ค้นหา
เมนู
- หน้าหลัก
- หมวดหมู่
- ภัยพิบัติ (65)
- ธรรมชาติ (286)
- วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (172)
- สังคม (2814)
- วัฒนธรรม (3270)
- ความรู้พื้นฐานทางวัฒนธรรม (19)
- ชาติพันธุ์ (531)
- ประเพณี (780)
- ภูมิปัญญาไทย (1652)
- เครือข่ายทางวัฒนธรรม (204)
- วัฒนธรรมหลวง (17)
- เนื้อหาวัฒนธรรมรอจัดหมวด (0)
- ศิลปะและการบันเทิง (699)
- ศาสนาและจิตวิญญาณ (7090)
- เนื้อหารอจัดหมวด (26)
- ค้นหาชั้นสูง
- บริจาคเนื้อหา
- เกี่ยวกับโครงการ
ล็อกอิน
หน้าแรก › หมวดหมู่ › วัฒนธรรม (3270) › ภูมิปัญญาไทย (1652) › การละเล่นพื้นบ้านและนาฏศิลป์ (381) › การละเล่นพื้นบ้าน (141) ›
การละเล่นพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - ขาโถกเถก
เขียนโดย njoy เมื่อ เสาร์, 12/13/2008 - 20:18. | in
วันที่เอกสารถูกสร้าง:
13/12/2008
ที่มา:
ประเพณีไทยดอทคอม http://www.prapayneethai.com/
ขาโถกเถก
ภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด ศรีสะเกษ
- อุปกรณ์
ขาโถกเถก ทำด้วยไม้ไผ่ยาวประมาณ ๒-๓ เมตร จำนวน ๒ ท่อน จากนั้นเจาะรูเพื่อทำขาสำหรับวางเท้า เมื่อขึ้นยืนแล้วเดินไปโดยให้มีความสูงตามต้องการที่เหมาะกับความสามารถใน การทรงตัวของผู้เล่น การเจาะรูนั้นต้องตรงกันกับไม้ทั้ง ๒ และทำให้แข็งแรงมั่นคง
- วิธีการเล่น
๑. การเริ่มต้น ผู้เล่นจะขึ้นไปยืนบนขาโถกเถก
๒. เดินแข่งกัน โดยไม่ให้ตกลงมาหรือเสียการทรงตัว
๓. การสิ้นสุดการเล่น ใครที่เดินนานมีระยะทางไกลกว่าหรือถึงเส้นชัยก่อน โดยที่ไม่ตกเลยจะเป็นผู้ชนะ
- โอกาสที่เล่น
นิยมเล่นในการเดินขบวนแห่ในงานประเพณี
- คุณค่า/สาระ
ผู้เล่นได้รับความสนุกสนานเสริมสร้างความสามัคคี และออกกำลังกายเพราะคนที่แข็งแรงจะเดินได้นานในระยะทางที่ไกล