วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
16/01/2009
ที่มา: 
ประเพณีไทยดอทคอม http://www.prapayneethai.com

ชุมชนโบราณเขาคูหา - ชะแม

ภาค     ภาคใต้
จังหวัด  สงขลา

  • สถานที่ตั้ง ตำบลชุมพล ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา

  • ประวัติความเป็นมา

เป็นชุมชนโบราณสมัยประวัติศาสตร์สืบเนื่องมาจนถึงสมัยอยุธยา

  • ลักษณะทั่วไป

ลักษณะภูมิประเทศเป็นหินกรวดมันและหินทรายที่อยู่โดดๆ เป็นเนินเตี้ยๆ มีความสูงไม่เกิน ๒๐ เมตร จากระดับน้ำทะเล พื้นที่โดยรอบเป็นทุ่งนา อยู่ห่างจากแนวสันทรายประมาณ ๑ กิโลเมตร เนินเขาพะโคะ (ที่ตั้งวัดพะโคะ) อยู่ห่างจากเขาคูหามาทางใต้ประมาณ ๕๐๐ เมตร ทางทิศตะวันออกของเขาคูหา มีพัง(สระ) สำคัญ มีน้ำขังเรียกว่า "พังตระ" เป็นพังรูปสี่เหลี่ยมขนาด ๓๐๐ X ๓๐๐ เมตร เป็นพังขนาดใหญ่ที่สุดที่พบในจังหวัดสงขลา เนินเขาพะโคะมีลักษณะลาดเอียงไม่สูงชันมากนัก ส่วนบนของเนินเขาเป็นที่ราบแคบๆ สามารถประดิษฐานเจดีย์และศาสนสถานต่างๆของวัดได้

บริเวณเนินเขาคูหามีลักษณะเป็นเนินเขาลาดชันกว่าเนินพะโคะ มีถ้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น ๒ แห่ง อยู่ห่างกันประมาณ ๑๐ เมตร สูงกว่าพื้นราบประมาณ ๑ - ๒ เมตร ขนาดของถ้ำกว้างประมาณ ๓.๕ เมตร ลึกประมาณ ๔.๕ เมตร ภายในถ้ำมีการสกัดหินจนเรียบ พื้นที่ภายในถ้ำจุคนได้ประมาณ ๒๐ คน บนลานหน้าถ้ำจุคนได้ประมาณ ๕๐ คน ทางเข้าหน้าถ้ำแรกสูงประมาณ ๒.๕ เมตร มีแท่นโยนิสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดใหญ่ ซึ่งเคยประดิษฐานศิวลึงค์ (ปัจจุบันมีการเคลื่อนย้ายไปแล้ว)

  • หลักฐานที่พบ

เป็นเนินเขาที่ขุดเจาะเป็นถ้ำสำหรับเป็นสถานที่ทางศาสนพิธี พบแผ่นโยนิศิลาและศิวลึงค์ (ปัจจุบันอยู่ที่วัดพะโคะ) มีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๔ และการสร้างสระน้ำในลักษณะของพังตระ เป็นการขุดสระน้ำใกล้ศาสนสถานที่ตั้งบนภูเขาเพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ร่วมกันใน ชุมชน

  • เส้นทางสู่ชุมชนโบราณเขาคูหา-ชะแม

จากจังหวัดสงขลาโดยทางหลวงหมายเลข ๔๐๘ ระยะทางประมาณ ๕๐ กิโลเมตร