ค้นหา
เมนู
- หน้าหลัก
- หมวดหมู่
- ภัยพิบัติ (65)
- ธรรมชาติ (286)
- วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (172)
- สังคม (2814)
- วัฒนธรรม (3270)
- ความรู้พื้นฐานทางวัฒนธรรม (19)
- ชาติพันธุ์ (531)
- ประเพณี (780)
- ภูมิปัญญาไทย (1652)
- เครือข่ายทางวัฒนธรรม (204)
- วัฒนธรรมหลวง (17)
- เนื้อหาวัฒนธรรมรอจัดหมวด (0)
- ศิลปะและการบันเทิง (699)
- ศาสนาและจิตวิญญาณ (7090)
- เนื้อหารอจัดหมวด (26)
- ค้นหาชั้นสูง
- บริจาคเนื้อหา
- เกี่ยวกับโครงการ
ล็อกอิน
หน้าแรก › หมวดหมู่ › วัฒนธรรม (3270) › ภูมิปัญญาไทย (1652) › การละเล่นพื้นบ้านและนาฏศิลป์ (381) › การแสดงพื้นบ้านและนาฏศิลป์ (141) ›
การละเล่นพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - หนังตะลุงบ้านผึ้งเพียมาตร
เขียนโดย njoy เมื่อ เสาร์, 12/13/2008 - 20:26. | in
วันที่เอกสารถูกสร้าง:
13/12/2008
ที่มา:
ประเพณีไทยดอทคอม http://www.prapayneethai.com/
หนังตะลุงบ้านผึ้งเพียมาตร
ภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด ศรีสะเกษ
- อุปกรณ์การเล่น
ตัวหนังที่เป็นรูปพระราม ตัวทหาร ตัวตลก ที่มีชื่อและลักษณะท่าทางเหมือนคนอีสาน เช่น ปลัดตื้อ บักป่อง บักแหมบ เวทีที่ใช้แสดงจะอยู่ระดับสายตา ส่วนจอจะสูงจากเวทีประมาณ ๑ เมตร ขนาดของเวทีกว้างประมาณ ๑.๘๐ เมตร ยาวประมาณ ๕.๓๐ เมตร แสงไฟที่ส่องจอใช้ตะเกียงโป๊ะ (เจ้าพายุ) ต่อมาใช้หลอดไฟฟ้าขนาด ๖๐, ๙๐ แรงเทียน
- วิธีการเล่น
ผู้เชิดและผู้พากย์เป็นคนเดียวกัน นักดนตรี ๓ คน มีกลอง แคน และระนาดเอก ปัจจุบันได้พัฒนาตามความนิยมของผู้ชม คือ ใช้ทำนองหมอลำซิ่ง เพื่อความสนุกสนาน นิยมแสดงเรื่องรามเกียรติ์ ตอนพระรามออกบวชจนกระทั่งพระรามกลับมาครองเมือง
- คุณค่า/สาระ
สะท้อนให้เห็นศิลปะการแกะสลักตัวหนัง การบรรเลง ดนตรีการขับร้อง ทั้งผู้เล่น ผู้ชม มีความสนุกสนาน