ค้นหา
เมนู
- หน้าหลัก
- หมวดหมู่
- ภัยพิบัติ (65)
- ธรรมชาติ (286)
- วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (172)
- สังคม (2814)
- วัฒนธรรม (3270)
- ความรู้พื้นฐานทางวัฒนธรรม (19)
- ชาติพันธุ์ (531)
- ประเพณี (780)
- ภูมิปัญญาไทย (1652)
- การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ (11)
- การแต่งกาย (25)
- การรักษาโรค (67)
- การละเล่นพื้นบ้านและนาฏศิลป์ (381)
- การศึกษา (2)
- งานช่างฝีมือพื้นบ้าน (385)
- ผ้าทอ (300)
- งานหล่อ (0)
- งานแกะสลัก (11)
- งานปั้น เครื่องปั้นดินเผา และเซรามิก (12)
- ภาพเขียน (1)
- เครื่องถม (0)
- เครื่องจักรสาน (36)
- เครื่องทอง (1)
- เครื่องเงิน (2)
- เครื่องกระดาษ (2)
- เครื่องเขิน (2)
- เครื่องไม้ (7)
- เครื่องรัก (0)
- เครื่องโลหะ (6)
- เครื่องหนัง (0)
- อัญมณีและเครื่องประดับ (0)
- งานช่างฝีมืออื่นๆ (4)
- ที่อยู่อาศัย (99)
- ภาษาและวรรณกรรม (290)
- ศิลปะการป้องกันตัว (8)
- อาชีพและวิธีการหากิน (27)
- อุปกรณ์หากินและของใช้ (154)
- อาหาร (203)
- เครือข่ายทางวัฒนธรรม (204)
- วัฒนธรรมหลวง (17)
- เนื้อหาวัฒนธรรมรอจัดหมวด (0)
- ศิลปะและการบันเทิง (699)
- ศาสนาและจิตวิญญาณ (7090)
- เนื้อหารอจัดหมวด (26)
- ค้นหาชั้นสูง
- บริจาคเนื้อหา
- เกี่ยวกับโครงการ
ล็อกอิน
สุดยอดผ้าเมืองไทย - ภาคกลาง ประเภทผ้าฝ้าย
สุดยอดผ้าภาคกลาง : ประเภทผ้าฝ้าย
รางวัลชนะเลิศ ผ้าฝ้ายลายหลุยส์
ความเป็นมา
ผ้าฝ้ายลายหลุยส์ เป็นผ้าที่ออกแบบลวดลายในเชิงสากล แต่กระบวนผลิตและวัตถุดิบนั้น ยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์แบบไทยๆ โดยนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่มาผสมผสานกับภูมิปัญญาไทย จนกลายเป็นศิลปหัตถกรรมร่วมสมัยที่วิจิตรงดงาม และมีคุณค่าทางการใช้สอยได้อเนกประสงค์
จุดเด่น
เป็นผ้าฝ้ายที่มีลวดลายเป็นแบบสากล ออกแบบให้มีลวดลายจากกึ่งกลางผืนผ้า จนถึงชายผ้าทั้งสองด้านทำให้สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลาย นอกเหนือจากนำไปตัดเย็บเพื่อสวมใส่ เช่นใช้เป็นผ้าม่าน ผ้าปูโต๊ะ ใช้หุ้มเบาะรถหรือโซฟาเป็นต้น
สถานที่ติดต่อ นายวินัย ปัจฉิม เลขที่ 22 หมู่ที่ 4 ต.โคกเจริญ อ.โคกเจริญ จ.ลพบุรี 15250
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ผ้าทอพื้นเมืองลายโบราณ
ความเป็นมา
เป็นผ้าทอที่สืบสานความรู้เรื่องลวดลายและวิธีการมาจากชาวลาวครั่ง ที่ตั้งชุมชนอยู่ในพื้นที่ 3 ตำบลของอำเภอเดิมบางนางบวช คือ ต.ป่าสะแก ต.บ่อกรุ และ ต.หนองกระทุ่ม
จุดเด่น ใช้เส้นฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ 100 % ในการทอสีสันและลวดลายที่ปรากฏบนผืนผ้านั้น เป็นเอกลักษณ์ เฉพาะแบบลาวครั่ง
สถานที่ติดต่อ นางสมจิตร ภาเรือง เลขที่ 25/1 หมู่ที่ 5 ต.ป่าสะแก อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี 72120
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ผ้าสี่ตะกอลายไทย
ความเป็นมา
ชาวตำบลต้นตาลในปัจจุบันสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษเมืองเชียงแสน ซึ่งอพยพลงมาตั้งรกรากในพื้นที่แถบนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2347 เรียกตัวเองว่าชาวไท-ยวน หรือไทโยนก ซึ่งมีฝีมือในการทอผ้ามาแต่ครั้งบรรพบุรุษต่อมาในปี พ.ศ. 2525 นางสมจิตต์ ยะกุล ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งกำนันตำบลต้นตาลได้วางแนวคิดในการรวมกลุ่มสตรีทอผ้าขึ้นและกำลังสนับสนุนจากชาวบ้านและหน่วยงานราชการจนกระทั่งรวมตัวกันเป็นผลสำเร็จและเริ่มผลิตผ้าทอพื้นเมืองมาตั้งแต่นั้น
จุดเด่น สีสันสดใส สีไม่ตก เนื้อผ้าทออย่างประณีต คุณภาพดี ซักแล้วไม่หด ดูแลรักษาง่าย
สถานที่ติดต่อ นางวงเดือน ยะกุล ประธานกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองบ้านต้นตาล เลขที่ 4 หมู่ที่ 4 ต.ต้นตาล อ.เสาไห้ จ.สระบุรี 18160
ขอบคุณ
เนื้อหาและรูปภาพจากหนังสือสุดยอดผ้าไทย
ต้นฉบับ : http://www.thaitextilemuseum.com/HOME/Toptextile/Toptextile2/Toptextile5/toptextile5.html