ค้นหา
เมนู
- หน้าหลัก
- หมวดหมู่
- ภัยพิบัติ (65)
- ธรรมชาติ (286)
- วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (172)
- สังคม (2814)
- วัฒนธรรม (3270)
- ความรู้พื้นฐานทางวัฒนธรรม (19)
- ชาติพันธุ์ (531)
- ประเพณี (780)
- ภูมิปัญญาไทย (1652)
- เครือข่ายทางวัฒนธรรม (204)
- วัฒนธรรมหลวง (17)
- เนื้อหาวัฒนธรรมรอจัดหมวด (0)
- ศิลปะและการบันเทิง (699)
- ศาสนาและจิตวิญญาณ (7090)
- เนื้อหารอจัดหมวด (26)
- ค้นหาชั้นสูง
- บริจาคเนื้อหา
- เกี่ยวกับโครงการ
ล็อกอิน
รวม link - ภูมิปัญญาท้องถิ่นหลังการเก็บเกี่ยว สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ภูมิปัญญาท้องถิ่นหลังการเก็บเกี่ยว
โดย สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คำนำ
จากหลักฐานที่บันทึกไว้เป็นอักษรโบราณในจารึกล้านนา ใบลาน และพับหนังสา ที่มีอายุหลายร้อยปี ระบุว่าล้านนาเป็นสังคมเกษตรกรรมมาแต่ดั้งเดิม ในส่วนของข้าวที่เป็นพืชหลักนั้น มีวัฒนธรรมประเพณี เครื่องมือเครื่องใช้ ความเชื่อ พิธีกรรม และภูมิปัญญาต่างๆ ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ ซึ่งอาจจะมีเครื่องมือเครื่องใช้ พิธีกรรมและวิธีการ ที่มีชื่อเรียกและวิธีปฎิบัติที่แตกต่างกันไปตามวิถีชีวิต ความเชื่อ และวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์มาแต่โบราณ แต่ในหลายทศวรรษที่ผ่านมา หลังจากที่การเกษตรแผนใหม่ได้แผ่ขยายเข้ามาในดินแดนล้านนา แบบแผนทางการเกษตรดั้งเดิมได้ถูกแทนที่โดยการเกษตรแผนใหม่ จนกระทั่งวัฒนธรรมประเพณี เครื่องมือเครื่องใช้ และวิธีปฏิบัติดั้งเดิมหลายอย่างเริ่มเลือนหายและนับวันแต่จะสูญหายไป เป็นที่น่าเสียดายยิ่ง
สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เห็นว่าภูมิปัญญาท้องถิ่นและองค์ความรู้ของท้องถิ่น นับเป็นทุนทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่า ควรแก่การอนุรักษ์ทนุบำรุงไว้เป็นมรดกแก่อนุชนรุ่นหลัง จึงได้รวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับความเชื่อ พิธีกรรม ศิลปวัฒนธรรม ที่เกี่ยวข้องกับวิถีการดำรงชีวิตของชาวล้านนามาเป็นเวลานานกว่า 20 ปี และได้นำมาบริการทางวิชาการสู่สาธารณชนในลักษณะต่างๆ เช่น หนังสือ การจัดทำ Website e-Lanna เป็นต้น สำหรับภูมิปัญญาตลอดจนองค์ความรู้ในการดูแลและเก็บรักษาข้าวภายหลังการเก็บ เกี่ยวน ได้รวบรวมข้อมูลจากบางท้องถิ่นในล้านนาเท่านั้น ดังนั้น จึงอาจจะมีเครื่องมือเครื่องใช้และวิธีการ ที่มีชื่อเรียกและวิธีการที่แตกต่างไปจากนี้อีกก็เป็นได้ สถาบันวิจัยสังคมใคร่ขอขอบคุณโครงการพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัย เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ได้อนุญาตให้นำข้อมูลจากการวิจัยมาเผยแพร่ ณ ที่นี้ ขอขอบคุณสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติที่ได้สนับสนุนงบประมาณในการจัดทำ Website นี้ ขอขอบคุณผู้ที่เอื้อเฟื้อภาพถ่ายและผู้เฒ่าผู้แก่ทุกท่านที่ได้พยายาม รื้อฟื้นความทรงจำในอดีตในอันที่จะถ่ายทอดเรื่องราวที่ได้เคยปฏิบัติมา
เนื้อหา :
1. การเกี่ยวและการตากข้าว
- การเกี่ยวข้าว
-> อุปกรณ์ในการเกี่ยวข้าว
-> วิธีเก็บเกี่ยวข้าว
- การขนข้าว
2. การนวดหรือฟาดข้าว
3. การเอาข้าวใส่ยุ้ง (ยังไม่มีข้อมูล)
- การขนข้าวเปลือกกลับบ้าน
- ยุ้งข้าว
4. การนำมาบริโภค
- การตำข้าว
-> ความเชื่อพิธีกรรม : การจกข้าว
- การนำมาบริโภค
-> ความเชื่อและพิธีกรรม : พิธีสืบชะตาข้าว
ขอบคุณข้อมูลจาก สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ http://www.sri.cmu.ac.th/~postharvest/
และ โครงการพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัย เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่