ค้นหา
เมนู
- หน้าหลัก
- หมวดหมู่
- ภัยพิบัติ (65)
- ธรรมชาติ (286)
- วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (172)
- สังคม (2814)
- วัฒนธรรม (3270)
- ความรู้พื้นฐานทางวัฒนธรรม (19)
- ชาติพันธุ์ (531)
- ประเพณี (780)
- ภูมิปัญญาไทย (1652)
- เครือข่ายทางวัฒนธรรม (204)
- วัฒนธรรมหลวง (17)
- เนื้อหาวัฒนธรรมรอจัดหมวด (0)
- ศิลปะและการบันเทิง (699)
- ศาสนาและจิตวิญญาณ (7090)
- เนื้อหารอจัดหมวด (26)
- ค้นหาชั้นสูง
- บริจาคเนื้อหา
- เกี่ยวกับโครงการ
ล็อกอิน
การละเล่นพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - การฟ้อนโซ่ทั่งบั่งในปัจจุบัน (การแสดงลายกลองกิ่งชาวไทโซ่)
การฟ้อนโซ่ทั่งบั่งในปัจจุบัน (การแสดงลายกลองกิ่งชาวไทโซ่)
ภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด สกลนคร
- อุปกรณ์ และวิธีการแสดง
อุปกรณ์ประกอบด้วย
๑.กลองกิ่ง ๑ คู่
๒.ไม้ตีกลอง ๑ คู่
๓.ผู้แสดง ๑ คน
๔.นักดนตรีและอุปกรณ์ดนตรีพื้นบ้าน ๕-๖ คน ประกอบด้วย แคน พิณ ซอ และเครื่องประกอบจังหวะ ได้แก่ กลองตุ้ม พังฮาด แฉ่ง ไม้กั้บแก้บ เป็นต้น
- วิธีแสดง
ลายกลอง คือ ทำนองกลอง หรือจังหวะกลอง ชาวอีสานโดยเฉพาะชาวโส้หรือกระโซ่ ในจังหวัดสกลนคร นิยมนำกลองกิ่งหรือกลองเส็งมาตีให้จังหวะดนตรีหรือประกอบท่าฟ้อนรำ ในการตีกลองกิ่งนั้น นักตีกลองจะประดิษฐ์ท่าทีการตีให้สวยงามเข้ากับจังหวะเสียงกลองด้วย และเสียงกลองนั้นจะตีเป็นจังหวะทำนองเรียกว่า "ลายกลอง" อีกด้วย
อันเนื่องจากมนุษย์เป็นผู้ช่างคิดช่างประดิษฐ์เป็นนิสัย ในขณะตีกลองให้มีจังหวะคึกคักเร้าใจ มนุษย์ก็จะแสดงอาการเคลื่อนไหวร่างกายยักย้ายไปมา ยิ่งไปกว่านี้บางรายอาจแสดงลวดลายเลียนแบบท่าทางสัตว์ต่าง ๆ ที่ตนรู้จัก และตั้งชื่อท่าทางการตีกลองในแต่ละท่า ซึ่งในคำอีสานเรียกท่วงทำนองหรือลีลาแบบแผนหนึ่ง ๆ ว่า "ลาย" อันเป็นเอกลักษณ์ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งในทางศิลปะการแสดงและดนตรี
กล่าวได้ว่ากลุ่มชาวกระโซ่ (ข่าโซ่) ซึ่งในปัจจุบันชนกลุ่มนี้มีอยู่จำนวนมากที่อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร และเรียกสำเนียงออกเสียงว่า "โส้" มีความสนใจการเล่นลายกลองมากกว่ากลุ่มผู้ไทย กลุ่มย้อ กลุ่มกะเลิง
และเนื่องจากกลุ่มชาวโส้มีภาษาพูดซึ่งมีสำเนียงแตกต่าง ไปจากชนกลุ่มอื่น ๆ จึงทำให้ชาวโส้มีทำนองเพลงหรือลายแคนที่แตกต่างไปจากกลุ่มไทย-ลาว และยังไม่มีผู้ใดศึกษาทำนองเพลงอย่างจริงจัง ในลักษณะงานวิจัย หรือวิทยานิพนธ์
ชาวโส้รู้จักคิดประดิษฐ์ท่าทางการตีกลองและตั้งชื่อท่าทางหรือลายของตนเช่น ท่าเสือลากหาง ท่าไก่เลียบครก ท่านกเขากระพือปีก ท่าลิงไหว้หลัง เป็นต้น
ดังได้กล่าวแล้วว่า กลองจิ่งหรือกลองกิ่ง ในปัจจุบันนิยมประกอบการแห่งานบุญตามเทศกาลทางศาสนา หรือการตีเพื่อประกอบจังหวะฟ้อนแบบต่าง ๆ เช่นฟ้อนผู้ไทย สกลนคร ดังนั้นจังหวะกลองจึงช้าสง่างามสอดคล้องกับการร่ายรำ และผู้ฟ้อนรำยังสามารถนับจังหวะกลองได้ ขณะที่นักดนตรีตีจังหวะพื้นฐานนั้นอาจตีจังหวะสอดแทรกได้หลายแบบ ทำให้เกิดเสียงกลองเป็นจังหวะย่อย ๆ ขึ้น พร้อมกันนั้นก็อาจแสดงท่าทางที่เรียกว่า "ลายกลอง" ประกอบไปด้วย
จังหวะพื้นฐาน คือ จังหวะที่เกิดจากการใช้ไม้ตีหน้ากลองอย่างสม่ำเสมอพร้อมกันทั้งสองมือ หรือมือหนึ่งมือใด แต่ต้องรักษาอัตราจังหวะอย่างสม่ำเสมอ
อย่างไรก็ตาม เมื่อบทเพลงใกล้จะจบท่อน จบตอน หรือจบเพลง ผู้ตีกลองจะตีจังหวะส่งจบดังนี้
๑. เสือลากหาง ผู้ตีกลองจะส่งแขนทั้งสองไปข้างหลัง ในขณะที่เอี้ยวตัวพร้อมกับตีไปที่หน้ากลองพร้อมกัน
๒. ไม้ลอดขา ในขณะที่ตีกลองอาจพลิกแพลงยกขาข้างหนึ่งขึ้นและส่งไม้ตีกระทบกันในจังหวะต่าง ๆ
๓. ไก่เลียบครก ผู้แสดงจะหมุนตัวเดินรอบกลอง แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องให้ถูกหน้ากลองลูกใดลูกหนึ่ง นับว่าเป็นท่าแสดงยากต้องใช้ความชำนาญ
๔. กาเต้นก้อน เป็นท่าเลียนแบบของกากระโดดจากที่หนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง ผู้แสดงลายกลองจะแยกกลองสองลูกออกจากกัน ขณะที่ข้ามกลองลูกหนึ่งในท่าการกระโดด มือก็จะตีกลองทั้งสองพร้อมกัน
๕. กวางเหลียวเหล่า ผู้แสดงจะยื่นไม้ลักษณะไขว้กันไปข้างหน้า พร้อมกับหันหน้าไปตามทิศทางของไม้ในทางกวางระวังภัย เมื่อย่างออกจากป่าละเมาะที่อาศัย
๖. นกเขากระพือปีก ผู้เล่นลายกลองจะย่อตัวในท่านั่งตีกลอง แล้วส่งไม้ไปข้าง ๆ พร้อมกับกระดกข้อมือให้ไม้กลองยกขึ้น ในท่าปีกนกกำลังบิน
๗. เคาะหลังงูสิง ผู้แสดงลายกลองจะใช้ไม้เคาะที่ตัวกลองในจังหวะแทรก ให้มีเสียงดังแตกต่างจากตีหน้ากลอง
๘. ลิงไหว้ข้างหลัง ในท่านี้ผู้ตีกลองจะส่งไม้ไปข้างหลังตีกระทบกันให้มีเสียงดังในจังหวะที่ต่อ จากจังหวะที่พื้นที่ลงหน้ากลอง
ในปัจจุบันได้มีศิลปินชาวโส้คิดประดิษฐ์ท่าทางหรือลายกลองในขณะที่ตีกลอง และแย่งลายกลองออกเป็น ๒ ชนิดคือ
ลายใหญ่ หรือ ลายหลัก มี ๔ ลายคือ เสือลากหาง ไม้ลอดขา ไก่เลียบครก กาเต้นก้อน
ส่วนลายย่อย หรือ ลายสลับ มี ๔ ลาย ได้แก่ กวางเหลียวเหล่า นกเขากระพือปีก เคาะหลังงูลิง ลิงไหว้ข้างหลัง
การเล่นลายกลองเหล่านี้ไม่มีกฎเกณฑ์ว่าผู้ตีกลองจะต้องเริ่มด้วยลายใดก่อน และจะต้องแสดงต่อด้วยลายใด ทั้งนี้สุดแต่ความสวยงาม การเล่นลายกลองนี้ผู้เล่นอาจแสดงลายกลองพร้อมกัน ๒ คนก็ได้ แต่อาจต้องละเว้นบางลาย เช่น ไก่เลียบครก กาเต้นก้อน เพราะผู้เล่น ๒ คน ไม่อาจหลีกเลี่ยงอาจชนกันได้ในขณะที่แสดง
การแสดงลายกลองของชาวโส้มิใช่จะแสดงทั่วไป แต่จะมีเฉพาะในงานที่ชาวโส้จัดขึ้น เช่น งานเทศกาลโส้รำลึก ที่มีชาวโส้และหมอเหยามาร่วมชุมนุมจำนวนมากที่หน้าอำเภอกุสุมาลย์ ประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ก่อนที่นักฟ้อนสาวชาวโส้จะฟ้อนท่าต่าง ๆ เมื่อดนตรีบรรเลงขึ้น นักแสดงลายกลองก็จะแสดงลวดลายตีกลองให้ประชาชนในบริเวณงานได้ชมความสามารถ และลีลา ก่อนบรรเลงผู้ตีกลองเพื่อแสดงลายกลองต้อง กราบรำลึกถึงพระคุณครูอาจารย์ โดยการถือไม้ไปที่กลองกิ่ง ๒ ลูก ตีหน้ากลองพร้อมกันเป็นสัญญาณเริ่มแสดงลายกลองตามแบบฉบับของตน
- โอกาสหรือเวลาที่เล่น
การเล่นลายกลองแต่เดิมจะตีเล่นประกอบการฟ้อนพื้นบ้าน เช่น เลี้ยงผีลงสนาม (แซงสนัมประจำกะมอ แซงกะมูด) ต่อมาเมื่อมีการประดิษฐ์ท่าฟ้อนโซ่ทั่งบั้งโดยให้สตรีแต่งกายพื้นเมืองฟ้อน เป็นกลุ่มใหญ่ฟ้อนเป็นจังหวะก็ใช้กลองตีกำกับจังหวะ เมื่อการแสดงฟ้อนเสร็จสิ้นนักตีกลอง นักดนตรีจะบรรเลงกลองตามลายต่างๆ อย่างสนุกสนานทำให้เกิดการคิดประดิษฐ์ท่าตีกลองให้มีลีลาต่าง ๆ ตามความสามารถของตน
- โอกาสหรือเวลาที่เล่น
การเล่นลายกลองแต่เดิมจะตีเล่นประกอบการฟ้อนพื้นบ้าน เช่น เลี้ยงผีลงสนาม (แซงสนัมประจำกะมอ แซงกะมูด) ต่อมาเมื่อมีการประดิษฐ์ท่าฟ้อนโซ่ทั่งบั้งโดยให้สตรีแต่งกายพื้นเมืองฟ้อน เป็นกลุ่มใหญ่ฟ้อนเป็นจังหวะก็ใช้กลองตีกำกับจังหวะ เมื่อการแสดงฟ้อนเสร็จสิ้นนักตีกลอง นักดนตรีจะบรรเลงกลองตามลายต่างๆ อย่างสนุกสนานทำให้เกิดการคิดประดิษฐ์ท่าตีกลองให้มีลีลาต่าง ๆ ตามความสามารถของตน
อย่างไรก็ดีในปัจจุบันการแสดงลายกลองกิ่งได้แยกแสดงโดยเอกเทศ มิต้องแสดงประกอบการฟ้อนโซ่ทั่งบั้ง หรือฟ้อนผู้ไทยสกลนคร เรียกว่า การแสดงลายกลองกิ่ง ถือเป็นเอกลักษณ์การเล่นกลองของจังหวัดสกลนครไปโดยปริยาย
- คุณค่า / แนวคิด / สาระ
การแสดงลายกลองกิ่งถือว่าเป็นการพัฒนาความคิดในด้านการละเล่น ซึ่งแต่เดิมเป็นการแสดงเพียงการตีกับจังหวะฟ้อนรำเท่านั้นให้เป็นการแสดงออก โดยเน้นความสามารถของผู้แสดงเป็นหลัก ซึ่งผู้แสดงสามารถคิดประดิษฐ์ท่าทางต่าง ๆ ให้เชื่อมกันโดยไม่ขาดจังหวะ