วจีสุจริต (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
22/03/2008
ที่มา: 
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14180

Image

วจีสุจริต

เว้นจากการพูดเท็จ
เว้นจากการพูดส่อเสียด
เว้นจากการพูดคำหยาบ
เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อเหลวไหล

คือแม้ว่าจะเป็นความจริง
แต่หากว่าเป็นคำส่อเสียดก่อให้เกิดความแตกร้าว

เช่นนำความข้างนี้ไปบอกข้างนั้น
นำความข้างนั้นมาบอกข้างนี้

เพื่อจะยุให้ทั้งสองฝ่ายแตกกัน
แม้จะเป็นความจริงที่ไม่ควรพูด
เพราะทำให้เขาแตกกัน
เข้าในพวกส่อเสียด

หรือแม้ว่าเป็นคำหยาบ
ไม่ได้มุ่งจะหลอกลวงให้เข้าใจผิด
แต่ว่าเป็นคำหยาบคาย
เช่นเป็นคำด่าว่า
เป็นสัตว์ดิรัจฉานอย่างโน้นอย่างนี้ อะไรเป็นต้น

หรือแม้วาจาอย่างอื่นซึ่งเป็นการกล่าว
กดให้เลวลง

ซึ่งทุกคนก็รู้ว่าไม่ได้เป็นเช่นนั้น
และก็ไม่ได้มุ่งที่จะหลอก
แต่ว่ากล่าวด้วยความโกรธ

ด้วยความเหยียดหยาม
ต้องการจะกดเขาให้เลว
ก็ไม่ควรพูด

และแม้ว่าเป็นคำที่เพ้อเจ้อเหลวไหล
ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย
ไม่มีขอบเขตจำกัด หาสาระแก่นสารมิได้
หรือว่ามีสาระแก่นสารน้อยเกินไป
ก็เป็นคำไม่ควรพูด

วจีทุจริต

วาจาเช่นที่กล่าวมานี้ คือ
การพูดเท็จก็ดี
การพูดส่อเสียดก็ดี
การพูดคำหยาบก็ดี
การพูดเพ้อเจ้อเหลวไหลก็ดี

ก็นับว่าเป็น วจีทุจริต คือ
การพูดที่เป็นทุจริตเสมอกัน

เพราะฉะนั้นแม้เป็นความจริง
ก็ไม่ใช่ว่าเป็นข้อที่ควรพูดเสมอไป
ต้องอยู่ในขอบเขตอันสมควร

: ทศบารมีและทศพิศราชธรรม
: สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

====

การให้ธรรมเป็นทาน เป็นทานสูงสุด
ผู้ให้ให้ด้วยความเมตตา หวังบุญกุศลในธรรมทาน

หากให้ด้วยความไม่เมตตา
ท่านไม่เรียกธรรมทาน

 

ธรรมะของพระพุทธเจ้าเป็น อกาลิโก ปฏิบัติได้ทุกยุคทุกสมัย ไม่มีกาล ไม่มีสมัย เป็น โอปนยิโก เป็นธรรมที่พึงน้อมเข้ามา ก็คือน้อมใจเข้ามาสู่ธรรม หรือน้อมธรรมเข้ามาสู่ใจ ฯลฯ 

ใครทำดีทำชั่วเมื่อใด ผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำของตนนั้น ก็จะประจักษ์แจ้งในจิตในใจของเขาเองเมื่อนั้น ไม่ว่ากายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ความจริงคนอื่นๆ ไม่สำคัญเท่าไหร่เลย สำคัญที่ตัวเราเองนี่แหละ ต้องแก้ที่ตัวเรา แก้ที่ใจเรา แก้ที่ความคิดของเราเอง เหตุดี ผลก็ดี เหตุไม่ดี ผลก็ไม่ดี