วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
19/03/2009
ที่มา: 
สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ http://www.sri.cmu.ac.th/

การนำข้าวมาบริโภค ความเชื่อและพิธีกรรม

พิธีสืบชะตาข้าว


ในสมัยโบราณเมื่อรู้สึกว่าคนในครอบครัวกินข้าวเปลือง ข้าวเปลือกในยุ้งพร่องลงไปมากผิดปกติ เจ้าของข้าวเกิดความกลัวว่าข้าวจะไม่พอกินจนถึงฤดูการเก็บเกี่ยวในปีต่อไป) จึงจัดพิธีสืบชะตาข้าวขึ้น

พิธีนี้เป็นพิธีมงคลที่สำคัญประการหนึ่ง จึงต้องหาวันที่เป็นมงคลก่อน เชื่อว่าถ้าทำพิธีในวันที่ไม่เป็นมงคล ขวัญข้าวจะไม่มารับเครื่องสังเวย ในการทำพิธีจะเตรียมเครื่องบูชาครู ประกอบด้วยผ้าแดงรำ(ยาวประมาณ 1 วา) ผ้าขาวรำ เบี้ย 1,300 (หน่วยน้ำหนัก) หมาก 1,300 กระบอกน้ำ กระบอกทราย ลวดเบี้ย ลวดหมาก เงิน 5 บาท เทียนค่าคิง 1 เล่ม เทียนขนาดเล็ก 4 คู่ ข้าวเปลือก ข้าวสาร กล้วย อ้อย หน่อกล้วย หน่ออ้อย ไม้ค้ำต้นโพธิ์ 3 อัน ขัว(สะพาน) 1 อัน

นำข้าวเชื้อ 1 กระบุงตั้งไว้ เอาดินจอมปลวกมาปั้นทำเป็นก้อนเส้า 3 อัน วางไว้บนข้าวเปลือกในกระบุง ล้อมด้วยฝ้ายสายสิญจน์ ล้อมด้วยเชือกคาเขียว

เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้ว อาจารย์วัดหรืออาจารย์ผู้ประกอบพิธีประจำหมู่บ้าน เริ่มกล่าวคำโอกาสสืบชะตาข้าว เชื่อว่าข้าวจะมีอายุยืนยาวจนถึงฤดูการเก็บเกี่ยวในปีต่อไป


อ่านเรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่นหลังการเก็บเกี่ยวทุกหัวข้อ คลิ๊กที่นี่จ้า