Puey Ungphakorn [การพัฒนา]

การพัฒนา

ผลงานของ อ.ป๋วย อึ๊งภากรณ์

“ข้อคิดในการพัฒนาชาติ.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. วารสารสภาการศึกษาแห่งชาติ 6 (กันยายน 2514) : 15-33.

กล่าวถึงข้อคิดในการพัฒนาชาติ แบ่งเนื้อหาการบรรยายเป็น 2 ตอนคือ ตอนที่ 1 แสดงถึงข้อคิดส่วนตัวของดร.ป๋วย เกี่ยวกับการพัฒนาแห่งชาติโดยยึดหลักความจริง ความงามและความดี พร้อมทั้งเสนอแนวทางและวิธีการแก้ไขปัญหาสังคม ให้เป็นลักษณะของสังคมที่เจริญ ตอนที่ 2 เป็นการเสนอภาวะของประเทศไทยที่เกี่ยวกับการพัฒนาปัจจุบันในด้านปัญหาเศรษฐกิจ และปัญหาการเมืองระหว่างประเทศ พร้อมกับวิธีแก้ปัญหานั้นๆ

“ข้อคิดเรื่องการพัฒนาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สำหรับ ค.ศ.1980.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. บรรยายในการประชุมที่นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา จัดโดยกลุ่มที่ปรึกษาการพัฒนาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของสมาคมเอเชีย, มิถุนายน 2516. – - 17 หน้า. (อัดสำเนา) (กพ 1 / ภท 02)

“ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับนโยบายและผลงานทางด้านสังคมของการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศไทย.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน กิจการธนาคารแห่งประเทศไทยในสิบปีแรกและในรอบปีที่ยี่สิบ และข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับนโยบายและผลทางด้านสังคมของการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศไทย, หน้า 101-109. – - กรุงเทพฯ : ธนาคารแห่งประเทศไทย, 2511. – - …ศพนายโชติ คุณะเกษม. (HG 3350. 7 ธ 3 2511) (ศก 1. 24)

บทความนี้แปลจาก Some Observations on the Polities and Social Consequences of Economic Development in Thailand ที่ ดร.ป๋วย เขียนเป็นบทความลงในวารสาร World Economic Review of the Developing Countries ที่กรุงบอนน์ ประเทศเยอรมนี โดยมีเนื้อหากล่าวถึง สาระสำคัญและผลที่เกิดขึ้นจากากรวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยคือ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 1 (พ.ศ.2504-พ.ศ.2509) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 2 (พ.ศ.2510-2514) ซึ่งรัฐบาลได้ดำเนินนโยบายการพัฒนาด้านต่างๆ ตามลำดับความสำคัญของโครงการที่วางไว้ ได้แก่ การพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาเกษตรกรรม การพัฒนาสังคม และการพัฒนาอุตสาหกรรม ในตอนท้ายของบทความ ดร.ป๋วย ได้วิเคราะห์ถึงประสบการณ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยด้วย

“ความรับผิดชอบของสหภาพแรงงานต่อเศรษฐกิจและสังคม.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน คำบรรยายในการอบรมวิชาแรงงานสัมพันธ์แก่ผู้นำคนงาน, หน้า 175-187. บรรณาธิการ โดย ศุภชัย มนัสไพบูลย์. – - กรุงเทพฯ : คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2517. (H
D 8750. 5 ส 7)

เนื้อหาของบทความนี้กล่าวว่า เมื่อเกิดกลุ่มคนที่มีอาชีพต่างๆ ขึ้นมา เราจำเป็นที่จะต้องรวมกลุ่มคนในอาชีพเดียวกัน เช่น กลุ่มอาชีพครู กลุ่มอาชีพกรรมกร รวมกันจัดตั้งเป็นสมาคม หรือเป็นสหภาพแรงงาน เพื่อรับผิดชอบคนในอาชีพเดียวกัน รักษาผลประโยชน์ของสมาชิกแต่ละคน ช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อความอยู่รอดในสังคม

“ดร.ป๋วย : ทัศนะบางประการในด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมในรัฐบาลปัจจุบัน.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. 19 พฤษภาคม 2519. – - 11 หน้า (อัดสำเนา) (กป 1.08)

กล่าวถึงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของดร.ป๋วยต่อการบริหารของรัฐบาลในปี 2519 โดยดร.ป๋วยได้เสนอปัญหาต่างๆ ในสังคมปัจจุบันเพื่อให้รัฐบาลหาทางแก้ไขทั้งทางด้านสังคม การศึกษา ความสัมพันธ์ทางการเมืองกับต่างประเทศ การเมืองภายในประเทศ และปํญหาด้านนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของรัฐบาล

“นโยบายความมั่นคงแห่งชาติด้านเศรษฐกิจ.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ม.ป.ป. – - 2 หน้า. (2 ฉบับลายมือ) (กพ 1/ต 06)

ดร.ป๋วยได้กล่าวถึงนโยบายความมั่นคงแห่งชาติด้านเศรษฐกิจ ดังนี้คือ 1. เร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจส่วนรวมของชาติ 2. ธำรงรักษาไว้ซึ่งเสถียรภาพ และความมั่นคงในทางเศรษฐกิจและการเงิน 3. เร่งรัดระดมพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นชนบทเป็นพิเศษ 4. เพิ่มพูนประสิทธิภาพและขยายการผลิตทางเกษตรพร้อมกับการจัดหาตลาดที่ถาวรมั่นคง 5. ส่งเสริมอุตสาหกรรมภายในประเทศ 6. ส่งเสริมการค้าภายในและนอกประเทศ 7. ส่งเสริมระบบเศรษฐกิจ 8. สะสมและธำรงรักษาหลักทรัพย์ของชาติและรัฐบาลให้มั่นคง 9. ร่วมมือทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศ

“แนวความคิดยุทธศาสตร์ของชาติด้านเศรษฐกิจ : หัวข้อแถลง.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ม.ป.ป. – - 29 หน้า. (อัดสำเนา) (ศก 1.19)

กล่าวถึงการกำหนดวัตถุประสงค์ของชาติทางเศรษฐกิจ นโยบายเศรษฐกิจ แนวทางดำเนินการตามนโยบาย ดังนี้คือ ในยามปกติ ยามสงคราม ภายหลังสงคราม นโยบายทางทหารของชาติคือแผนการปฏิบัติทางยุทธศาสตร์ของทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ พร้อมด้วยการจัดกำลัง ตลอดจนแนวความคิดทางยุทธศาสตร์ของชาติได้แก่ นโยบายทางด้านสังคม วัฒนธรรมและจิตวิทยา ซึ่งแบ่งออกได้ 5 สาขา คือ สาขาสังคม สาขาศีลธรรมและวัฒนธรรม สาขาสาธารณสุข สาขาการศึกษา และสาขาจิตวิทยา

“แนวใหม่ในการพัฒนาประเทศ.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน เศรษฐศาสตร์ : รวมข้อคิดและข้อเขียนทางเศรษฐศาสตร์ของป๋วย อึ๊งภากรณ์, หน้า 176-198. โดยป๋วย อึ๊งภากรณ์. – - กรุงเทพฯ : สมาคมเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2523. (HB 53 ป5)

กล่าวถึงแนวทางและวิธีการในการพัฒนาชาติไทย โดยการเสนอประเด็นปัญหาว่า อะไรเป็นเรื่องของการพัฒนาชาติไทย และเหตุใดจึงคิดว่าควรจะมีแนวทางใหม่ในการดำเนินงานพัฒนา ดร.ป๋วย เสนอแนวทางในการพัฒนานี้เป็น 3 ส่วน คือ 1.การพัฒนาในด้านเศรษฐกิจ ปัญหาเศรษฐกิจและการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ 2. การพัฒนาในด้านสังคม ปัญหาสังคม ตลอดจนการแก้ปํญหาสังคม 3. การพัฒนาทางด้านการเมือง ปัญหาการเมือง ทั้ง 3 ส่วนนี้มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างใกล้ชิด โดยเน้นให้เห็นถึงความสำคัญและบทบาทของประชาชนทุกคนในแต่ละอาชีพ ซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าได้ ตอนท้ายบทความมีสาระสังเขปเป็นภาษาอังกฤษประกอบ

“ปํญหาและลำดับในการพัฒนา.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพนายประสงค์ สุนทรวิภาต, หน้า 20-22. – - กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์รวมมิตรไทย, 2510. (351.728 อ 154 ป)

ชี้ให้เห็นถึงปัญหาอันเป็นอุปสรรคในการบริหารประเทศ และสภาวะของประเทศที่ต้องพัฒนาในหลายๆ ด้านพร้อมๆ กัน ทำให้ต้องยึดหลัก “อะไรสำคัญทำก่อน” ตอนท้ายชี้ให้เห็นถึงองค์ประกอบในการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติด้วย

“ปัญหาสังคมไทย.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์.” ใน สันติประชาธรรม, หน้า 67-74. โดย ป๋วย อึ๊งภากรณ์. – - พระนคร : เคล็ดไทย, 2516. (DS 570. 6 ป  4)

เป็นการตอบปัญหาของดร.ป๋วย ในด้านต่างๆ เช่น สังคม การเมือง นอกจากนี้ ท่านยังได้เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องราวเหล่านี้ด้วย

“ลักษณะทั่วไปทางเศรษฐกิจของประเทศไทย : บรรยายในการอบรมวิชาสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 16 เมษายน 2511.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน สุนทรพจน์และข้อเขียนโดย ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ และรายงานการสำรวจต้นทุนการผลิตข้าวของชาวนาปีเพาะปลูก2512/13 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี, หน้า 53-74. – - พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, 2513. – - ศพพระยาราชวรัยการ (บู่ กันตะบุตร) (HB  53 ป 4)

เป็นการให้ข้อมูลอย่างกว้างๆ ในด้านปัจจัยในการศึกษาและการสอนเกี่ยวกับเศรษฐกิจ และเสนอหลัก 3 ประการในการดำเนินงานเศรษฐกิจ คือ 1. ต้องมีการพัฒนาเศรษฐกิจ ผลผลิต และรายได้ของประชาชาติทั้งชาติควรเพิ่มขึ้นเสมอ 2. รายได้ที่เพิ่สมนี้ จำเป็นจะต้องเฉลี่ยให้ทั่วถึงกัน 3. พยายามให้ความเจริญและการพัฒนามีเสถียรภาพสม่ำเสมอ นอกจากนี้ ดร.ป๋วย ยังชี้แจงข้อเท็จจริงของลักษณะทั่วไปทางเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยพิจารณาจากรายงานประจำปี 2510 ของธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย

“หลักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. เค้าโครงการบรรยายที่คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ วิชาการหนังสือพิมพ์ภาคค่ำ มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์, 2510. – - 11 หน้า. (อัดสำเนา) (มธ 4/ต/กพ 01)

เป็นแนวทางการบรรยายของดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ แก่นักศึกษาคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แรงงานและการพัฒนา นโยบายของรัฐบาลในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การวางผังพัฒนาเศรษฐกิจ การวางแผนเศรษฐกิจของไทย และบทเรียนบางอย่างจากประสบการณ์ของท่าน ตอนท้ายมีรายชื่อหนังสือและวารสารที่ใช้ประกอบการศึกษา

“Economic Development and Foreign Investment in Thailand.” / Puey Ungphakorn. n.d. – - 4 p. (Mimeographed.) (กพ 1.11)

กล่าวถึงข้อมูลโดยย่อของประเทศไทย และพัฒนาการของประเทศตั้งแต่ปี 2489 เป็นต้นมา ตลอดจนบทบาทของรัฐบาลไทยในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ การส่งเสริมอุตสาหกรรม และการลงทุนจากต่างประเทศ

“Economic Development in Thailand 1955-1964.” / Puey Ungphakorn. August 27, 1965. – - 25p. (Mimeographed.) (กพ 1.04)

กล่าวถึงการพัฒนาการเศรษฐกิจของประเทศไทยในช่วงพ.ศ.2498-2507 เกริ่นความตั้งแต่ภาวะหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การปรับปรุงมาตรการการค้าและการแลกเปลี่ยน การปรับปรุงงบประมาณ การเงินและการธนาคาร การกระตุ้นภาคเอกชนและการส่งเสริมอุตสาหกรรม การเจริญเติบโตในด้านผลผลิตการเกษตร อุตสาหกรรม การค้าและดุลการชำระเงิน นโยบายการเงินของรัฐบาล ตลอดจนปัญหาและข้อได้เปรียบที่ได้จากการพัฒนา

“Government and Business.” / Puey Ungphakorn. In Best Wishes for Asia, pp. 48-54. By Puey Ungphakorn. – - Bangkok : Klett Thai, 1975. – - Address to the Thailand Management Association, National Management Conference, October 20, 1969. (9 HC 412 P 8)

กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับธุรกิจเอกชน โดยเฉพาะบทบาทของรัฐบาลในฐานะผู้ประสานงานระหว่างผู้นำทางธุรกิจเอกชนและรัฐบาลในการพัฒนาประเทศให้มีประสิทธิภาพนั้น รัฐบาลควรให้ความช่วยเหลือแก่เอกชนในด้านต่างๆ ควรให้ความช่วยเหลือในด้านภาษีอากรและให้การสนับสนุนในปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนาประเทศ อาทิเช่น การคมนาคม การสื่อสาร ท่าเรือ การผลิตแรงงานฝีมือ นอกจากนี้ รัฐบาลจะต้องวางแผนในการพัฒนาประเทศ โดยเน้นที่การศึกษาและการฝึกอบรมทรัพยากรมนุษย์

“The Society of Siam.” / Puey Ungphakorn. In Best Wishes for Asia, pp. 27-33. By Puey Ungphakorn. – - Bangkok : Klett Thai, 1975. – - Address to the 70th Anniversary of the Siam Society, February 27, 1974. (9 HC 412 P 8)

กล่าวถึงลักษณะของสังคมไทยในเรื่องค่านิยม วัฒนธรรม เศรษฐกิจและการเมือง โดยกล่าวถึงประวัติศาสตร์ของชาติไทย วัฒนธรรม และประเพณีในสังคมไทยต่างๆ เช่น การถือเรื่องโชคลาง ธรรมเนียมในการแต่งงาน ค่านิยมต่างๆ ที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศ โดยยกตัวอย่างจากสุภาษิตคำคมต่างๆ จากนั้นกล่าวถึงสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม การค้าของประเทศไทยว่ามีช่องว่างระหว่างชนชั้น ความแตกต่างระหว่างเมืองและชนบท ประชาชนขาดวินัยรักความสะดวกสบาย ในด้านการเมืองนั้นประชาชนขาดอิสระในการแสดงออกทางการเมืองและยังขาดสามัญสำนึกในการมีส่วนร่วมทางการเมืองอันเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาทางการเมืองด้วย

“Thailand’s Economic Progress.” / Puey Ungphakorn. – - In Best Wishes for Asia, pp. 34-38. By Puey Ungphakorn. – - Bangkok : Klett Thai, 1975. – - Extract from an Address to the Thai Bankers Association, 11 February 1970. (9 HC 412 P 8)

กล่าวถึงการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย ในช่วงที่ ดร.ป๋วย ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นและหนทางแก้ไขในอนาคต โดยขอความร่วมมือจากธนาคารพาณิชย์ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาและพัฒนาประเทศชาติต่อไป

ความจำเริญทางเศรษฐกิจตามลำดับชั้น = Stages of Economic Growth. / W.W. Rostow; แปลและเรียบเรียงโดย ม.ร.ว.จันทรแรม ศิริโชค จันทรทัต; ตรวจการแปลโดย ป๋วย อึ๊งภากรณ์. – - พระนคร : สภาวิจัยแห่งชาติ, 2508. (HB 199 ร 5)

หนังสือเล่มนี้เป็นงานแปลของสภาวิจัยแห่งชาติอันดับที่ 10 ซึ่งดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจการแปลให้ เนื้อหาในหนังสือนี้มีวัตถุประสงค์จะช่วยให้ผู้อ่านได้ประจักษ์ในวิวัฒนาการ และแนวโน้มทางเศรษฐกิจ และสามารถพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และการเมืองที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้