ค้นหา
เมนู
- หน้าหลัก
- หมวดหมู่
- ภัยพิบัติ (65)
- ธรรมชาติ (286)
- วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (172)
- สังคม (2814)
- วัฒนธรรม (3270)
- ความรู้พื้นฐานทางวัฒนธรรม (19)
- ชาติพันธุ์ (531)
- ประเพณี (780)
- ภูมิปัญญาไทย (1652)
- เครือข่ายทางวัฒนธรรม (204)
- วัฒนธรรมหลวง (17)
- เนื้อหาวัฒนธรรมรอจัดหมวด (0)
- ศิลปะและการบันเทิง (699)
- ศาสนาและจิตวิญญาณ (7090)
- เนื้อหารอจัดหมวด (26)
- ค้นหาชั้นสูง
- บริจาคเนื้อหา
- เกี่ยวกับโครงการ
ล็อกอิน
อาหารล้านนา - แคบ / แครบ
อาหารล้านนา : แคบ / แครบ
แคบ คือมันของสัตว์ที่เจียวเอาน้ำมันออกแล้ว มีลักษณะกรอบ นิยมใช้เป็นอาหาร มีหลายชนิดแล้วแต่มันจากสัตว์ชนิดนั้น ๆ เช่น
แคบไข คือมันของวัวหรือควายที่เจียวเอาน้ำมันออกแล้ว นิยมนำมากินกับน้ำพริกผัก
แคบควาย คือ มันของควายที่เจียวเอาน้ำมันออกแล้วคล้ายกับแคบไข นิยมนำมากินกับน้ำพริกตาแดง
แคบหมู คือ หนังหมูติดมันที่เจียวเอาน้ำมันออกแล้วโดยนำหนังหมูติดมันนั้นมาหั่นเป็น ชิ้นแล้วใส่ในกระทะตั้งบนไฟอ่อน ๆ เรียกว่า ‘' ฮ้วม '' คอยกลับอยู่เสมออย่าให้ไหม้ตั้งไฟจนกว่าพอคะเนว่าน้ำมันออกพอสมควรและไม่ แห้งเกินไปแล้วจึงยกขึ้นสะเด็ดน้ำมัน เวลาจะทอดให้พอง จึงจะตั้งกระทะเอาน้ำมันใส่ให้มากแล้วเร่งไฟให้ร้อน แล้วเอาหนังหมูนั้นลงทอด ก็จะได้แคบหมู ซึ่งโดยปกติส่วนที่เป็นหนังนั้นจะพองและกรอบ ส่วนที่เป็นมันอาจไม่ต้องกรอบก็ได้ ขั้นตอนที่ทอดแคบหมูให้พองนี้เรียกว่า สู่แคบหมู
แคบหมูที่ไดสามารถนำไปรับประทานเป็นอาหาร เช่น กินกับน้ำพริกต่าง ๆ ใช้ตำน้ำพริก หรือใส่แกง เช่น แกงบอน แกงผักแคบ ( แกงผักตำลึง ) ก แกงหน่อไม้ เป็นต้น ปัจจุบันแคบหมูมีทั้งชนิดที่ติดมันและชนิดที่ไม่มีมันติดหนังจำหน่ายทั่วไป แต่ชาวบ้านล้านนาดั้งเดิมจริง ๆ ส่วนมากจะรับประทานแคบหมูเป็นอาหาร มากกว่าเป็นอาหารกินเล่น ๆ