถิ คัพภัสสะ ฯ ยะโตหัง ภะคินิ อะริยายะ ชาติยา ชาโต นาภิชานามิ สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตา เตนะ สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ โสตถิ คัพภัสสะ ฯ _________________________ เริ่มโพชฌังคะปะริตตัง สังสาเร สังสะรันตานัง สัพพะทุกขะวินสะเน สัตตะ ธัมเม จะ โพชฌังเค มาระเสนัปปะมัททิโน พุชฌิตวา เยปิเม สัตตา ติภะวามุตตะกุตตะมา อะชาติง อะชะราพยาธิง อะมะตัง นิพภะยัง คะตา เอวะมาทิคุณู เปตัง อะเนกะคุณะสังคะหัง โอสะถัญจะ อิมัง มันตัง โพชฌังคันตัมภะณามะ เห ฯ ___________________ โพชฌังคะปะริตตัง โพชฌังโค สะติสังขาโต ธัมมานัง วิจะโย ตะถา วิริยัมปีติ ปัสสัทธิโพชฌังคา จะ ตะถาปะเร สะมาธุเปกขะ โพชฌังคา สัตเตเต สัพพะทัสสินา มุนินา สัมมะทักขาตา ภาวิตา พะหุลีกะตา สังวัตตันติ อะภิญญายะ นิพพานายะ จะ โพธิยา เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา ฯ เอกัสมิง สะมะเย นาโถ โมคคัลลานัญจะ กัสสะปัง คิลาเน ทุกขิเต ทิสวา โพชฌังเค สัตตะ เทสะยิ เต จะ ตัง อะภินันทิตวา โรคา มุจจิงสุ ตังขะเณ เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทาฯ เอกะทา ธัมมะราชาปิ เคลัญเญ นาภิปีฬิโต จุนทัตเถเรนะ ตัญเญวะ ภะณาเปตวานะ สาทะรัง สัมโมทิตวา จะ อาพาธา ตัมหา วุฏฐาสิ ฐานะโส เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา ฯ ปะหีนา เต จะ อาพาธา ติณณันนัมปิ มะเหสินัง มัคคาหะตะกิเลสา วะ ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา ฯ ___________________ เริ่มอะภะยะปะริตตัง ปุญญะลาภัง มะหาเตชัง วัณณะกิตติมะหายะสัง สัพพะสัตตะหิตัง ชาตัง ตัง สุณันตุ อะเสสะโต อัตตัปปะระหิตัง ชาตัง ปะริตตันตัมภะณามะ เหฯ ___________________ อะภะยะปะริตตัง ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ ยันทุนนิมิตตัง อะวะมัง คะลัญจะ โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง สังฆานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ ทุกขัปปัตตา จะ นิททุกขา ภะยัปปัตตา จะ นิพภะยา โสกัปปัตตา จะ นิสโสกา โหนตุ สัพเพปิ ปาณิโน เอตตาวะตา จะ อัมเหหิ สัมภะตัง ปุญญะสัมปะทัง สัพเพ เทวา นุโมทันตุ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา ทานัง ทะทันตุ สัทธายะ สีลัง รักขันตุ สัพพะทา ภาวะนาภิระตา โหนตุ คัจฉันตุ เทวะตาคะตา ฯ สัพเพ พุทธา พะลัปปัตตา ปัจเจกานัญจะ ยัง พะลัง อะระหันตานัญจะ เตเชนะ รักขัง พันธามิ สัพพะโสฯ ____________________ เริ่มชะยะปะริตตัง ชะยัง เทวะมะนุสสานัง ชะโย โหตุ ปะราชิโต มาระเสนา อะภิกกันตา สะมันตาทวาทะสะโยชะนา ขันติเมตตา อะธิฏฐานา วิทธังเสตวานะ จักขุมา ภะวาภะเว สังสะรันโต ทิพพะจักขุง วิโสธะยิ ปะริยา ปันนาทิโสตถานัง หิตายะ จะ สุขายะ จะ พุทธะกิจจัง วิโสเธตวา ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ ___________________ ชะยะปะริตตัง มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวัช เชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง ฯ ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิวโปกขะเร อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติ สุนัก ขัตตัง สุมังคะลัง ปุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุกขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะจารีสุปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธีเต ปะทักขิณา ปะทัก ขิณานิ กัตวานะละภันตัตเถ ปะทักขิเณ ฯ โส อัตถะลัทโธ สุขิโต วิรุฬโห พุทธะสาสะเน อะโรโค สุขิโต โหหิ สะหะ สัพเพหิ ญาติภิ สา อัตถะลัทธา สุขิตา วิรุฬหา พุทธะสาสะเน อะโรคา สุขิตา โหหิ สะหะ สัพเพหิ ญาติภิ เต อัตถะลัทธา สุขิตา วิรุฬหา พุทธะสา สะเน อะโรคา สุขิตา โหถะ สะหะ สัพเพหิ ญาติภิ ฯ ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะ ธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะสังฆา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ นักขัตตะยักขะภูตานัง ปาปัคคะหะนิวาระณา ปะริต ตัสสานุภาเวนะ หันตวา เตสัง อุปัททะเว ฯ นักขัตตะยักขะ ภูตานัง ปาปัคคะหะนิวาระณา ปะริตตัสสานุภาเวนะ หันตวา เตสัง อุปัททะเว ฯ นักขัตตะยักขะภูตานัง ปาปัคคะหะ นิวาระณา ปะริตตัสสานุภาเวนะ หันตวา เตสัง อุปัททะเว ฯ (จบสิบสองตำนานบริบูรณ์) - เมตตาพรหมวิหาระภาวนา (มหาเมตตาใหญ่) เอวัมเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อารา เมฯ ตัตตระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติ ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะวะโต ปัจจัสโสสุงฯ ภะคะวา เอตะทะโวจะ เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเส วิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฏฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ เอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขาฯ กะตะเม เอกาทะสะ? (๑) สุขัง สุปะติ (๒) สุขัง ปะฏิพุชฌะติ (๓) นะ ปาปะกัง สุปินัง ปัสสะติ (๔) มะนุสสานัง ปิโย โหติ (๕) อะมะนุสสานัง ปิโย โหติ (๖) เทวะตา รักขันติ (๗) นาสสะ อัคคิ วา วิสัง วา สัตถัง วา กะมะติ (๘) ตุวะฏัง จิตตัง สะมาธิยะติ (๙) มุขะวัณโณ วิปปะสีทะติ (๑๐) อะสัมมุฬฬะโห กาลัง กะโรติ (๑๑) อุตตะริง อัปปะฏิวิชฌันโต พรหมมะโลกูปะโค โหติฯ เมตตายะภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฏิฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ อิเม เอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขาฯ อัตถิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ อัตถิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ อัตถิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ กะตีหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ? กะตีหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ? กะตีหาการเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ? ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุติฯ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ กะตะเมหิ ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ? (๑) สัพเพ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๒) สัพเพ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๓) สัพเพ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๔) สัพเพ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๕) สัพเพ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติ อิเมหิ ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ กะตะเมหิ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ (๑) สัพเพ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๒) สัพเพ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๓) สัพเพ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๔) สัพเพ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๕) สัพเพ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๖) สัพเพ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๗) สัพเพ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติ อิเมหิ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ กะตะเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ? (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๘) สัพเพ ทักขะณายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๑๐)สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๑) สัพเพ ปุรัตถิยายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๘) สัพเพ ทักขินายะ อะนุทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๑๐)สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๑๐)สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๑๐)สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๗) สัพเพ อุตตารายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ (๑๑) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติฯ อิเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ สัพเพสัง สัตตานัง ปีฬะนัง วัชเชตวา อะปีฬานะยะ อุปะฆาตัง วัชเชตวา อะนุปิฆาเตนะ สันตาปัง วัชเชตวา อะสันตาเปนะ ปะริยาทานัง วัชเชตวา อะปะริยาทาเนนะ วิเหสัง วัชเชตวา อะวิเหสายะ สัพเพ สัตตา อะเวริโน โหนตุ มา เวริโน สุขิโน โหนตุ มา ทุกขิโน สุขิตัตตา โหนตุ มา ทุกขิตตาติ อิเมหิ อัฏฐะหากาเรหิ สัพเพ สัตตา เมตตายะตีติ เมตตา ตัง ธัมมัง เจตะยะตีติ เจโต สัพพะพะยาปะทะปะริยุฏฐาเนหิ มุจจะตีติ เมตตา จะ เจโตวิมุตติ จาติ เมตตาเจโตวิมุตติฯ เมตตา พรหมมะวิหาระภาวะนา นิฏฐิตา. ( เมตตาพรหมวิหาระภาวนาแปล - มหาเมตตาใหญ่แปล) ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้ว่า ในสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ซึ่งเป็นอารามของท่านอนาถบิณฑิกมหาเศรษฐี ใกล้เมืองสาวัตถีฯ ณ โอกาสนั้นและรพผู้มีพระภาคตรัสเรียกพระภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายฯ พระภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ได้ตอบรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญฯ พระผู้มีพระภาคได้ประทานพระดำรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย (คนผู้เจริญเมตตาภาวนาเป็นประจำ) หวังได้แน่นอน (ที่จะรับ) อานิสงส์ ๑๑ ประการ ของเมตตาเจโตวิมุติ ที่ตนต้องเสพ (ทำให้ชำนาญ) แล้ว ทำให้เจริญขึ้นแล้ว ทำให้มากแล้ว สั่งสม (ด้วยวสี ๕ ประการ) ดีแล้ว ทำให้บังเกิดขึ้นด้วยดีแล้วฯ อานิสงส์ ๑๑ ประการ (ของเมตตาเจโตวิมุติ) คืออะไรบ้าง? (อานิสงส์ ๑๑ ประการ ของเมตตาเจโตวิมุติ คือ) (๑) นอนหลับเป็นสุข (๒) ตื่นเป็นสุข (๓) ไม่ฝันร้าย (๔) เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย (๕) เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย (๖) เทวดาทั้งหลายเฝ้ารักษา (๗) ไฟ ยาพิษ หรือ ศัสตรา ไม่กล้ำกราย (ในตัว) ของเขา (๘) จิตเป็นสมาธิเร็ว (๙) ผิวหน้าผ่องใส (๑๐) ไม่หลงตาย (๑๑) ยังไม่บรรลุคุณธรรมเบื้องสูง ก็จะบังเกิดในพรหมโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนผู้เจริญเมตตาภาวนาเป็นประจำ หวังได้แน่นอนที่จะได้รับ อานิสงส์ ๑๑ ประการของเมตตาเจโตวิมุติ ที่ตนส้องเสพ ทำให้ชำนาญ แล้วทำให้เจริญขึ้นแล้ว ทำให้มากแล้ว สั่งสม ด้วยวสี ๕ ประการดีแล้ว ทำให้บังเกิดขึ้นด้วยดีแล้วฯ เมตตาเจโตวิมุติ ที่แผ่ไปไม่เจาะจง (บุคคล) มีอยู่ เมตตาเจโตวิมุติ ที่แผ่ไปเจาะจง บุคคล มีอยู่ เมตตาเจโตวิมุติ ที่แผ่ไปในทิศที่มีอยู่ฯ เมตตาเจโตวิมุติ ที่แผ่ไปโดยไม่เจาะจง (บุคคล) มีกี่อย่าง? เมตตาเจโตวิมุติ ที่แผ่ไปโดยเจาะจง (บุคคล) มีกี่อย่าง? เมตตาเจโตวิมุติ ที่แผ่ไปในทิศ มีกี่อย่าง? เมตตาเจโตวิมุติที่แผ่ไปไม่เจาะจง (บุคคล) มี ๕ อย่าง เมตตาเจโตวิมุติที่แผ่ไปโดยเจาะจง (บุคคล) มี ๗ อย่าง เมตตาเจโตวิมุติที่แผ่ไปในทิศมี ๑๐ อย่างฯ เมตตาเจโตวิมุติที่แผ่ไปไม่เจาะจง (บุคคล) ๕ อย่างมีอะไรบ้าง? เมตตาเจโตวิมุติที่แผ่ไปไม่เจาะจง (บุคคล) ๕ อย่าง คือ (๑) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัยเถิดฯ (๒) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๓) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัยเถิดฯ (๔) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัยเถิดฯ (๕) ขอผู้มีอัตตภาพทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัยเถิดฯ เมตตาเจโตวิมุติที่แผ่ไปโดยเจาะจง (บุคคล) ๗ อย่าง มีอะไรบ้าง? (เมตตาเจโตวิมุติที่แผ่ไปโดยเจาะจง (บุคคล) ๗ อย่าง คือ) (๑) ขอสตรีทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๒) ขอบุรุษทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๓) ขอพระอริยเจ้าทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๔) ขอปุถุชนทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๕) ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๖) ขอมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๗) ขอสัตว์วินิปาติกะทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ เมตตาเจโตวิมุติที่แผ่ไปในทิศ ๑๐ อย่าง มีอะไรบ้าง? (เมตตาเจโตวิมุติที่แผ่ไปในทิศ ๑๐ อย่าง คือ) (๑) ประเภทที่ ๑ (๑) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศบูรพา (ตะวันออก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๒) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศปัจจิม (ตะวันตก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๓) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอุดร (เหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๔) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศทักษิณ (ใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๕) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๖) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๗) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๘) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๙) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๑๐) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๒) ประเภทที่ ๒ (๑) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศบูรพา (ตะวันออก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๒) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศปัจจิม (ตะวันตก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๓) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอุดร (เหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๔) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศทักษิณ (ใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๕) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๖) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๗) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๘) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๙) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๑๐) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๓) ประเภทที่ ๓ (๑) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง ในทิศบูรพา (ตะวันออก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๒) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง ในทิศปัจจิม (ตะวันตก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๓) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอุดร (เหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๔) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง ในทิศทักษิณ (ใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๕) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๖) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง ในทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๗) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๘) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง ในทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๙) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๑๐) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๔) ประเภทที่ ๔ (๑) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ในทิศบูรพา (ตะวันออก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๒) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ในทิศปัจจิม (ตะวันตก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๓) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอุดร (เหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๔) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ในทิศทักษิณ (ใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๕) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๖) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ในทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๗) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๘) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ในทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๙) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๑๐) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๕) ประเภทที่ ๕ (๑) ขอผู้มีอัตตภาพทั้งหลายทั้งปวง ในทิศบูรพา (ตะวันออก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๒) ขอผู้มีอัตตภาพทั้งหลายทั้งปวง ในทิศปัจจิม (ตะวันตก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๓) ขอผู้มีอัตตภาพทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอุดร (เหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๔) ขอผู้มีอัตตภาพทั้งหลายทั้งปวง ในทิศทักษิณ (ใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๕) ขอผู้มีอัตตภาพทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๖) ขอผู้มีอัตภาพทั้งหลายทั้งปวง ในทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๗) ขอผู้มีอัตภาพทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๘) ขอผู้มีอัตภาพทั้งหลายทั้งปวง ในทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๙) ขอผู้มีอัตภาพทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๑๐) ขอผู้มีอัตภาพทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๖) ประเภทที่ ๖ (๑) ขอสตรีทั้งหลายทั้งปวง ในทิศบูรพา (ตะวันออก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๒) ขอสตรีทั้งหลายทั้งปวง ในทิศปัจจิม (ตะวันตก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๓) ขอสตรีทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอุดร (เหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๔) ขอสตรีทั้งหลายทั้งปวง ในทิศทักษิณ (ใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๕) ขอสตรีทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๖) ขอสตรีทั้งหลายทั้งปวง ในทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๗) ขอสตรีทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๘) ขอสตรีทั้งหลายทั้งปวง ในทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๙) ขอสตรีทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๑๐) ขอสตรีทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๗) ประเภทที่ ๗ (๑) ขอบุรุษทั้งหลายทั้งปวง ในทิศบูรพา (ตะวันออก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๒) ขอบุรุษทั้งหลายทั้งปวง ในทิศปัจจิม (ตะวันตก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๓) ขอบุรุษทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอุดร (เหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๔) ขอบุรุษทั้งหลายทั้งปวง ในทิศทักษิณ (ใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๕) ขอบุรุษทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๖) ขอบุรุษทั้งหลายทั้งปวง ในทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๗) ขอบุรุษทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๘) ขอบุรุษทั้งหลายทั้งปวง ในทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๙) ขอบุรุษทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๑๐) ขอบุรุษทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๘) ประเภทที่ ๘ (๑) ขอพระอริยเจ้าทั้งหลายทั้งปวง ในทิศบูรพา (ตะวันออก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๒) ขอพระอริยเจ้าทั้งหลายทั้งปวง ในทิศปัจจิม (ตะวันตก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๓) ขอพระอริยเจ้าทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอุดร (เหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๔) ขอพระอริยเจ้าทั้งหลายทั้งปวง ในทิศทักษิณ (ใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๕) ขอพระอริยเจ้าทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๖) ขอพระอริยเจ้าทั้งหลายทั้งปวง ในทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๗) ขอพระอริยเจ้าทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๘) ขอพระอริยเจ้าทั้งหลายทั้งปวง ในทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๙) ขอพระอริยเจ้าทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๑๐) ขอพระอริยเจ้าทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๙) ประเภทที่ ๙ (๑) ขอปุถุชนขอผู้มีอัตตภาพทั้งหลายทั้งปวง ในทิศบูรพา (ตะวันออก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๒) ขอปุถุชนทั้งหลายทั้งปวง ในทิศปัจจิม (ตะวันตก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๓) ขอปุถุชนทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอุดร (เหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๔) ขอปุถุชนทั้งหลายทั้งปวง ในทิศทักษิณ (ใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๕) ขอปุถุชนทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๖) ขอปุถุชนทั้งหลายทั้งปวง ในทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๗) ขอปุถุชนทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๘) ขอปุถุชนทั้งหลายทั้งปวง ในทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๙) ขอปุถุชนทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๑๐) ขอปุถุชนทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๑๐) ประเภทที่ ๑๐ (๑) ขอเทวดาขอผู้มีอัตตภาพทั้งหลายทั้งปวง ในทิศบูรพา (ตะวันออก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๒) ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวง ในทิศปัจจิม (ตะวันตก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๓) ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอุดร (เหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๔) ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวง ในทิศทักษิณ (ใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๕) ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๖) ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวง ในทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๗) ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๘) ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวง ในทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๙) ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๑๐) ขอผู้มีเทวดาทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๑๑) ประเภทที่ ๑๑ (๑) ขอมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศบูรพา (ตะวันออก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๒) ขอมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศปัจจิม (ตะวันตก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๓) ขอมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอุดร (เหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๔) ขอมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศทักษิณ (ใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๕) ขอมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๖) ขอมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๗) ขอมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๘) ขอมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๙) ขอมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๑๐) ขอมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๑๒) ประเภทที่ ๑๒ (๑) ขอสัตว์วินิปาติกะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศบูรพา (ตะวันออก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๒) ขอสัตว์วินิปาติกะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศปัจจิม (ตะวันตก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๓) ขอสัตว์วินิปาติกะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอุดร (เหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๔) ขอสัตว์วินิปาติกะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศทักษิณ (ใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๕) ขอสัตว์วินิปาติกะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๖) ขอสัตว์วินิปาติกะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๗) ขอสัตว์วินิปาติกะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๘) ขอสัตว์วินิปาติกะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๙) ขอสัตว์วินิปาติกะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ (๑๐) ขอสัตว์วินิปาติกะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปสู่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงด้วยอาการ ๘ นี้ คือ ด้วยการเว้นการบีบคั้น ไม่บีบคั้นสัตว์ทั้งปวง ๑ ด้วยการเว้นการฆ่า ไม่ฆ่าสัตว์ทั้งปวง ๑ ด้วยการเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำสัตว์ทั้งปวงให้เดือดร้อน ๑ ด้วยการเว้นการย่ำยี ไม่ย่ำยีสัตว์ทั้งปวง ๑ ด้วยการเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง ๑ ขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่าได้มีเวร ๑ จงเป็นผู้มีสุข อย่ามีทุกข์ ๑ จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์ ๑ จิตชื่อว่า เมตตา เพราะรัก ชื่อว่า เจโต เพราะคิดถึง ธรรมนั้น ชื่อ วิมุติ เพราะพ้นจากพยาบาท และ ปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวง จิตมีเมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุติด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมตตาเจโตวิมุติฯ เมตตาพรหมวิหารภาวนา ************************************************************************************************ - อิติปิโสธงชัย อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ - อิติปิโสนะวะหอระคุณ อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวา - อิติปิโสแก้นะวะหอระคุณ 1. อะระหัง อะ(แก้อะระหัง) - อะระกัตตากิเลเสหิ สาวาสะเนหิ สัพพะปูชาระ วิทิโต อะระหังอิติฯ 2. สัมมาสัมพุทโธ สัง(แก้สัมมาสัมพุทโธ) - สัมมา สามัญจะ สัจจานิ พุทโธจะ อัญญะโพธะโน เตเนสะ สัมมาสัมพุทโธ สัพพะธัมเมสุ จักขุมาฯ 3. วิชชาจะระณะสัมปันโน วิ(แก้วิชชาจะระณะสัมปันโน) - วิชชาหิ จะระเณเหสะ สัมมะเทวะสะมาคะโต วิชชาจะระณะสัมปันโน อุตตะโม เทวะมานุเสฯ 4. สุคะโต สุ(แก้สุคะโต) - สัพพะเกลละสัพปะหาเนนะ คะโตสุคะโต กาเยนะ วาจายะ มะนะสา สุคะโต คะโตฯ 5. โลกะวิทู โล(แก้โลกะวิทู) - โลกัง วิภูคะโต สัพพัง ญาเณนัญญาสิ สัพพะกา นาโถโลกัสสะ สัมมาวะ เตนะ โลกะวิทู ชิโนฯ 6. อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ ปุ(แก้อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ) - สาเรตา นะระทัมมานัง อะกุปปายะ วิมุตติยัง ตะโต อะนุตตะโร นาโถ ปุริสะทัมมะสาระถิฯ 7. สัตถา เทวะมะนุสสานัง สะ(แก้สัตถา เทวะมะนุสสานัง) - โลกิเยหิ จะ อัตเถหิ อะโถ โลกุตตะเรหิ สัตถาเทวะมะนุสสานัง สาสิตาเทวะมานุเสฯ 8. พุทโธ พุ(แก้พุทโธ) - สัมพุชฌิตาจะ สัจจานิ เกลละสะนิททา ปะพุชฌิตา สัพพะโส คุณะวิกาสัมปัตโต พุทโธ นะรุตตะโมฯ 9. ภะคะวา ภุ(แก้ภะคะวา) - ภาเคยะนะ ภะคะธัมเมหิ สะมังคีจาตุโล มุนิ คะรุคาระ วะยุตโตจะ วิสสุโต ภะคะวา อิติฯ - หัวใจพระอิติปิโส อะสังวิสุโลปุสะพุภะ (เอาตัวหน้าของอิติปิโสมารวมกัน) - อิติปิโส(เต็มที่) อิติปิโส ภะคะวา - เพราะเหตุอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง - เป็นผู้ไกลจากกิเลส อิติปิโส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ - เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง อิติปิโส ภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน - เป็นผู้พร้อมด้วยวิชาและจรณะ อิติปิโส ภะคะวา สุคะโต - เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี อิติปิโส ภะคะวา โลกะวิทู - เป็นผู้รู้โลกแจ่มแจ้ง อิติปิโส ภะคะวา อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ - เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึก ไม่มีใครยิ่งกว่า อิติปิโส ภะคะวา สัตถา เทวะมะนุสสานัง - เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย อิติปิโส ภะคะวา พุทโธ - เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน อิติปิโส ภะคะวา ภะคะวาติ - เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรม สั่งสอนสัตว์ - อิติปิโส 8 ทิศ 8 ด้าน เริ่มด้วย "อิ" ไล่ลงมาเป็นแถวที่ 1 แล้วขึ้นแถวใหม่จนจบ อิ ระ ชา คะ ตะ ระ สา (ิอิ) ติ หัง จะ โต โร ถิ นัง (ติ) ปิ สัม ระ โล ปุ สัต พุท (ปิ) โส มา ณะ กะ ริ ถา โธ (โส) ภะ สัม สัม วิ สะ เท ภะ (ภะ) คะ พุท ปัน ทู ทัม วะ คะ (คะ) วา โธ โน อะ มะ มะ วา (วา) อะ วิช สุ นุต สา นุส ติ (อะ) - อิติปิโสเรือนเตี้ย (มงกุฎพระพุทธเจ้า) อิติปิโสวิเสเส อิอิเสเสพุทธะนาเม อิอิเมนาพุทธะตังโส อิอิโสตังพุทธะปิติอิ หมายเตุ จะมี 32 อักขระ เปรียบเหมือนอาการ 32 ของพระพุทธเจ้า - อิติปิโส (ตามทิศ) ทิศพายัพ ทิศอุดร ทิศอิสาน คะพุทปันทูทัมวะคะ วาโธโนอะมะมะวา อะวิชสุนุตสานุสติ (นารายณ์เคลื่อนจักร) (พลิกแผ่นดิน) (นารายณ์แปลงรูป) ------------------------------------------------------------------- ทิศประจิม ทิศบูรพา ภะสัมสัมวิสะเทภะ ภูมิกลาง อิระชาคะตะระสา (กวาดป่าหิมพานต์) (กระทู้ 7 แบก) ------------------------------------------------------------------ ทิศหรดี ทิศทักษิณ ทิศอาคเนย์ โสมาณะกะริถาโธ ปิสัมระโลปุสัตพุท ติหังจะ โตโรถินัง (นารายณ์ขว้างจักร) (เกลื่อนสมุทร) (ฝนแสนห่า) - อิติปิโสแปลงรูป กะ วิ โล ทู โต อะ คะ นุต สุ ตะ โน โร ปัน ปุ สัม ริ ณะ สะ ระ ทัม จะ มะ ชา สา วิช ระ โธ ถิ พุท สัต สัม ถา มา เท สัม วะ หัง มะ ระ นุส อะ สา วา นัง คะ พุท ภะ โธ โส ภะ ปิ คะ ติ วา อิ ติ (เริ่มจากก่อนตัวท้ายสุดหนึ่งตัวมายังจุดเริ่มต้น อ่านสลับตัว) - อิติปิโสตรึงไตรภพ อิ ติ ติ วา ปิ คะ โส ภะ ภะ โธ คะ พุท วา นัง อะ สา ระ นุส หัง มะ สัม วะ มา เท สัม ถา พุท สัต โธ ถิ วิช ระ ชา สา จะ มะ ระ ทัม ณะ สะ สัม ริ ปัน ปุ โน โร สุ ตะ คะ นุต โต อะ โล ทู กะ วิ (เริ่มจากจุดเริ่มต้นมายังจุดท้าย อ่านสลับตัว) - อิติปิโสนารายณ์คลายจักร ติ อิ วา ติ คะ ปิ ภะ โส โธ ภะ พุท คะ นัง วา สา อะ นุส ระ มะ หัง วะ สัม เท มา ถา สัม สัต พุท ถิ โธ ระ วิช สา ชา มะ จะ ทัม ระ สะ ณะ ริ สัม ปุ ปัน โร โน ตะ สุ นุต คะ อะ โต ทู โล วิ กะ (เริ่มจากจุดถัดจากจุดเริ่มต้นมาจุดท้าย อ่านสลับตัว) - อิติปิโสถอยหลัง ติ วา คะ ภะ โธ พุท นัง สา นุส มะ วะ เท ถา สัต ถิ ระ สา มะ ทัม สะ ริ ปุ โร ตะ นุต อะ ทู วิ กะ โล โต คะ สุ โน ปัน สัม ณะ ระ จะ ชา วิช โธ พุท สัม มา สัม หัง ระ อะ วา คะ ภะ โส ปิ ติ อิ (อ่านถอยหลังจากจุดท้ายมายังจุดเริ่มต้น) - อิติปิโสย้ายรูป อิ ติ คะ วา โธ วิช กะ วิ ปิ ภะ อะ พุท ชา โล ทู ระ โส ระ สัม จะ โต อะ สา ถิ หัง มา ระ คะ นุต มะ สัต นัง สัม ณะ สุ ตะ ทัม ถา สา พุท สัม โน โร สะ เท นุส โธ วา ปัน ปุ ริ วะ มะ ภะ คะ ติ (จากจุดเริ่มต้นอ่านเฉียงขึ้นบนลงล่างไปมาทางขวาไปยังจุดสุดท้ายจนจบ) - อิติปิโสย้ายรูปถอยหลัง ติ วา พุท นัง ถิ ระ วิ กะ คะ โธ สา สัต สา ทู โล วิช ภะ นุส ถา มะ อะ โต ชา โธ มะ เท ทัม นุต คะ จะ พุท วา วา สะ ตะ สุ ระ สัม อะ คะ ริ โร โน ณะ มา ระ ภะ ติ ปุ ปัน สัม สัม หัง โส ปิ อิ (จากจุดท้ายสุดอ่านเฉียงขึ้นบนลงล่างไปมาทางซ้ายไปยังจุดเริ่มต้นจนจบ) - อิติปิโสภุชฌงค์ซ่อนหัว ติ วา คะ ภะ โธ พุท นัง อะ ทู วิ กะ โล โต สา นุต สัม มา สัม หัง คะ นุส ตะ พุท ปิ ติ ระ สุ มะ โร โธ โส อิ อะ โน วะ ปุ วิช ภะ คะ วา ปัน เท ริ ชา จะ ระ ณะ สัม ถา สะ ทัม มะ สา ระ ถิ สัต (เริ่มจากตรงกลางอ่านทวนเข็มนาฬิกาไล่ไปจนถึงขอบจนจบ) - อิติปิโสภุชฌงค์ซ่อนหาง อิ ติ ปิ โส ภะ คะ วา โต โล กะ วิ ทู อะ อะ คะ ถา เท วะ มะ นุต ระ สุ สัต คะ วา นุส ตะ หัง โน ถิ ภะ ติ สา โร สัม ปัน ระ โธ พุท นัง ปุ มา สัม สา มะ ทัม สะ ริ สัม ณะ ระ จะ ชา วิช โธ พุท (เริ่มจากจุดเริ่มต้นอ่านตามทวนเข็มนาฬิกาไล่ไปหาตรงกลางจนจบ) - อิติปิโสนารายณ์บรรทมสินธุ์ ปุ ริ มะ นุส ปิ โส ภะ คะ โร สะ วะ สา ติ ระ จะ วา ตะ ทัม เท นัง อิ ณะ ชา อะ นุต มะ ถา พุท ติ สัม วิช ระ อะ สา สัต โธ วา ปัน โธ หัง ทู ระ ถิ ภะ คะ โน พุท สัม วิ กะ โล โต คะ สุ สัม มา (เริ่มจากตรงกลางไล่ขึ้นบนอ้อมขวาลงล่างเก็บด้านขวาให้หมด แล้วอ้อมขอบขึ้นซ้ายแล้วเก็บซ้ายให้หมด) - อิติปิโสนารายณ์บรรทมสินธุ์ถอยหลัง มา สัม สุ คะ โต โล กะ วิ สัม พุท โน คะ ภะ ถิ ระ ทู หัง โธ ปัน วา โธ สัต สา อะ ระ วิช สัม ติ พุท ถา มะ นุต อะ ชา ณะ อิ นัง เท ทัม ตะ วา จะ ระ ติ สา วะ สะ โร คะ ภะ โส ปิ นุส มะ ริ ปุ (เริ่มจากตรงกลางไล่ลงอ้อมซ้ายลงล่างเก็บด้านซ้ายให้หมด แล้วอ้อมขอบขึ้นขวาแล้วเก็บขวาให้หมด) - อิติปิโสถอยหลัง 3 ห้อง ติ สา กัส โล ตัง เขต ญัก ปุญ รัง ตะ นุต อะ โย ณี ระ กะ ลี ชะ อัญ โย เณย ขิ ทัก โย เนย หุ ปา โย เนย หุ อา โฆ สัง กะ วะ สา โต วะ คะ ภะ สะ เอ ลา คะ ปุค สะ ริ ปุ ฐะ อัฐ นิ คา ยุ สะ ริ ปุ ริ ตา จัต ทัง ทิ ยะ โฆ สัง กะ วะ สา โต วะ คะ ภะ โน ปัณ ฏิ ปะ จิ มี สา โฆ สัง กะ วะ สา โต วะ คะ ภะ โน ปัน ฏิ ปะ ยะ ญา โฆ สัง กะ วะ สา โต วะ คะ ภะ โน ปัน ฏิ ปะ ชุ อุ โฆ สัง กะ วะ สา โต วะ คะ ภะ โน ปัน ฏิ ปะ สุ ติ หี ญู วิญ โฑ ตัพ ทิ เว ตัง จ้ต ป้จ โก ยิ นะ ปะ โอ โก สิ ปัส หิ เอ โก ลิ กา อะ โก ฐิ ทิฏ สัน โม ธัม ตา วะ คะ ภะ โต ขา สวาก ติ วา คะ ภะ โธ พุท นัง สา นุส มะ วะ เท คา สัต ถิ ระ สา มะ ทัม สะ ริ ปุ โร ตะ นุต อะ ทู วิ กะ โล โต คะ สุ โน ปัน สัม ณะ ระ จะ ชา วิช โธ พุท สัม มา สัม หัง ระ อะ วา คะ ภะ โส ปิ ติ อิ ************************************************************************************************ - คำไหว้บารมี ๓๐ ทัศ ๑ ทานะปาระมี สัมปันโน ทานะอุปะปาระมี สัมปันโน ทานะปาระมัตถะปาระมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กรุณา มุทิตา อุเบกขาปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา ๒ สีละปาระมี สัมปันโน สีละอุปะปาระมี สัมปันโน สีละปาระมัตถะปาระมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กรุณา มุทิตา อุเบกขาปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา ๓ เนกขัมมะปาระมี สัมปันโน เนกขัมมะอุปะปาระมี สัมปันโน เนกขัมมะปาระมัตถะปาระมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กรุณา มุทิตา อุเบกขาปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา ๔ ปัญญาปาระมี สัมปันโน ปัญญาอุปะปาระมี สัมปันโน ปัญญาปาระมัตถะปาระมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กรุณา มุทิตา อุเบกขาปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา ๕ วิริยะปาระมี สัมปันโน วิริยะอุปะปาระมี สัมปันโน วิริยะปาระมัตถะปาระมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กรุณา มุทิตา อุเบกขาปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา ๖ ขันติปาระมี สัมปันโน ขันติอุปะปาระมี สัมปันโน ขันติปาระมัตถะปาระมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กรุณา มุทิตา อุเบกขาปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา ๗ สัจจะปาระมี สัมปันโน สัจจะอุปะปาระมี สัมปันโน สัจจะปาระมัตถะปาระมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กรุณา มุทิตา อุเบกขาปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา ๘ อธิษฐานะปาระมี สัมปันโน อธิษฐานะอุปะปาระมี สัมปันโน อธิษฐานะปาระมัตถะปาระมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กรุณา มุทิตา อุเบกขาปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา ๙ เมตตาปาระมี สัมปันโน เมตตาอุปะปาระมี สัมปันโน เมตตาปาระมัตถะปาระมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กรุณา มุทิตา อุเบกขาปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา ๑๐ อุเบกขาปาระมี สัมปันโน อุเบกขาอุปะปาระมี สัมปันโน อุเบกขาปาระมัตถะปาระมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กรุณา มุทิตา อุเบกขาปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา ๑๑ ทะสะปาระมี สัมปันโน ทะสะอุปะปาระมี สัมปันโน ทะสะปาระมัตถะปาระมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กรุณา มุทิตา อุเบกขาปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา พัทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ นะมามิหัง คำไหว้บารมี ๓๐ ทัศ(ย่อความ) (ทานะ*)ปาระมี สัมปันโน (ทานะ*)อุปะปาระมี สัมปันโน (ทานะ*)ปาระมัตถะปาระมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กรุณา มุทิตา อุเบกขาปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา (พุทธัง,ธัมมัง,สังฆัง) สะระณัง คัจฉามิ นะมามิหัง *** หมายเหตุ เปลี่ยน * เป็น (ทานะ,สีละ,เนกขัมมะ,ปัญญา,วิริยะ,ขันติ,สัจจะ,อธิษฐานะ,เมตตา,อุเบกขา,ทะสะ) - คำถวายทานต่างๆ ตั้ง " นะโม " ก่อน 3 ครั้ง 1. คำถวายข้าวพระพุทธ อิมัง สูปะพยัญชนะสัมปันนัง สาลีนัง โภชะนัง อุทะกัง วะรัง พุทธัสสะ ปูเชมิ ฯ คำแปล : ข้าพเจ้าขอบูชาด้วยโภชนะข้าวสาลี พร้อมด้วยแกงกับ และน้ำอันประเสริฐนี้แด่พระพุทธเจ้า 2. คำลาข้าวพระพุทธ เสสัง มังคะลา ยาจามิ ฯ คำแปล : ข้าพเจ้าขอคืนเศษอันเป็นมงคลนี้ ข้าพเจ้าขอภัตต์ที่เหลือที่เป็นมงคลด้วยเถิด 3. คำถวายของใส่บาตร อิทัง ทานัง สีละวันตานัง ภิขูนัง นยาเทมิ สุทินัง วะตะเม ทานัง อาสะวักขะยาวะหัง นิพานะปัจจะ คำแปล : ข้าพเจ้าขอน้อมถวายทานอันนี้ แด่พระสงฆ์ผู้มีศีลทั้งหลาย ทานที่ข้าพเจ้าถวายดีแล้วนี้ จงเป็นปัจจัยให้ถึงพระนิพพาน 4. คำกรวดน้ำ อิทัง เม ญาตินัง โหตุ สุขิตาโหตุ ญาตโย คำแปล : ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายจงมีความสุขกายสุขใจเถิด 5. คำอาราธนาศีล 5 มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ คำแปล : ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอศีล 5 ข้อ พร้อมทั้งพระรัตนตรัย เพื่อประโยชน์แก่การจะรักษาต่างๆกัน 6. คำอาราธนาพระปริต วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา สัพพะทุกขะวินาสายะ ปริตตัง พรูถะ มังคะลัง วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา สัพพะภะยะวินาสายะ ปริตตัง พรูถะ มังคะลัง วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา สัพพะโรคะวินาสายะ ปริตตัง พรูถะ มังคะลัง คำแปล : ขอพระสงฆ์ทั้งหลาย จงสวดพระปริต อันเป็นมงคงเพื่อป้องกันความวิบัติ เพื่อความสำเร็จในสมบัติทั้งปวง และเพื่อให้ทุกข์ทั้งปวงพินาศไป เพื่อให้ภัยทั้งปวงพินาศไป เพื่อให้โรคทั้งปวงพินาศไป 7. คำถวายสังฆทาน อิมานิ มะยัง ภันเต ภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโน ภันเต ภิกขุสังโฆ อิมานิ ภัตตานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ คำแปล : ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวาย ซึ่งภัตตาหารกับของที่เป็นบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับ ซึ่งภัตตาหารกับของที่เป็นบริวารทั้งหลายเหล่านี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ 8. คำถวายผ้ากฐิน อิมัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะจีวะระทุสสัง สังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโณ ภันเต อิมัง สะปะริวารัง กะฐินะ ทุสสัง ปะฏิคคัณหาตุ ปะฏิคคะเหตวา จะ อิมินา ทุสเสนะ กะฐินัง อัตถะระตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ ทุติยัมปิ................................... ตะติยัมปิ.................................. คำแปล : ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐิน จีวรกับทั้งบริวารนี้ แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐินกับทั้งบริวารนี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย และเมื่อรับแล้ว ขอจงกรานใช้กฐินด้วยผ้านี้ เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ 9. คำถวายผ้าป่า อิมานิ มะยัง ภันเต ปังสุกูละจีวะรานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโน ภันเต ภิกขุสังโฆ อิมานิ ปังสุกูละจีวะรานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ คำแปล : ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ผ้าบังสุกุลจีวรกับทั้งบริวารเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ผ้าบังสุกุลจีวรกับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ 10. คำภาวนาเวลารดน้ำศพ กายะกัมมัง วะจีกัมมัง มะโนกัมมัง อะโหสิกัมมัง สัมพะปาปัง วินัสสะตุ คำแปล : กายกรรม3 วจีกรรม4 มโนกรรม3 ขอให้อโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้า ทั้งต่อหน้าและลับหลังด้วยเทอญ - อนุโมทนาวิธี ยะถา วาริวะหา ปูรา ปะริปูเรนติ สาคะรัง เอวะเมวะ อิโต ทินนัง เปตานัง อุปะกัปปะติ อิจฉิตัง ปัตถิตัง ตุมหัง ขิปปะเมวะ สะมิชฌะตุ สัพเพ ปูเรนตุ สังกัปปา จันโทร ปัณณะระโส ยะถา มะณิ โชติระโส ยะถา สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ มา เต ภะวัตวันตะราโย สุขี ทีฆายุโก ภะวะ สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ มา เต ภะวัตวันตะราโย สุขี ทีฆายุโก ภะวะ สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ มา เต ภะวัตวันตะราโย สุขี ทีฆายุโก ภะวะ อะภิวาทะนะสีลิสสะ นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุวัณโณ สุขัง พะลัง - ชุมนุมเทวดา สะรัชชัง สะเสนัง สะพันธุง นะรินทัง ปะริตตานุภาโว สะทา รักขะตูติ ผะริตวานะ เมตตัง สะเมตตา ภะทันตา อะวิกขิตตะจิตตา ปะริตตัง ภะณันตุ สัคเค กาเม จะรูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะ วัตถุมหิ เขตเต ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละ วิสะเม ยักขะคันธัพพะนาคา ติฏฐันตา สันติเกยัง มุนิวะระวะ จะนัง สาธะโว เม สุณันตุ ธัมมัสสะวะ นะกาโล อะยัมภะทันตา ธัมมัสสะวะ นะกาโล อะยัมภะทันตา ธัมมัสสะวะ นะกาโล อะยัมภะทันตา - โองการเทพชุมนุม สาธุ อุกาสะ ข้าพเจ้าขอนมัสการ พระพุทธะคุณณัง พระธัมมะคุณณัง พระสังฆะคุณณัง พระศรีรัตนตรัย และสมณาจารย์ ครูอาจารย์ เดชะบรมโพธิสมภารมาอยู่ เหนือเกศเกล้าแห่งข้าพเจ้า ผู้จะตั้งนมัสการ เชิญพระพุทธองค์ ทรงพระสูตร พระวินัย พระอภิธรรม พระกัมมัฏฐาน พระธัมมามูล ทั้งแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ จนทั้งพระไตรปิฎก กัณฑ์ไตร พระเตมียน์ใบ้ พระมหาชนก พระมโหสถ พระโพธิสัตย์ พระพุทธสิหิง พระอินทร์ พระพรหม พระยม พระกาฬ พระจตุโลกบาล พระโมกคัลลาณญาณ พระสารีบุตร พระพุทธกุ กุกสันโธ พระโกนาคุมะโน พระพุทธกัสสโป พุทโธ พระศรีสากะยะมุนีโคดม พระพุทธบรรทม พระนารอด ยอดพระตัณหัง อัฏฐะอรหันตัง พระสุวรรณสามปัณฑิตา พระแท่นศิลาอาสน์ พระมุนีนาถ พระศาสดา พระยาธรรมิกราช พระศรีอารินไมตรี พระฤาษีทั้งแปดหมื่นพระองค์ อันนั่งจมกรมภาวนาอยู่ในถ้ำพระคูหาสวรรค์ พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระไตรสรรณคมน์ พระบรรทม พระโกณทัญญาณาณสุวรรณเสน พระสุเมรุราช พระธาตุจุฬามณี พระศรีมหาโพธิ พระหัตถ์ พระโอษฐ พระหฤทัย พระไตรปิฎก พระปัจเจกโพธิ์ ท้าวสิริสุทโทธนะ พระนางสิริมหามายาอันเป็น พระพุทธมารดาแห่งพระพุทธองค์ อันทรงพระนามกรชื่อพระสิทธารถชาติ เป็นที่สุด พระพุธ พระพฤหัส พระสัชชนู พระเสาร์ พระราหู พระสมุทรทั้งห้า ทั้งแผ่นฟ้า ทั้งพสุธาชล ทั้งปลาอานนท์ นางเมขลา พระยาพาลีทรพี อินทรชิต สุครีพ ทศกัณฑ์ กุมภัณฑ์ พระลักษณ์ พระราม พระหนุมาณ พระรามสูร พระวิฑูรบูริกา สุนันทยักษา พระยานาค พระยาครุฑ พระราหู พิเภก ชมภูทีเปหิมะอันตัง พระพุทธเทวดาอยู่ในชั้นฟ้า จตุมหาราชิกาสวรรค์ เทพยดาอยู่ในชั้นฟ้าดาวดึงสวรรค์ เทพยดาอยู่ในชั้นฟ้ายามาสวรรค์ เทพยดาอยู่ในชั้นฟ้าดุสิตาสวรรค์ เทพยดาอยู่ในชั้นฟ้านิมมานรดีสวรรค์ เทพยดาอยู่ในชั้นฟ้าปรนิมมิตวสวัดดีสวรรค์ เทพยดาอยู่ในชั้นฟ้าอกนิฏฐโลกมหาสวรรค์ พระตัณหัง พระพุทธวิปัสสี ปิตุมารดา วาสุกรี มังกร ครุฑ กินนร กินรี การเวก ปักษา มหากุมภัณฑ์อนันทยักษา มหากะบิลราช พระโคอุสุภราช พระสารีริกธาตุ พระเพลิงอันรุ่งเรืองรัศมี พระศรีรัตนตรัยแก้วและสมณาจารย์ ทั้งพระรัตนญาณ พระบารมีตาวติงสาตีสูน นะโมพุทธายะ ธัมโมพุทธายะ สังโฆพุทธายะ ธัมมะปัชชา จะวันทะนา เมตตาติ - ธัมมะจักร ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา จาตุมมะหาราชิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา ดุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุตะวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา พรัหมะกายิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ พรัหมะกายิกานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา พรัหมะปาริสัชชา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ พรัหมะปาริสัชชานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา พรัหมะปุโรหิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ พรัหมะปุโรหิตานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา มะหาพรัหมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ มะหาพรัหมานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา ปะริตตาภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ ปะริตตาภานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา อัปปะมาณาภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ อัปปะมาณาภานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา อาภัสสะรา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ อาภัสสะรานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา ปะริตตะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ ปะริตตะสุภานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา อัปปะมาณะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ อัปปะมาณะสุภานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา สุภะกิณหะกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ สุภะกิณหะกานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา อสัญญสัตตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ อสัญญสัตตานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา เวหัปผะลา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ เวหัปผะลานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา อะวิหา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ อะวิหานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา อะตัปปา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ อะตัปปานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา สุทัสสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ สุทัสสานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา สุทัสสี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ สุทัสสีนัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา อะกะนิฏฐะกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทายะ อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิ วัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัส สะมินติฯ ธัมมะจักร ท่านใดได้สวด จะทำให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง ไม่ว่าจะเป็นกิจการงานแขนง ไหนที่ได้ทำอยู่ จะได้เจริญก้าวหน้า เพราะธัมมะจักรเป็นพระธรรมเทศนากัณฑ์แรก ที่พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงโปรดนักบวชปัญจวัคคีย์ และเป็นวงล้อที่หมุนเป็นครั้ง แรกของพระพุทธศาสนา จึงนับว่าเป็นการลำบากที่ผู้คนทั้งหลายจะได้สวดและยังจะ เป็นบทที่เปลื้องทุกข์ภัยต่างๆนานาได้อีกด้วย สิ่งเลวร้ายจะกลายมาเป็นแก้วสารพัด นึกขึ้นมาได้ และยังจะทำให้ผู้นั้นมีอายุยืนมีความสุขกาย สุขใจ ปราศจากทุกข์โศก โรคภัย เมื่อได้สวดประจำทุกคืน ทั้งหลับทั้งตื่น จะกลับกลายเป็นมิ่งมงคลแก่ตัว เมื่อยังมีชีวิตอยู่ก็ได้มีความก้าวหน้าสถาพร ทรัพย์สมบัติข้าวของบริบูรณ์ เมื่อละไป จากโลกจะได้ไปอยู่สุขในสรวงสวรรค์ชั้นใดชั้นหนึ่ง ดังที่จิตใจของเราได้เคยสวด สาธยายมา…….. - พระคาถาป้องกันภัยทั้ง10ทิศ (ของอาจารย์ฝั้น) บูระพารัสมิง พรพุทธะคุณัง บูรพารัสมิง พระธัมเมตัง บูรพารัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะ ภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุฯ อาคะเนยรัสมิง พรพุทธะคุณัง อาคะเนยรัสมิง พระธัมเมตัง อาคะเนยรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะ ภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุฯ ทักษิณรัสมิง พรพุทธะคุณัง ทักษิณรัสมิง พระธัมเมตัง ทักษิณรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะ ภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุฯ หรดีรัสมิง พรพุทธะคุณัง หรดีรัสมิง พระธัมเมตัง หรดีรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะ ภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุฯ ปัจจิมรัสมิง พรพุทธะคุณัง ปัจจิมรัสมิง พระธัมเมตัง ปัจจิมรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะ ภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุฯ พายัพรัสมิง พรพุทธะคุณัง พายัพรัสมิง พระธัมเมตัง พายัพรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะ ภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุฯ อุดรรัสมิง พรพุทธะคุณัง อุดรรัสมิง พระธัมเมตัง อุดรรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะ ภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุฯ อิสานรัสมิง พรพุทธะคุณัง อิสานรัสมิง พระธัมเมตัง อิสานรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะ ภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุฯ อากาศรัสมิง พรพุทธะคุณัง อากาศรัสมิง พระธัมเมตัง อากาศรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะ ภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุฯ ปฐวีรัสมิง พรพุทธะคุณัง ปฐวีรัสมิง พระธัมเมตัง ปฐวีรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะ ภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุฯ เมื่อสวดคาถานี้ก็อาจสามารถป้องกันอันตรายจากสัตว์ป่านานาชนิด และภูตผีปีศาจทั้งหลายได้ ถ้าผู้ใดสวดเป็นประจำ ก็จะอยู่เย็นเป็นสุข ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียน และรอดพ้นจากภยันตรายทั้งหลาย จงตั้งใจสวดทุกเช้าทุกเย็น ก่อนออกจากบ้านไหนก็ตาม ถ้าสวดคาถานี้จะเป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง มีโชคมีลาภและป้องกันอันตรายต่างๆ - พระคาถาอาการะวัตตาสูตร พระคาถาอาการะวัตตาสูตร พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๒๘ พระองค์ที่ล่วงไปแล้วก็ดี พระพุทธเจ้าในปัจจุบันก็ดี ได้ทรงกระทำตามกันมาทุกๆพระองค์ พระสูตรนี้เป็นพระสูตรอันใหญ่ยิ่งหาสูตรอื่นมาเปรียบมิได้ ด้วยมีทั้ง พระสูตร พระวินัย พระปรมัตถ์ พระปิฎก ขอท่านทั้งหลายอย่าได้ทิ้งวางในที่อันไม่สมควรเลย จงทำการสักการะบูชา สวดมนต์ ภาวนา ฟัง ตามสติกำลังด้วยเทอญ (ตั้ง นะโม ๓ จบ) เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา ราชะคะเห วิหะระติ คิชฌะกูเฏ ปัพพะเต เตนะ โข ปะนะ สะมะเยนะ สัพพะสัตตานัง พุทธะคุโณ ธัมมะคุโณ สังฆะคุโณ อายัสมา อานันโท อะนุรุทโธ สารีปุตโต โมคคัลลาโน มะหิทธิโก มะหานุภาเวนะ สัตตานัง เอตะทะโวจะ อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง อิติปิ โส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ อิติปิ โส ภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา สุคะโต อิติปิ โส ภะคะวา โลกะวิทู อิติปิ โส ภะคะวา อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ อิติปิโส ภะคะวา สัตาถาเทวะ มะนุสสานัง อิติปิ โส ภะคะวา พุทโธ อิติปิ โส ภะคะวา ภะคะวาติ (พุทธะคุณะวัคโค ปะฐะโม) อิติปิ โส ภะคะวา อะภินิหาระปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา อุฬารัชฌาสะยะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา ปะนิธานะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา มะหากะรุณาปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา ญาณะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา ปะโยคะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา ยุติปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา ชิตติปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา คัพภะโอกกันติปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา คัพภะฐิติปาระมิสัมปันโน (อะภินิหาระวัคโค ทุติโย) อิติปิ โส ภะคะวา คัพภะวุฏฐานะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา คัพภะมะละ วิระหิตะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา อุตตะมะติปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา คะติปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา อภิรูปะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา สุวัณณะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา มหาสิริปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา อาโรหะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา ปะริณาหะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา สุนิฏฐะปาระมิสัมปันโน (คัพภะ วุฏฐานะวัคโค ตะติโย) อิติปิ โส ภะคะวา อะภิสัมโพธิปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา สีละขันธะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา สะมาธิขันธะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา ปัญญาขันธะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา ทะวัตติงสะมะหาปุริ สะลักะณะปาระมิสัมปันโน (อะภิสัมโพธิวัคโค จะตุตโถ) อิติปิ โส ภะคะวา มะหาปัญญาปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา ปุถุปัญญาปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา หาสะปัญญาปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา ชะวะนะปัญญาปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา ติกขะปัญญาปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจะจักขุปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา อัฏฐาระสะพุทธะกะระปาระมิสัมปันโน (มะหาปัญญาวัคโค ปัญจะโม) อิติปิ โส ภะคะวา ทานะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา สีละปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา เนกขัมมะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา วิริยะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา ขันติปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา สัจจะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา อะธิฏฐานะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา เมตตาปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา อุเปกขาปาระมิสัมปันโน (ปาระมิวัคโค ฉัฏโฐ) อิติปิ โส ภะคะวา ทะสะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา ทะสะอุปะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา ทะสะปะระมัตถะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา สะมะติงสะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา ตังตังฌานะฌานังคะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา อะภิญญาณะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา สะติปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา สะมาธิปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา วิมุตติปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา วิมุตติญาณะปาระมิสัมปันโน (ทะสะปาระมิวัคโค สัตตะโม) อิติปิ โส ภะคะวา วิชชาจะระณะวิปัสสะนาวิชชาปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา มะโน มะยิทธิวิชชาปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา อิทธิวิชชาปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา ทิพพะโสตะวิชชาปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา ปะระจิตตะวิชชาปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา ปะระจิตตะวิชชาปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติวิชชาปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา ทิพพะจักขุวิชชาปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา จะระณะวิชชาปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา วิชชาจะระธัมมะวิชชาปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา อะนุปุพพะวิหาระปาระมิสัมปันโน (วิชชาวัคโค อัฏฐะโม) อิติปิ โส ภะคะวา ปะริญญาณะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา ปะหานะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา สัจฉิกิริยาปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา ภาวะนาปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา ปะริญญาปะหานะสัจฉิกิริยาภาวะนาปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา จะตุธัมมะสัจจะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา ปะฏิสัมภิทาญาณะปาระมิสัมปันโน (ปะริญญาณะวัคโค นะวะโม) อิติปิ โส ภะคะวา โพธิปักขิยะธัมมะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา สะติปัฏฐานะปัญญาปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา สัมมัปปะธานะปัญญาปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา อิทธิปาทะปัญญาปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา อินทรียะปัญญาปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา พะละปัญญาปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา โพชฌังคะปัญญาปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา อัฏฐังคิกะมัคคะธัมมะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา มะหาปุริสะสัจฉิกิริยาปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา อะนาวะระณะวิโมกขะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะผะละวิมุตติปาระมิสัมปันโน (โพธิปักขิยะวัคโค ทะสะโม) อิติปิ โส ภะคะวา ทะสะพะละญาณะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา ฐานาฐานะญาณะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา วิปากะ ญาณะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา สัพพัตถะคามินีปะฏิปะทาปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา นานาธาตุญาณะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา สัตตานัง นานาทิมุตติกะญาณะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา อินทรียะ ปะโรปะริ ยัตติปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา นิโรธวะวุฏฐานะญาณะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติญาณะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา จุตูปะปาตะญาณะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา อาสะวักขะยะญาณะปาระมิสัมปันโน (ทะสะพะละญาณะวัคโค เอกาทะสะโม) อิติปิ โส ภะคะวา โกฏิสะหัสสานัง ปะโกฏิ สะหัสสานัง หัตถีนังพะละธะระปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะโกฏิ ทะสะสะหัสสานัง พะละธะระปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจะจักขุ ญาณะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา ยะมะกะญาณะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา สีละคุณะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา คุณะปาระมิสะมาปัตติปาระมิสัมปันโน (กายะพะละวัคโค ทะวาทะสะโม) อิติปิ โส ภะคะวา ถามะพะละปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา ถามะพะละญาณะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา พะละปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา พะละญานะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา อะตุละยะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา ญาณะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา อุสสาหะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา คะเวสีญาณะปาระมิสัมปันโน (ถามะพะละวัคโค เตระสะโม) อิติปิ โส ภะคะวา จะริยาปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา จะริยาญาณะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา โลกัตถะจะริยาปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา โลกัตถะจะริยาญาณะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา ญาตัตถะจะริยาปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา ญาตัตถะนะริยาญานะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา พุทธะนะริยาปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา พุทธะจะริยาญาณะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา ติวิธะจะริยาปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา ปาระมิอุปปาระมิปะระมัตถะปาระมิสัมปันโน (จริยาวัคโค จะตุททะสะโม) อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุ อะนิจจะลักขณะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุ ทุกขะ ลักขะณะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุ อะนัตตะลักขะณะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา อายะตะเนสุ ติลักขะณะ ญานะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา อัฏฐาระสะธาตสุ ติลักขะณะญาณะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา วิปะริณามะลักขะณะปาระมิสัมปันโน (ลักขะณะวัคโค ปัณณะระสะโม) อิติปิ โส ภะคะวา คะตัฏฐานะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา คะตัฏฐานะ ญาณะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา วุสิตะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา วุสิตะญาณะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา สิกขาปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา สิกขาญาณะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา สังวะระปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา สังวะระญาณะปาระมิสัมปันโน (คะตัฎฐานะวัคโค โสฬะสะโมปาระมิสัมปันโน) อิติปิ โส ภะคะวา พุทธะปะเวณิปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา พุทธปะเวณิญาณะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริยะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริญาณะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา จะตุพรัมมะวิหาระปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา อะนาวะระณะญานะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา อะปะริยันตะญาณะปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา สัพพัญญุตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา จะตุวีสะติโกฏสะตะวิชิระญาณะปาระมิสัมปันโน (ปะเวณิวัคโค สัตตะระสะโม) อานิสงส์อาการวัตตาสูตร ......ในสมัยหนึ่งสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ เขาคิชฌกูฎบรรพตคีรี ใกล้ราชธานี ราชคฤห์มหานคร ในสมัยครั้งนั้นพระสารีบุตรพุทธสาวก เข้าไปสู่ที่เฝ้าถวายอภิวาทโดยเคารพแล้วนั่ง ในที่ควรส่วนข้างหนึ่งเล็กแลดูสหธัมมิกสัตว์ทั้งหลาย ก็เกิดปริวิตกในใจคิดถึงกาลต่อไปภายหน้าว่า “อิเม โข สตฺตา ฉินฺนมูลา อตีตสิกฺขา” สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ที่หนาไปด้วยกิเลสมีอวิชชาหุ้มห่อไว้ มี สันดานอันรกชัฏด้วยอกุศล คือ โลภะ โทสะ โมหะ ชื่อว่ากุศลมูลขาดแล้ว มีสิกขาอันละเสียแล้ว เที่ยง ที่จะไปสู่อบายทั้ง ๔ คือ นรก เปรตวิสัย อสุรกายและสัตดิรัจฉาน เมื่อสัตว์หนาไปด้วยอกุศล จะนำตน ให้ไปไหม้อยู่ในอบายภูมิตลอดกาลยืดยาวนาน ธรรมเครื่องกระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า คือบารมี ๓๐ ทัศ มีอยู่จะห้ามกันเสียได้ซึ่งจตุราบายทุกข์ทั้งมวล และธรรมที่พระองค์ตรัสไว้ในพระสูตร พระวินัย พระปรมัตถ์ล้วนเป็นธรรมที่จะนำให้สัตว์พ้นจากสังสารทุกข์ทั้งนั้น เมื่อปริวิตกเช่นนี้เกิดมีแก่ พระธรรมเสนาบดีพระสารีบุตรแล้ว ด้วยความเมตตากรุณาแก่ประชาชนทั้งหลายที่เกิดมาในสุดท้าย ภายหลังจะได้ปฏิบัติเป็นเครื่องป้องภัยในอบาย พระผู้เป็นเจ้าจึงยกอัญชลีกรถวายอภิวาทพระบรม โลกนาถเจ้า แล้วทูลถามว่าข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ “เย เกจิ ทุปฺปญฺญา ปถคฺคลา” บุคคลทั้ง หลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีปัญญายังหนาด้วยโมหะหารู้จักพุทธกรณธรรม คือบารมีแห่งพระพุทธเจ้านั้น ไม่เพราะเป็นคนอันธพาล กระทำซึ่งกรรมอันเป็นบาปทั้งปวงด้วยอำนาจราคะ โทสะ โมหะ เข้าครอบ งำกระทำกรรมตั้งแต่เบาคือ ลหุกรรม จนกระทั่งกรรมหนักคือครุกรรม โดยไม่มีความกระดากอาย เบื้องหน้าแต่แตกกายทำลายขันธ์ จากชีวิตอินทรีย์แล้วจะไปเกิดในอเวจีนิรยาบาย ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เจ้าข้าผู้ประเสริฐ ธรรมอันสุขุมคัมภีรภาพสามารถปราบปรามห้ามเสียซึ่งสัตว์ทั้งหลาย มิให้ตกไปสู่ นรกใหญ่จะมีอยู่หรือพระพุทธเจ้าข้า ในลำดับนั้นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงอาการวัตตาสูตร กำหนดด้วยวรรค ๕ วรรค มีนวราทิคุณวรรค เป็นต้น จนถึงปารมีทัตตะวรรค เป็นคำรบ ๕ คาถาอาการวัตตาสูตรนี้ มีอานุภาพยิ่งกว่าสูตรอื่น ๆ ในการที่ป้องกันภัยอันตรายแก่ผู้มาตาม ระลึกอยู่เนืองนิตย์ บาปกรรมทั้งปวงจะไม่ได้ช่องหยั่งลงสู่สันดานได้ด้วยอำนาจอาการวัตตาสูตรนี้ และบุคคลผู้ใดได้ฟังก็ดีได้เขียนเองก็ดี หรือได้จ้างท่านผู้อื่นเขียนให้ก็ดีได้ท่องทรงจำไว้ก็ดี ได้กล่าว สอนผู้อื่นก็ดี ได้สักการบูชาเคารพนับถือก็ดี ได้สวดมนต์ภาวนาอยู่เนือง ๆ ก็ดี ก็จะได้พ้นจากภัย ๓๐ ประการคือภัยอันเกิดแต่ งูพิษ สุนัขป่า สุนัขบ้าน โคบ้าน และโคป่า กระบือบ้านและกระบือเถื่อน พยัคฆะ หมู เสือ สิงห์ และภัยอันเกิดแต่คชสารอัสดรพาชี จตุรงคชาติของพระราชา ผู้เป็นจอมของ นรชน ภัยอันเกิดแต่น้ำและเพลิงเกิดแต่มนุษย์และอมอุษย์ภูตผีปิศาจเกิดแต่อาชญาของแผ่นดินเกิดแต่ ยักษ์กุมภัณฑ์ และคนธรรพ์อารักขเทวตา เกิดแต่มาร ๕ ประการที่ผลาญให้วิการต่าง ๆ เกิดแต่วิชาธร ผู้ทรงคุณวิทยากรและภัยที่จะเกิดแต่มเหศวรเทวราช ผู้เป็นใหญ่ในเทวโลกรวมเป็นภัย ๓๐ ประการ อันตรธานพินาศไป ทั้งโรคภัยที่เสียดแทงอวัยวะน้อยใหญ่ ก็จะวินาศเสื่อมคลายหายไปด้วยอำนาจ เคารพนับถือในพระอาการวัตตาสูตรนี้แล ดูกรสารีบุตรบุคคลผู้นั้นเมื่อยังท่องเที่ยวอยู่ในสังสรวัฏฏ์ จะ เป็นผู้มีปัญญาละเอียดสุขุม มีชนมายุยืนยงคงทนนาน จนเท่าถึงอายุไขยเป็นกำหนดจึงตายจะตายด้วยอุ ปัททวันอันตราย นั้นหามิได้ ครั้นเมื่อสิ้นชีพแล้วจะได้ไปอุบัติขึ้นบนสวรรค์ร่างกายก็จะมีฉวีวรรณอัน ผ่องใจดุจทองคำธรรมชาติ จักษุประสาทก็จะรุ่งเรืองงามมองดูได้ไกลมิได้วิปริต จะได้เป็นพระอินทร์ ๓๖ กัลปเป็นประมาณ จะได้สมบัติพระยาจักรพรรดิราชาธิราช ๑๖ กัลป คับครั่งไปด้วยรัตนะ ๗ ประการก็ด้วยอานิสงส์ที่ได้สวดสาธยายอยู่เนืองนิตย์ “ทุคฺคตึ โส น คจฺฉติ” แม้แต่สดับฟังท่านอื่น เทศนา ด้วยจิตประสันนาการเลื่อมใสก็ไม่ไปสู่คติตลอดยืดยาวนานถึง ๙๐ แสนกัลป์ - วิปัสสะนาภูมิปาฐะ ปัญจักขันธา รูปักขันโธ เวทะนากขันโธ สัญญากขันโธ สังขารักขันโธ วิญญาณักขันโธ ทวาทะสายะตะนานิ จักขวายะตะนัง รูปยะตะนัง โสตายะตะนัง สัททายะตะนัง ฆานายะตะนัง คันธายะตะนัง ชิวหายะตะนัง ระสายะตะนัง กายายะตะนัง โผฏฐัพพายะตะนัง มะนายะตะนัง ธัมมายะตะนัง อัฏฐาระสะ ธาตุโย จักขุธาตุ รูปะธาตุ จักขุวิญญาณะธาตุ โสตะธาตุ สัททะธาตุ โสตะวิญญาณะธาตุ ฆานะธาตุ คันธะธาตุ ฆานะวิญญาณะธาตุ ชิวหาธาตุ ระสะธาตุ ชิวหาวิญญาณะธาตุ กายะธาตุ โผฏฐัพพะธาตุ กายะวิญญาณะธาตุ มะโนธาตุ ธัมมะธาตุ มะโนวิญญาณะธาตุ พาวีสะตินทริยานิ จักขุนทริยัง โสตินทริยัง ฆานินทริยัง ชิวหินทริยัง กายินทริยัง มะนินทริยัง อิตถินทริยัง ปุริสินทริยัง ชีวิตินทริยัง สุขินทริยัง ทุกขินทริยัง โสมะนัสสินทริยัง โทมะนัสสินทริยัง อุเปกขินทริยัง สัทธินทริยัง วิริยินทริยัง สะตินทริยัง สมาธินทริยัง ปัญญินทริยัง อะนัญญะตัญญัสสามิตินทริยัง อัญญินทริยัง อัญญาตาวินทริยัง จัตตาริ อะริยะสัจจานิ ทุกขัง อะริยะสัจจัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง - คาถาบูชาดวงชาตา นะโม เม สัพพะเทวานัง สัพพะคะระหะ จะ เทวานัง สุริยัญจะ ปะมุญจะถะ สะสิ ภุมโม จะ เทวานัง วุโธ ลาภัง ภะวิสสะติ ชีโว สุกะโร จะ มะหาลาภัง โสโร ราหูเกตุ จะ มะหาลาภัง สัพพะ ภะยัง วินาสสันติ สัพพะทุกขัง วินาสสันติ สัพพะ โรคัง วินาสสันติ ลักขะณา อะหัง วันทามิ สัพพะทา สัพเพเทวา มัง ปาละยันตุ สัพพะทา เอเตนะ มังคะละเตเชนะ สัพพะโสตถี ภะวันตุ เม คำอธิฐานอโหสิกรรม ข้าพเจ้าขออโหสิกรรม กรรมใดที่ทำแก่ผู้ใดในชาติใด ๆ ก็ตาม ขอให้เจ้ากรรมและนายเวร จงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้า อย่าได้จองเวรจองกรรมต่อไปเลย แม้แต่กรรมที่ใคร ๆ ทำแก่ข้าพเจ้าก็ตาม ข้าพเจ้าขออโหสิกรรม ให้ทั้งสิ้น ยกถวายพระพุทธเจ้าเป็นอภัยทาน เพื่อจะได้ไม่มีเวรกรรมต่อไป ด้วยอานิสงส์แห่งอภัยทานนี้ ขอให้ข้าพเจ้า ครอบครัว บุตรหลาน ตลอดจนวงษาคณาญาติ และผู้อุปการะคุณของข้าพเจ้า มีความสุข ความเจริญ ปฏิบัติแต่สิ่งที่ดี และสิ่งที่ชอบด้วยเทอญฯ - กรวดน้ำ อิมินา ปุญญะกัมเมนะ ด้วยเดชะผลบุญแห่งข้าได้สร้างและ สวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ ขอให้ไปค้ำชูอุดหนุนบิดามารดา ผู้มีพระคุณ และญาติกา ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ และเจ้ากรรมนายเวร พระมหากษัตริย์ และมิตรรักสนิท เพื่อนสาราสัตว์น้อยใหญ่ พระภูมิเจ้าที่ เจ้ากรุงพาลี นางพระธรณี นางพระคงคา พระยายมราช นายนิริยะบาล ทั้งท้าวจัตุโลกะบาล สิริพุทธอำมาตย์ ชั้นจาตุมะหาราชิกาเบื้องบน จนถึงที่สุดพรหมมา เบื้องต่ำขึ้นมาจนถึงมนุษย์โลก โดยรอบสุดขอบจักรวาล อนันตะจักรวาล คุณพระศรีรัตนตรัย และเทพยดา ตลอดทั้งอินทร์ พรหม ยมยักษ์ คนธรรพ์ นาคา ท่านทั้งหลายที่ต้องทุกข์ ขอให้พ้นจากทุกข์ ท่านทั้งหลายที่ได้สุข ขอให้ได้สุขยิ่ง ๆ ขึ้นไป ด้วยเดชะผลแห่งข้าอุทิศให้ไปนี้ จงเป็นอุปนิสัยปัจจัย แก่พระนิพพานในปัจจุบันแลอนาคตกาลเบื้องหน้าโน้น เทอญฯ พุทธัง อนันตัง ธัมมังจักรวาละ สังฆัง นิพพานัง โหตุ แผ่เมตตาให้ตนเอง อะหัง สุขิโต โหมิ, นิทุกโข โหมิ, อะเวโร โหมิ, อัพยา ปัชโฌ โหมิ, อะนีโฆ โหมิ, อะโรโค โหมิ, สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ ขอให้ตัวของเราเอง จงมีความสุข ปราศจากทุกข์ ไม่มีเวร ไม่มีภัย ไม่มีความความเบียดเบียน ไม่มีความเดือดร้อน ไม่มีความลำบาก ปราศจากโรคภัย รักษาตนอยู่เถิด - บทแผ่ส่วนกุศล อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่มารดา บิดาของข้าพเจ้า ขอให้มารดา บิดาของข้าพเจ้า มีความสุข อิทัง เม ญาตะกานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะกา ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า มีความสุข อิทัง เม ครุปัชฌายาจริยานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ครุปัชฌายาจริยา ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ทั้งหลายของข้าพเจ้า มีความสุข อิทัง สัพพะเทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเทวา ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวง มีความสุข อิทัง สัพพะเปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเปตา ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวง มีความสุข อิทัง สัพพะเวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเวรี ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย มีความสุข อิทัง สัพพะสัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพสัตตา ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง มีความสุข - รวมบทสวดมนต์ไหว้พระ เสี่ยงบารมี ตรวจน้ำ แผ่เมตตา ก่อนทำสมาธิตามแบบ หลวงปู่พระครูเทพโลกอุดร (ตั้งนะโม ๓ จบ) ข้าพเจ้าขอกราบไหว้บูชาพระพุทโธ เป็นที่พึ่งที่ระลึกของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าขอกราบไหว้บูชาพระธัมโม เป็นที่พึ่งที่ระลึกของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าขอกราบไหว้บูชาพระสังโฆ เป็นที่พึ่งที่ระลึกของข้าพเจ้า 1. บูชาพระ อุกาสะ อุกาสะ ดอกไม้ธูปเทียนชะวาลา รูปนาม และชีวิตน้อมไปด้วย ความปฏิบัติ ทั้งภายในและภายนอก ขอบูชาแก่พระโพธิญาณ พระพุทธัง พระธัมมัง พระสังฆัง ขอให้แม่พระธรณี จงมาเป็นทิพญาณให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิดนะพระเจ้าข้า นิพพานะปัจจะโยโหตุ 2. อาราธนาพระ อุกาสะ อุกาสะ ข้าพเจ้าจะขออุปจาระวิถี พระอัปปนาระวิถี พระสมาธิโลกุตระ พระธรรมเจ้า ข้าพเจ้าจะขอเข้าในห้องพระขุททกาปีติเจ้า พระขณิกาปีติเจ้า พระโอกกันติกาปีติเจ้า พระอุพเพ็งคาปีติเจ้า พระผราณาปีติเจ้า อันบังเกิดแก่พระพุทธเจ้า พระปัจเจกะโพธิเจ้า พระอรหันตเจ้าที่ล่วงเข้าสู่พระนิพพานไปแล้วมากกว่า เม็ดทรายในท้องพระมหาสมุทรทั้ง ๔ ตันติประเพณีอันบังเกิดแก่พระพุทธเจ้า พระปัจเจกะโพธิเจ้า พระอรหันตเจ้าทั้งหลายมีฉันใดก็ดี ขอพระธรรมเจ้าจงบังเกิด ให้กว้างขวางในขันธะทั้ง ๕ ของข้าพเจ้าในกาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด นิพพานะปัจจะโยโหตุ พระพุทธคุณัง ข้าพเจ้าขอถวายชีวิตตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ พระธัมมคุณัง ข้าพเจ้าขอถวายชีวิตตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ พระสังฆคุณัง ข้าพเจ้าขอถวายชีวิตตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ 3. เสี่ยงบารมี อุกาสะ อุกาสะ ข้าพเจ้าจะขอเสี่ยงนะพระบารมี ขอให้แม่พระธรณี นำเอาบารมี 30 ทัศของข้าพเจ้า ข้ามส่งให้ถึงฝั่ง หนทางพระนิพพาน ที่ได้กระทำการ ของพระในครั้งนี้ นิพพานะปัจจะโยโหตุ 4. กรวดน้ำ พระจตุโลก พระยะมะกะทั้ง ๔ ส่งน้ำอุทิศนี้เข้าไปในลังกาทวีป ในห้องพระสมาธิ เป็นที่ประชุมการใหญ่ของแม่พระธรณี ขอให้แม่พระธรณีจงมาเป็นทิพญาณ เป็นผู้ว่าการในโลกอุดร ขอให้แม่พระธรณีจงนำเอากุศลผลบุญของข้าพเจ้าที่ได้กระทำ ในครั้งนี้ นำส่งให้แก่ข้าพเจ้าในกาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด นิพพานะปัจจะโยโหตุ 5. แผ่เมตตา พุทธัง อนัตตัง ธัมมัง จักกะราวัง สังฆัง นิพพานัง ข้าพเจ้าขอแผ่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ให้แก่บรรดาสัตว์ที่มี ดิน น้ำ ลม ไฟ บิดามารดา ญาติกาทั้งหลาย จงมารับเอาส่วนกุศลผลบุญ ของข้าพเจ้าในกาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด นิพพานะปัจจะโยโหตุ - ติโรกุฑฑะกัณฑะปัจฉิมกาล อทาสิ เม อกาสิ เม ญาติมิตตา สะขา จะ เม เปตานัง ทักขิณัง ทัชชา ปุพเพ กะตะมะนุสสะรัง นะ หิ รุณณัง วา โสโก วา ยาวัญญา ปะริเทวนา นะ ตัง เปตานะมัตถายะ เอวัง ติฏฐันติ ญาตะโย อะยัญจะ โข ทักขิณา ทินนา สังฆัมหิ สุปะติฏฐิตา ทีฆะรัตตัง หิตายัสสะ ฐานะโส อุปะกับปะติ โส ญาติธัมโม จะ อะยัง นิทัสสิโต เปตานะ ปูชา จะ กะตา อุฬารา พะลัญจะ ภิกขูนะมะนุปปะทินนัง ตุมเหหิ ปุญญัง ปะสุตัง อะนัปปะกันติ หมายเหตุ คำภาวนาเพื่อให้จิตเข้าสู่สมาธิได้รวดเร็ว เมต ตา ลา โภ นะ โส มิ ยะ อะ หะ พุท โธ - พระคาถาบูชาหลวงปู่เทพโลกอุดร (ตั้งนะโม ๓ จบ) โย อะริโย มะหาเถโร อะระหัง อะภิญญาธะโร ปะฏิสัมภิทัปปัตโต เตวิชโช พุทธะสาวะโก พะหู เมตตาทิวาสะโน มะหาเถรานุสาสะโก อะมะตัญเญวะ สุชีวะติ อะภินันที คุหาวะนัง โส โลกุตตะโร นาโม อัมเหหิ อะภิปูชิโต อิธะ ฐานูปะมาคัมมะ กุสะเล โน นิโยชะเย ปุตตะเมวะ ปิยัง เทสิ มัคคะผะลัง วะ เทสสะติ ปะระมะสารีริกะธาตุ วะชิรัญจาปิวานิตัง โส โลเก จะอุปปันโน เอเกเนวะ หิตังกะโร อะยัง โน โข ปุญญะลาโภ อัปปะมัตโต ภะเวตัพโพ สาธุกันตัง อะนุกะริสสามะ ยัง วะเรนะ สุภาสิตัง โลกุตตะโร จะ มะหาเถโร เทวะตานะระปูชิโต โลกุตตะระคุณัง เอตัง อะหัง วันทามิ ตัง สะทา มะหาเถรานุภาเวนะ สุขัง โสตถี ภะวันตุ เม - บทกรวดน้ำ (วัดสุทัศน์ เสาชิงช้า กรุงเทพฯ) บทกรวดน้ำ นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3จบ) ขอเดชะตั่งจิตอุทิศผล บุญกุศลแผ่ไปให้ไพศาล ถึงบิดามารดาครูอาจารย์ ทั้งลูกหลานญาติมิตรสนิทกัน คนเคยรักเคยชังแต่ครั้งไหน ขอให้ได้บุญกุศลผลของฉัน ทั้งเจ้ากรรมนายเวรและเทวัญ ขอให้ท่านได้กุศลและผลบุญ อีกปู่ย่าตายายทั้งหลายนั้น ขอให้ท่านได้กุศลผลอุดหนุน ทหารตำรวจตรวจแดนไทยจงได้บุญ ช่วยป้องกันศัตรูภัยได้บุญนี้ สำหรับท่านหมั่นปฏิบัติวิปัสสนา ขอให้พาได้พบสุขทุกวิถี ประสบพบนิพพานของญาณมุนี ในชาตินี้มีมรรคผลทุกคนเทอญ บุญกุศลที่ได้ทำในครั้งนี้ จงสำเร็จเป็นปัจจัยไร้ราคี ให้ฉันนี้พ้นกิเลสเขตกันดาร หากมิสำเร็จพระอรหันต์ ตัวของฉันอย่าได้พบความขัดสน พร้อมทวยเทพและสวรรค์จนบันดล ให้เลิศล้นทรัพย์ยศปรากฏมี ความไม่มีอย่าบังเกิดกับตัวฉัน ทุกสิ่งสรรค์พร้อมมูลบุญราศี คนใจบาปหยาบช้าไร้ปรานี จงหลีกหนีให้พ้นคนใจมาร ยามสิ้นบุญข้าน้อยถ้าคล้อยคลาด หากประมาทขาดสติมิประสาน ขอเทวาอารักษ์ชักบันดาล โปรดประทานสติมั่นแก่ฉันเทอญ - บทกรวดน้ำพิเศษ บุญนี้ที่ทำ ขอเป็นข้าวน้ำ เครื่องทิพย์นานา เป็นวิมานทอง เรืองรองโสภา กับทั้งนางฟ้า พันหนึ่งบริวาร เครื่องทิพย์ทั้งนี้ ขอถึงชนนี บิดาอย่านาน ถึงญาติมิตรทุกหมู่ ครูบาอาจารย์ พ้นทุกข์อย่านาน ได้วิมานทอง ฝูงเปรตทั้งหลาย นรกอสุรกาย หมู่สัตว์ทั้งผอง กุ้งปลาปูหอย ใหญ่น้อยเนืองนอง จงตั้งใจปอง รับเอาส่วนบุญ สัตว์เล็กสัตว์ใหญ่ ตัวเรานี้ไซร้ ได้ทำทารุณ ด้วยกายและใจ ปากร้ายกองกูล รับเอาส่วนบุญ อย่ามีเวรกรรม อินทราเทวา อีกทั้งพรหมา ท้าวเวสสุวรรณ พระภูมิเจ้าที่ พระอาทิตย์พระจันทร์ อังคารพุธนั้น พระพฤหัสบดี พระศุกร์พระเสาร์ เทพเจ้าทั้งหลาย ทั้งหญิงทั้งชาย สิบสองราศรี อีกทั้งพระกาฬ โลกะบาลทั้งสี่ ครุฑธานาคี กินรีกินรา เทพเจ้าทั้งหลาย ทั้งหญิงทั้งชาย จงโมทนา รับเอากุศล ผลบุญนี้หนา ทั้งพสุธา คงคาวารี ชื่อว่าเข็ญใจ ขอจงอย่าได้ ไปบังเกิดมี ความยากอย่าให้เห็น ขอให้เป็นเศรษฐี คฤหบดี มนตรีพระยา คลพาลอย่าให้พบ ขอให้ประสพ คนมีปัญญา เดชะกุศล ขอให้พ้นจตุรา ขอให้ตัวข้า พบพระศรีอาริย์ ได้ฟังคำสอน มีใจโอนอ่อน สำเร็จอย่านาน ลุถึงเมืองแก้ว กล่าวแล้วคือ นิพพาน ดับชาติสังขาร จากโลกโลกีย์ นิพพานะ ปัจจะโยโหตุฯ - คำอธิษฐานภาษาไทยโบราณ ขอเดชะบุญ ตั้งจิตเจตนา ศรัทธาเปรมปรีย์ ชื่อว่าเข็ญใจ อย่าได้เกิดมี แก่ตัวข้านี้ จนถึงนิพพาน ทุกข์โศกโรคภัย อับปรีย์จัญไร อย่าได้แผ้วพาน ขอให้ชมชื่น ข้ายืนยาวนาน ได้บวชลูกหลาน ได้การกุศล อุปัจเฉทะกะกรรม อย่าได้ครอบงำ เข้าจลาจล เมื่อข้าดับจิต ชีวิตวายชนม์ เดชะกุศล ช่วยแนะนำไป เมื่อข้าดับจิต ขอให้เนรมิต บังเกิดเร็วไว ให้ได้วิมาน ยวดยานสุกใส สุมทุมเปลวไฟ อย่าได้เกิดมี แม้นถือกำเนิด กลับชาติมาเกิด ให้สูงศักดิ์ศรี ในวงศ์ประยูร สกุลผู้ดี ขัตติยะเมธี มั่งมีเงินทอง แก้วแหวนแสนทรัพย์ เนืองนองสมบัติ อย่าได้อาทร สมใจทุกอย่าง พงศ์เผ่าพวกพ้อง วงศ์ญาติพี่น้อง พรั่งพร้อมบริบูรณ์ บิดามารดา อยู่ในศีลห้า ศีลแปดพร้อมมูล เมื่อยังไม่ได้ ขอให้ใจบุญ ผลธรรมอนุกูล มโนเปรมปรีด์ เกิดชาติใดใด ห่างทุกข์ห่างไข้ ขอใจยินดี ศีลห้าประการ ผลทานบารมี สมบัติมากมี ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ดวงจิตอิจฉา โทโสโกรธา โมโหหลงใหล ขอจงห่างสิ้น มลทินอันใด จงหลีกหนีไกล จากกิเสสันดาน อะเสวะนา พระเจ้าเทศนา พาลาอหังการ อย่าได้เกิดร่วม เคหะสถาน ขอพบเมธาจารย์ ผู้มีปัญญา ให้เป็นประโยชน์ รู้แจ้งในโสต คุณโทษโทษา ข้าคิดสิ่งใด จงเป็นวาจา เผยพจน์ออกมา ถูกต้องบาลี ปราศจากมุสา ให้เป็นสัมมา กล่าวคำวาที - บทปลงสังขาร โอ้ว่าอนิจจาสังขารเอ๋ย มาลงเอยสิ้นสุดหยุดเคลื่อนไหว เมื่อหมดหวังครั้งสุดท้ายไม่หายใจ ธาตุลมไฟน้ำดินก็สิ้นตาม นอนตัวแข็งและสลดเมื่อหมดชีพ เขาตราสังใส่หีบสี่คนหาม สู่ป่าช้าสิ้นเชื้อเหลือแต่นาม ใครจะถามเรียกเขาก็เปล่าตาย นี่แหละหนอมนุษย์เรามีเท่านี้ หมดลมแล้วก็ไม่มีซึ่งความหมาย วิญญาณปราศขาดลับดับจากกาย หยุดวุ่นวายทุกทุกสิ่งนอนนิ่งเลย เมื่อชีวิตเรานี้มีลมอยู่ จงเร่งรู้ศีลทานนะท่านเอย ทั้งภาวนาทำใจหัดให้เคย อย่าละเลยความดีทุกวี่วัน เมื่อสิ้นลมจิตพรากจากโลกนี้ จะได้พาความดีไปสวรรค์ อย่าทำบาปน้อยนิดให้ติดพัน เพราะบาปนั้นจะเป็นเงาตามเราไป สู่นรกอเวจีที่มืดมิด สุดที่ใครจะตามติดไปช่วยได้ ต้องทนทุกข์สยดสยองในกองไฟ ตามแต่กรรมของผู้ใดที่ได้ทำ หมั่นสวดมนต์ภาวนารักษาศีล สอนลูกหลานให้เคยชินทุกเช้าค่ำ ให้รู้จักเคารพนบพระธรรม อย่าลืมคำที่พระสอนวอนให้ดี เราเกิดมาเพื่อตายมิใช่อยู่ ทุกทุกคนจะต้องสู่ความเป็นผี เมื่อเกิดมาเป็นคนได้ทั้งที ก็ควรสร้างความดีติดตัวไป เพื่อจะได้เป็นสุขไม่ทุกข์ยหาก ไม่คับแค้นลำบากเมื่อเกิดใหม่ ใครทำดีย่อมสุขแท้จงแน่ใจ ใครทำชั่วทุกข์ยากไร้ ย่อมถึงตน เร่งบำเพ็ญทานศีลและภาวนา แสวงหาแต่สิ่งบุญกุศล ทรัพย์ภายนอกเป็นของโลกโศกระคน ทรัพย์ภายในประดับตนพ้นทุกข์เอย - บทสวดคาถาพระแม่กวนอิม เจ้าแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์ (อวโลกิเตศวร) ผู้ทรงแบ่งภาคได้หลายภาค เพื่อมาโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลาย และทรงเอื้ออารีย์แก่มวลมนุษย์ที่ได้กราบไหว้บูชาให้ประสบผลสำเร็จ อันพึงปรารถนาได้อย่างน่ามหัศจรรย์ ท่านสามารถช่วยปัดเป่าความทุกข์ภัยพยันตรายให้ท่านที่เดือดร้อน ท่านสามารถสวดคาถาบูชาเจ้าแม่กวนอิมให้ครบ ๑๐๘ จบทุกวันโดย ตั้งจิตอธิษฐานให้แน่วแน่ ก็จะได้ผลสำเร็จอันพึงปรารถนาทุกประการ ส่วนของการสวดเป็นการออกเสียงตามภาษาจีนแต้จิ๋วที่ชาวไทยเชื้อสายจีนในไทยแปลไว้ทั้งสองบท แต่ในความเป็นจริงแล้ว ท่านสามารถอธิษฐานเป็นภาษาไทยหรือภาษาอะไรก็ได้ เพราะว่าการสื่อความหมายจะใช้แรงอธิษฐาน ที่เกิดจากความตั้งใจอันแน่วแน่ของผู้กราบไหว้ในขณะสวดบริกรรมนั่นเองที่สำคัญที่สุด ทุกอย่างมีใจเป็นหัวหน้า ไม่ยึดติดกับภาษา ผู้อยู่เบื้องสูงสื่อได้กับมนุษย์ทุกภาษา (บทสรรเสริญพระคุณ) นำโมไต๋ซื้อ ไต๋ปุย กิวโค่ว กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ กวงสี่อิม ผู่สัก (กราบ) นำโมไต๋ซื้อ ไต๋ปุย กิวโค่ว กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ กวงสี่อิม ผู่สัก (กราบ) นำโมไต๋ซื้อ ไต๋ปุย กิวโค่ว กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ กวงสี่อิม ผู่สัก (กราบ) นำโมฮู๊ก นำโมหวบ นำโมเจ็ง นำโมกิ้วโค่ว กิวหลั่ง กวงสี่อิมผู่สัก ทั่งจี้โต โอม เกียล้อฮวดโต เกียล้อฮวดโต เกียออฮวดโต ล้อเกียฮวดโต ล้อเกียฮวดโต ซำผ่อออ เทียงล้อซิ้ง ตี่ล้อซิ้ง นั้งลี่หลั่ง หลั่งลี่ซิง เจ็กเฉียก ใจเอียงห่วยอุ่ยติ๊ง นำโมม่อออปวกเยี่ยปอล้อบิ๊ก (กราบ) (บทมหากรุณาธารณีสูตร) โชยชิ่ว โชยงั่ง บ่อไหง๋ ไต่ปุยซิมทอลอ นีจิ่ว (๓ จบ) ปึงซือออนีทอ ยูไล้ (๓ จบ) นำมอ ฮอลาตัน นอตอลา เหย่ เย นำมอ ออลีเย ผ่อลูกิดตีซอปอลาเย ผู่ทีสัตตอพอเย หม่อฮอสัตตอพอเย หม่อ ฮอเกียลูนี เกียเยงัน สัตพันลาฮัวอี ซูตัน นอตันเซ นำมอ สิดกิด ลีตออีหม่งออลีเย ผ่อลูกิด ตีสิด ฮูลาเลงถ่อพอ นำมอ นอลา กินซี ซีลี หม่อฮอพันตอซาเม สะพอ ออทอ เตาซีพง ออซีเย็น สะพอ สะตอ นอมอ พอสะตอ นอมอ พอเค มอฮัว เตอเตา ตันจิต ทองัน ออพอ ลูซี ลูเกียตี เกียลอตี อีซีลี หม่อฮอ ผู่ทีสัตตอ สัตพอ สัตพอ มอลา มอลา มอซี มอซี ลีทอยิน กีลูกีลูกิดมง ตูลู ตูลู ฟาเซเยตี หม่อ ฮอฮัว เซเยตี ทอลา ทอลา ตีลีนี สิด ฮูลาเย เจลา เจลา มอมอ ฮัวมอลา หมกตีลี อีซี อีซี สิดนอ สิดนอ ออลาซัน ฮูลาเซลี ฮัวซอ ฮัวซัน ฮูลา เซเย ฮูลู ฮูลู มอลา ฮูลู ฮูลู ซีลี ซอลา ซอลา สิดลี สิดลี ซูลู ซูลู ผู่ถี่เย ผู่ถี่เย ผู่ถ่อเย ผู่ถ่อเย มีตีลีเย นอลา กินซี ตีลีสิด นีนอ ผ่อเย มอนอ ซอผ่อฮอ สิดถ่อเย ซอผ่อฮอ หม่อฮอ สิดถ่อเย ซอผ่อฮอ สิดทอยีอี สิดพันลาเย ซอผ่อฮอ นอลากินซี ซอผ่อฮอ มอลานอลา ซอผ่อฮอ สิดลาเซง ออหมกเคเย ซอผ่อฮอ ซอผ่อหม่อฮอ ออสิดถ่อเย ซอผ่อฮอ เจกิดลา ออสิดถ่อเย ซอผ่อฮอ ปอทอมอกิดสิดถ่อเย ซอผ่อฮอ นอลากินซี พันเคลาเย ซอผ่อฮอ มอพอลี เซงกิดลาเย ซอผ่อฮอ นำมอห่อลาตัน นอตอลาเยเย นำมอออลีเย ผ่อลูกิตตี ชอพันลาเย ซอผ่อฮอ งันสิดตินตู มันตอลา ปัดถ่อเย ซอผ่อฮอ - พระโอวาทของท่านอรหันต์จี้กง อ่านแล้วเก็บรักษา บุญรักษาเนืองนอง รู้แล้วบอกทั่วกัน บุญกุศลเรืองรอง ชีวิตย่อมเป็นไปตามลิขิต (ละชั่วทำดี) วอนขออะไร วันนี้ไม่รู้เหตุการณ์ในวันพรุ่งนี้ กลุ้มเรื่องอะไร ไม่เคารพพ่อแม่แต่เคารพพระพุทธองค์ เคารพทำไม พี่น้องคือผู้ที่เกิดตามกันมา ทะเลาะกันทำไม ลูกหลานทุกคนล้วนมีบุญตามลิขิต ห่วงใยทำไม ชีวิตย่อมมีโอกาสประสบความสำเร็จ ร้อนใจทำไม ชีวิตใช่จะพบเห็นรอยยิ้มกันได้ง่าย ทุกข์ใจทำไม ผ้าขาดปะแล้วกันหนาวได้ อวดโก้ทำไม อาหารผ่านลิ้นแล้วกลายเป็นอะไร อร่อยไปใย ตายแล้วบาทเดียวก็เอาไปไม่ได้ ขี้เหนียวทำไม ที่ดินคือสิ่งที่สืบทอดแก่คนรุ่นหลัง โกงกันทำไม โอกาสจะได้กลายเป็นเสีย โลภมากทำไม สิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่เหนือศีรษะเพียง 3 ฟุต ข่มเหงกันทำไม ลาภยศเหมือนดอกไม้ที่บานอยู่ไม่นาน หยิ่งผยองทำไม ทุกคนย่อมมีลาภยศตามวาสนาที่ลิขิต อิจฉากันทำไม ชีวิตลำเค็ญเพราะชาติก่อนไม่บำเพ็ญ แค้นใจทำไม (บำเพ็ญไวไว) นักเล่นการพนันล้วนตกต่ำ เล่นการพนันทำไม ครองเรือนด้วยความประหยัดดีกว่าไปขอพึ่งผู้อื่น สุรุ่ยสุร่ายทำไม จองเวรจองกรรมเมื่อไรจะจบสิ้น อาฆาตทำไม ชีวิตเหมือนเกมหมากรุก คิดลึกทำไม ฉลาดมากเกินจึงเสียรู้ รู้มากทำไม พูดเท็จทอนบุญจนบุญหมด โกหกทำไม ดีชั่วย่อมรู้กันทั่วไปในที่สุด โต้เถียงกันทำไม ใครจะป้องกันมิให้มีเรื่องเกิดขึ้นได้ตลอด หัวเราะเยาะกันทำไม ฮวงซุ้ยที่ดีอยู่ในจิตไม่ใช่อยู่ที่ภูเขา แสวงหาทำไม ข่มเหงผู้อื่นคือทุกข์ รู้ให้อภัยคือบุญ ถามโหรเรื่องอะไร ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม อ้างอิง - บทความบางส่วนถูกคัดลอกขึ้นจากการหาข้อมูลในกลไกค้นหาทางอินเตอร์เนท เจ้าของบทความโปรดระบุนามมาให้ด้วยจะได้ใส่ชื่อไว้ตรงส่วนนี้ (Partial articles were copied by cache from search engine. The contributor please identify the name, then will be accredit as references)