ค้นหา
เมนู
- หน้าหลัก
- หมวดหมู่
- ภัยพิบัติ (65)
- ธรรมชาติ (286)
- วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (172)
- สังคม (2814)
- วัฒนธรรม (3270)
- ความรู้พื้นฐานทางวัฒนธรรม (19)
- ชาติพันธุ์ (531)
- ประเพณี (780)
- ภูมิปัญญาไทย (1652)
- การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ (11)
- การแต่งกาย (25)
- การรักษาโรค (67)
- การละเล่นพื้นบ้านและนาฏศิลป์ (381)
- การศึกษา (2)
- งานช่างฝีมือพื้นบ้าน (385)
- ผ้าทอ (300)
- งานหล่อ (0)
- งานแกะสลัก (11)
- งานปั้น เครื่องปั้นดินเผา และเซรามิก (12)
- ภาพเขียน (1)
- เครื่องถม (0)
- เครื่องจักรสาน (36)
- เครื่องทอง (1)
- เครื่องเงิน (2)
- เครื่องกระดาษ (2)
- เครื่องเขิน (2)
- เครื่องไม้ (7)
- เครื่องรัก (0)
- เครื่องโลหะ (6)
- เครื่องหนัง (0)
- อัญมณีและเครื่องประดับ (0)
- งานช่างฝีมืออื่นๆ (4)
- ที่อยู่อาศัย (99)
- ภาษาและวรรณกรรม (290)
- ศิลปะการป้องกันตัว (8)
- อาชีพและวิธีการหากิน (27)
- อุปกรณ์หากินและของใช้ (154)
- อาหาร (203)
- เครือข่ายทางวัฒนธรรม (204)
- วัฒนธรรมหลวง (17)
- เนื้อหาวัฒนธรรมรอจัดหมวด (0)
- ศิลปะและการบันเทิง (699)
- ศาสนาและจิตวิญญาณ (7090)
- เนื้อหารอจัดหมวด (26)
- ค้นหาชั้นสูง
- บริจาคเนื้อหา
- เกี่ยวกับโครงการ
ล็อกอิน
จากฝ้ายกลายเป็นเส้น -การเปียฝ้ายหรือการเปฝ้าย
- warning: current() [function.current]: Passed variable is not an array or object in /var/www/openbase/data/www/openbase.in.th/sites/all/themes/zen/template.php on line 511.
- warning: current() [function.current]: Passed variable is not an array or object in /var/www/openbase/data/www/openbase.in.th/sites/all/themes/zen/template.php on line 511.
การเปียฝ้ายหรือการเปฝ้าย
การเปียฝ้าย เป็นขั้นตอนที่ทำเพื่อพันพักด้ายที่ปั่นเส้นใยฝ้ายแล้ว เพื่อทำเป็นปอยหรือไจฝ้าย โดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า ไม้เปีย ไม้เปี๋ย หรือ ไม้เป ซึ่งทำจากไม้เนื้อแข็ง ลักษณะรูปทรงไม้เปียในประเทศไทยมี 2 แบบด้วยกัน ได้แก่
1. ไม้เปียแบบไขว้ เป็นแบบที่พบว่าใช้กันมากในหลายกลุ่มวัฒนธรรมของประเทศไทยเช่น ไทยวน ไทยลื้อ ไทพวน และภูไท หรือ ผู้ไทยเป็นต้น โครงสร้างไม้เปียแบบนี้ ส่วนไม้ที่เข้าเดือยปิดหัวท้ายหรือส่วนบนส่วนล่างจะไขว้สลับทิศกัน และนิยมแกะสลักเป็นหยักเหลื่ยมหรือลวดลายสวยงาม
2. ไม้เปียแบบขนาน เป็นแบบที่พบในกลุ่มวัฒนธรรมไทครั่ง โครงสร้างส่วนไม้ที่เข้าเดีอยปิดหัวปิดท้ายหรือส่วนบนส่วนล่างจะเป็นแนวขนานกัน มักนิยมทำแบบเรียบๆบางชิ้นทำจากไม้ไผ่ก็มี
วิธีการเปียฝ้าย คือ นำใยฝ้ายที่ม้วนไว้กับเหล็กไนมาคลายออกแล้วค่อย ๆ พันกับไม้เปียโดยใช้มือข้างหนึ่งกำไม้เปียตรงกลางแกน แล้วใช้มืออีกข้างหนึ่งจับเส้นใยฝ้ายพันกับไม้เปีย ให้หนาพอประมาณโดยรักษาน้ำหนักมือให้พอดี เพื่อไม่ให้เส้นใยฝ้ายตึงเกินไปหรือหย่อนเกินไป เมื่อได้เส้นใยฝ้ายในปริมาณที่ต้องการ ก็จะคลายออกมาพันเป็นปอย หรือไจด้าย เพื่อเก็บเส้นใยฝ้ายไม่ให้พันกันยุ่ง และเป็นระเบียบพร้อมที่จะนำไปทอผ้า
เส้นใยฝ้ายที่สำเร็จเป็นปอยหรือไจฝ้ายนี้หากนำไปทอโดยไม่ย้อมควรชุบน้ำข้าวเพื่อให้เส้นใยฝ้ายแข็งแรงและไม่เป็นขน ส่วยเส้นใยฝ้ายที่จะนำไปย้อมสีต้องนำไปต้มฟอก เพื่อล้างไขมันออกเสียก่อนจีงจะย้อมสีต่อไป
ไม้เปียแบบขนาน
ไม้เปียแบบไขว้
การกวักฝ้าย
การกวักฝ้าย
หลังจากย้อมสีเส้นใยฝ้าย หรือนำไปชุบน้ำข้าวและตากให้แห้ง ส่วนเส้นใยฝ้ายที่จะใช้เป็น เส้นด้ายยืน จะต้องนำมาพักด้ายโดยใช้อุปกรณ์ 3 อย่างคือ
1. มะกวักหรือบ่าก๊วก ทำจากไม้ไผ่สานคล้ายชะลอมทรงสูงขนาดเล็ก ส่วนขอบปากจะสานให้บานออกเล็กน้อย
2. หางเห็น ทำจากไม้เนื้อแข็ง รูปทรงคล้ายเก้าอี้เตี้ยสามขา มีท่อนไม้เล็กกลมยาวยื่นออกไปคล้ายหาง สำหรับไว้เสียบมะกวัก
3. ระวิงหรือโก๋งกว้าง ส่วนเสาหลักทำจากไม้เนื้อแข็ง มีไม้ไผ่เป็นคาน เสียบไม้ไผ่ที่ไขว้กันเป็น 6 แฉก ฟากละอันโยงต่อกันด้วยเส้นเชือก
วิธีการกวักฝ้าย คือใส่ปอยหรือไจฝ้ายในระวิงหรือโก๋งกว้าง แล้วดึงมาพันใส่มะกวักหรือบ่าก๊วกที่เสียบอยู่กับหางเห็น จนได้เส้นฝ้ายตามปริมาณที่ต้องการ ก็จะเปลึยนมะกวัก
อันไหม่ไปเรื่อยๆ
ต้นฉบับ : http://www.thaitextilemuseum.com/Thai/A_2/B_7/COTTON/COTTON_2/cotton_2.html