สถาปัตยกรรมเรือนกาแล เรื่อง "ยางค้ำ"

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
01/11/2008
ที่มา: 
สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ http://art-culture.chiangmai.ac.th/

สถาปัตยกรรมเรือนกาแล เรื่อง "ยางค้ำ"


ยางหรือ ยางค้ำ เป็นไม้เหลี่ยมแบน ทำหน้าที่ค้ำรับน้ำหนักโครงหลังคาบริเวณ(แป้นน้ำย้อย)เชิงชาย ส่วนบนค้ำหรือรับน้ำหนักแป๋(แป)ลอย ที่พาดขวางมาตลอดความยาวของตัวเรือน ส่วนล่างของยางจะทำเดือยไว้ เพื่อสอดเข้าไปในรูของเสาที่เจาะไว้แล้ว โดยยางจะค้ำจากเสายื่นออกไปแนวเฉียงบน เพื่อรับน้ำหนักของแป๋(แป)ลอย ซึ่งแป๋ลอยจะรับน้ำหนักก๋อน(กอน) ก๋อนรับน้ำหนักของแป๋(แป) แป๋รับน้ำหนักของไม้ซี่ ไม้ซี่รับน้ำหนักของกระเบื้อง เรียงตามลำดับโครงหลังคาในเรือนล้านนาโบราณทั่วไป

ข้อมูลโดย: เศรษฐศิลป์ อินถาบุตร
และนักศึกษาสาขาวิชาสื่อและการผลิตสื่อ 2549

ขอบคุณข้อมูลจาก  สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ข้อมูลต้นฉบับ : http://art-culture.chiangmai.ac.th/museum/15.php


สถาปัตยกรรมเรือนกาแลล้านนา

1. แวง   
2. ต๋ง   
3. พื้นเรือน/ไม้แป้นต้อง   
4. ขื่อ  
5. แป๋-แป๋ป้าง   
6. ดั้ง/ดั้งแขวน/ใบดั้ง   
7. ตั้งโย้   
8. แป๋จ๋อง  
9. ก้าบ   
10. ก๋อน   
11. ไม้กั้นฝ้า  
12. แป๋ลอย  
13. น้ำย้อย  
14. ยาง  
15. ยางก้ำ   
16. ตะพานหนู  
17. ไม้ตะเฆ้ 
18. ก๋อนก้อย  
19. ขั้วหย่าง  
20. ควั่น  
21. แหนบ 
22. ไขรา  
23. ปั้นลม   
24. หลังคา   
25. รางริน   
26. ฝา

ข้อมูลโดย นักศึกษาสาขาวิชาสื่อศิลปะและการผลิตสื่อ 2549 และคุณเศรษฐศิลป์ อินถาบุตร (ผู้ให้ข้อมูล)

พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่