ค้นหา
เมนู
- หน้าหลัก
- หมวดหมู่
- ภัยพิบัติ (65)
- ธรรมชาติ (286)
- วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (172)
- สังคม (2814)
- วัฒนธรรม (3270)
- ความรู้พื้นฐานทางวัฒนธรรม (19)
- ชาติพันธุ์ (531)
- กะเหรี่ยง (79)
- จีนฮ่อ (1)
- ถิ่น (1)
- ไทดำ (1)
- ไทย (6)
- ไทยอง (1)
- ไทลื้อ (6)
- ไทหย่า (1)
- ไทใหญ่ (1)
- ปะหล่อง (ว้า) (2)
- ม้ง (แม้ว) (44)
- มูเซอ (ลาหู่) (46)
- เมี่ยน (เย้า) (50)
- มลาบรี (ผีตองเหลือง) (2)
- มอญ (Mon) (160)
- ลานแตน (1)
- ลาว (1)
- ลาวเทิง (2)
- ลีซู (47)
- ลัวะ (ละว้า) (3)
- สามต้าว (1)
- อาข่า (57)
- ชาติพันธุ์อื่นๆ (7)
- ประเพณี (780)
- ภูมิปัญญาไทย (1652)
- เครือข่ายทางวัฒนธรรม (204)
- วัฒนธรรมหลวง (17)
- เนื้อหาวัฒนธรรมรอจัดหมวด (0)
- ศิลปะและการบันเทิง (699)
- ศาสนาและจิตวิญญาณ (7090)
- เนื้อหารอจัดหมวด (26)
- ค้นหาชั้นสูง
- บริจาคเนื้อหา
- เกี่ยวกับโครงการ
ล็อกอิน
ชนเผ่าลาหู่ - บทความ คนภูดอย
ชนเผ่าลาหู่ : บทความ คนภูดอย
ตะวันโรยตัวลงอย่างช้าๆ ตามสันภิมิแสงสีส้ม ทาบทา อยู่เรืองๆ ก่อนที่ความมืด จะเข้าปกคลุมทิวเขา ตามเส้นทางระหว่างยอดดอย จะพบเห็นภาพของหญิง-ชาย เดินแบกกระสอบข้าวสารและแบกต้นกล้วย โดยใช้ผ้าคาดบนหัว ดูท่าทางคงจะหนักไม่ใช่น้อย แต่นั่นก็เป็นภาระอย่างหนึ่งที่ปฏิบัติมาจนกลายเป็นวิถี..ลาหู่ ..และในยามค่ำคืนในหมู่บ้านลาหู่ จะเอาน้ำชาอุ่นๆถูกยื่นส่ง มาให้ดื่มแก้หนาว เจ้าของบ้านซึ่งมีใบหน้าที่ฉาบด้วยความจริงใจ และเป็นมิตรออกมาอย่างเห็นได้ชัด กลิ่นหอมของใบชา ถูกแทรกซ่านด้วยน้ำร้อน ที่ต้มในกาน้ำ ที่ลานกลางบ้าน เพิ่มกลิ่นที่เย้ายวนใจและ รสชาติออกขมเล็กน้อย แต่ให้ความชื่นใจอย่างดีและ ลาหู่เป็นผู้ที่ถูกขนานนามมาว่าเป็นนักล่าผู้เก่งกล้า..ในการดำรงวิถีชีวิต ตามป่าดงพงไพร โดยเฉพาะในสมัยก่อน การล่าสัตว์เท่านั้น ที่จะสร้างปัจจัยหนึ่งในการดำรงชีพ การล่าสัตว์เพื่อเป็นอาหาร..บนดอยสูง
ชาวลาหู่มักจะเลือกถิ่นฐานที่อยู่อาศัยบริเวณมีแหล่งน้ำที่มีคววามอุดม สมบูรณ์อยู่เต็มเปี่ยม และนี่ก็เป็นภูมิปัญญาของคนรุ่นก่อนอย่างไม่มีคำโต้แย้งใดๆได้เลย แล้วมาถึงในปัจจุบัน เมื่อโลกมีการพัฒนาการมากขึ้น วัตถุจากเมืองกรุงก็สามารถเข้าถึงกลุ่มชนเผ่าได้อย่างง่ายดาย ชาวลาหู่เองก็เช่นกัน ชุมชนที่อยู่ใกล้เมืองก็ต้องยอมรับเอา วัฒนธรรมเหล่านี้ อย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง แต่นั้นก็ไม่ได้หมายความว่า เขาเหล่านั้นจะละทิ้งประเพณีวัฒนธรรมและความเป็นชนเผ่าไป เมื่อยามย่างกรายเข้าหมู่บ้านลาหู่จะเห็นวิถี..ที่งดงาม หญิงสาวชาวลาหู่ ทำกิจกรรมต่างๆ อย่างไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย ทั้งแบกข้าว เย็บผ้า เมื่อถึงเทศกาลต่างๆ ชาวลาหู่มักสนุกสนามกับเทศกาลอย่างมาก และการสร้างความประทับใจ ซึ่งกันและกัน ในช่างเต้น(จะคึ)การเต้นรำ ตามจังหวะ กลอง โดยจัดแถวเป็นวงกลม มีผู้นำทางศาสนา เป็นคนนำ ก็จะมีเครื่องดนตรีชนเผ่า จำพวก แคน กลอง ฆ้อง ฉาบ เป็นต้น เริ่มจากการขยับเท้าง่ายๆ แล้วเริ่มด้วย การเต้นขยับ เท้าซ้าย-ขวา ปรบมือ ตามจังหวะ ที่สวยงาม ในเรื่องของเครื่องการแต่งกาย ที่ดูจะวิจิตร และประณีต บรรจงจากการตัดเย็บด้วยฝีมือล้วนๆ แสดงถึงความอดทน ในการประดิษฐ์ประดอย ลายผ้า แต่ละชิ้นงานออกมา จนเป็นลวดลายที่สวยงาม ในลักษณะของลายผ้าเช่น ย่าม เสื้อผ้า ข้อมือ ต่างๆนี้ เห็นได้ ณ ที่..บ้านจะแล ม.11 ต.แม่ยาว อ.เมือง จ.เชียงราย
ข้อมูลจาก http://www.hilltribe.org/thai/lahu/lahu-hilltribe.php