ค้นหา
เมนู
- หน้าหลัก
- หมวดหมู่
- ภัยพิบัติ (65)
- ธรรมชาติ (286)
- วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (172)
- สังคม (2814)
- วัฒนธรรม (3270)
- ความรู้พื้นฐานทางวัฒนธรรม (19)
- ชาติพันธุ์ (531)
- ประเพณี (780)
- ภูมิปัญญาไทย (1652)
- การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ (11)
- การแต่งกาย (25)
- การรักษาโรค (67)
- การละเล่นพื้นบ้านและนาฏศิลป์ (381)
- การศึกษา (2)
- งานช่างฝีมือพื้นบ้าน (385)
- ผ้าทอ (300)
- งานหล่อ (0)
- งานแกะสลัก (11)
- งานปั้น เครื่องปั้นดินเผา และเซรามิก (12)
- ภาพเขียน (1)
- เครื่องถม (0)
- เครื่องจักรสาน (36)
- เครื่องทอง (1)
- เครื่องเงิน (2)
- เครื่องกระดาษ (2)
- เครื่องเขิน (2)
- เครื่องไม้ (7)
- เครื่องรัก (0)
- เครื่องโลหะ (6)
- เครื่องหนัง (0)
- อัญมณีและเครื่องประดับ (0)
- งานช่างฝีมืออื่นๆ (4)
- ที่อยู่อาศัย (99)
- ภาษาและวรรณกรรม (290)
- ศิลปะการป้องกันตัว (8)
- อาชีพและวิธีการหากิน (27)
- อุปกรณ์หากินและของใช้ (154)
- อาหาร (203)
- เครือข่ายทางวัฒนธรรม (204)
- วัฒนธรรมหลวง (17)
- เนื้อหาวัฒนธรรมรอจัดหมวด (0)
- ศิลปะและการบันเทิง (699)
- ศาสนาและจิตวิญญาณ (7090)
- เนื้อหารอจัดหมวด (26)
- ค้นหาชั้นสูง
- บริจาคเนื้อหา
- เกี่ยวกับโครงการ
ล็อกอิน
สุดยอดผ้าเมืองไทย - ภาคเหนือ ประเภทผ้าไหม
สุดยอดผ้าภาคเหนือ ประเภทผ้าไหม
รางวัลชนะเลิศ ผ้าไหมทอยกดอกลายสุริยะฉาย
ความเป็นมา
ผ้าทอยกดอกพื้นบ้านแท้จริงแล้วมีลวดลายเฉพาะตัวมากมาย แต่ลายสุริยะฉายนี้ เป็นลายผ้าโบราณสมัยพ.ศ. 2490 ที่เจ้านายนำมาให้ถอดลายแล้วประยุกต์ให้เข้ากับสมัยใหม่ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2542
จุดเด่น เป็นลายโบราณประยุกต์ที่มีเอกลักษณ์และดูทันสมัย
สถานที่ติดต่อ นางอรสา คุณแสงคำ 78 ถ. ช้างฆ้อง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ลำพูน 51000
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1ผ้าไหมทอมือลายน้ำไหลไทลื้อ
ความเป็นมา
สืบเนื่องมาจากเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดน่านล้วนนิยมปลูกหม่อนเลี้ยงไหลมาก และนำเส้นไหมที่ได้จากการผลิตในครัวเรือนนั้นมาทอผ้าเป็นลวดลายต่างๆ ภายหลังมีการผสมผสานระหว่างลายพื้นเมืองกับลายเฉพาะของกลุ่มชนชาติไทลื้อ จนเกิดเป็นลายน้ำไหลไทลื้อขึ้น โดยลายน้ำไหลเดิมนั้น เป็นการจำลองลายน้ำหรือคลื่นน้ำซึ่งดูมีชีวิต เหมือนน้ำกำลังกระเพื่อนเป็นลูกคลื่นจริงๆ มาเป็นลวดลายในการทอผสมผสานกับลายเรขาคณิตสีสันสดใสซึ่งเป็นลวดลายเฉพาะตัวของชาวไทลื้อจนกลายเป็นลายเอกลักษณ์ของเมืองน่านในที่สุด
จุดเด่น สีสันสดใส ทออย่างละเอียดประณีต ลวดลายมีเอกลักษณ์ สะท้อนถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวชนบทที่รักสันโดษและมีอิสระ
สถานที่ติดต่อ กลุ่มทอผ้าไหมบ้านนาผา เลขที่ 272 หมู่ที่ 3 ต.กองควาย อ.เมืองน่าน จ.น่าน 55000
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ผ้าไหมลายภูพิงค์
ความเป็นมา
ผ้าทอลายจก เป็นผ้าทอลวดลายโบราณ ที่สืบทอดมาจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษของจังหวัดแพร่ ที่คิดลวดลายมาจากลักษณะของพืชพรรณ หรือลักษณะของสัตว์ในท้องถิ่น ผ้าไหมลายภูพิงค์ใช้ลายต้นแบบจากผ้าจกโบราณ ชื่อลายขอหักเล็ก ที่มีอายุมากกว่า 200 ปีผู้ทอได้พัฒนาด้วยการทอเป็นลายจกเต็มผืนแทนการทอ เฉพาะเชิงผ้าและตั้งชื่อลายของผ้าจกนี้ว่าลายภูพิงค์เพื่อเป็นอนุสรณ์ เนื่องจากได้ทอผ้านี้ขึ้นเมื่อครั้งไปเป็นนักเรียนศิลปาชีพอยู่ที่พระตำหนักภูพิงค์
จุดเด่น ทอลายจกเต็มตัว ยืนด้วยไหมต่ำ ไหมสอดด้วยดิ้นลายภูพิงค์
สถานที่ติดต่อ นางประนอม ทาแปง เลขที่ 46 หมู่ 2 ต.หัวทุ่ง อ.ลอง จ.แพร่ 54150
ขอบคุณ
เนื้อหาและรูปภาพจากหนังสือสุดยอดผ้าไทย
ต้นฉบับ : http://www.thaitextilemuseum.com/HOME/Toptextile/toptextile.html