ค้นหา
เมนู
- หน้าหลัก
- หมวดหมู่
- ภัยพิบัติ (65)
- ธรรมชาติ (286)
- วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (172)
- สังคม (2814)
- วัฒนธรรม (3270)
- ความรู้พื้นฐานทางวัฒนธรรม (19)
- ชาติพันธุ์ (531)
- ประเพณี (780)
- ภูมิปัญญาไทย (1652)
- เครือข่ายทางวัฒนธรรม (204)
- วัฒนธรรมหลวง (17)
- เนื้อหาวัฒนธรรมรอจัดหมวด (0)
- ศิลปะและการบันเทิง (699)
- ศาสนาและจิตวิญญาณ (7090)
- เนื้อหารอจัดหมวด (26)
- ค้นหาชั้นสูง
- บริจาคเนื้อหา
- เกี่ยวกับโครงการ
ล็อกอิน
ชนเผ่าอาข่า - การนับวัน
ชนเผ่าอาข่า :การนับวัน
ตามวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของอาข่า การนับวันถือเป็นวัฒนธรรมส่วนหนึ่งที่ต้องใช้ประกอบกับวิถีชีวิตประจำวัน และการถือฤกษ์ยามดี เพื่อประกอบ พิธีกรรมต่างๆ โดยมีตำนานเล่าขานที่มาของการนับวันของอาข่าว่า “ในอดีตอาข่าจะไม่รู้เลยว่าวันแต่ละวันนั้นแตกต่างกันอย่างไร เพราะเมื่อมี พระอาทิตย์ขึ้นมาก็สว่างไสว และเมื่อพระอาทิตย์ตกดินก็จะมืด เป็นเช่นนี้ตลอด ฉะนั้นจึงมีการกำหนดการนับวันของอาข่าขึ้นมา โดยใช้ชื่อของสัตว์ เป็นตัวแทนของแต่ละวัน และสัตว์แต่ละตัวที่เข้าไปอยู่ในการนับวันอาข่า ต้องมีประวัติ และความสำคัญด้วย นอกจากนี้หากชุมชนใด ถ้าลืมการนับวันและจำเป็นต้องไปสอบถามในหมู่บ้านอื่นๆ จะต้องเสียเงินแถบ 1 รูปี พร้อมเหล้า 1 ขวด อาข่าเรียกว่า “หง่าสี่ ผ่อชู” ด้วยเหตุนี้การนับวันของอาข่า จึงใช้สัตว์ 12 ตัว หรือเรียกได้อย่างหนึ่งว่า “12 ราศี” เป็นตัวแทนวันแต่ละวัน โดยมีวิธีการนับวัน 1 สัปดาห์ มี 12 วันอาข่าเรียกว่า “ถี่จอ” และสัตว์ 12 ตัวนี้ประกอบด้วย
วัน “ย้อ” หมายถึงวันแกะ ถือเป็นวันเกิดของเทพเจ้า (อ่าเผ่วหมี่แย้) ผู้ซึ่งให้กำเนิดจักรวาล อาข่าจึงให้การเคารพนับถือในวันนี้ทุกคนจะหยุดอยู่ที่บ้าน ไม่มีการประกอบอาชีพใดๆ ไม่มีการตอกฝังเสา วันนี้จึงเป็น "วันหยุด" ของอ่าข่า ถ้าเทียบกับปัจจุบันถ้าวันนี้ตรงกับวันทำงานราชการ หรืองานทั่วไปที่ไม่เกี่ยวกับการเกษตรก็จะไม่หยุด |
![]() |
วัน “โหมยะ” หมายถึงวันลิง (วอก) เป็นวันเสียชีวิตของหมอสวดพิธีกรรม (พี้มา) คนแรกของอาข่า จึงได้ให้ความสำคัญและกำหนดเอาไว้ | ![]() |
วัน “ยา” หมายถึงวันไก่ (ระกา) ไก่ เป็นสัตว์ที่อาข่าเชื่อว่ารู้การปิด-เปิดของพระอาทิตย์ รู้ว่าเป็นกลางวันกลางคืน จึงได้ให้ความสำคัญกับไก่ และได้มีการกำหนดวันไก่ขึ้นมา |
![]() |
วัน “ขื่อ”หมายถึงวันสุนัข (จอ) เป็นสัตว์ที่ซื่อสัตย์ และเฝ้าดูแลสิ่งของ หรือทรัพย์สินต่างๆ ให้กับมนุษย์ จึงได้กำหนดวันสุนัขขึ้นมา | ![]() |
วัน “หยะ” หมายถึงวันหมู (กุน) หมูเป็นสัตว์ที่อาข่าเลี้ยงขึ้นมา เพื่อบริโภค และใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ถือว่าสำคัญ จึงได้กำหนดวันหมูขึ้นมา | ![]() |
วัน “โฮ” หมายถึงวันหนู (ชวด) หนูตามการนับวันของอาข่านี้ เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในเขตป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีชื่อเรียกเต็มว่า (ก่องโฮ) เป็นตระกูลเดียวกับหนูทั่วไป | ![]() |
วัน “โหย่” หมายถึงวันควาย เป็นสัตว์ที่ช่วยมนุษย์ในการทำงาน และการขนส่ง จึงได้ให้ความสำคัญ และกำหนดวันควายขึ้นมา | ![]() |
วัน “ข่าหล่า” หมายถึงวันเสือ (ขาล) เสือเป็นสัตว์ที่ดุร้าย และมีอำนาจกว่าบรรดาสัตว์เดียวกัน จึงได้นับวัน ในฐานะเป็นผู้นำ นอกจากนี้วันดังกล่าวยังถือเป็น "วันหยุด"ของอาข่าอีกเช่นกัน วันนี้ถือเป็นวันที่รองลงมาจากวันแกะ "ย้อ"ปัจจุบันยังถือเป็นวันหยุดเช่นกันแต่ยังมีการทำงานที่ไม่เกี่ยวกับการเกษตรของตนเอง แต่จะไปรับจ้างทำงานที่อื่นอยู่ | ![]() |
วัน “ถ่องละ” หมายถึงวันลา ลาเป็นสัตว์ที่แข็งแรง อดทน สามารถใช้งานเพื่อต่างสิ่งของให้มนุษย์ จึงได้กำหนดเอาไว้ | ![]() |
วัน “หล่อง” หมายถึงวันกระต่าย (เถาะ) เป็นวันเกิดของเทพเจ้า ผู้สร้างดินที่ชื่อว่า จาบีจาหล่อง และจะไม่มีการฝังไม้ลงดินในวันนี้ หากผู้ใดฝ่าฝืน หรือกระทำการดังกล่าวในวันนี้ อาจทำให้หูหนวก ต้องทำพิธี ขอขมาถึงจะหาย และในวันนี้กลุ่มอาข่า โลมิ ถือเป็นวันหยุดเช่นกัน |
![]() |
วัน “แซ้ย” เป็นสัตว์ที่คล้ายสุนัขจิ้งจอก อาศัยอยู่ในเขตหนาว สัตว์ตัวนี้ยังไม่สามารถจะบอกได้ว่ามีจริงหรือไม่ มีตำนานเล่าถึงสัตว์ตัวนี้ว่า วันหนึ่งได้เกิดพายพัดอย่างแรง สร้างความเสียหายให้กับบ้านเรือนของมนุนย์ และสัตว์ตัวนี้เองที่ไปนอนปิดรูพายุ อาข่าเชื่อว่าสัตว์ตัวนี้เป็นสัตว์ที่มีพละกำลังมาก สามารถคุ้มครอง ไม่ให้เกิดความเสียหายแก่มนุษย์ อาข่าจึงให้ความสำคัญ และกำหนดวันเอาไว้ |
![]() |
วัน “หม่อง” หมายถึงวันม้า (มะเมีย) ม้าเป็นสัตว์ที่ใช้ในการต่างของ และเป็นพาหนะในการเดินทางม้าจึง เป็นสัตว์ที่มีประโยชน์กับมนุษย์ จึงได้กำหนดวันม้าเอาไว้ | ![]() |
อนึ่ง อาข่ามีการถือโดยไม่ตอกไม้ ฝังเสาลงในดิน โดยเลือกอยู่ 3 วันคือ วัน “ย้อ” (แกะ) วัน “หล่อง” (กระต่าย) และวัน"ข่าหล่า" (เสือ) เป็นวันที่ราศีสัตว์ตรงกับการนับวัน และนับปี เช่น ปีไก่ ตรงกับนับวัน วันไก่ อาข่าเรียก “โขะเกอะ นองเกอะ” และในรอบ 1 ราศี หรืออาข่าเรียกว่า "ถี่จอ" มีวันหยุด 2 วัน ด้วยกันคือ วันย้อ (แกะ) และวันข่าหล่า (เสือ) ในสองวันนี้อาข่าจะไม่ประกอบการใดๆ ทั้งสิ้น เนื่องจากเป็นวันหยุดของอาข่า