รูปหัมยันต์ (2) - จากล้านนาแกลเลอรี เว็บไซต์ล้านนาคดี

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
10/11/2008
หัมยันต์ หัมยันต์ หัมยันต์ หัมยันต์ หัมยันต์
ที่มา: 
เว็บไซต์ล้านนาคดี http://lanna.mju.ac.th/ "ทุกภาพ ทุกตัวอักษร มอบเป็นวิทยาทานแด่ทุกท่าน"

หัมยันต์

หัมยนต์ เป็นคำที่สันนิษฐานขึ้นจากรูปศัพท์เดิม โดยแปลว่า “ ส่วนปลายของปราสาทโล้น ” ซึ่งเห็นได้ว่าชิ้นส่วนของสถาปัตยกรรมในลักษณะเดียวกันนี้ยังพบที่หน้าบัน ของวิหารด้วยเช่นกัน หากเขียน “ หำยน ” ตามที่พบทั่วไปนั้น มักได้รับคำอธิบายว่าเป็นคำซึ่งประกอบด้วย หำ และ ยนต์ บางคนเรียก หำโยน หรือ ห้ามโยน ก็มี “ หำ ” เป็นศัพท์ไทยวน (โยนกคำเมือง) แปลว่าอัณฑะ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งรวมแห่งพลังของบุรุษ ยนมาจากรากศัพท์สันสกฤตว่ายนตร์ มีความหมายว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สำหรับปกป้อง ป้องกันรักษา “ หำยน ” ตามทัศนคติของล้านนามีไว้ เพื่อทำหน้าที่เป็นยันต์อันศักดิ์สิทธิ์ที่ป้องกัน และขับไล่ภยันตรายต่างๆ จากภายนอก มิให้ผ่านประตูเข้าไปในตัวเรือนหรือห้องนอน เป็นการป้องกันอันตรายให้แก่ผู้ที่หลับนอนภายในห้องนั้น ซึ่งผู้วิจัยได้สอบถามเจ้าของเรือนกาแลบางแห่ง ได้รับคำบอกเล่าถึงความศักดิ์สิทธิ์ของหัมยนต์ เมื่อมีการขายบ้านเหล่านี้ก่อนย้ายเข้าหรือรื้อถอน เจ้าของบ้านคนใหม่จะตีหัมยนต์แรงๆ (ภาษาล้านนาคำว่า บุบ แปลว่าทุบตี) เพื่อทำลายความขลัง การทุบตี “ หำยน ” เปรียบเสมือการตีลูกอัณฑะวัวหรือควายในการทำหมันในสมัยก่อน ซึ่งเป็นการทำให้หมดสมรรถภาพ การหมดความศักดิ์สิทธิ์ของหัมยนต์ ก็เฉกเช่นกัน เช่นเดียวกับรูปของเรือนที่ว่าพม่าบังคับให้ทำคล้ายโลงศพ มีผู้กล่าวว่า “ หำยน ” เป็นอัณฑะของคนพม่าที่ติดไว้เหนือประตู เมื่อเจ้าของบ้านหรือผู้คนในบ้านเดินเข้าออก ต้องลอดใต้อัณฑะ ซึ่งเป็นการข่มทำลายจิตใจมิให้กระด้างกระเดื่องต่อพม่า ความยาวของหัมยนต์หรือความกว้างของประตูเรือนถูกกำหนดโดยการวัดความยาวเท้า ของเจ้าของบ้าน เช่น ยาวเป็น ๓ หรือ ๔ เท่า