Puey Ungphakorn [ชนบท]

ชนบท

ผลงานของ อ.ป๋วย อึ๊งภากรณ์

“การบูรณะชนบท.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. บรรยายในการสัมมนา ณ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 30 มีนาคม 2517. – - 2 หน้า. (อัดสำเนา) (มธ 4/ต/กช 01)

การบรรยายเรื่องการบูรณะชนบท ดร.ป๋วย ได้แบ่งเนื้อหาการบรรยายออกเป็น 5 ตอนคือ ตอนที่ 1 จุดมุ่งหมายในการบูรณะชนบท ตอนที่ 2 อุปสรรคในการบูรณะชนบท ตอนที่ 3 วิธีการบูรณะชนบทของเอกชน นักศึกษาและมหาวิทยาลัย ตอนที่ 4 ความจำเป็นของรัฐบาลต่อการบูรณะชนบท ตอนที่ 5 การผสมผสานงานของรัฐบาลกับเอกชน โดยยกตัวอย่างงานในโครงการบูรณะชนบทสมบูรณ์แบบในลุ่มแม่น้ำแม่กลองของสภามหาวิทยาลัย

“การหางานให้ชาวชนบททำ.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน เศรษฐศาสตร์ : รวมข้อคิดและข้อเขียนทางเศรษฐศาสตร์ของป๋วย อึ๊งภากรณ์, หน้า 122-130. โดยป๋วย อึ๊งภากรณ์. – - กรุงเทพฯ : สมาคมเศรษฐศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2523. (HB 53 ป5)

กล่าวถึงปัญหาการว่างงานของชาวชนบท ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาทางการปกครองและสังคมเศรษฐกิจของเมืองไทย ดร.ป๋วย ได้เสนอแนะวิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหาการว่างงานของชาวชนบทต่อรัฐบาล 7 ข้อคือ 1.ควรมีการนำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ให้ชาวนาชาวไร่ปลูกพืชได้หลายฤดู 2. ควรมีการจัดรูปที่ดิน 3. ควรมีการปฏิรูปที่ดิน 4. ควรมีการตั้งโรงงานเล็กๆ ในท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนการเกษตร 5. ควรแนะนำการใช้เครื่องจักรกลอย่างเหมาะสม 6. ควรมีการสังคมสงเคราะห์ในชนบท และ 7. ควรมีการฝึกอบรมพร้อมทั้งการให้การศึกษาด้านต่างๆ แก่ชาวชนบท

“งานอาสาสมัครกับการพัฒนาชนบทไทย.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน คิดถึงอาจารย์ป๋วย, หน้า 142-151. รวบรวมโดยคณะกรรมการห้องสมุดเศรษฐศาสตร์ปีการศึกษา 2526 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. – - กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สวิตา, 2527. (HB 126 ท93ป55) (กช 1.06)

เป็นคำบรรยายของดร.ป๋วย เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2519 ณ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย จังหวัดชัยนาท โดยกล่าวถึงเหตุผลที่ต้องมีการพัฒนาชนบท การดำเนินงานของเอกชนและรัฐบาล เช่น โครงการบัณฑิตอาสาสมัคร โครงการมูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย โครงการบูรณะชนบทลุ่มน้ำแม่กลอง และข้อควรคำนึงถึงความร่วมมือระหว่างหน่วยอาสาพัฒนาของไทยและต่างประเทศ

“จุดมุ่งหมายในการพัฒนาชนบท.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน อนุสรณ์เศรษฐศาสตร์ 2514, ไม่ปรากฎเลขหน้า. – - พระนคร : คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2514. (HB  180 ธ 46 2514)

กล่าวถึงการพัฒนาเศรษฐกิจชนบทว่าจะเป็นผลสำเร็จต่อเมื่อบรรลุเป้าหมาย 3 ประการ คือ 1.ชาวชนบทมีรายได้เพิ่มขึ้นในอัตราที่พึงพอใจ 2. รายได้ที่เพิ่มขึ้นของชาวชนบทจะต้องเติบโตต่อไปอย่างสม่ำเสมอและมีเสถียรภาพ และ 3. ชาวชนบทจะต้องช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงอุปสรรคในการพัฒนาชนบทว่ามีอยู่หลายประการคือ การมีลูกมาก การพัฒนาอย่างฉาบฉวย การทำลายสิ่งแวดล้อม การใช้วิทยาศาสตร์ในทางที่ผิด การบริหารรายการโดยขาดสมรรถภาพ และการละเลยต่อการศึกษา

“พัฒนาชนบท.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. คำบรรยายวิชาพัฒนาชนบทสำหรับนักศึกษาชั้นปริญญาโท คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 23 มิถุนายน 2518. – - 8 หน้า. (อัดสำเนา) (มธ 4/ต/กช 02)

กล่าวถึงขอบเขตของการพัฒนาชนบทในเรื่องความเจริญทางเศรษฐกิจของสังคม การพัฒนาเศรษฐกิจ ด้วยการเสนอขั้นตอนของขบวนการพัฒนาตลอดจนข้อคิดของดร.ป๋วยเกี่ยวกับเรื่องคุณภาพแห่งชีวิต เรื่องการอยู่ดีกินดีของประชาชนในสังคม นอกจากนี้ ท้ายบทความยังมีภาคผนวกเป็นบทความจากหนังสือพิมพ์เรื่อง ความยากจน ซึ่งให้ความสำคัญกับปัญหาความยากจนในประเทศไทยด้วย

“Comments on the Evaluation.” / Puey Ungphakorn. In An Evaluation of the Maeklong Integrate Rural Development Project : Lessons from Failures, pp. 28-32. By Vinyu Vichit – Vadakan. – - Bangkok : Asian Development Institute, 1977. (9B HN 750.9 M4 V5)

ความเห็นของดร.ป๋วย ต่อรายงานการประเมินผลโครงการพัฒนาชนบทแบบผสมผสานลุ่มแม่น้ำกลอง ซึ่งเขียนโดยวิญญู วิจิตรวาทการ ดร.ป๋วย ได้ศึกษาถึงความล้มเหลวของโครงการนี้ โดยกล่าวว่าเกิดจากการขาดความร่วมมือของภาครัฐบาล การไม่เข้าใจเป้าหมายแท้จริงของโครงการทั้งจากรัฐบาลและผู้ปฏิบัติ เรื่องของการเมืองที่แทรกแซง เหล่านี้เป็นปัจจัยส่งผลต่อความล้มเหลวของโครงการ

“Lecture on Integrated Rural Development.” / Puey Ungphakorn. July 9, 1974. – - 14 p. – - For M.A. Students, Faculty of Economics, Thammasat University. (Mimeographed.) (มธ4/ต/กช07)

บรรยายเกี่ยวกับปัญหาที่ดิน โดยเฉพาะการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร พร้อมทั้งยกตัวอย่าง วิธีการ ตลอดจนผลการดำเนินงานของรัฐบาลในประเทศอินเดีย สาธารณรัฐประชาชนจีน และไต้หวัน ต่อปัญหาดังกล่าวในเชิงเศรษฐศาสตร์ไว้อย่างละเอียด เพื่อใช้เป็นแนวคิดเชิงปฏิบัติสำหรับประเทศไทย

“The Second Lecture on Integrated Rural Development.” / Puey Ungphakorn. June 24, 1974. – -  7 p. – - For M.A. Students, Faculty of Economics, Thammasat University. (Mimeographed.) (มธ 4/ต/กช03)

กล่าวถึงแนวทางในขบวนการพัฒนาชนบทแบบบูรณาการ 6 ประการคือ  1. ความสัมพันธ์ของการเจริญเติบโตและการลงทุน 2. ความเปลี่ยนแปลง 3. ความมั่นคง 4. ดุลในการพัฒนา 5. การจัดสรรงบประมาณ  และ 6. ปัญหาในการบริหารงาน โดยให้รายละเอียดและยกตัวอย่างประกอบอย่างชัดเจน

“Fourth Lecture on Integrated Rural Development.” / Puey Ungphakorn. July 1, 1974. – -  17 p. – - For M.A. Students, Faculty of Economics, Thammasat University. (Mimeographed.) (มธ 4/ต/กช06)

กล่าวถึงปัญหาการใช้ที่ดินในทางเกษตรกรรม โดยเฉพาะปัญหาทางเทคนิค ได้แก่ การชลประทาน การปฏิรูปที่ดิน การคัดเลือกพันธุ์และเมล็ดพืช เพื่อการเพาะปลูกทั้งในด้านเกษตรกรรมและเศรษฐศาสตร์ รวมทั้งข้อคำนึงด้านการตลาด  ราคา โดยอธิบายถึงขั้นตอน และให้ตัวอย่างอย่างละเอียด นอกจากนั้นยังตอบปัญหานักศึกษาในเรื่องการคำนวณราคาที่ดิน แผนการจัดที่ดินด้วย

“The Lecture on Rural Development.” / Puey Ungphakorn. June 18, 1974. – -  17 p. – - For M.A. Students, Faculty of Economics, Thammasat University. (Mimeographed.) (มธ 4/ต/กช04)

อธิบายถึงความหมายของการพัฒนาชนบทในแง่สหสาขาวิชา แนวคิดด้านการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนา การดำเนินงานขององค์การสหประชาชาติในการพัฒนาระหว่างประเทศ รายได้ประชาชาติของประเทศ ความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต ความยากจนในชนบทไทย และแนวคิดเปรียบเทียบกับประเทศในโลกที่สาม การพัฒนาชนบทแบบบูรณาการ การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร การปรับปรุงการสาธารณสุข และการมีงานทำ

“The Lecture on Rural Development : Cooperative Movement in Thailand.” / Puey Ungphakorn. August 22, 1974. – -  8 p. – - For M.A. Students, Faculty of Economics, Thammasat University. (Mimeographed.) (มธ 4/ต/กช13)

กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของสังคม ซึ่งมีการดำเนินงานในรูปแบบของสหกรณ์ตั้งแต่ พ.ศ.2459 ยกตัวอย่างกิจการในประเทศไทย เช่น กลุ่มเกษตรกร นิติบุคคล สมาคมชลประทานราษฎร์ ร้านสหกรณ์ในกรุงเทพฯ กลุ่มออมทรัพย์พัฒนา อธิบายถึงสาเหตุความล้มเหลวของระบบสหกรณ์ ทั้งในด้านเวลา การดำเนินการของรัฐบาล กฎหมาย ปัญหาของชาวนา และระบบการตลาด ตลอดจนให้แง่คิดต่อความสำเร็จของระบบสหกรณ์ด้วย

“The Lecture on Rural Development : Intensive Cultivation.” / Puey Ungphakorn. July 23, 1974. – -  6 p. – - For M.A. Students, Faculty of Economics, Thammasat University. (Mimeographed.) (มธ 4/ต/กช09)

อธิบายถึงการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเพาะปลูกแบบเร่งรัด เช่น การเพาะปลูกพืชหลายชนิดในที่ดินผืนเดียวกันในช่วง 1 ปี การเพาะปลูกพืชหลายชนิดในเวลาเดียวกัน ได้แก่ ข้าวโพดและถั่ว การใช้น้ำ แสดงตารางการเพาะปลูกพืชชนิดต่างๆ และผลผลิตในประเทศแถบเอเชีย ทั้งยังอธิบายระบบการเพาะปลูกแบบเร่งรัด และผลกระทบของการปลูกพืชหลายชนิดที่ทดลองในประเทศฟิลิปปินส์ของดร. โกเมซไว้ด้วย

“The Lecture on Rural Development : Livelihood.” / Puey Ungphakorn. June 27, 1974. – -  6 p. – - For M.A. Students, Faculty of Economics, Thammasat University. (Mimeographed.) (มธ 4/ต/กช05)

กล่าวถึงลักษณะเกษตรกรรมของไทย 12 ประเด็น คือ 1. จำนวนผลผลิตของชาติทางการเกษตรมีน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรในอาชีพนี้ 2. ผลผลิตการเกษตรเป็นสินค้าเพื่อการส่งออก 3. ปัญหาที่ดินทำกิน 4. ความหลากชนิดของการเกษตร 5. การเลี้ยงหมู เป็ด ไก่ โค กระบือ 6. การเพาะพันธุ์ปลา  7. ผลผลิตป่าไม้ 8. อุตสาหกรรมทางเกษตร 9. ทรัพยากรมนุษย์ 10. กรรมสิทธิ์และการเช่าที่ดิน 11. สิ่งอำนวยความสะดวกในการพัฒนาที่ดินทางเกษตรกรรม 12. ให้ความร่วมมือของเจ้าหน้าที่รัฐบาล

“The Lecture on Rural Reconstruction : Education.” / Puey Ungphakorn. September 3, 1974. – -  12 p. – - For M.A. Students, Faculty of Economics, Thammasat University. (Mimeographed.) (มธ 4/ต/กช15)

กล่าวถึงความสำคัญ วัตถุประสงค์ของการพัฒนาการศึกษาในชนบท 4 ประการคือ 1.เพื่อพัฒนาบุคลิกภาพของบุคคล 2. เพื่อให้ความรู้กว้างๆ และความรู้เกี่ยวกับหนังสือ โลกและสังคม 3. เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต และ 4. เพื่อปลูกฝังความรับผิดชอบในฐานะที่เป็นสมาชิกของสังคม นอกจากนั้นยังวิจารณ์ถึงการวางนโยบาย 3 รูปแบบ คือ ลู่ทางของนักเศรษฐศาสตร์ ลู่ทางของการวางแผนกำลังคน และลู่ทางของมนุษยศาสตร์ซึ่งมีผลกระทบต่อการพัฒนาการศึกษา เน้นถึงปัญหาการศึกษาในชนบท ตลอดจนหลักการศึกษาแบบใหม่ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาชนบทได้

“Lecture on Rural Reconstruction : Education for Rural   Development.” / Puey Ungphakorn. September 12, 1974. – -  6 p. – - For M.A. Students, Faculty of Economics, Thammasat University. (Mimeographed.) (มธ 4/ต/กช17)

กล่าวถึงปัญหาการศึกษาในชนบท 2 ประการ คือ ปัญหาในเรื่องปริมาณ และปัญหาในเรื่องคุณภาพ ทางด้านปริมาณนั้น ควรามต้องการในการศึกษามีมาก และจำนวนประชากรส่วนใหญ่ของประเทศยังอยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียน ปัญหาด้านคุณภาพ ได้แก่ สภาพห้องเรียน อุปกรณ์การสอน การสอนของครู และกล่าวถึงหลักที่จำเป็นต่อการเรียนการสอน 6 ประการ เช่น เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีของผู้เรียนต่อครอบครัว สังคม การทำงานและการพัฒนาชาติ นอกจากนั้นยังได้เสนอแนวทางพัฒนาการศึกษาในชนบททางด้านการดำเนินงานของรัฐบาลและการคำนึงถึงการศึกษาในชั้นประถมศึกษา และการให้การศึกษาแบบไม่เป็นทางการเป็นอาทิ

“Lecture on Rural Reconstruction : Green Revolution.” / Puey Ungphakorn. August 8, 1974. – -  8 p. – - For M.A. Students, Faculty of Economics, Thammasat University. (Mimeographed.) (มธ 4/ต/กช10)

กล่าวถึงประวัติของการปฏิวัติเขียว ว่าเริ่มขึ้นในประเทศฝรั่งเศสเมื่อค.ศ.1952 ต่อมาขยายมายังแถบเอเชียและเม็กซิโก ด้วยความสนับสนุนของมูลนิธิฟอร์ดและร็อกกี้เฟลเลอร์ มีจุดประสงค์เพื่อค้นคว้าวิจัยเทคนิคการผสมพันธุ์พืชทางเกษตรให้ได้ผลผลิตสูง ได้แก่ ข้าวและข้าวสาลี ในประเทศไทยเรียกว่า ข้าวกข 1 กข 3 และ กข 8 ข้อควรคำนึงถึงต่อผลสำเร็จของการปฏิวัติเขียวได้แก่ ปริมาณและการควบคุมน้ำ ปุ๋ย ยาจำกัดแมลง ความชำนาญของชาวนา ความเต็มใจของชาวนาต่อการทดลอง นอกจากนั้นยังกล่าวถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิวัติเขียวในประเทศไทยทางด้านเศรษฐศาสตร์ แรงงาน และการชลประทานด้วย

“Lecture on Rural Reconstruction : Marketing.” / Puey Ungphakorn. August 13, 1974. – -  6 p. – - For M.A. Students, Faculty of Economics, Thammasat University. (Mimeographed.) (มธ 4/ต/กช 11)

กล่าวถึงการตลาดในด้านของเกษตรกรรม ซึ่งเป็นขบวนการนำอาหารและวัตถุดิบจากฟาร์มไปสู่ผู้บริโภค ข้อควรเข้าใจเกี่ยวกับพ่อค้าคนกลาง รคาของผลิตผลทางการเกษตร การดำเนินงานของคณะกรรมการการตลาด โดยเฉพาะในกรณีข้าวและน้ำตาล และการวิจัยทางการตลาด

“The Lecture on Rural Reconstruction : Money Credit and Cooperatives.” / Puey Ungphakorn. August 20, 1974. – -  5 p. – - For M.A. Students, Faculty of Economics, Thammasat University. (Mimeographed.) (มธ 4/ต/กช 12)

กล่าวถึงความจำเป็นเกี่ยวกับเงินของชาวชนบท บทบาทของธนาคารพาณิชย์ต่อการแก้ไขปัญหา การดำเนินงานของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ข้อคิดเห็นต่อ ธ.ก.ส.ในการดำเนินนโยบายด้านเครดิตระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ตลอดจนความร่วมมือของฝ่ายต่างๆ และระบบธนาคารในท้องถิ่นที่สามารถเอื้ออำนวยต่อการให้เครดิต

“Lecture on Rural Reconstruction : Schooling and Non-Formal Education.” / Puey Ungphakorn. September 10, 1974. – -  6 p. – - For M.A. Students, Faculty of Economics, Thammasat University. (Mimeographed.) (มธ 5/ต/กช 16)

กล่าวถึงสภาพการศึกษาของไทยที่เป็นอยู่คือ จำนวนผู้ที่ศึกษาในระดับสูงขึ้น มีจำนวนน้อยมาก เมื่อเทียบกับผู้ที่ศึกษาในชั้นประถมศึกษา รัฐบาลจึงมีนโยบายที่จะขยายการศึกษาภาคบังคับไปจนถึงชั้นประถมปีที่ 6 หรือ 7 คุณภาพการศึกษาในระดับประถมศึกษายังต่ำ เนื่องจากปัญหาของตัวผู้สอน ปัญหาการขาดแคลนสิ่งอำนวยความสะดวก ฯลฯ แนวทางในการแก้ปัญหา ได้แก่ การปรับปรุงการศึกษาทางอาชีพ โดยเฉพาะการศึกษาผู้ใหญ่และแนวการดำเนินงานการศึกษานอกโรงเรียนของโกวิท วรพิพัฒน์

“Lecture on Rural Reconstruction : “TRRM” Thailand Rural Reconstruction Movement.” / Puey Ungphakorn. September 19, 1974. – -  5 p. – - For M.A. Students, Faculty of Economics, Thammasat University. (Mimeographed.) (มธ 4/ต/กช 19)

กล่าวถึงหลักการของดร. วาย. ซี. เจมส์ เยน ชาวจีนผู้มีส่วนผลักดันให้เกิด TRRM ขึ้นในประเทศไทย ซึ่งมีหลักการพัฒนาชนบท 4 ประการคือ 1. การประกบอาชีพ 2. การศึกษา 3. การสาธารณสุข  และ 4. การปกครองตนเอง มีแผนที่ท้องที่การดำเนินงานในจังหวัดชัยนาท และอุทัยธานี พร้อมรายละเอียดกิจกรรม ผลการดำเนินงาน ปัญหาในด้านต่างๆ และกล่าวถึงโครงการพัฒนาชนบทลุ่มแม่น้ำกลอง ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับ TRRM ด้วย

“The Last Lecture on Rural Reconstruction : Comilla and Puebla.” / Puey Ungphakorn. n.d. – -  8 p. – - For M.A. Students, Faculty of Economics, Thammasat University. (Mimeographed.) (มธ 4/ต/กช 20)

กล่าวถึงความเป็นมาของกิจกรรมและความสำเร็จของโครงการพัฒนาชนบททางด้านการเกษตรในต่างประเทศ 2 โครงการ คือ “โคมิลลา” ในประเทศบังคลาเทศ และ “พูเอบลา” ซึ่งถือกำเนิดในประเทศเม็กซิโกโดยละเอียด

“The Lecture on Rural Reconstruction Development : Land Reform, Some Suggestion to Land Reform in Thailand.” / Puey Ungphakorn. July 18, 1974. – -  7 p. – - For M.A. Students, Faculty of Economics, Thammasat University. (Mimeographed.) (มธ 4/ต/กช 08)

กล่าวถึงการปฏิรูปที่ดิน 3 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมการในระยะแรก ขั้นเตรียมการในระยะต่อมา และขั้นดำเนินงาน โดยอธิบายไว้อย่างละเอียด เสนอความคิดเห็นต่อปัญหาที่ทำกิน และราคาข้าวของชาวนา การแก้ปัญหาของรัฐบาลสมัยสัญญา ธรรมศักดิ์ ต่อปัญหาดังกล่าว และตอบข้อซักถามของนักศึกษาเกี่ยวกับการถือครองกรรมสิทธิ์ในที่ดิน และการปฏิรูปที่ดินของรัฐบาล

“Lecture on Rural Reconstruction Movement : Employment, and Technology.” / Puey Ungphakorn. August 27, 1974. – -  8 p. – - For M.A. Students, Faculty of Economics, Thammasat University. (Mimeographed.) (มธ 4/ต/กช 14)

กล่าวถึงปัญหาของการว่างงาน และการทำงานต่ำกว่ากระดับในชนบทว่า เกิดจากสาเหตุ 2 ประการคือ จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และปริมาณที่ดินทำกินมีจำกัด แนวทางในการช่วยสร้างงาน ได้แก่ โครงการการปฏิวัติเขียว การตลาด อุตสาหกรรมทางการเกษตร และงานพัฒนาสาธารณะ นอกจากนั้นยังกล่าวถึงหลักการด้านเทคโนโลยีของนายชูมัคเกอร์ และการศึกษากับการมีงานทำของประเทศไทยด้วย

“Lecture on Rural Reconstruction Movement : Rural Health.” / Puey Ungphakorn. September 17, 1974. – -  7 p. – - For M.A. Students, Faculty of Economics, Thammasat University. (Mimeographed.) (มธ 4/ต/กช 18)

กล่าวถึงสุขภาพอนามัยในชนบท ในแง่ปริมาณของประชากร ซึ่งมีอัตราการเกิดสูง และอัตราการตายลดลง ปัญหาของการวางแผนครอบครัว และการคุมกำเนิดในประเทศไทย ปัญหาคุณภาพของประชากรทั้งทางด้านกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม โภชนาการในวัยเด็ก ปัญหาสาธารณสุข เช่น การใช้ยาป้องกันโรค และศูนย์อนามัยในชนบท

“The Meklong Integrated Rural Development Programme.” / Puey Ungphakorn. In Best Wishes for Asia, pp. 76-88. By Puey Ungphakorn – - Bangkok : Klett Thai, 1975. – - Address on the Occasion of Having the Honorary Degree of Doctor of Letters Conferred upon Him by the University of Singapore, August 4, 1974. (9HC 412P8)

เป็นบทความที่นำมาจากการกล่าวสุนทรพจน์ของดร.ป๋วยเนื่องในโอกาสรับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยสิงคโปร์ โดยท่านได้กล่าวถึงจุดยืนของมหาวิทยาลัยในอันที่จะต้องรับใช้สังคม ดังนั้น โครงการพัฒนาชนบทแบบผสมผสานลุ่มแม่น้ำกลองจึงได้เกิดขึ้นโดยความร่วมมือจาก 3 มหาวิทยาลัย คือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งในสุนทรพจน์นี้ได้กล่าวถึงการดำเนินงาน การประเมินผลงาน และประโยชน์ที่ได้จากโครงการนี้

“Meklong Integrated Rural Development Project Phase Two and Progress to Date.” / Puey Ungphakorn. In Social Development in Asean Countries, pp. 78-100. Edited by Gottfried Voelker and Zilla C. Phoativongsacharn. – - Bangkok : Clearing House for Social Development in Asia, 1976. – - Proceedings of the Regional Workshop in Bangkok, 3-7 May 1976. (กช 1.09)

รายงานถึงแผนการพัฒนาชุมชนในโครงการพัฒนาแบบผสมผสานลุ่มน้ำแม่กลองจากเขตทดลอง 5 เขต โดยให้มหาวิทยาลัย 3 แห่ง รับผิดชอบในแต่ละโครงการได้แก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์รับผิดชอบโครงการพัฒนาการเกษตร มหาวิทยาลัยมหิดลรับผิดชอบโครงการพัฒนาด้านสาธารณสุข และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รับผิดชอบทางด้านสังคมศาสตร์

“On Income Distribution.” / Puey Ungphakorn. Seminar on Agricultural Development with Special Reference to the Taiwan Experience, December 13, 1973. – -  3 p. (Mimeographed.) (กค 1.04)

ในการพัฒนาชนบทมีปัจจัยหลายประการ เช่น การกระจายรายได้ที่เป็นธรรม ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะต้องพิจารณาร่วมกับปัจจัยด้านอื่นๆ เช่น ระบบการเมือง การบริหาร อีกทั้งยังต้องมีการพัฒนาคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยสร้างรายได้แก่ประชาชนเป็นวิธีการหนึ่งที่จะพัฒนาชนบทโดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องกระจายรายได้อย่างเป็นธรรมด้วยนั้นเทคโนโลยีแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ระดับสูง และระดับรองซึ่งเป็นการวิจัยเมื่อนำเทคโนโลยีระดับสูงมาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมในท้องถิ่นต่างๆ นอกจากเทคโนโลยีแล้วยังจะต้องมีการพัฒนาในด้านองค์กร สมาคมการค้าองค์การผู้บริโภค การเก็บภาษีที่ยุติธรรม รวมทั้งนโยบายการเงินและนโยบายสวัสดิการสังคมเพื่อคนยากจน โดยได้กล่าวเปรียบเทียบหรือแสดงตัวอย่างให้เห็นจากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในไต้หวัน

“Royal Address at the Gala Dinner of the Rotary Club of Bangkok.” / Puey Ungphakorn. Address at Hotel Siam Intercontinental, February 27, 1969. – -  6 p. (Mimeographed.) (สพ 14)

ดร.ป๋วย กล่าวเสนอและแนะนำถึงโครงการพัฒนาชาวเขา ซึ่งสโมสรโรตารี่วางโครงการไว้ โดยเปรียบเทียบถึงการทำงานของหน่วยราชการซึ่งรับผิดชอบเกี่ยวกับชาวเขาโดยตรง อาทิเช่น กรมประชาสงเคราะห์เน้นถึงการแก้ปัญหาการปลูกฝิ่นโดยใช้วิธีการทางเศรษฐศาสตร์ รวมทั้งเสนอชื่อหน่วยงานราชการที่ควรจะมีบทบาทในการแก้ไขปัญหาชาวเขาด้วย

“Thailand’s Rural Development.” / Puey Ungphakorn. Address to the Rotary Club of Bangkok at Erawan Hotel, November 27, 1969. – -  6 p. (Manuscript.) (กช 1/ต 03)

การพัฒนาชนบทในประเทศไทยนั้น กระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจะใช้วิธีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยให้การศึกษาและฝึกอบรมให้พึ่งตนเอง และมีความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพ ยกตัวอย่างแนวคิดและการปฏิบัติงานของโครงการที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาชนบท ได้แก่ โครงการบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และโครงการพัฒนาชนบทของเอกชน ซึ่งยึดหลักการพัฒนาชนบทให้มีความพร้อมทางด้านสุขภาพ การอ่านออกเขียนได้ การใช้ชีวิตอย่างมีความสุขและมีศักดิ์ศรีในตัวเอง ตลอดจนปกครองตนเองได้

ผลงานของผู้อื่น

“ระลึกถึงอาจารย์ป๋วย.” / ระพี สาคริก. ใน ช่วงหนึ่งของกาลเวลา ป๋วย อึ๊งภากรณ์, หน้า 47-49. รวบรวมโดย คณะอนุกรรมการหนังสือที่ระลึก คณะกรรมการจัดงาน “นิทรรศการชีวิตและผลงานอาจารย์ป๋วย.” – - กรุงเทพฯ : สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะกรรมการนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมูลนิธิโกมลคีมทอง, 2528. – - จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสครบรอบอายุ 69 ปี ของดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์. (HB 126 ท 93 ป 53)

เนื่องจากดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ และผู้เขียนเป็นกรรมการในคณะกรรมการบริหารสถาบันพัฒนาชนบทแห่งเอเชีย  ที่เมืองบังกาลอร์ ประเทศอินเดีย และผู้เขียนได้รับหมายศาลจากเมืองบังกาลอร์ในเดือนมิถุนายน 2526 ให้ไปให้การแก่ศาลที่นั่น จึงเป็นเหตุให้ผู้เขียนระลึกถึงความตั้งใจและการทำงานของดร.ป๋วย ในด้านการพัฒนาชนบทในประเทศไทย โดยกล่าวถึงโครงการพัฒนาชนบทสมบูรณ์แบบลุ่มน้ำแม่กลอง ซี่งเป็นโครงการเพื่อการพัฒนาชนบทร่วมกันของมหาวิทยาลัย 3 แห่งได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยมหิดล โครงการนี้ผู้เขียนเคยมีโอกาสได้ร่วมงานด้วยในสมัยเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์