รำวงมาตรฐาน -เพลงคืนเดือนหงาย
เขียนโดย lik_dream เมื่อ ศุกร์, 04/04/2008 - 14:34. | in
วันที่เอกสารถูกสร้าง:
04/04/2008
ที่มา:
บ้านรำไทย http://www.banramthai.com/
เพลงคืนเดือนหงาย
คำร้อง จมื่นมานิตย์นเรศ (นายเฉลิม เศวตนันท์) หัวหน้ากองการสังคีต กรมศิลปากร (ประพันธ์ในนามกรมศิลปากร)
ทำนอง อาจารย์มนตรี ตราโมท
ยามกลางคืนเดือนหงาย เย็นพระพายโบกพริ้วปลิวมา
เย็นอะไรก็ไม่เย็นจิต เท่าเย็นผูกมิตรไม่เบื่อระอา
เย็นร่มธงไทยปกไปทั่วหล้า เย็นยิ่งน้ำฟ้ามาประพรมเอย
ความหมาย เวลากลางคืน เป็นคืนเดือนหงาย มีลมพัดมาเย็นสบายใจ แต่ก็ยังไม่สบายใจเท่ากับการที่ได้ผูกมิตรกับผู้อื่น และที่ร่มเย็นไปทั่วทุกแห่งยิ่งกว่าน้ำฝนที่โปรยลงมา ก็คือการที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่เป็นเอกราช มีธงชาติไทยเป็นเอกลักษณ์ ทำให้ร่มเย็นทั่วไป
![]() |
ท่าสอดสร้อยมาลาแปลง แปลงมาจากท่าสอดสร้อยมาลาในเพลงงามแสงเดือน ท่าเตรียมโดยยืนเท้าชิดกัน มือซ้ายตั้งวงบน มือขวาจีบหงายที่ชายพก ศีรษะเอียงขวา พอเริ่มเพลงมือขวาที่จีบหงายที่ชายพกโบกขึ้นไปตั้งวงบน โดยไม่ต้องสอดหรือม้วนมือ มือซ้ายลดวงลงแล้วพลิกข้อมือเป็นจีบหงายที่ชายพก เปลี่ยนมาเอียงซ้าย |
![]() |
มือซ้ายยกขึ้นไปตั้งวงบน มือขวาลดวงลงแล้วพลิกข้อมือเป็นจีบหงายที่ชายพก เอียงขวา ทำเช่นนี้สลับกันจนจบเพลง การก้าวเท้า เริ่มก้าวเท้าขวาตรงคำว่า "คืน" ก้าวซ้ายตรงคำว่า "เดือน" เท้าขวาวางหลังด้วยจมูกเท้าตรงคำว่า "หงาย" เท้าขวาเหยีบหนักลงไปตรงคำว่า "เย็น" แล้วก้าวซ้ายตรงคำว่า "พระพาย" ก้าวขวาตรงคำว่า "พริ้ว" แล้วเท้าซ้ายวางหลังตรงคำว่า "มา" เอียงศีรษะข้างมือจีบ และเท้าที่วางหลังก็ข้างเดียวกับมือจีบเสมอ |
ข้อมูลจาก http://www.banramthai.com/