Puey Ungphakorn [คำไว้อาลัย]

คำไว้อาลัย

ผลงานของผู้อื่น

“กราบคุณครูเจือ ฉั่วประยูร ที่รักเคารพ.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน สันติประชาธรรม, หน้า 91. โดยป๋วย อึ๊งภากรณ์. – - พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขและเพิ่มเติม. – - กรุงเทพฯ : เคล็ดไทย, 2517. (DS 570.6 ป4 2517) (คน 1/ต04)

ครูเจือ ฉั่วประยูร เป็นผู้หนึ่งที่ดร.ป๋วย เคารพว่าเป็นคนดี และได้ดำเนินตามแนวทางของครูเจือ ครูเจือเพียบพร้อมไปด้วยความเมตตา กรุณา สุขุม และอดทน บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์และเป็นตัวอย่างอันดีงาม

“คำไว้อาลัยคุณเจริญ เกิดมณี.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ตุลาคม 2512. – - 1 หน้า. (พิมพ์ดีด) (คน 1.08)

กล่าวถึงความเสียสละ ความพากเพียร ตลอดจนคุณความดีของเจริญ เกิดมณีในการรับราชการ

“คำไว้อาลัยคุณเต็ม สุวิกรม.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ม.ป.ป. – - 2 หน้า. (ต้นฉบับลายมือ) (คน 1/ต12)

เต็ม สุวิกรม เป็นบัณฑิตธรรมศาสตร์รุ่นเดียวกับดร.ป๋วย ที่มีลักษณะของบัณฑิตโดยแท้คือ เป็นผู้ใฝ่เรียนอยู่เสมอเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการเป็นผู้ที่มีความสันโดษ ไม่ประจบประแจง เป็นคนเสมอต้นเสมอปลายเพื่อธรรมะและเพื่อบำเพ็ญสาธารณประโยชน์

“คำไว้อาลัยคุณเทพ เสมถิติ.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ตุลาคม 2512. – - 1 หน้า. (พิมพ์ดีด) (คน 1.09) ; 1 หน้า. (ต้นฉบับลายมือ) (คน1/ต07)

กล่าวถึงความสัมพันธ์ทางการศึกษา การทำงาน และการเป็นทหารเสรีไทยระหว่าง ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ กับเทพ เสมถิติ อุปนิสัยของเทพเป็นคนเงียบๆ มีอารมณ์เยือกเย็น และเป็นผู้รักสันโดษ

“คำไว้อาลัยคุณประสิทธิ์ พุ่มชูศรี.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. มิถุนายน 2512. – - 1 หน้า. (พิมพ์ดีด) (คน 1.07)

กล่าวอาลัยรักประสิทธิ์ พุ่มชูศรี ซึ่งเป็นเพื่อนที่ดี มีอุปการะและแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์แก่บ้านเมือง แก่เพื่อนฝูง และเป็นประโยชน์ในด้านพัฒนาการเศรษฐกิจ การเกษตรในภาคเหนือ และการส่งเสริมช่วยเหลือชาวเขาให้มีสัมมาชีพโดยทั่วไป

“คำไว้อาลัยคุณผิว พูสวัสดิ์.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. 7 ตุลาคม 2517. – - 1 หน้า. (พิมพ์ดีด) (คน 1.13) ; 1 หน้า. (ต้นฉบับลายมือ) (คน1/ต13)
กล่าวถึง ผิว พูสวัสดิ์ที่ให้ความช่วยเหลือในการจัดหาเอกสารและส่งข่าวคราวการเมืองไปให้ ดร.ป๋วย ขณะที่วิจัย และสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ผิว พูสวัสดิ์สามารถดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่ราชการได้อย่างมีสมรรถภาพและสุจริตเพราะเป็นผู้มีคุณธรรมอันดีงาม

“คำไว้อาลัยคุณมนูเสรี สนิทวงศ์.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ตุลาคม 2505. – - 1 หน้า. (พิมพ์ดีด) (คน 1.01)

กล่าวถึงอุปนิสัยส่วนตัว ความรู้ ความสามารถ ความรับผิดชอบ และความมีคุณธรรมในการดำเนินชีวิตและการทำงานของมนูเสรี สนิทวงศ์

“คำไว้อาลัยคุณละม้าย ดุริยางกูร.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ม.ป.ป. – - 1 หน้า. (พิมพ์ดีด) (คน 1.17)

กล่าวถึงอุปนิสยของละม้าย ดุริยางกูร ว่าเป็นคนสนุกสนาน มีอารมณ์ขัน รักเพื่อน มีใจ
โอบอ้อมอารีต่อเพื่อน และรักหมู่คณะ

“คำไว้อาลัยคุณเล็ก ตันเต็มทรัพย์.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ม.ป.ป. – - 1 หน้า. (พิมพ์ดีด) (คน 1.16) ; 1 หน้า. (ต้นฉบับลายมือ) (คน1/ต10)

กล่าวถึงการศึกษา การทำงานของเล็ก ตันเต็มทรัพย์ โดยเฉพาะการไปรับราชการด้านการต่างประเทศ เล็กเป็นผู้ที่มีอุปนิสัยดี ซื่อสัตย์ ปฏิบัติราชการด้วยความขยันหมั่นเพียร และถือประโยชน์ของทางราชการเป็นสำคัญ

“คำไว้อาลัยคุณสมบูรณ์ เหล่าวานิช.”  / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. มกราคม 2515. – - 3 หน้า. (ต้นฉบับลายมือ-ถ่ายสำเนา) (คน 1.12)

“คุณสมบูรณ์ เหล่าวานิช.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน สันติประชาธรรม, หน้า 95-100. โดยป๋วย อึ๊งภากรณ์. – - พระนคร : เคล็ดไทย, 2516. (DS 570.6 ป4)

เป็นการกล่าวคำไว้อาลัยแก่สมบูรณ์ เหล่าวานิช ผู้ซึ่งเป็นทั้งเพื่อนรุ่นพี่ และเพื่อนร่วมงาน ตลอดจนลักษณะนิสัยความซื่อตรงในการทำงานและความสัมพันธ์อันดีระหว่าง สมบูรณ์ เหล่าวานิช และดร.ป๋วย

“คำไว้อาลัยคุณสันธนา เทพวัชรานนท์.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. เมษายน 2517. – - 1 หน้า. (ต้นฉบับลายมือ) (คน 1/ต11)

ดร.ป๋วยเขียนคำไว้อาลัยแก่ สันธนา เทพวัชรานนท์ ศิษย์เก่าคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่เสียชีวิตไปในขณะที่อายุยังน้อย ซึ่งดร.ป๋วยได้เขียนบทความว่าด้วยความเจริญพัฒนาอุทิศให้แก่สันธนาด้วย

“คำไว้อาลัยคุณสาคร เอมโอชะ.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. มีนาคม 2512. – - 3 หน้า. (พิมพ์ดีด) (คน 1.06) ; 1 หน้า. (ต้นฉบับลายมือ) (คน 1/ต 06)

กล่าวถึงชีวิตการทำงานของสาคร เอมโอชะ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์กับการเงิน และเชี่ยวชาญด้านการพิสูจน์ธนบัตร ตั้งแต่เริ่มรับราชการที่กระทรวงการคลังจนถึงธนาคารแห่งประเทศไทย โดยทำหน้าที่พิสูจน์และรับแลกธนบัตรในฝ่ายออกบัตรธนาคาร และได้อยู่ประจำทำงานในฝ่ายออกบัตรธนาคารนี้จนอายุ 65 ปีบริบูรณ์ นอกจานี้ยังกล่าวสดุดีความซื่อสัตย์สุจริต ความวิริยะอุตสาหะ และความมีอัธยาศัยไมตรีอันดีงามของสาคร เอมโอชะด้วย ท้ายบทความกล่าวถึงประวัติการรับราชการของสาคร เอมโอชะ ในธนาคารแห่งประเทศไทย

“คำไว้อาลัยคุณสิริ ปกาสิต.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. 15 สิงหาคม 2509. – - 1 หน้า. (พิมพ์ดีด) (คน 1.03) ; 1 หน้า. (ต้นฉบับลายมือ) (คน 1/ต 09)

กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ และสิริ ปกาสิต ในฐานะที่เป็นผู้ที่รับผิดชอบเรื่องการเงิน การคลังของประเทศในสำนักงบประมาณปี 2502 ซึ่งสามารถทำงานประสานกันได้ดีที่สุด นอกจากนั้นยังกล่าวถึงอุปนิสัยอันดีงามของ สิริ ปกาสิตด้วย

“คำไว้อาลัยเจ้าคุณศรีวิสารวาจา.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. 8 เมษายน 2511. – - 1 หน้า. (ต้นฉบับลายมือ-ถ่ายสำเนา) (คน 1.18)

กล่าวถึงประวัติการรับราชการในตำแหน่งต่างๆ ของเจ้าคุณศรีวิสารวาจา ซึ่งเป็นผู้ที่มีคุณลักษณะดีเด่นทั้งทางด้านอุปนิสัย และความรู้ความสามารถ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงความประทับใจในการแก้ไขปัญหาสำคัญทางเศรษฐกิจ และการบริหารบุคคล สมัยที่เจ้าคุณศรีวิสารวาจาเป็นปลัดบัญชาการกระทรวงการคลังด้วย

“คำไว้อาลัยนายดาบบุญหลง สายศร ธ.บ.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. 1 ตุลาคม 2517. – - 1 หน้า. (ต้นฉบับลายมือ-ถ่ายสำเนา) (คน 1.20)

กล่าวถึงความสัมพันธ์ฉันท์เพื่อน ระหว่างการอบรมร่วมกันต้อนรับปริญญาธรรมศาสตร์บัณฑิตของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง

“คำไว้อาลัยถึง ม.จ.สิทธิพร กฤดากร.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. 23 มิถุนายน 2514. – - 1 หน้า. (ต้นฉบับลายมือ-ถ่ายสำเนา) (ดน 1.19)

“ท่านสิทธิพร.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน สันติประชาธรรม, หน้า 84-85. โดยป๋วย อึ๊งภากรณ์. – - พระนคร : เคล็ดไทย, 2516. (DS 570.6 ป 4)

เป็นการกล่าวคำไว้อาลัยถึง ม.จ.สิทธิพร กฤดากร ผู้ซึ่งได้ทำประโยชน์ให้กับคนส่วนใหญ่ของสังคม เพื่อความชอบธรรมในสังคม

“คำไว้อาลัยหลวงชำนาญอักษร.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. พฤศจิกายน 2507. – - 1 หน้า. (พิมพ์ดีด) (คน 1.02)

กล่าวถึงความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่าง ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ และหลวงชำนาญอักษร ทั้งในด้านหน้าที่การงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทย และความสัมพันธ์ส่วนตัว ตลอดจนสรรเสริญคุณความดีของท่านที่ปรากฎแก่กิจการธนาคารแห่งประเทศไทย

“ฟ.ฮีแลร์.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน สันติประชาธรรม, หน้า 92-94. โดยป๋วย อึ๊งภากรณ์. – - พระนคร : เคล็ดไทย, 2516. (DS 570.6 ป 4)

“Le Frere Hilaire.” / Puey Ungphakorn. October 9, 1968. – - 4 p. (ต้นฉบับลายมือ-ถ่ายสำเนา) (คน 1/ภอ 05)

เป้นการกล่าวคำสดุดีแก่ ฟ.ฮีแลร์ ชาวฝร่งเศส ซึ่งเป็นอาจารย์ในโรงเรียนอัสสัมชัญ โดยได้กล่าวถึงความสามารถทางด้านภาษาไทยและวรรณคดีไทย ความสามารถในการที่จะทำให้ศิษย์ทุกคนเป็นคนที่ประเสริฐที่สุด นอกจากการกล่าวสดุดี ฟ.ฮีแลร์แล้ว ดร.ป๋วยยังได้กล่าวสดุดีถึงอาจารย์ชาวฝรั่งเศสทั้งคณะอีกด้วย

“คำสดุดีภราดาจารย์ ฮูแบร์โต ในพิธีมิซซาขับ.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. สดุดี ณ หอประชุมโรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก พระนคร, 26 มกราคม 2517. – - 3 หน้า. (พิมพ์ดีด) (คน 1.14)

“ท่านภราดาจารย์ ฮูแบร์โต.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน สันติประชาธรรม, หน้า 86-90. โดยป๋วย อึ๊งภากรณ์. – - พิมพ์ครั้งที่ 2. – - กรุงเทพฯ : เคล็ดไทย, 2517. (DS 570.6 ป 4 2517) (คน 1.14)

ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ กล่าวสดุดีภราดาจารย์ ฮูแบร์โตในพิธีมิซซาขับต่อหน้าศพท่าน โดยกล่าวถึงประวัติ การทำงานที่เสียสละกำลังกายและสติปัญญาอบรมสั่งสอนให้ศิษย์มีความเจริญก้าวหน้าทางสังคม และยังกล่าวถึงการปลูกฝังคุณธรรมอันประเสริฐให้ศิษย์ ได้แก่ ความเที่ยงตรง ความยุติธรรม และการปราศจากอคติ ด้วยการสั่งสอน และปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างแก่ศิษย์

“คุณเกษม ล่ำซำ.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. 23 กุมภาพันธ์ 2506. – - 1 หน้า. (ต้นฉบับลายมือ) (คน 1/ต 02)

กล่าวถึงความสัมพันธ์และความสนิทสนมของดร.ป๋วย และเกษม ล่ำซำ ผู้ซึ่งเป็นทั้งญาติและเพื่อนที่ดี  อีกทั้งยังเป็นผู้ให้คำแนะนำและตักเตือน ดร.ป๋วยเกี่ยวกับการใช้ชีวิตนักศึกษาที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ นอกจากนี้ได้กล่าวถึงความรักเพื่อน ความซื่อสัตย์สุจริต และความรอบรู้เชี่ยวชาญในวงการธนาคารของเกษม ล่ำซำ ด้วย

“นายปิ่น กลัมพะวนิช นักเลงผู้ซื่อสัตย์.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน สันติประชาธรรม, หน้า 112-117. โดยป๋วย อึ๊งภากรณ์. – - พิมพ์ครั้งที่ 2. – - กรุงเทพฯ : เคล็ดไทย, 2517. (DS 570.6 ป 4 2517) (คน 1.24)

เป็นการเขียนคำไว้อาลัยด้วยความรักและความอาลัยที่มีต่อปิ่น กลัมพะวนิช พนักงานเก่าของธนาคารแห่งประเทศไทยที่เคยรับใช้ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์อย่างใกล้ชิด ในฐานะเป็นคนขับรถของท่านและครอบครัว ตั้งแต่สมยที่ดร.ป๋วย เป็นรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย จนกระทั่งปิ่น เกษียณอายุราชการ ขณะที่ท่านเป็นผู้ว่าการธนาคาร โดยดร.ป๋วย ได้กล่าวถึงคุณสมบัติและอุปนิสัยในด้านต่างๆ ของปิ่น ซึ่งมีทั้งส่วนดี คือ เอาใจใส่ต่อการงาน มีความเที่ยงตรงต่อเวลา ซื่อสัตย์สุจริต และมีน้ำใจต่อเพื่อนมนุษย์ พร้อมกับได้เล่าถึงส่วนเสียซึ่งเป็นเรื่องส่วนตัวของปิ่นเอง

“บันทึกเนื่องในโอกาสฌาปนกิจศพของกำพล อิงคภากร.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน สุนทรพจน์และข้อเขียนบางเรื่องโดยป๋วย อึ๊งภากรณ์และธนาคารกลางโดยจำรัส จตุรภัทร, ไม่ปรากฎเลขหน้า. – - พระนคร : โรงพิมพ์ไทยเขษม, 2514. – - … ศพนายกำพล อิงคภากร. (895.915 ป 176 2514) (คน 1.23)

ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เขียนบันทึกนี้เพื่อกล่าวขอบคุณผู้ร่วมงานฌาปนกิจศพของกำพล อิงคภากร พี่ชายของท่าน และได้กล่าวยกย่องถึงอุปนิสัย ความสามารถในการพูดภาษาจีนและความเชี่ยวชาญในการค้าของกำพล อิงคภากร

“ประวัติของคุณหญิงสุภาพ ยศสุนทร ตอนทำงานรับใช้ชาติ.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ม.ป.ป. – - 4 หน้า. (อัดสำเนา) (คน 1.15) ; 4 หน้า. (ต้นฉบับลายมือ) (คน  1/ต 14)

กล่าวถึงคุณหญิงสุภาพ ยศสุนทร ซึ่งเป็นสุภาพสตรีคนหนึ่งที่อาสาสมัครเข้าร่วมขบวนเสรีไทยในอังกฤษอย่างเต็มที่จนเลิกสงคราม อีกทั้งยังกล่าวถึงประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับคุณหญิงสุภาพที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ทำให้ดร.ป๋วยได้รู้จักลักษณะอุปนิสัยและวิธีการทำงานของคุณหญิงสุภาพได้อย่างดี นอกจากนี้ยังกล่าวถึงประวัติการทำงานที่ต้องรับผิดชอบต่อเศรษฐกิจไทยของคุณหญิงสุภาพด้วย

“ปูเลา.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน สันติประชาธรรม, หน้า 101-102. โดยป๋วย อึ๊งภากรณ์. – -  พระนคร : เคล็ดไทย. 2516. (DS 570.6 ป4)

เป็นบทความเกี่ยวกับคำไว้อาลัยถึง พลตำรวจเอกอดุล อดุลเดชจรัส หรือ “ปูเลา” ซึ่งเป็นฉายานามของท่านในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงเหตุการณ์ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่างดร.ป๋วย กับพลตำรวจเอกอดุล และความช่วยเหลือที่ดร.ป๋วยได้รับในสมัยสงคราม

“พร้อม วัชระคุปต์.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน สันติประชาธรรม, หน้า 101-102. โดยป๋วย อึ๊งภากรณ์. – -  พระนคร : เคล็ดไทย. 2516. (DS 570.6 ป4)

เป็นบทความที่กล่าวสดุดี พร้อม วัชระคุปต์ ในด้านต่างๆ ได้แก่ สติปัญญา ความรอบรู้ การถ่อมตัว ความซื่อสัตย์สุจริต ตลอดจนความมีมานะ ในตอนต้นของบทความมีบันทึกนัดหมายสั้นๆ ของพร้อม ถึงดร.ป๋วยด้วย

“รักและคิดถึงประทีป สนธิสุวรรณ : จดหมายถึงคุณนงนาท สนธิสุวรรณ.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน ปาฐกถาพิเศษ บทสัมภาษณ์ และข้อเขียนบางเรื่องของนายประทีป สนธิสุวรรณ ในระหว่างปี พ.ศ. 2518-2524, หน้า 1. – - กรุงเทพฯ : ธนาคารแห่งประเทศไทย, 2524. – - .. ศพนายประทีป สนธิสุวรรณ (HC 497 ท9 ป3) (คน1.21)

เป็นจดหมายที่ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เขียนด้วยมือซ้าย เพื่อไว้อาลัยประทีป สนธิสุวรรณ โดยอ้างถึงข้อเขียนของพระธรรมเจดีย์จากมารชินนิพนธ์ เพื่อเป็นคติเตือนใจต่อการจากไปของประทีป สนธิสุวรรณ

“ศาสตราจารย์ พันตรี หม่อมเจ้าลักษณเลิศ ชยางกูร.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ พันตรี หม่อมเจ้าลักษณเลิศ ชยางกูร ณ เมรุวัดธาตุทอง 10 ก.ค. 2518, หน้า (11)-(12). – - กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง, 2518. (คน 1.22)

คำไว้อาลัยศาสตราจารย์ พันตรี หม่อมเจ้าลักษณเลิศ ชยางกูร อดีตอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และที่ปรึกษาอธิการบดีฝ่ายการต่างประเทศและกิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

“สดุดี ดร.สตางค์ มงคลสุข.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. 12 สิงหาคม 2514. – - 1 หน้า. (ต้นฉบับลายมือ – ถ่ายสำเนา) (คน1.11)

กล่าวถึงความสามารถในการทำงานของสตางค์ มงคลสุข ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาการศึกษาวิทยาศาสตร์ในระดับอุดมศึกษาของประเทศไทยให้เจริญก้าวหน้าทั้งในด้านการเรียนการสอน และการวิจัยทางวิชาการจนได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลให้เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ท่านเป็นผู้หนึ่งที่เล็งเห็นค่าระบบมหาวิทยาลัยในประเทศไทยจะเจริญได้ด้วยการปฏิรูปให้สถาบันต่างๆ มีอิสรภาพในการบริหารงานมากขึ้น นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงอัธยาศัยไมตรีอันดีงามของท่าน

“สำคัญที่เกียรติ.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน ดิเรก ชัยนาม ตามทัศนะของคนรู้จัก. - - กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2510. – - … ศพดิเรก ชัยนาม (DS 570.6 ด65 ส6) (คน 1.04)

ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ประทับใจในการตัดสินใจ ความกล้าหาญและการเสียสละในการทำงานของดิเรก ชัยนาม ซึ่งแบ่งออกเป็นสามระยะคือ ระยะแรกระหว่างสมครามญี่ปุ่น เมื่อท่านเป็นเสรีไทยชั้นอาวุโสและได้เดินทางไปเจรจาลับกับกองบัญชาการสัมพันธมิตรที่กรุงเคนดี ระยะที่สอง เมื่อท่านเป็นเอกอัครราชทูตไทย (คนแรก) ณ กรุงลอนดอน และระยะที่สามเมื่อท่านเป็นคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง โดยดร.ป๋วย ชี้ให้เห็นว่าหลักการในการทำงานของดิเรก ชัยนาม นั้นท่านให้ความสำคัญอยู่ที่เกียรติและศักดิ์ศรี

“อาลัยรัก ขำ พงศ์หิรัญ.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน สันติประชาธรรม, หน้า 103-105. โดยป๋วย อึ๊งภากรณ์. – - พระนคร : เคล็ดไทย, 2526. (DS 570.6 ป4)

เป็นบทความที่กล่าวคำไว้อาลัยแด่ ขำ พงศ์หิรัญ ซึ่งดร.ป๋วยเขียนทั้งในนามของเพื่อนร่วมรุ่น และในนามของตนเอง โดยได้กล่าวถึงความมีน้ำใจ และความซื่อสัตย์ของขำ พงศ์หิรัญ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงเรื่องราวภายในครอบครัว และหน้าที่ในการปฏิบัติงานของขำ พงศ์หิรัญด้วย บทความนี้ ดร.ป๋วย เขียนขึ้นในขณะที่อยู่ในประเทศอังกฤษ