ค้นหา
เมนู
- หน้าหลัก
- หมวดหมู่
- ภัยพิบัติ (65)
- ธรรมชาติ (286)
- วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (172)
- สังคม (2814)
- วัฒนธรรม (3270)
- ศิลปะและการบันเทิง (699)
- ศาสนาและจิตวิญญาณ (7090)
- เนื้อหารอจัดหมวด (26)
- ค้นหาชั้นสูง
- บริจาคเนื้อหา
- เกี่ยวกับโครงการ
ล็อกอิน
ชนเผ่าม้ง - ผ้าปัก
ชนเผ่าม้ง : ผ้าปัก
ในอดีตผ้าปักชาวขาวส่วนใหญ่จะใช้ผ้าไหมดิบที่ผลิตเองมาปักเป็นลวดลายต่าง ๆ ซึ่งลวดลายเหล่านี้ ม้งคิดค้นออกแบบของลวดลายเอง ปกติแล้วม้ง จะมีความประณีตในการคิดลวดลาย และการปักลวดลายต่าง ๆ ซึ่งจะเห็น ได้จากกระโปรงของม้งที่ทำจากผ้าบาติกกับผ้าปัก และเมื่อมีการปักลายเรียบร้อยแล้ว จะนำมาแปลรูปเป็นเสื้อผ้าที่จะส่วมใส่ในเทศกาลปีใหม่ หรือในวันสำคัญต่าง ๆ และสามารถที่จะประดิษฐ์เป็นเครื่องใช้อย่างอื่นได้ เช่น ถุงย่าม กระเป๋าสะพาย กระเป๋าเป้ กระเป๋าใส่สตางค์ ถุงใส่โทรศัพท์มือถือ เครื่องใช้อื่น ๆ เป็นต้น ซึ่งผ้าปักของม้งจะมีลวดลายที่แตกต่างกันไป และมีชื่อเรียกแตกต่างกัน
ผ้าบาติกชาวเขาเผ่าม้ง
ในอดีตม้งมีการนำผ้าไหมดิบที่ทอเองมาเขียนเป็นลวดลายต่าง ๆ เพื่อที่จะทำเป็นกระโปรงของผู้หญิงม้ง ซึ่งผ้าไหมนั้นทำมาจากเปลือกของเส้นใยกัญชงที่แห้งสนิท จากนั้นจะนำมาฉีกออกเป็นเส้นเล็ก ๆ เพื่อที่จะได้เส้นด้ายที่มีขนาดเล็กเหมาะสมกับการทอผ้า ซึ่งทั่วไปจะนำเส้นใยกัญชง ที่แบ่งเป็น 4 ส่วน หรือแบ่งออกเป็นอีก 16-20 เส้น จากนั้นจะนำเส้นใยกัญชงไปตำในครกกระเดื่อง เพื่อให้เปลือกนอกที่หุ้มติดกับเส้นใยหลุดออกไป ให้เหลือแต่เส้นใยแท้ ๆ เท่านั้น เพราะเส้นใยกัญชงแท้จะมีความอ่อนตัว และสะดวกแก่การปั่น
หลังจากที่มีการตำเส้นใยกัญชงเรียบร้อยแล้วก็จะนำมาพันม้วน ๆ เป็นก้อนโดยใช้ตีนดั่ว (ตีนดั่ว เป็นเครื่องมือเฉพาะในการพันเส้นใยกัญชง) ทำมาจากไม้กลม ๆ เส้นผ่าศูนย์กลางยาวประมาณ 8-10 นิ้ว มีที่ถือทำด้วยหวายถักในขณะที่นำมาพันแกนไม้นั้น จะมีการต่อเส้นใยกัญชงแต่ละเส้น โดยใช้นิ้วมือขยี้ส่วนปลายของเส้นใยกัญชงให้แตกออกเป็นสองเส้น จากนั้นก็จะนำอีกเส้นหนึ่งมาต่อกับเส้นเดิม เมื่อเส้นใยกัญชงเต็มแกนแล้วจะคล้ายกับรองเท้าจีน จากนั้นจึงถอดไม้ออกเก็บม้วนเส้นใยไว้ นำไปจุ่มน้ำร้อนให้อ่อนตัว แล้วนำไปตีเป็นเกลียว โดยผ่านการเข้าเครื่องตีเกลียว นั่นคือชั้วดั่ว เส้นใยที่ผ่านการปั่นเป็นเกลียวแล้วจะกรอไว้ในแกนที่เรียกว่า ซาย ซึ่งเครื่องชั่วดั่วเครื่องหนึ่งสามารถที่จะใจแกนเส้น ใยกัญชงได้ครั้งละ 4 - 6 แกนเมื่อเสร็จก็จะเปลี่ยนชุดใหม่อีก
จากนั้นก็ดึงด้ายออกจากแกนเข้าเครื่องโกลเพื่อเก็บต่อไป จากนั้นนำด้ายเส้นใยกัญชงมาฟอกสีและทำให้ด้ายอ่อนตัว โดยนำมาต้มกับน้ำขี้เถ้าประมาณ 4 กาละมัง นำมาร่อนเศษถ่านออกแล้วผสมน้ำใส่ลงในกะทะใบบัวเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 - 3 1/2 ฟุต เอาไจด้ายกัญชงลงต้มจนด้ายนิ่มยกลง และเอาไจด้ายคลุกกับขี้เถ้า แช่ไว้เช่นนั้น เมื่อแห้งสนิทแล้วนำไปต้มกับน้ำขี้เถ้า แช่ไว้ 1 คืน ล้างขี้เถ้าออกให้หมด ตากให้แห้ง ทำซ้ำเช่นนี้จนกว่าเส้นใยจะขาวจนพอใจ จึงซักให้สะอาด
จากนั้นก็นำเส้นด้ายที่ปั่นเรียบร้อยแล้วมาทอเป็นผ้าไหมดิบ เมื่อทอเรียบร้อยแล้วก็จะนำมารีดด้วยก้อนหิน ซึ่งก้อนหินนี้ใช้สำหรับในการรีดผ้าไหมดิบเท่านั้น หากว่าไม่รีดให้เรียบแล้ว เวลานำผ้าไหมดิบมาเขียนเป็นลวดลายจะไม่สามารถเขียนได้ เนื่องจากมีปมของเส้นด้ายที่ต่อกันด้วย หากว่าไม่เรียบก็จะเขียนลวดลายได้ไม่สวย
ขั้นตอนที่ 1
นำ ขี้ผึ้งมาละลายหรือต้มให้ร้อน โดยวิธีการดังนี้ นำกระป๋องที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางกว้าง 10 เซนติเมตร เจาะฝาข้างหนึ่งออก แล้วไม่ต้องตัดทิ้ง และทำให้ฝาข้างที่เจาะขึ้นนั้นมันเรียบร้อย พร้อมกับสามารถที่จะเป็นที่หยดน้ำขี้ผึ้งได้ บริเวณรอบ ๆ ขอบของกระป๋องต้องจัดให้เรียบร้อย โดยที่ไม่เป็นอันตรายต่อคนที่ใช้ จากนั้นนำขึ้ผึ้งใส่ลงไป นำกระป๋องไปอุ่นกับถ่านที่ร้อนจัด จากนั้นขึ้ผึ้งก็จะละลาย รอจนกว่าขึ้ผึ้งร้อนจัดถึงจะใช้ได้
ขั้นตอนที่ 2
นำ ผ้าไหมที่ทอได้เรียบร้อย มาสร้างตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดของสี่เหลี่ยมประมาณ 2-3 เซนติเมตร ตารางทุกช่องจะต้องมีขนาดเท่ากัน โดยสร้างตารางให้เต็มผ้าไหมดิบ ต้องใช้ดินสอขีดเส้นตาราง หรือปากกาน้ำเงินก็ได้ ไม่ควรที่จะใช้ปากกาสีแดง เพราะปากกา สีแดงเมื่อนำมาขีด หรือสร้างตารางแล้วเวลาย้อมผ้าไหม จะเห็นเส้นตารางเป็นสีแดงอยู่ทำให้ ผ้าไหมไม่สวย จากนั้นนำปากกาเขียนขึ้ผึ้ง โดยนำปากกาไปจุ่มขึ้ผึ้ง แล้วนำมาเขียนลวดลายต่าง ๆ บนผ้าไหมดิบ ปากกาเขียนขึ้ผึ้งนั้นเรียกว่า ดาต้าะ ซึ่งดาต้าะทำจากเหล็กหรือทองเหลือง วิธีการทำ คือ นำแผ่นทอง เหลืองหรือแผ่นเหล็กมาวัดเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีขนาดประมาณ 2 เซนติเมตร จากนั้นแล้วนำมาขัดด้านด้านหนึ่งให้เรียบ เหลาไม้ไผ่ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร หรือประมาณ 1 เซนติเมตร นำไม้ไผ่มาผ่าปลายด้านใดด้านหนึ่ง แล้วนำแผ่นเหล็กที่ตัดมาเรียบร้อยมา สอดใส่ลงไปในช่องรอยผ่าแล้วมัดให้เรียบร้อย หลังจากที่เขียนลวดลายเสร็จ
ขั้นตอนที่ 3
จะ นำผ้าบาติกไปย้อมครามให้ดำ เมื่อย้อมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะนำไปล้างสีครามนั้นออกให้หมดก่อน โดยที่จะล้างสีครามออกได้นั้นจะมีวิธีการดังนี้ คือ ต้มน้ำร้อนให้เดือด จากนั้นก็น้ำผ้าบาติกมาแช่น้ำเย็นจากนั้นกำนำผ้าบาติก ที่แช่น้ำเย็นออกรอให้แห้งก่อน แล้วนำผ้าบาติกมาต้มกับน้ำร้อนในกระทะที่ตั้งน้ำไว้ รอสักประมาณ 3-5 นาที พยายามล้างคราบขึ้ผึ้งออกให้หมด นำไปผึ่งแดดให้แห้ง แล้วก็นำผ้าบาติกไปตัดตกแต่งให้สวยงาม โดยที่นำผ้าสีอื่นมาปะชุนให้เรียบร้อยดังนี้ แล้วจึงนำมาจับจีบทั้งหมด
ขั้นตอนที่ 4
นำ ผ้าที่ปักเรียบร้อยมาต่อกับผ้าบาติก แล้วจัดกลีบให้ตรงกัน จากนั้นรอยจีบนั้นจะต้องเอาด้ายร้อยไว้แน่น เพื่อให้จีบสามารถอยู่ได้นาน และจัดตัวอยู่ตลอดเวลา เมื่อถึงงานเทศกาลปีใหม่จะสามารถนำมาใช้ได้เลย เพราะหากว่ากระโปรงนั้นจับจีบไม่สวย ก็ใส่ไม่สวยเหมือนกัน ดังนั้นเมื่อจับจีบเรียบร้อยแล้วจะต้องเก็บ ประมาณ 1 เดือนเป็นอย่างน้อย เพื่อให้จีบคงทน และสวยงาม สามารถนำมาใช้ได้เลย
<- กลับไปหน้ารวม link การแต่งกายชนเผ่า ข้อมูลจากพิพิธภัณฑ์ชาวเขาออนไลน์ มูลนิธิกระจกเงา