ค้นหา
เมนู
- หน้าหลัก
- หมวดหมู่
- ภัยพิบัติ (65)
- ธรรมชาติ (286)
- วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (172)
- สังคม (2814)
- วัฒนธรรม (3270)
- ความรู้พื้นฐานทางวัฒนธรรม (19)
- ชาติพันธุ์ (531)
- ประเพณี (780)
- ภูมิปัญญาไทย (1652)
- เครือข่ายทางวัฒนธรรม (204)
- วัฒนธรรมหลวง (17)
- เนื้อหาวัฒนธรรมรอจัดหมวด (0)
- ศิลปะและการบันเทิง (699)
- ศาสนาและจิตวิญญาณ (7090)
- เนื้อหารอจัดหมวด (26)
- ค้นหาชั้นสูง
- บริจาคเนื้อหา
- เกี่ยวกับโครงการ
ล็อกอิน
การตากข้าว - วิธีเก็บเกี่ยวข้าว
การตากข้าว
ขั้นตอนต่อไปที่ชาวไร่ชาวนาทำหลังจากเกี่ยวข้าวแล้ว ได้แก่ การตากข้าว โดยนำข้าวที่เพิ่งเกี่ยวเสร็จมาตากแดดประมาณ 5-7 วันหรือจนกว่าข้าวจะแห้ง เพื่อให้การนวดหรือฟาดข้าวทำได้ง่ายขึ้น นอกจากนั้นการตากข้าวยังช่วยลดความชื้นของเมล็ดข้าวด้วย
การตากข้าวทั้งข้าวนาและข้าวไร่มักทำในบริเวณพื้นที่ปลูกข้าวนั่นเอง ซึ่งมีหลายวิธี ได้แก่
# การตากบนตอข้าว
# การตากบนรางข้าว
การตากบนตอข้าว
ในการวางข้าวที่เกี่ยวแล้วบนตอข้าว บางคนอาจหักตอข้าวให้พับลงเล็กน้อย แล้วจึงเอาต้นข้าววางพาดในแนวเฉียงกับตอข้าวให้ส่วนโคนติดพื้นดินให้ด้านรวง ข้าวตั้งขึ้น หรือวางพาดในแนวราบบนตอข้าว หรือบางคนจะวางพาดไขว้กันคล้ายสับฟันปลา
:: ตอข้าว ::
:: การหักตอข้าวเพื่อเอาข้าวมาวางตากแดด ::
:: การวางให้รวงข้าวตั้งขึ้น ::
:: การวางต้นข้าวพาดในแนวราบไว้บนตอข้าว ::
การตากบนราว
ชาวม้งและชาวเมี่ยนในบางพื้นที่ จะทำราวสำหรับใช้ตากข้าว โดยใช้ไม้ไผ่ (ลำใหญ่ๆ และแข็งแรง ยาวประมาณ 2-4 เมตร) 2-3 ลำมาปักไว้ที่พื้นดิน แต่ละลำปักให้ห่างกันประมาณ 2 วา เพื่อเป็นเสาหลัก ราวที่สูงมากๆ จะใช้ไม้ไผ่ค้ำไว้ไม่ให้ล้ม จากนั้นเอาไม้ไผ่มามัดในแนวขวางกับเสาหลักเป็นชั้นๆ ขึ้นไป ชั้นล่างสุดมัดให้สูงจากพื้นประมาณครึ่งเมตร
:: ราวตากข้าวขนาดใหญ่ที่ต้องใช้ไม้ค้ำ ::
:: ราวตากข้าวขนาดเล็ก ::
การวางมัดข้าวบนราวจะวางให้กึ่งกลางของมัดพาดบนลำไม้ไผ่ โดยให้ด้านรวงข้าวห้อยลง และจะวางให้ชิดกันจนเต็มราวในแต่ละชั้น
:: วางมัดข้าวพาดบนลำไม้ไผ่ โดยให้ด้านรวงข้าวห้อยลง ::
:: ข้าวตากเต็มราว ::
เอกสารอ้างอิง
มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด และ คณะ ,โครงการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว. รายงานวิจัย เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2545.
ขอบคุณข้อมูลจาก สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ http://www.sri.cmu.ac.th/~postharvest/
และ โครงการพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัย เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อ่านเรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่นหลังการเก็บเกี่ยวทุกหัวข้อ คลิ๊กที่นี่จ้า