ค้นหา
เมนู
- หน้าหลัก
- หมวดหมู่
- ภัยพิบัติ (65)
- ธรรมชาติ (286)
- วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (172)
- สังคม (2814)
- วัฒนธรรม (3270)
- ความรู้พื้นฐานทางวัฒนธรรม (19)
- ชาติพันธุ์ (531)
- ประเพณี (780)
- ภูมิปัญญาไทย (1652)
- การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ (11)
- การแต่งกาย (25)
- การรักษาโรค (67)
- การละเล่นพื้นบ้านและนาฏศิลป์ (381)
- การศึกษา (2)
- งานช่างฝีมือพื้นบ้าน (385)
- ผ้าทอ (300)
- งานหล่อ (0)
- งานแกะสลัก (11)
- งานปั้น เครื่องปั้นดินเผา และเซรามิก (12)
- ภาพเขียน (1)
- เครื่องถม (0)
- เครื่องจักรสาน (36)
- เครื่องทอง (1)
- เครื่องเงิน (2)
- เครื่องกระดาษ (2)
- เครื่องเขิน (2)
- เครื่องไม้ (7)
- เครื่องรัก (0)
- เครื่องโลหะ (6)
- เครื่องหนัง (0)
- อัญมณีและเครื่องประดับ (0)
- งานช่างฝีมืออื่นๆ (4)
- ที่อยู่อาศัย (99)
- ภาษาและวรรณกรรม (290)
- ศิลปะการป้องกันตัว (8)
- อาชีพและวิธีการหากิน (27)
- อุปกรณ์หากินและของใช้ (154)
- อาหาร (203)
- เครือข่ายทางวัฒนธรรม (204)
- วัฒนธรรมหลวง (17)
- เนื้อหาวัฒนธรรมรอจัดหมวด (0)
- ศิลปะและการบันเทิง (699)
- ศาสนาและจิตวิญญาณ (7090)
- เนื้อหารอจัดหมวด (26)
- ค้นหาชั้นสูง
- บริจาคเนื้อหา
- เกี่ยวกับโครงการ
ล็อกอิน
ผ้ายกเมืองไทย - จ.สุรินทร์, จ.แพร่
ผ้ายกเมืองไทย : จังหวัดสุรินทร์
เอกลักษณ์ ลวดลาย และการใช้ประโยชน์
พบการทอผ้าไหมยกดอก จำแนกได้เป็น
1. ผ้าทอลายสองยกดอก ได้แก่ ลายลูกแก้ว 6 ตะกอ 8 ตะกอลายผักแว่นหรือเม็ดพริกไทย ลายไข่แมงมุม โดยทอเป็นผ้าผืนสำหรับตัดชุด และนิยมทำเป็นผ้าสไบทั้งสำหรับผู้ชายและผู้หญิง ผ้าสไบผู้ชายจะเป็นลายตารางยกดอกที่ชายผ้า ส่วนผ้าสไบผู้หญิงทอเป็นผ้ายกดอก (ฉนูดเล็ก) และมักใช้สีดำหรือสีขาว
2. ผ้าทอยกเป็นลายตารางเล็กทอโดยใช้เส้นยืนหลาย ๆ สี สีละ 2-4 เส้น เรียงสลับกันไปตามหน้ากว้างของผืนผ้า ทอ 4 ตะกอ โดยทอยกทีละ 2 ตะกอ จากการสำรวจพบลายละเบิกลายเกล็ดเต่า นิยมทอเป็นผ้าผืนสำหรับตัดชุด
3. ผ้าทอยกดอกลายลูกไม้เป็นผ้าที่มีการทอยกดอกนูน เป็นลายดอกพิกุล 4 ตะกอและ 6 ตะกอ ลายดอกจัน 9 ตะกอ 10 ตะกอ 12 ตะกอ ส่วนใหญ่นิยมใช้ทอเป็นผ้านุ่งและผ้าผืนสำหรับตัดชุด ในพื้นที่ดังกล่าวมีการทอผ้าไหมมัดหมี่ยกดอก ด้วยวิธีผสมผสานกัน ระหว่างผ้ามัดหมี่ และผ้าทอยกดอกรวมในผืนเดียวกัน
กระบวนการ ปัญหา และอุปสรรค ทางด้านการผลิตและการจำหน่าย
แต่เดิมการทอผ้ายกดอกของจังหวัดนี้จะใช้เท้าเหยียบตะกอสลับกันไปมา ตามลวดลายที่ได้กำหนดไว้ แต่ในปัจจุบันหันมานิยมใช้การยกตะกอด้วยมือทีละตะกอสลับกับทอลายขัดจนครบลวดลายหนึ่ง จากนั้นเริ่มต้นใหม่จนครบตะกอที่กำหนดไว้ เช่น 4 ตะกอ หรือ 8 ตะกอ เป็นต้น มักใช้ไหมน้อยในการทอ ซึ่งทำให้เนื้อผ้ามีความละเอียดย้อมสีโดยใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ และเน้นการทอแน่น เพื่อให้เนื้อผ้าที่ได้มีความหนา
ผ้าไหมยกดอกลายประกาจันทร์
ผ้ายกเมืองไทย : จังหวัดแพร่
เอกลักษณ์ ลวดลาย และการใช้ประโยชน์
จังหวัดแพร่เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคเหนือที่ได้พบการทอผ้ายกแต่ไม่แพร่หลายนัก จากการสำรวจได้พบการทอผ้ายกที่ กลุ่มสตรีบ้านค้างตะนะ ตำบลบ่อเหล็กลอง อำเภอวังชิ้นทอเป็นลายดอกพิกุล ลายดอกแก้ว เป็นต้น
ผ้ายกลายดอกพิกุลที่อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่
ผ้ายกลายดอกแก้ว ที่อำเภอลอง จังหวัดแพร่
ต้นฉบับ : http://www.thaitextilemuseum.com/HOME/PHAYOK/phayok.html