ค้นหา
เมนู
- หน้าหลัก
- หมวดหมู่
- ภัยพิบัติ (65)
- ธรรมชาติ (286)
- วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (172)
- สังคม (2814)
- วัฒนธรรม (3270)
- ความรู้พื้นฐานทางวัฒนธรรม (19)
- ชาติพันธุ์ (531)
- กะเหรี่ยง (79)
- จีนฮ่อ (1)
- ถิ่น (1)
- ไทดำ (1)
- ไทย (6)
- ไทยอง (1)
- ไทลื้อ (6)
- ไทหย่า (1)
- ไทใหญ่ (1)
- ปะหล่อง (ว้า) (2)
- ม้ง (แม้ว) (44)
- มูเซอ (ลาหู่) (46)
- เมี่ยน (เย้า) (50)
- มลาบรี (ผีตองเหลือง) (2)
- มอญ (Mon) (160)
- ลานแตน (1)
- ลาว (1)
- ลาวเทิง (2)
- ลีซู (47)
- ลัวะ (ละว้า) (3)
- สามต้าว (1)
- อาข่า (57)
- ชาติพันธุ์อื่นๆ (7)
- ประเพณี (780)
- ภูมิปัญญาไทย (1652)
- เครือข่ายทางวัฒนธรรม (204)
- วัฒนธรรมหลวง (17)
- เนื้อหาวัฒนธรรมรอจัดหมวด (0)
- ศิลปะและการบันเทิง (699)
- ศาสนาและจิตวิญญาณ (7090)
- เนื้อหารอจัดหมวด (26)
- ค้นหาชั้นสูง
- บริจาคเนื้อหา
- เกี่ยวกับโครงการ
ล็อกอิน
ชนเผ่าในประเทศไทย ชนเผ่าลีซู (Lisu)
ชนเผ่าลีซู (Lisu)
ลีซอเรียกตนเองว่า "ลีซู" เป็นชาวเขาเผ่าหนึ่งที่มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่ต้นน้ำสาละวิน และ แม่น้ำโขงทางตอนเหนือของประเทศธิเบต และทางตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลยูนนานประเทศจีนได้อพยพลงมาทางใต้เนื่องจาก เกิดการสู้รบกันกับชนเผ่าอื่นนับเวลาหลายศตวรรษ ลีซูได้ร่นถอยเรื่อยลงมาจนในที่สุดก็แตกกระจายกันเข้าสู่ประเทศพม่า จีน อินเดีย แล้วเข้าสู่ประเทศไทยในระยะต่อมาจากการสอบถามลีซอคนเฒ่าคนแก่ที่บ้านลีซอ ดอยช้างอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ได้ข้อมูลว่าเข้ามาระหว่างปี พ.ศ.๒๔๖๒-๒๔๖๔ อพยพมาจากหมู่บ้านแห่งหนึ่งทางตอนใต้ของเมืองเชียงตุงประเทศเมียนมาร์ เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านลีซอดอยช้าง อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงรายปัจจุบันหมู่บ้านแห่งนี้ยังคงมีอยู่ประมาณ ๘๐ หลังคาเรือนเศษ และโยกย้ายไปตั้งหมู่บ้านเรือนในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ตาก พะเยา กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ แพร่ และสุโขทั
การแบ่งกลุ่มและการกระจายตัวของประชากร
การแบ่งกลุ่มลีซูแบ่งกลุ่มย่อยออกเป็น ๒ กลุ่ม คือ ลีซูลาย และลีซูดำ ลีซูลายหรือบางทีเรียกว่าลีซูลูกผสม ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศไทย สำหรับลีซูดำส่วนใหญ่อยู่ในประเทศเมียนมาร์และจีน ในประเทศไทยมีลีซูดำอยู่จำนวนน้อย คือมีเพียงไม่กี่คน ลักษณะที่แตกต่างกันระหว่าง ๒ กลุ่มคือ การแต่งกายและภาษาพูดที่ไม่เหมือนกัน ภาษาพูดนั้นแตกต่างกันเป็นบางคำแต่พอจะฟังกันเข้าใจ
ระบบเศรษฐกิจ
ในอดีต เศรษฐกิจขึ้นอยู่กับอาชีพเกษตรกรรมคือการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ ปลูกข้าวเพื่อการบริโภค ปลูกข้าวโพดเพื่อเลี้ยงสัตว์และขาย ฝิ่นปลูกเป็นพืชเงินสด ในปัจจุบันเลิกปลูกฝิ่นหมดแล้ว มีการปลูกพืชผักชนิดต่างๆแทนฝิ่น การเลี้ยงสัตว์มีทั้งหมู ไก่ เพื่อใช้ในพิธีกรรมและเป็นอาหาร นอกจากนี้ รายได้ส่วนหนึ่งของลีซอมาจากการทำอุตสาหกรรมในครอบครัว เช่น การเย็บปักผ้า การทำเครื่องเงิน เป็นต้น
ระบบความเชื่อ
ลีซอนับถือผีเป็นส่วนใหญ่เช่นเดียวกับชาวเขาเผ่าอื่นๆจะมีอยู่บ้างที่ หันมานับถือศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์ การนับถือผียังคงพบเห็นในหมู่บ้านโดยทั่วไป มีผีประจำหมู่บ้าน ผีบ้าน ผีเรือน ผีหลวง ผีป่า ผีน้ำหรือผีลำห้วย ผีต่างๆอาจแบ่งออกเป็นผีดีและผีร้าย ผีดีเป็นผีที่ให้คุณแก่พวกเขา เช่น ผีประจำหมู่บ้าน ผีบรรพบุรุษ ผีบ้านผีเรือน ส่วนผีร้ายได้แก่ผีป่า ผีคนตายไม่ดี เช่น ถูกยิงตาย หรือถูกฟ้าผ่าตาย
บุคคลสำคัญที่มีบทบาทสำหรับความเชื่อเหล่านี้มี ๒ คน คือ
๑.หมอเมือง
เปรียบเสมือนผู้นำทางศาสนา เป็นผู้ทำพิธีบูชาผีประจำหมู่บ้าน จะมีวันศีลทุกๆ ๑๕ วัน ต่อครั้ง ซึ่งเขาจะหยุดทำงานกันทั้งหมู่บ้านห้ามใช้มีดหรือของมีคมทุกชนิด แต่การล่าสัตว์ในป่าบางหมู่บ้านไม่มีข้อห้าม หมอเมืองเป็นผู้รู้มีความสามารถในพิธีเกิด ตาย แต่งงาน พิธีเรียกขวัญ ทำบุญสร้างศาลา ฯลฯ
๒.หมอผี
เป็นผู้ทำการติดต่อระหว่างผีกับคนโดยเฉพาะหมอผีเป็นผู้กระทำตนเป็นสื่อกลาง ระหว่างผีกับคนโดยเฉพาะเมื่อเกิดความเจ็บป่วย เมื่อมีการเจ็บไข้ โดยไม่ทราบสาเหตุ หมอผีจะเป็นผู้ติดต่อกับผีและเป็นผู้รักษาความเจ็บป่วยเหล่านั้น ลีซูเชื่อกันว่าถูกผีกระทำเขาจะให้หมอผีมาเข้าทรงเชิญวิญญาณมาสิงในร่างหมอ ผี ถามเหตุแห่งความเจ็บป่วย และหมอผีเป็นผู้รักษาความเจ็บป่วยผลการรักษาก็มีหายบ้างไม่หายบ้าง แต่ปัจจุบันลีซูหันมานิยมการใช้ยาตำราหลวง หรือถ้าเจ็บป่วยหนักก็มักจะเดินทางไปรักษาที่โรงพยาบาลกันมาก
หมู่บ้านหนึ่งอาจมีหมอผีคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ หมอเมืองและหมอผีไม่มีการสืบสายต่อไปยังบุตรหลาน หมอเมืองเป็นได้โดยการใช้ไม้คว่ำหงายเสี่ยงทาย ส่วนหมอผีเป็นโดยมีวิญญาณเข้าฝัน หมอทั้งสองประเภทนี้เป็นได้เฉพาะผู้ชาย ผู้หญิงเป็นไม่ได้ และมีการสืบทอดตำแหน่งไปยังบุตรชาย เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำปาง อุทัยธานี สุพรรณบุรี และตาก
อ้างอิงข้อมูลจาก http://www.contothailand.org/independentfile/INDEX.ASP