Puey Ungphakorn [ธนาคารแห่งประเทศไทย รางวัลแมกไซไซ]

ธนาคารแห่งประเทศไทย รางวัลแมกไซไซ

2503

“สุนทรพจน์ในงานเลี้ยงอาหารค่ำประจำปีของสมาคมธนาคารไทย 3 กุมภาพันธ์ 2503.”
“Address at the Annual Dinner of the Thai Bankers Association, 3rd February 1960.”

สุนทรพจน์ครั้งนี้ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ในฐานะผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กล่าวสรรเสริญการทำงานของสุนทร หงส์ลดารมภ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งสามารถนำนโยบายการภาษีอากรมาใช้ในการพัฒนาฐานะทางเศรษฐกิจและกิจการธนาคารในประเทศให้เจริญขึ้นอย่างสม่ำเสมอ และทำให้รัฐบาลสามารถพัฒนาเศรษฐกิจตามโครงการได้โดยไม่ต้องประสบสภาพเงินเฟ้อ อีกทั้งธนาคารพาณิชย์ทั้งหลายก็มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจทั่วไปด้วย

 

2504

“สุนทรพจน์ในงานเลี้ยงอาหารค่ำประจำปีของสมาคมธนาคารไทย 8 กุมภาพันธ์ 2504.”
“Address at the Annual Dinner of the Thai Bankers Association, 8th February 1961.”

กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทยกับธนาคารพาณิชย์ ภายใต้นโยบายการคลัง และการงบประมาณของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย อันได้แก่ 1. นโยบายการให้ธนาคารพาณิชย์กู้เงินจากธนาคารแห่งประเทศไทยได้ โดยผ่านวิธีการ 3 วิธีคือ ให้ธนาคารพาณิชย์กู้โดยมีพันธบัตรรัฐบาลเป็นประกัน ช่วยซื้อลดตั๋วเงินสำหรับสินค้าขาออก และแลกเปลี่ยนเงินบาทกับเงินตราต่างประเทศจากธนาคารพาณิชย์ผ่านทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ 2. การผ่อนคลายในระเบียบวิธีการควบคุมแลกเปลี่ยนเงิน 3. การแก้ไขอุปสรรคในการโอนเงินระหว่างหัวเมือง 4. การร่างพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ขึ้นใหม่ 5. การหารือเป็นประจำระหว่างธนาคารพาณิชย์กับธนาคารกลาง ทั้งนี้เพื่อเป็นรากฐานแห่งการดำเนินแผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ ตอนท้ายของสุนทรพจน์ ดร.ป๋วย ได้ฝากข้อคิดในการพัฒนาประเทศด้านเศรษฐกิจไว้กับบรรดาผู้มีหน้าที่รับผิดชอบทางเศรษฐกิจ โดยเสนอปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบัน

 

2505

“สุนทรพจน์ในงานเลี้ยงอาหารค่ำประจำปีของสมาคมธนาคารไทย 14 กุมภาพันธ์ 2505.”
“Address at the Annual Dinner of the Thai Bankers Association, 14th February 1962.”

สุนทรพจน์ของดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ในครั้งนี้ มีลักษณะการเสนอแนวความคิดและปัญหาในการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยการนำเอาสถาบัน และองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันในการพัฒนาเศรษฐกิจอันได้แก่ รัฐบาล กระทรวงการคลัง กระทรวงเศรษฐการ ธนาคาร ภาษี ราคา ฯลฯ มาผูกเรื่องเป็นนิยาย เรื่องดาวนพเคราะห์ เพื่อเน้นให้คิดว่าสิ่งเหล่านี้เป็นองค์ประกอบที่จะทำให้เศรษฐกิจของชาติเกิดการพัฒนาและมีเสถียรภาพ

 

2506

“สุนทรพจน์ในงานเลี้ยงอาหารค่ำประจำปีของสมาคมธนาคารไทย 6 กุมภาพันธ์ 2506.”
“Address at the Annual Dinner of the Thai Bankers Association, 6th February 1963.”

ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ กล่าวถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยในรอบปี 2505 ที่ผ่านมา พร้อมทั้งเสนอปัญหา 2 ข้อคือ 1. ปํญหานโยบายเรื่องข้าวส่งออก 2. ปัญหาคุณภาพของสินค้าออกของไทย ซึ่งเป็นผลให้ปัญหาต่อเนื่องทางเศรษฐกิจคือ การจัดการกับเงินสำรอง และการทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำ ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ ดร.ป๋วยได้เสนอวิธีการจัดการในฐานะผู้ว่าการแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงสถานะของธนาคารพาณิชย์ และข้อเสนอแนะในกิจการของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย ซึ่งเป็นสถาบันที่มีบทบาทในการสร้างตลาดเงินให้มั่นคง และสร้างเศรษฐกิจของไทยให้เจริญก้าวหน้า โดยความร่วมมือและช่วยเหลือจากธนาคารแห่งประเทศไทย

 

2507

“สุนทรพจน์ในงานเลี้ยงอาหารค่ำประจำปีของสมาคมธนาคารไทย 20 กุมภาพันธ์ 2507.”
“Address at the Annual Dinner of the Thai Bankers Association, 20th February 1964.”

ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ได้กล่าวสุนทรพจน์ในปีนี้เป็นร้อยกรองเริ่มแรกสรรเสริญการทำงานของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อดีตประธานกรรมการสมาคมธนาคารและนายกรัฐมนตรี ที่ได้เป็นผู้ริเริ่มร่างกฎหมายธนาคารขึ้นมา ต่อมากล่าวสรรเสริญการทำงานของจอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งเป็นผู้ให้คำขวัญ “จงทำดี จงทำดี จงทำดี” โดยท่านนำคำขวัญนี้มาใช้เป็นแนวคิดในสุนทรพจน์ครั้งนี้ โดยยกตัวอย่างการทำดี ที่สมาชิกสมาคมธนาคารควรกระทำ เช่น ด้านความร่วมมือระหว่างธนาคาร ความซื่อสัตย์สุจริตต่อลูกค้าและประชาชน บทบาททุกด้าน และช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจของประชาชน ตอนท้ายของสุรทรพจน์นี้ ดร.ป๋วย เสนอข้อคิดและย้ำเตือนการทำงานของรัฐมนตรี และผู้ที่มีอำนาจในราชการว่า ไม่ควรเกี่ยวข้องหรือเป็นกรรมการในด้านธุรกิจการค้า

 

2508

“สุนทรพจน์ในงานเลี้ยงอาหารค่ำประจำปีของสมาคมธนาคารไทย 10 กุมภาพันธ์ 2508.”
“Address at the Annual Dinner of the Thai Bankers Association, 10th February 1965.”

เป็นสุนทรพจน์ของดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เนื่องในงานเลี้ยงอาหารค่ำของสมาคมธนาคารไทยที่โรงแรมเอราวัณ ท่านได้พูดถึงความสัมพันธ์ของธนาคารพาณิชย์กับไนท์คลับว่า ไนท์คลับกับธนาคารพาณิชย์นั้นต้องมีผู้ดำเนินการและได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายเหมือนกัน นอกจากนี้ยังได้พูดถึงกรรมการธนาคารชาติว่าแตกต่างกับเลขานุการรัฐมนตรีอย่างไร ท่านได้ชี้ให้เห็นถึงเลขานุการรัฐมนตรีเป็นตำหน่งการเมืองที่ผู้ดำรงตำแหน่งจะเปลี่ยนตัวได้เสมอตามรัฐมนตรี หรือเมื่อผู้ดำรงตำแหน่งถึงแก่อสัญกรรม ถ้าหากว่าคณะกรรมการธนาคารชาติจะสับเปลี่ยนตัวเหมือนตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรี ผลที่เกิดขึ้นจะเป็นเช่นไร ต่อจากนั้นดร.ป๋วยได้พูดถึงเงินราชการลับในกองมรดกของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ว่า เงินจำนวนนั้นควรจะตกเป็นของรัฐทันทีในทางนิตินัย แต่ทางพฤตินัยกระทรวงการคลังกำลังเรียกกลับคืน และท่านยังได้แสดงความคิดเห็นว่าควรจะมีการป้องกันเพื่อมิให้เงินจำนวนนั้นสูญหายได้

 

2509

“สุนทรพจน์ในงานเลี้ยงอาหารค่ำประจำปีของสมาคมธนาคารไทย 9 กุมภาพันธ์ 2509.”
“Address at the Annual Dinner of the Thai Bankers Association, 9th February 1966.”

เสนอเรื่องราวด้วยการกล่าวสุดดี และสรรเสริญบุคคลที่บทบาทในวงการการคลังและการธนาคารแล้วจึงกล่าวถึง การพัฒนาประเทศ ซึ่งเขตที่ได้รับการพัฒนาทางด้านวัตถุสิ่งก่อสร้างมากที่สุดคือกรุงเทพมหานคร สถาบันที่มีบทบาทต่อการพัฒนาชาติคือธนาคาร ซึ่งสามารถส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนแก่ประชาชน ดร.ป๋วยเสนอแนะว่าการลดดอกเบี้ยเงินกู้ลง จะมีผลส่งให้ต้นทุนการผลิตลดต่ำลง เศรษฐกิจของประชาชนจะดีขึ้น และทำให้ประเทศชาติพัฒนา นอกจากนี้ ท่านยังฝากข้อเตือนใจว่าตัวการที่ทำให้สังคมสู่ความหายนะ คือ โลภ โทษะ (ความโกรธ) และโมหัน (ความหลง) และควรปฏิบัติตามโอวาทของท่านนายกรัฐมนตรีที่ว่าทำแต่ดี มีสัตย์ซื่อ ถือศีลธรรม

 

2510

“สุนทรพจน์เนื่องในวันครบรอบปีที่ 25 ของธนาคารแห่งประเทศไทย 10 ธันวาคม 2510.”

เป็นสุนทรพจน์ที่กล่าวในงานเลี้ยงอาหารกลางวันครบรอบ 25 ปีของธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2510 ในฐานะที่ดร.ป๋วย เป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคำวิพากษ์วิจารณ์ในหนังสือพิมพ์บางฉบับถึงความรับผิดชอบของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยที่เกี่ยวกับเสถียรภาพของค่าเงินบาทเมื่อค่าเงินปอนด์ของอังกฤษลดลงว่าจะมีวิธีการแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างไรจึงจะไม่เกิดผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศ

 

2511

“สุนทรพจน์ของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยในงานเลี้ยงอาหารค่ำประจำปีของสมาคมธนาคารไทย 21 กุมภาพันธ์ 2511.”
“Address at the Annual Banguet of the Thai Bankers Association, 21st February 1968.”

สุนทรพจน์ประจำปีนี้ ดร.ป๋วยได้เสนอความรู้ประกอบกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะให้แก่สมาชิกสมาคมธนาคารไทยใน 3 เรื่องคือ 1. สถานการณ์เศรษฐกิจและการเงินโดยทั่วไปของไทยในปี 2510 และความคาดหมายสำหรับปี 2511 2. ข้อคิดบางประการเกี่ยวกับกิจการธนาคารของไทย และ 3. ความสัมพันธ์กับต่างประเทศในเชิงการธนาคารและการเงิน

 

2512

“สุนทรพจน์ของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยในงานเลี้ยงอาหารค่ำประจำปี 2512 ของสมาคมธนาคารไทย ณ โรงแรมอราวัณ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2512.”
“Truth-Unity-Sacrifice.” “Address at the Annual Banguet of the Thai Bankers Association, 12 nd February 1968.”

ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เน้นให้สมาชิกสมาคมธนาคารไทยระลึกถึงคติธรรม 3 ข้อของสมาคมฯ ที่จะนำไปใช้ในการดำเนินงานกิจการของธนาคารต่างๆ คือ “สจจ สามคคี จาโค”  ความว่า “สัจจะ ความซื่อสัตย์ระหว่างกัน สามัคคี ความกลมเกลียวระหว่างกัน และ จาคะ การยอมเสียสละร่วมกัน” ในตอนท้ายของสุนทรพจน์ชี้ให้เห็นถึงความหมายของสัจจะอีกความหมายหนึ่งคือ การใฝ่แสวงหาความจริง ซึ่งท่านได้นำตัวอย่างในเรื่องนี้ที่เกิดขึ้นกับธนาคารแห่งประเทศไทยมาเป็นอุทาหรณ์ประกอบด้วย

 

2513

“สุนทรพจน์ของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยในงานเลี้ยงอาหารค่ำประจำปี 2513 ของสมาคมธนาคารไทย ณ โรงแรมอราวัณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2513.”
“Address at the Annual Banquet of the Thai Bankers Association, 11th February 1970.”

กล่าวถึงเหตุการณ์และกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันระหว่างธนาคารพาณิชย์และธนาคารแห่งประเทศไทย ตลอดระยะเวลาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งสมาคมธนาคารไทยรวม 12 ปี ด้วยความสำนึกในความรับผิดชอบของสมาคมฯ ที่มีต่ออนาคตของประเทศไทย เนื้อหาอ้างอิงถึงความร่วมมือระหว่างธนาคารพาณิชย์กับธนาคารแห่งประเทศไทย บทบาทของธนาคารในการพัฒนาประเทศ การมีส่วนร่วมที่ช่วยให้เกิดความเจริญของประเทศ การป้องกันเหตุภัยทางการเงินในปี 2512 ตลอดปัญหาของกิจการธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบันและอนาคต

 

ผลงานของ อ.ป๋วย อึ๊งภากรณ์

“คำสดุดีในพิธีมอบรางวัลแม็กไซไซ  31 สิงหาคม 2508.” / คณะกรรมการทรัสตี มูลนิธิรางวัลแม็กไซไซ. รายงานเศรษฐกิจรายเดือน ธนาคารแห่งประเทศไทย 5 (กันยายน 2508) : 1-3 (กต 1. 03)

กล่าวสดุดียกย่องและสรรเสริญคุณงามความดี ความเสียสละ ความสุจริตและความรู้ความสามารถของดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ทั้งในด้านการปฏิบัติราชการและในด้านส่วนตัว นับว่าเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และการบริหารงานด้านการคลังของประเทศไทย ที่คณะกรรมการทรัสตีแห่งมูลนิธิรางวัลแม็กไซไซ สมควรมอบรางวัลแม็กไซไซปี 2508 ในด้านการปฏิบัติราชการยอดเยี่ยมให้แก่ดร.ป๋วย

“ในโอกาสปฐมนิเทศพนักงานใหม่.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน คำพูดและข้อเขียน, หน้า 150-161. โดย ป๋วย อึ๊งภากรณ์. – - พระนคร : บำรุงสาส์น, 2511. (HB 180 ป 47)

กล่าวปฐมนิเทศพนักงานใหม่ของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่สโมสรธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2510 เนื้อหาเป็นการชี้แจงให้พนักงานใหม่เห็นถึงบทบาท ความสำคัญ และหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงาน รวมทั้งให้ใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์แก่ธนาคารอย่างเต็มที่ และให้มีความรู้อุตสาหะ วิริยะ ซื่อสัตย์สุจริต ต่อหน้าที่การงาน

“บันทึกชี้แจงเรื่อง การลาออกจากตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และตำแหน่งคณบดี คณะเศรษฐศาสตร์ มธ.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. 12 กรกฎาคม 2514. – - 2 หน้า. (อัดสำเนา) (ธป 03)

กล่าวถึงการชี้แจงเกี่ยวกับการลากออกจากตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และตำแหน่งคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ของดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ตามข่าวลือและข่าวตามหน้าหนงสือพิมพ์บางฉบับที่ว่า “ผมจะออกเล่นการเมือง” ซึ่งท่านได้ให้คำชี้แจงไว้ดังนี้คือ ท่านได้รับเชิญให้ไปสอนและวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ท่านต้องการจะอุทิศเวลาให้แก่งานทางด้านการศึกษาให้มากขึ้น ท่านไม่เคยคิดจะลาออกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และท่านต้องการจะรับใช้ประเทศชาติ ในฐานะข้าราชการประจำมากกว่าตำแหน่งทางการเมือง

ผลงานของผู้อื่น

“คำนำ.” / สุลักษณ์ ศิวรักษ์. ใน 12 ปี 2 เดือน 4 วัน ในตำแหน่งผู้ว่าการ ธปท., ไม่ปรากฎเลขหน้า. โดย สุรพล เย็นอุรา ; บรรณาธิการโดย พิภพ ธงไชย สมถวิล ลือชาพัฒนพร และฐิติมา คุณติรานนท์. – - กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2530. (ศ)

ผู้เขียนแสดงความยินดีกับสุรพล เย็นอุรา ซึ่งเป็นบุคคลที่เคยทำงานร่วมกับดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อย่างใกล้ชิดที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ได้มีโอกาสเขียนเรี่องเกี่ยวกับชีวิตการทำงานของดร.ป๋วย ในตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยรวม 12 ปี 2 เดือน 4 วัน อันจะเป็นประโยชน์แก่อนุชนคนไทย ซึ่งต้องการแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิตในสังคมจากบุคคลร่วมสมัยต่อไป

12 ปี 2 เดือน 4 วัน ในตำแหน่งผู้ว่าการธปท. / สุรพล เย็นอุรา ; บรรณาธิการ โดยพิภพ ธงไชย สมถวิล ลือชาพัฒนพร และฐิติมา คุณติรานนท์. – - กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2530. (ศ)

หนังสือเล่มนี้เป็นการถ่ายทอดชีวิตการทำงานของดรงป๋วย อึ๊งภากรณ์ ในตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นเวลา 12 ปี 2 เดือน 4 วัน ซึ่งผู้เขียนเป็นบุคคลที่เคยร่วมงานและเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของท่านที่ธนาคารแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีการรวบรวมบทความและข้อเขียนโดยบุคคลต่างๆ บางเรื่องจากหนังสือพิมพ์ นิตยสาร และวารสารที่ได้เสนอข่าวและเขียนรำลึกถึงดร.ป๋วย ในช่วงที่ท่านเดินทางกลับมาเยือนประเทศไทยเมื่อเดือนเมษายน 2530