ค้นหา
เมนู
- หน้าหลัก
- หมวดหมู่
- ภัยพิบัติ (65)
- ธรรมชาติ (286)
- วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (172)
- สังคม (2814)
- วัฒนธรรม (3270)
- ความรู้พื้นฐานทางวัฒนธรรม (19)
- ชาติพันธุ์ (531)
- ประเพณี (780)
- ภูมิปัญญาไทย (1652)
- การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ (11)
- การแต่งกาย (25)
- การรักษาโรค (67)
- การละเล่นพื้นบ้านและนาฏศิลป์ (381)
- การศึกษา (2)
- งานช่างฝีมือพื้นบ้าน (385)
- ผ้าทอ (300)
- งานหล่อ (0)
- งานแกะสลัก (11)
- งานปั้น เครื่องปั้นดินเผา และเซรามิก (12)
- ภาพเขียน (1)
- เครื่องถม (0)
- เครื่องจักรสาน (36)
- เครื่องทอง (1)
- เครื่องเงิน (2)
- เครื่องกระดาษ (2)
- เครื่องเขิน (2)
- เครื่องไม้ (7)
- เครื่องรัก (0)
- เครื่องโลหะ (6)
- เครื่องหนัง (0)
- อัญมณีและเครื่องประดับ (0)
- งานช่างฝีมืออื่นๆ (4)
- ที่อยู่อาศัย (99)
- ภาษาและวรรณกรรม (290)
- ศิลปะการป้องกันตัว (8)
- อาชีพและวิธีการหากิน (27)
- อุปกรณ์หากินและของใช้ (154)
- อาหาร (203)
- เครือข่ายทางวัฒนธรรม (204)
- วัฒนธรรมหลวง (17)
- เนื้อหาวัฒนธรรมรอจัดหมวด (0)
- ศิลปะและการบันเทิง (699)
- ศาสนาและจิตวิญญาณ (7090)
- เนื้อหารอจัดหมวด (26)
- ค้นหาชั้นสูง
- บริจาคเนื้อหา
- เกี่ยวกับโครงการ
ล็อกอิน
สุดยอดผ้าเมืองไทย - ภาคใต้ ประเภทผ้าฝ้าย
สุดยอดผ้าภาคใต้ : ประเภทผ้าฝ้าย
รางวัลชนะเลิศ ผ้าทอนาหมื่นศรี
ความเป็นมา
ผ้าทอนาหมื่นศรีมีประวัติยาวนานมากว่า 400 ปี เป็นผ้าที่ชาวบ้านทอใช้กันตั้งแต่สมัยโบราณ โดยใช้หูกซึ่งเป็นเครื่องมือพื้นบ้านทอหลักฐานจดหมายเหตุระบุว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 เสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ เมื่อ ร.ศ. 128 ได้ทอพระเนตรผ้าทอที่เมืองตรัง ข้อความตอนหนึ่งบันทึกว่า “ใต้ถุนเรือน ใช้เป็นที่หัดทอผ้า” ผ้าทอแต่เดิมส่วนใหญ่นิยมใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา และถ่ายทอดกระบวนการทอสืบต่อกันมา แล้วพัฒนารูปแบบต่อกันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
จุดเด่น เป็นผ้าลายโบราณ มีเอกลักษณ์ของตัวเอง สีสันสวยงาม
สถานที่ติดต่อ นางสาวอารอบ เรืองสังข์ กลุ่มทอผ้าตำบลหมื่นศรี เลขที่ 119 หมู่ที่ 8 ต.นาหมื่นศรี อ.นาโยง จ.ตรัง 92170
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ผ้าฝ้ายลายดอกพะยอม
ความเป็นมา
กลุ่มทอผ้าลานข่อย เริ่มต้นฝึกอบรมความรู้เรื่องการทอผ้าเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2545 ตามโครงการ “สร้างชีวิตใหม่ให้ กับสตรีชนบท” โดยนิคมสร้างตนเองควนขนุน และได้รับการอบรมเพิ่มเติมจากการสนับสนุนของกองอุตสาหกรรมสิ่งทอ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
จุดเด่น ลายดอกพะยอมเป็นลายผ้าเฉพาะของกลุ่มทอผ้าลานข่อยแห่งนี้ไม่มีที่อื่น นอกเหนือจากสีสันและลวดลายที่สวยงาม มีเอกลักษณ์แล้วการทอก็ประณีตได้มาตรฐาน
สถานที่ติดต่อ นางสายันต์ ปานแก้ว กลุ่มทอผ้าลานข่อย หมู่ที่ 1 ต.ลานข่อย อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง 93110
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ผ้าฝ้ายลายดอกพิกุล
ความเป็นมา
ราษฎรในชุมชนบ้านท่ากระจายมีความรู้เรื่องการทอผ้าสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน แต่ได้ก่อตั้งเป็นกลุ่มทอผ้าขึ้นในปี พ.ศ. 2536 เพื่อขอรับเงินสนับสนุนจากทางราชการ จากนั้นจึงนำความรู้เรื่องลายผ้าและเทคนิคการทอแบบโบราณมาประยุกต์แล้วทอผ้ากันอย่างจริงจัง เป็นที่สนใจของลูกค้าและมีผู้มาศึกษาดูงาน หรือเยี่ยมชมตลอดเวลา
จุดเด่น มีลวดลายและสีสันที่สวยงาม เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ทอด้วยฝีมือประณีต
สถานที่ติดต่อ
นางสาวมุเราะ โสะอ้น กลุ่มทอผ้าบ้านท่ากระจาย เลขที่ 31 หมู่ที่ 1 ต.ท่าชนะ อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี 84170
ขอบคุณ
เนื้อหาและรูปภาพจากหนังสือสุดยอดผ้าไทย
ต้นฉบับ : http://www.thaitextilemuseum.com/HOME/Toptextile/Toptextile1/Toptextile4/Toptextile7/toptextile7.html