ค้นหา
เมนู
- หน้าหลัก
- หมวดหมู่
- ภัยพิบัติ (65)
- ธรรมชาติ (286)
- วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (172)
- สังคม (2814)
- วัฒนธรรม (3270)
- ความรู้พื้นฐานทางวัฒนธรรม (19)
- ชาติพันธุ์ (531)
- ประเพณี (780)
- ภูมิปัญญาไทย (1652)
- เครือข่ายทางวัฒนธรรม (204)
- วัฒนธรรมหลวง (17)
- เนื้อหาวัฒนธรรมรอจัดหมวด (0)
- ศิลปะและการบันเทิง (699)
- ศาสนาและจิตวิญญาณ (7090)
- เนื้อหารอจัดหมวด (26)
- ค้นหาชั้นสูง
- บริจาคเนื้อหา
- เกี่ยวกับโครงการ
ล็อกอิน
การละเล่นพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - ก๊อกล๊อต
ก๊อกล๊อต
ภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด เลย
- อุปกรณ์และวิธีเล่น
อุปกรณ์ที่เล่นประกอบด้วยแผ่นไม้กระดานแผ่นเรียบ ๑ แผ่น ไม้ขนาดหน้าสาม ๑ ท่อน และเหรียญบาทหรือเหรียญห้าบาท หรือเหรียญสิบบาท
- วิธีการเล่น
เริ่มโดยเตรียมสถานที่เป็นที่โล่งแล้วนำไม้กระดานแผ่นเรียบไปพิงไว้ที่ใดที่ หนึ่งให้ทำมุมเฉียง ๔๕ องศา ต่อจากนั้นนำไม้หน้าสามไปวางเป็นแนวนอนให้อยู่ตรงข้ามกับไม้กระดานแผ่นเรียบ โดยให้ห่างจากกันประมาณ ๑ เมตร เมื่อเตรียมทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยผู้เล่นจะมีจำนวนกี่คนก็ได้เข้าแถวเพื่อ รอคิวกลิ้งเหรียญจากแผ่นไม้กระดานแผ่นเรียบไปกระทบแผ่นไม้หน้าสาม การตัดสิน หากเหรียญของผู้เล่นคนใดกระเด็นออกไปไกลที่สุดก็จะถือว่าเป็นผู้ชนะ รางวัล คือ เหรียญทั้งหมดที่มีผู้ลงเล่นในแต่ละครั้ง แต่การละเล่นก๊อกล๊อคมีเงื่อนไขข้อหนึ่งว่า การใช้เหรียญเพื่อแข่งขันผู้เล่นต้องใช้เหรียญประเภทเดียวกัน
- โอกาสหรือเวลาที่เล่น
นิยมเล่นในช่วงเดือนเมษายนของทุกปีคือเทศกาลสงกรานต์
- คุณค่า/แนวคิด/สาระ
การละเล่นก๊อกล๊อคมิใช่การละเล่นที่มุ่งเพื่อการพนัน แต่เป็นการละเล่นเพื่อความสนุกสนาน คลายความเครียดความเหน็ดเหนื่อย หลังจากฤดูเก็บเกี่ยวข้าว อีกทั้งเป็นการเชื่อมความสมัครสมานสามัคคี