เยือนถิ่นคนมอญ ย้อนรอยสงกรานต์เมืองสังขละบุรี

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
10/03/2009
ที่มา: 
http://www.monstudies.com

เยือนถิ่นคนมอญ ย้อนรอยสงกรานต์เมืองสังขละบุรี
อ้างอิงจาก เว็บ www,  salweennews.org

 

  


สังขละบุรีเป็นชื่ออำเภอหนึ่ง ของจังหวัดกาญจนบุรี ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศตะวันตก 440 กิโลเมตร มีชาย แดนติดกับประเทศพม่าเป็นระยะทางถึง 370 กม. อำเภอแห่งนี้ ห่างจากตัวเมืองกาญจนบุรีประมาณ 220 กม. และด้วยระยะทาง ที่ค่อนข้างห่างไกล ทำให้สังขละบุรียังคงมีสภาพธรรมชาติที่ ค่อนข้างบริสุทธิ์ เหมาะแก่การพักผ่อนชมธรรมชาติ โดยเฉพาะใน ช่วงฤดูหนาวอากาศจะหนาวเย็นและมีหมอกปกคลุมคล้ายกับ ทางภาคเหนือ

เมืองชายแดนแห่งนี้ รายล้อมด้วยธรรมชาติและขุนเขาอัน เขียวขจี มีแม่น้ำซองกาเลีย ไหลจากต้นกำเนิดในประเทศพม่า พาดผ่านอำเภอสังขละบุรีหล่อเลี้ยงผู้คนสองฟากฝั่งแม่น้ำ และเชื่อมสัมพันธ์ชนชาติมอญทั้งสองประเทศ มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แม่น้ำซองกาเลียจึงเป็นชื่อเรียก จากภาษามอญ แปลเป็นไทยว่า “ฝั่งโน้น” แม่น้ำซองกาเลียแบ่งแผ่นดินอำเภอสังขละบุรีออกเป็น สองฝั่ง ฝั่งหนึ่งคือตัวอำเภอ ซึ่งรวมสถานที่ราชการและสถานที่พัก สำหรับนักท่องเที่ยว ซึ่งคนส่วนใหญ่เป็นคนไทยที่พูดภาษาไทย ภาคกลาง ส่วนอีกฝั่งหนึ่ง เป็นหมู่บ้านของชาวมอญทั้งที่ตั้งรกราก มานานนับร้อยปีและเพิ่งอพยพเข้ามาใหม่

แม้ว่าสายน้ำจะแบ่งกั้น แผ่นดินสังขละบุรีออกจากกัน แต่ผู้คนเมืองชายแดนแห่งนี้ ก็ได้สร้างสะพานไม้ที่ขึ้นชื่อว่าสวยงาม และยาวที่สุด ในประเทศไทยขึ้นมาเชื่อมสังคมของคนทั้งสองฝั่ง ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน มานานกว่าครึ่งศตวรรษ ความสวยงามของ ทัศนียภาพที่รายรอบ และความยิ่งใหญ่ของสถาปัตยกรรม อันกำเนิดมาจากแรงกายและแรงใจ ของชาวบ้านทั้งสองฟากฝั่ง ประกอบกับภาพวิถีชีวิตผู้คน ที่เดินข้ามฟากไปมาตลอดเวลา ทำให้ สะพานไม้แห่งนี้กลายเป็นมนต์เสน่ห์ที่เรียกนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทย และต่างประเทศมาเยี่ยมเยือน ปีละหลายหมื่นคน และภาพถ่าย สะพานแห่งนี้ ก็กลายเป็นมุมยอดฮิต ของนักท่องเที่ยวทุกคนที่ เดินทางมาถึงเมืองชายแดนแห่งนี้

หากข้ามสะพานไม้แห่งนี้ไปก็จะพบกับหมู่บ้านของขาวมอญ ซึ่งอพยพมาจากอำเภอเย จังหวัดเมาะละแหม่ง ในรัฐมอญ ประเทศพม่า นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2494 ปัจจุบันชาวบ้านส่วนมาก มีสถานะเป็นผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า ซึ่งไม่มีบัตรประชาชนไทย ชาวมอญที่นี่มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ส่วนใหญ่เลี้ยงชีพด้วย เกษตรกรรม เช่น ปลูกพืช และทำประมงชายฝั่ง ส่วนคนหนุ่มสาวส่วนมากนิยม ทำงานในโรงงานเย็บผ้า

สิ่ง ที่เป็นเสน่ห์ของหมู่บ้านมอญแห่งนี้ คือวัฒนธรรม แบบมอญที่ยังคงอยู่และค่อนข้างชัดเจน ไม่ได้สูญหายไปกับ กาลเวลาและวัฒนธรรมของชาติอื่นนัก คนที่นี่ยังคงพูดภาษามอญ แต่งกายแบบชาวมอญ มีโปสเตอร์รูปเจดีย์และพระพุทธรูป แบบมอญอยู่ตามสถานที่ต่าง ๆ แต่สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว นอกจากการแต่งกายแล้ว ที่เห็นปุ๊บก็รู้ปั๊บว่าเป็นสาวชาว มอญอย่างจริงแท้แน่นอน ก็คือการเทินสิ่งของไว้บนศีรษะ อย่างชำนิชำนาญราวกับของที่เทินอยู่นั้น เป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย โดยไม่หวั่นเกรงแรงโน้มถ่วงของโลก ดูแล้วสง่างามมิใช่น้อยซึ่งสาว ๆ มักจะมาพร้อมกับใบหน้า ที่ฉาบไปด้วยแป้งทะนาคา เครื่องสำอาง จากภูมิปัญญาท้องถิ่นสีขาวนวลบนพวงแก้ม ช่างเป็นภาพที่ น่าประทับใจเมื่อได้พบเห็น

หมู่บ้านมอญแห่งนี้ มีพระชาวมอญซึ่งเป็นที่เคารพสักการะ และเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวมอญในหมู่บ้าน คือหลวงพ่ออุตตมะ หรือพระครูสังวรเถระแห่งวัดวังก์วิเวการาม ท่านเป็นคนมอญ โดยกำเนิด เกิดที่อำเภอเมาะละแหม่ง รัฐมอญประเทศพม่า ตั้งใจ เล่าเรียนศึกษาพระธรรม และสอบได้ถึงเปรียญธรรมแปด ซึ่งถือว่า สูงสุดในพม่าในขณะนั้น ต่อมาในปี พ.ศ.2494 สภาพปัญหา ภายในประเทศพม่าที่ผู้คนต้องรบราฆ่าฟันกันเอง ทำให้ท่านเกิด ความเบื่อหน่าย จึงได้ตัดสินใจข้ามชายแดนมายังฝั่งไทย และได้เป็นผู้สร้างวัดวังก์วิเวการามในเวลาต่อมา ตั้งแต่ในอดีต จนถึงปัจจุบัน ท่านได้สร้างสาธารณะประโยชน์ และความเจริญ ให้กับดินแดนแถบนี้มากมาย และ หมู่บ้านมอญแห่งนี้ก็เป็นที่ดิน ที่หลวงพ่ออุตตมะบริจาคให้ในสมัย ที่ชาวบ้านอพยพมาใหม่ ปัจจุบัน ท่านเป็นพระที่มีชื่อเสียง และเป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชน ไม่เฉพาะชาวมอญเท่านั้นแต่ยังหมายถึงคน ทั่วทั้งอำเภอสังขละบุรี และทั่วทั้งประเทศเลยก็ว่าได้

หลวงพ่ออุตตมะจำพรรษาอยู่ที่วัดวังก์วิเวการาม ภายใน วิหารที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ ประดิษฐานพระพุทธรูปหินอ่อนอันงดงาม ชาวบ้านเรียกกันว่า หลวงพ่อขาว จากวัดวังก์วิเวการามแยกไปอีก 1 กิโลเมตร จะเป็นที่ตั้งของเจดีย์แบบพุทธคยา มีลักษณะฐานเป็น รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส บรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนที่เป็นกระดูกนิ้ว หัวแม่มือขวาขนาดเท่าเมล็ดข้าวสาร บริเวณใกล้เจดีย์มีร้านจำหน่าย สินค้าจากพม่าหลายร้าน จำพวกผ้า แป้งพม่า เครื่องไม้ ราคา ย่อมเยา ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปีมีการจัดงานคล้าย วันเกิดหลวงพ่ออุตตมะ ในงานมีกิจกรรมต่างๆประกอบด้วย พิธีกรรมทางศาสนา การแข่งขันชกมวยคาดเชือก การแสดงของ ชมรมวัฒนธรรมท้องถิ่นเช่น การรำแบบมอญ การรำตงของชาว กะเหรี่ยง และในงานประชาชนจะพร้อมใจกันแต่งกายตามแบบ วัฒนธรรมของชาวไทยรามัญและจัดเตรียมสำรับอาหาร ทูนบนศีรษะไปถวายพระสงฆ์ที่วัด

ส่วนในวันที่ 13-15 เมษายนของทุกปีวัดวังก์วิเวการาม หรือวัดหลวงพ่ออุตตมะที่ชาวบ้านเรียกชื่อ ตามผู้ก่อตั้งแห่งนี้จะกลาย เป็นศูนย์กลางของประเพณีสงกรานต์ของชาวมอญ ในตอนเช้า เราจะเห็นภาพพุทธศาสนิกชนชาวมอญ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง แต่งกายแบบชาวมอญ บนศีรษะของแต่ละคนมีถาดภัตตาหารหรือ ของใช้ต่างๆที่เตรียมไว้ เพื่อนำไปทำบุญถวายวัด เดินเรียงราย กันเป็นริ้วขบวนสวยงามยาวสุดลูกหูลูกตา การก่อเจดีย์ทราย ที่นี่นั่นจะมีลักษณะเฉพาะ แตกต่างจากที่อื่นคือองค์ใหญ่ และจะก่อเป็นชั้นๆบนยอดจะนิมนต์พระ มาปักธงประดับในช่วงเวลากลางวัน มีการละเล่นสะบ้าและการแสดงรื่นเริง เช่น การฟ้อนรำต่าง ๆ

ในวันสุดท้ายของสงกรานต์ ชาวบ้านจะออกไปร่วมกันสรงน้ำ พระโดยเริ่มจากการสรงน้ำพระพุทธรูป และเจดีย์ก่อน จากนั้น จึงมาสรงน้ำพระภิกษุและสามเณรทั้งวัด การสรงน้ำนี้จะสรงแบบ อาบทั่วทั้งตัวเลย ทั้งลูกเล็กเด็กแดงหนุ่มสาวเฒ่าแก่จะเทน้ำ ลงไปในรางไม้ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อการนี้ โดยเฉพาะรางไม้นี้ทำจาก ไม้ไผ่ผ่าครึ่งตามยาว มีความยาวเพื่อให้เกิดเป็นทางน้ำ วางเรียงราย ลักษณะคล้ายพัด ซึ่งแต่ละรางอาจจะมีสาขาแตกออกไป เพื่อให้ การสรงน้ำเป็นไปอย่างทั่วถึง รางน้ำเหล่านี้จะไหลลงที่จุดเดียวกัน พระสงฆ์ก็จะไปสรงน้ำอยู่บริเวณนั้น เมื่อสรงน้ำพระเสร็จ ชาวบ้านจึงนำน้ำที่เหลือจากการสรงน้ำพระมาเล่นสาดน้ำสนุกสนานโดย ไม่ถือสาหาความกัน

ปัจจุบันคนมอญจากสองฝั่งประเทศยังคงหลั่งไหลมาร่วม งานสงกรานต์ประจำปีที่วัดวังวิเวก์การามกันคับคั่ง สะท้อนให้เห็น ว่าสายสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม ของชนชาติมอญยังคงดำรงอยู่อย่างเหนียวแน่น ไม่ว่าพวกเขาและเธอจะเกิดในฝั่งไทยหรือฝั่งพม่า แต่ทุกคน ก็ยังได้ชื่อว่าเป็น“คนมอญ”ที่ยังพูดคุยและสืบทอดวัฒนธรรมเดียวกัน

สาละวินโพสต์ ฉบับที่ 16(1 กรกฎาคม - 15 สิงหาคม 2547)